SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ขั้นตอนการเบิกจ่ายวัสดุและครุภัณฑ์
ธ.ค. 24th, 2020 by ratchanee

ศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ในการนำทรัพยากรออกให้บริการ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้วัสดุต่างๆ ในการจัดเตรียมการนำทรัพยากรสารสนเทศออกมาให้บริการแก่ผู้ใช้บริการหลาย ๆ อย่าง จึงต้องมีการเบิกวัสดุต่างๆ ซึ่งการเบิกวัสดุนั้น จะแบ่งเป็น วัสดุสำรองคลัง และวัสดุไม่สำรองคลัง

วัสดุสำรองคลัง หมายถึง  รายการวัสดุที่ทางกองพัสดุมีจัดซื้อไว้แล้ว (ซึ่งทางกองพัสดุแจ้งไว้ปัจจุบันมี 39 รายการ)

วัสดุไม่สำรองคลัง หมายถึง รายการวัสดุที่ทางกองพัสดุจะต้อง ดำเนินการขออนุมัติจัดซื้อให้ เมื่อมีการเขียนเบิก

การเบิกจ่ายวัสดุสำรองคลัง

1. ให้แต่ละแผนกเขียนรายการมาในแบบฟอร์มขอเบิก ส่งมายังสำนักงานเลขานุการ

2. ผู้ทำหน้าที่เบิกพัสดุตรวจสอบงบประมาณในปีนั้นๆ (งบประมาณต้องไม่เกินตามที่จัดสรรให้)

3. ส่งใบเบิกเสนอผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อลงนามอนุมัติการเบิก

4. ผู้อำนวยการ อนุมัติการเบิกวัสดุแล้ว ทำการสแกนเอกสารและส่งเข้า Mail ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ธุรการออกเลข เอกสารในระบบ Less paper  เมื่อได้เลขที่ออกแล้วจึงนำเอกสารตัวจริงส่งไปยังผู้อำนวยการกองพัสดุ

5. ส่งใบเบิกวัสดุไปยังกองพัสดุแต่ละเดือนนั้น ต้องไม่เกินวันที่ 1 ของทุกเดือน

6.ได้รับวัสดุในวันศุกร์ที่ 2 ของเดือนหากการเขียนเบิกวัสดุ เกินวันที่ 1 ของเดือน ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ จะได้รับวัสดุในวันศุกร์ที่ 2 ของเดือนถัดไป

7. การรับวัสดุ จะรับได้ที่ศูนย์หนังสือ มฉก. เมื่อรับวัสดุมาแล้ว จะจ่ายให้กับแผนก และมีผู้ลงนามการเบิกวัสดุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในการเบิก ในสมุดเบิกวัสดุ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดเตรียมไว้

8.เมื่อจ่ายวัสดุไปยังผู้ที่ขอเบิกวัสดุไว้เรียบร้อย ส่งต่อให้ผู้รับผิดขอบตัดงบประมาณให้ตรงกับแต่ละแผนกได้รับการจัดสรร และสรุปผลเป็นรายเดือน และเสนอผู้อำนวยการต่อไป Read the rest of this entry »

ตู้ใส่ของ Lost and Found สิ่งของที่พบในศูนย์บรรณสาร
พ.ย. 12th, 2020 by ratchanee

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ปัจจุบันมีคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และบุคคลภายนอก เข้ามาใช้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งบางครั้งผู้ใช้บริการ ที่เข้ามาใช้บริการในศูนย์บรรณสารสนเทศ  บางครั้งลืมสิ่งของไว้ภายในศูนย์บรรณสารสนเทศ  เมื่อมีผู้พบเห็นสิ่งของเหล่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นผู้ใช้บริการ หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ จะนำมาให้เจ้าหน้าที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ติดตามหาเจ้าของ เพื่อมารับสิ่งของที่ลืมทิ้งไว้ต่อไป

ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมีการจัดตั้งตู้  LOST & FOUND  เพื่อรวบรวมสิ่งของที่ลืมไว้  หากผู้ใช้บริการท่านใดตามหาสิ่งของที่ลืมไว้ สามารถมาดูได้ที่ตู้นี้ และขอรับคืนได้ โดยกรอกเอกสารของที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดเตรียมไว้ตามแบบฟอร์มในรูป

แบบฟอร์มการรับแจ้งทรัพย์สินหายภายในศูนย์บรรณสารสนเทศ

 

หากสิ่งของใดไม่มีผู้มาขอรับภายใน 1 เดือน  ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะจัดส่งให้กับสำนักพัฒนานักศึกษาต่อไป  โดยมีแนวทางปฎิบัติดังนี้ Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการขออนุมัติจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศและวิธีการยืมเงินทดรองจ่ายหรือเงินสดย่อยพร้อมการเคลียร์คืน
เม.ย. 14th, 2020 by ratchanee

