SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เครื่องมือช่วยค้นหาวารสารที่เหมาะสมในการเผยแพร่บทความและงานวิจัย
มิ.ย. 25th, 2017 by pailin

หนึ่งในกระบวนการสร้างสรรค์งานวิจัยนั้น ต้องมีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่บทความงานวิจัยออกสู่สาธารณชน ผ่านวารสารทางวิชาการที่มีอยู่มากมาย ดังนั้น ในการพิจารณาเลือกวารสารที่จะใช้เผยแพร่บทความของนักวิจัยนั้น จึงมีความสำคัญมาก เพราะ มีส่วนช่วยให้บทความนั้นถูกค้นพบ นำไปใช้ และอ้างถึง  ช่วยส่งเสริมในการประเมินคุณค่างานวิจัยชิ้นนั้น และเพิ่มอันดับให้นักวิจัยได้ด้วยเช่นกัน

ด้วยความจำเป็นดังกล่าว ทางสำนักพิมพ์ Elsevier จึงได้พัฒนาเครื่องมือ Elsevier Journal Finder ไว้อำนวยความสะดวกให้กับนักวิจัย ในการค้นหาวารสาร เปรียบเทียบข้อมูล พร้อมทั้งประเมินความเหมาะสมในการเผยแพร่บทความ โดยใช้เทคโนโลยีการค้นหาอัจฉริยะและคำศัพท์เฉพาะเจาะจงในการวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสม เพื่อหาวารสารในเครือ Elsevier ที่ตรงกับลักษณะบทความของคุณมากที่สุด มีขั้นตอนการใช้งาน ดังนี้

  1.  เข้าไปที่เพจ Elsevier Journal Finder  (http://journalfinder.elsevier.com)
  2.  แปะบทคัดย่อลงในช่อง Paper abstract
  3.  เลือกหมวดหมู่เนื้อหาที่ต้องการจะเผยแพร่บทความ โดยเลือกได้ไม่เกิน 3 หมวด
  4.  พิจารณาเลือกวารสารที่เหมาะสม จากการเปรียบเทียบข้อมูลสำคัญ โอกาสที่จะได้รับการตอบรับ และประเมินความเหมาะสม
  5.  ศึกษา ข้อมูล ข้อกำหนด ค่าใช้จ่าย ระยะเวลา สิ่งที่จำเป็น ในการส่งบทความให้บรรณาธิการของวารสารฉบับนั้นพิจารณา
  6.  ในเครือ Elsevier นักวิจัยสามารถส่งบทความออนไลน์ ได้ที่เมนู Submit Your Paper ในหน้าเพจของวารสาร

โดยมีรายละเอียดการใช้งาน ดังรูป Read the rest of this entry »

งานเปิดตัวหนังสือ “Thai Politics: Social Imbalance” และเสวนาวิชาการ “ส่องเมืองไทย: ดุลยภาพทางการเมือง ดุลยภาพทางสังคม”
มิ.ย. 13th, 2017 by supachok

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานเปิดตัวหนังสือ “Thai Politics: Social Imbalance” และงานเสวนาวิชาการ “ส่องเมืองไทย: ดุลยภาพทางการเมือง ดุลยภาพทางสังคม” ที่วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ งานนี้ได้ทั้งความรู้และได้รับแจกหนังสือ Thai Politics: Social Imbalance” อีก 1 เล่ม งานเสวนาครั้งนี้ ได้รับความรู้ด้านการเมือง การปกครองตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน พัฒนาการของระบบอประธิปไตยของประเทศไทยตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด 85 ปี จากนักวิชาการและนักการเมืองอาชีพ ทั้ง 3 ท่านได้แก่ ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา และดำเนินรายการโดย คุณอดิศักดิ์ ศรีสม ได้รับฟังมุมมองแนวคิดทางการเมืองเกี่ยวกับกับการปฎิรูปการเลือกตั้งของประเทศไทย ที่จะมาขึ้นในเร็วๆนี้

วิทยากร

วิทยากร

 

Read the rest of this entry »

การใช้ประโยชน์จาก IEEE Xplore และการตีพิมพ์บทความกับ IEEE
มิ.ย. 13th, 2017 by pailin