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจที่จะต้องบริหารจัดการ การจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
เข้าห้องสมุดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับกับคณะวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยโดยที่คณาจารย์และนักศึกษามี
ส่วนร่วมในการพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือ การสั่งซื้อหนังสือบางครั้งจำเป็นต้องมีการยืมเงินทดรองจ่ายหรือเงินสดย่อย
เพื่อนำไปจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ

กรณียืมเงินทดรองจ่ายหรือเงินสดย่อยเพื่อนำไปจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศจากภายนอกสถานที่ มีขั้นตอนดังนี้
1. ทำใบขออนุมัติจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศซึ่งใบขออนุมัติ ประกอบด้วย

1.1 ใบขอเบิกงบประมาณ (ซึ่งเอกสารนี้สามารถขอแบบฟอร์มได้จากกองแผนและพัฒนา

ใบขอเบิกงบประมาร

หมายเลข 1 ใส่เลขที่ออกของหน่วยงาน พร้อมวันที่ออก
หมายเลข 2 ใส่ปีงบประมาณการศึกษา
หมายเลข 3 ใส่ชื่อหน่วยงานที่ขอเบิกงบประมาณ
หมายเลข 4  ใส่รายการเรื่องที่ต้องการขออนุมัติ
หมายเลข 5  ลงนามผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ

 

1.2 ใบขออนุมัติ

 

ใบขออนุมัติจัดซื้อตำราและ ทรัพยากรการเรียนรู้

 

หมายเลข 1  ใส่เลขที่ออกของหน่วยงาน พร้อมวันที่ออก
หมายเลข 2  ใส่เลขที่ใบเสนอราคา
หมายเลข 3  ใส่เครื่องหมายถูกด้านหน้าทรัพยากรที่ต้องการจัดซื้อ
หมายเลข 4  ลงชื่อผู้ขออนุมัติ และชื่อหัวหน้าแผนกจัดหาฯ
หมายเลข 5  ลงนามชื่อผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ

Read the rest of this entry »

สัปดาห์คัดเลือกหนังสือ
พ.ย. 7th, 2019 by ratchanee

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจที่จะต้องบริหารจัดการการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับกับคณะวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย และเพื่อความสอดคล้องกับพันธกิจและประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ข้อที่ 1 คือ พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านจีน และวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ข้อที่ 1 สร้างความเข้มแข็งทางด้านจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษามีส่วนร่วมในการพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือ โดยประหยัดเวลาในการเดินทาง ประหยัดค่าใช้จ่ายในการไปร้านหนังสือ  ได้ช่วยพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดได้ตรงกับหลักสูตรที่สอน หรือความต้องการในการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้   โดยในปีการศึกษา 2562 กำหนดจัดกิจกรรมสัปดาห์คัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดจำนวน 2 ครั้ง ระหว่างวันที่ 2-6 ก.ย.62 และวันที่ 4-8 พฤษภาคม 2563 และเพื่อให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ได้หนังสือที่ตรงกับความต้องการในการเรียนการสอน การปฏิบัติงาน และการเสริมสร้างพัฒนาคุณภาพชีวิต

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม คือ

1. เพื่อให้คณาจารย์นักศึกษา และบุคลากร มีส่วนร่วมในการพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือ
2. เพื่อให้คณาจารย์นักศึกษา และบุคลากร มีความพึงพอใจในการพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือ
3. เพื่อเป็นการบริการเชิงรุก ในการนำหนังสือมาให้พิจารณาคัดเลือกโดยไม่ต้องเดินทางไปถึงร้านหนังสือ Read the rest of this entry »

การตรวจรับทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ
มิ.ย. 12th, 2019 by ratchanee

การตรวจรับพัสดุ เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในการจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจอย่างหนึ่งในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้า วิจัย ของนักศึกษา อาจารย์ และบุคคลทั่วไป การได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่ศูนย์ฯ ดำเนินการจัดซื้อเองนั้น เมื่อได้จัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศตามขั้นตอนเรียบร้อย พร้อมได้รับตัวเล่มทรัพยากรแล้ว ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะต้องตรวจรับทรัพยากรสารสนเทศทุกชิ้นและต้องสมบูรณ์ครบถ้วน โดยมีขั้นตอนการตรวจรับหนังสือ ดังนี้

1. กรอกแบบฟอร์มการขอรับการตรวจรับพัสดุ ส่งไปยังกองพัสดุ เพื่อนัดหมายให้มาตรวจรับหนังสือ เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนเทศ ดำเนินการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศด้วยตนเอง และระเบียบของมหาวิทยาลัย ต้องให้มีบุคลากรจากกองพัสดุมาเป็นกรรมการตรวจรับด้วย โดยกรรมการตรวจรับ ประกอบด้วย 3 คน คือ Read the rest of this entry »

“การจัดทำทะเบียนรายชื่อเอกสารใช้งานศูนย์บรรณสารสนเทศ”
พ.ย. 30th, 2018 by ratchanee

ถ้าหากจะพูดว่า “ทะเบียนรายชื่อเอกสารใช้งาน” หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคย แต่หากพูดว่า “รายชื่อแฟ้มเอกสาร” อย่างหลังน่าจะคุ้นเคยมากกว่า

ทุกๆ ปีการศึกษา สำนักงานเลขานุการ จะมีหน้าที่ในการสำรวจแฟ้มเอกสารของศูนย์บรรณสารสนเทศ  ที่มีจัดเก็บอยู่ที่สำนักงานเลขานุการ และแผนกอื่นๆ ว่ามีชื่อแฟ้มเอกสารอะไรบ้าง ระยะเวลาของเอกสารภายในแฟ้ม  เพื่อจัดทำเป็น “ทะเบียนรายชื่อเอกสารใช้งาน” ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ส่งไปให้กับกองกลาง เป็นประจำทุกปี

การจัดเก็บเอกสารของศูนย์บรรณสารฯ มีลักษณะเหมือนให้สำนักงานเลขานุการเป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บ ควบคุม ดูแล และให้รหัสแฟ้มเอกสารกับทุกแผนก และให้ทุกแผนกนำแฟ้มเอกสารมาจัดเก็บไว้ที่สำนักงานเลขานุการ  ยกเว้นบางกรณีที่บางแผนกอาจมีความจำเป็นในการใช้งานแฟ้มเอกสารนั้นบ่อยๆ  แฟ้มเอกสารนั้น อาจจะอยู่กับทั้งสำนักงานเลขานุการและอยู่ที่แผนกอื่น Read the rest of this entry »

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน
ม.ค. 15th, 2018 by ratchanee

สำนักงานเลขานุการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ  ได้จัดให้มีการอบรมโครงการกิจกรรมการสร้างสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน ในวันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา  โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์บรรจบ ปิยมาตย์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ วิทยากรในการอบรมครั้งนี้

โครงการดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ศูนย์บรรณสารสนเทศ  ยุทธศาสตร์ที่ 6 เรื่องการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 1.3 การสร้างสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน  เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี อันจะก่อให้เกิดความสุขในการทำงานและการทำให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์โครงการ

1.เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปฏิบัติงาน

2. เพื่อให้บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และพบปะสังสรรค์

3. เพื่อพัฒนาความสามารถและเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน

4. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและเกิดความผูกพันต่อองค์กร

ผลที่คาดว่าได้รับ

1. เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปฏิบัติงาน

2. เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคลากร

3. มีการพัฒนาความสามารถและเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน

4. สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและเกิดความผูกพันต่อองค์กร

วิทยากร ได้เริ่มต้นให้เรารู้จักการทำงานเป็นทีม  ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งหลักๆ อันได้แก่

  1. Teamwork (การทำงานเป็นทีม) คือ การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำ อะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญในทุกองค์กรการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงาน
  2. Innovation (นวัตกรรม) จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่และเจริญเติบโตต่อไปได้
  1. Selecting (การเลือกสรร) เป็นการตัดสินใจเลือก เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ทั้งนี้การเลือกสรรจำเป็นต้องมีความาสอดคล้องกับหลักกลยุทธ์ขององค์กร
  2. Quality (คุณภาพ) หมายถึง การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยบริการนั้นสามารถสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสมได้เปรียบคู่แข่งขัน ลูกค้ามีความพึงพอใจ และยอมจ่ายตามราคาเพื่อซื้อความพอใจนั้น การดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยคำนึงถึงการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม เช่น เราเป็นองค์กรที่ให้ความรู้ ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคม
  3. Speed (ความรวดเร็ว)  การตอบสนองอย่างรวดเร็ว หมายถึง การมีความคล่องตัวต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะนำเสนอ หรือแม้แต่การตัดสินใจของการบริหารต้องรวดเร็วและฉับไว ทันต่อโลกในยุค 4.0

Read the rest of this entry »

โครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หัวข้อ “เขยิบมาแยกขยะ”
ม.ค. 15th, 2018