Introduction to IEEE & IEEE Xplore

IEEE เป็นองค์กรที่มีบทบาทในวงการค้นคว้าและงานวิจัยมายาวนาน โดยดำเนินกิจการใน 4 กิจกรรมหลัก ดังนี้

  • Membership organization
  • Conferences organizer
  • Standards developer
  • Publisher of journals, conferences, standards, e-books and e-learning

Read the rest of this entry »

ห้องสมุด สำนักงานวิทยทรัพยากร สาขาเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10)
พ.ค. 17th, 2017 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ภูมิทัศน์อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี10)

เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2560 ผู้เขียนได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์ภายนอกสถานที่ ได้พบเห็นผู้บริหารของห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ และได้เข้าเยี่ยมชมห้องสมุด สำนักงานวิทยทรัพยากร สาขาเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา หรืออาคารจามจุรี 10 นั่นเอง ตัวอาคารจะตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของ ถนนพญาไท กลุ่มศึกษาดูงานได้พากันเดินชมความร่มรื่นสองข้างทางจากอาคารสำนักงานวิทยทรัพยากร เพื่อไปยังจุดหมายคืออาคารจามจุรี10

   FB_IMG_1493274690408        นำทีมโดยท่านรองศาสตราจารย์ ดร.  อมร   เพชรสม รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ท่านได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และเป็นกันเองเป็นอย่างมาก ท่านได้พาคณะศึกษาดูงานเดินขึ้นบันไดเพื่อลดแคลลอรี่และสร้างความแข็งแกร่งของร่างกาย ไปยังชั้น 2 ของตัวอาคารซึ่งเป็นพื้นที่ในส่วนของห้องสมุด มีเนื้อที่ใช้สอยประมาณ 1,500 ตารางเมตร เป็นอาคารที่ได้รวบรวมวิทยานิพนธ์ทั้งหมด งานวิจัย และหนังสืออ้างอิง ที่กระจัดกระจายตามคณะต่างๆ ซึ่งมีประมาณ 50,000 เล่ม นำมารวบรวมไว้ให้บริการในจุดเดียวกัน เพื่อสร้างความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ทุกๆ แขนงแก่บุคลากร นิสิต และประชาชนทั่วไป ซึ่งวิทยานิพนธ์เหล่านี้เดิมเคยให้บริการอยู่ที่ชั้น 2 ของหอสมุดกลางอาคารมหาธีรราชานุสรณ์  นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดในกลุ่มต่างๆ นำมารวบรวมไว้ให้บริการ เช่น

  • วิทยาศาสตร์สูขภาพ
  • หนังสือของบัณฑิตวิทยาลัย
  • หนังสือของคณะพยาบาลศาสตร์
  • หนังสือของคณะจิตวิทยา
  • หนังสือของคณะสหเวชศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

  

Read the rest of this entry »

มาสัมผัส New TCDC Resource Center
พ.ค. 13th, 2017 by supaporn

วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2560 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ได้เปิด New TCDC Resource Center ณ อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง หลังจากที่ย้ายจากสถานที่เดิม ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับบัตรเชิญเข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดนี้ รีบตอบรับ เพราะอยากจะเห็นโฉมหน้าใหม่ การจัดพื้นที่การให้บริการ เคยประทับใจจากที่เดิม คิดว่าแห่งใหม่ก็ไม่แพ้กัน

บัตรเชิญ

บัตรเชิญ

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้พาสถาปนิกจากกองอาคารและสถานที่ ของมหาวิทยาลัยไปด้วย เพราะมีโครงการจัดขยายพื้นที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดทำเป็น Learning Space ให้กับผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา เพื่อฟังแนวความคิดในการจัดพื้นที่การใช้งาน

ตั้งแต่หน้าประตูทางเข้าตกแต่งด้วยดอกไม้ เก๋ๆ อย่างมีสไตล์ เมื่อลงทะเบียนและรับของที่ระลึกซึ่งเป็นหนังสือหลายเล่มน่าสนใจทีเดียวค่ะ แล้วก็ขึ้นไปชั้น 5 บริเวณครีเอทีฟ สเปซ ก่อนเข้าพิธีมีการรับประทานอาหารว่างกันไปพลางๆ แต่ส่วนใหญ่ ตื่นตาตื่นใจไปกับบรรยากาศ โดยรอบ และพูดคุยกับแขกท่านอื่นๆ มากกว่า ล้วนเป็นคนในวงการ กันเองทั้งนั้นค่ะ

ดอกไม้หน้าทางเข้า

ดอกไม้หน้าทางเข้า

Read the rest of this entry »

TK Forum 2017 Better Library and Learning Space : Trends and Ideas
เม.ย. 6th, 2017 by supaporn

TK Forum 2017 Better Library and Learning Space : Trends and Ideas

TK Forum 2017 Better Library and Learning Space : Trends and Ideas

จากการเข้าร่วมสัมมนา ในหัวข้อเรื่อง TK Forum 2017 Better Library and Learning Space : Trends and Ideas เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 08.30-16.30 น. ห้องกมลทิพย์บอลรูม โรงแรมสุโกศล กรุงเทพมหานคร จัดโดยอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) นั้น ในการจัดงานครั้งนี้ อุทยานการเรียนรู้ ได้เชิญวิทยากร จำนวน 3 ท่าน ซึ่งบรรยายในหัวข้อดังต่อไปนี้

1. Les Watson บรรยายเรื่อง Better Library and Learning Space : Trends and Ideas
2. Rob Bruijnzeels บรรยายเรื่อง I have to Change to Stay the Same : Creative Learning Environment for Future Libraries
3. Jérémy Lachal บรรยายเรื่อง Ideas Box : Learning and Creativity in Any Place Read the rest of this entry »

คลังความรู้ดิจิทัล King Chulalongkorn Digital Archives
มี.ค. 28th, 2017 by supaporn

ผู้เขียนได้รับเกียรติจากสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเชิญเข้าร่วมงานเปิดตัว คลังความรู้ดิจิทัล King Chulalongkorn Digital Archives ในงานจุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันอังคารที่ 28 มีนาคม 2560 และชมนิทรรศการ พร้อมกับฟังเสวนาวิชาการ

  • จากพระราชดำรัส “การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้…” สู่จุฬาฯ 100 ปี โดย ศ. กิตติคุณ ดร. ปิยนาถ บุนนาค
  • พระอัจฉริยภาพด้านอักษรศาสตร์ โดย ผศ. ดร. อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล
    ภาพฉายสยาม ในสื่อหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส โดย อาจารย์ ดร. สิริวรรณ จุฬากรณ์
    สถาปัตยกรรมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง โดย ผศ. ดร. พีรศรี โพวาทอง
    ดำเนินรายการโดย นายเมทนี บุรณศิริ

ผู้เขียนตอบรับเข้าร่วมงานทันที่ที่ได้รับบัตรเชิญ ด้วยความเป็นชาวจุฬาฯ และเป็นบุคลากรที่เคยปฏิบัติงานของสำนักงานวิทยทรัพยากร หรือหอสมุดกลาง หรือสถาบันวิทยบริการ มาเพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเพื่อชื่นชมความสำเร็จในการคลังดิจิทัลนี้สำเร็จ แม้ว่าจะใช้เวลาร่วม 7 ปี และยังต้องดำเนินการต่อเนื่อง ด้วยเมื่อครั้งยังปฏิบัติงานโครงการนี้ ได้มีการดำริ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด และจำได้ว่าเป็นแผนการที่มีเป้าหมายในวันที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบ 100 ปี จนเป็นคลังดิจิทัลให้เป็นที่ประจักษ์แล้ววันนี้ ที่สามารถเข้าถึงได้ที่ http://kingchulalongkorn.car.chula.ac.th รวมพระราชนิพนธ์ จดหมายเหตุราชกิจรายวัน และพระราชหัตถเลขาต่างๆ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือตั้งแต่เล่มแรกจนถึงเล่มสุดท้ายในรัชสมัย ซึ่งเก็บรักษาไว้ในสำนักงานวิทยทรัพยากร และให้บริการมากกว่า 130 เล่ม และยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

สำนักงานวิทยทรัพยากร จัดงานนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จ อธิการบดี ศ. ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานในพิธีเปิดกล่าวชื่นชม คลังดิจิทัล King Chulalongkorn Digital Archives นี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการที่จะใกล้ชิดสังคม และนำความรู้สู่สังคมมากขึ้น พร้อมกับการชมนิทรรศการที่รังสรรค์ให้เห็นความสำคัญและยิ่งใหญ่ของพระราชนิพนธ์ที่มีจำนวนและทรงคุณค่า การเสวนาทางวิชาการ สร้างความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง หนังสือหลายเล่มที่ถูกนำมาพูดถึง ทำให้มีความคิดอยากหวนกลับไปอ่านอีก หรือติดตามหามาอ่าน

การเสวนาทางวิชาการ

การเสวนาทางวิชาการ

เมื่อประธานในพิธีกล่าวเปิดงานแล้ว ได้มีการชมนิทรรศการ จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย ซึ่งจัดที่ศูนย์ศิลป์ชั้น 7 การจัดนิทรรศการ จัดได้อย่างงดงามมาก กล่าวถึงประวัติการก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงเป็นลักษณะ Timeline ในแต่ละช่วงเวลา มีหนังสือพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ที่รวบรวมและนำมาจัดแสดงไว้อย่างน่าตื่นตา ตื่นใจเป็นอันมาก

พระราชปณิธาน (ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ)

พระราชปณิธาน (ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ)

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในห้องนิทรรศการ

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในห้องนิทรรศการ

พระราชนิพนธ์ที่นำมาจัดแสดง

พระราชนิพนธ์ที่นำมาจัดแสดง

เพดาน ทำเป็นรูป เลข ๕ เพื่อสื่อถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

เพดาน ทำเป็นรูป เลข ๕ เพื่อสื่อถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

Read the rest of this entry »

อบรมการใช้ VPN และ Dropbox
มี.ค. 20th, 2017 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดอบรมการใช้ VPN และการใช้ Dropbox ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการจัดการความรู้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียติ โดยจัดการอบรมออกเป็น 3 รุ่น ได้แก่ วันที่ 2, 16 และ 30 มีนาคม 2560 เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในการให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับเป็นสมาชิก และเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถใช้ฐานข้อมูลจากภายนอกมหาวิทยาลัยได้โดยผ่าน VPN โดยที่บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการติดตั้ง VPN  สรุปออกมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และสามารถอธิบายให้กับผู้ใช้บริการได้

การอบรมการใช้ VPN และ Dropbox

การอบรมการใช้ VPN และ Dropbox

การอบรมการใช้ VPN และ Dropbox

การอบรมการใช้ VPN และ Dropbox

นอกจากนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้ในเรื่อง Dropbox ที่สามารถให้บุคลากรใช้ไฟล์ร่วมกันได้ โดยมีการจัดเก็บไฟล์ไว้ใน Dropbox ทำให้บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ทราบวิธีการใช้ วิธีการดึงไฟล์และการส่งไฟล์เมื่อมีการอัพเดทเกิดขึ้น

 

ศึกษาดูงานห้องสมุดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
มี.ค. 11th, 2017 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปันประสบการณ์ในการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว  กับห้องสมุดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม  เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ 2560 รวมระยะเวลา 1 วัน เพื่อเป็นการเติมอาหารสมอง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเป็นหน่วยงานที่ผ่านการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว และกำลังเข้าสู่การตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว  Read the rest of this entry »

เสวนา เรื่อง Cloud Computing กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
มี.ค. 2nd, 2017 by supaporn

วันที่ 1 มีนาคม 2560 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับบริษัท Advanced Media Services (AMS) จัดเสวนา เรื่อง Cloud Computing กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ โดยมีอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ  ให้แนวคิดการคัดเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Andrew H. Wang, Vice President OCLC Asia Pacific และ Ms. Shu-En Tsai, Executive Director OCLC Asia Pacific มาบรรยายแบ่งปันประสบการณ์การ Implement ระบบห้องสมุด WMS ให้กับประเทศฟิลิปปินส์ รวมทั้ง อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บรรยายในเรื่อง Trends in Integrated Library System : A User’s Perspective

เสวนา เรื่อง Cloud Computing กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

เสวนา เรื่อง Cloud Computing กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

ติดตามภาพประกอบและเอกสารการประกอบสัมมนา

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa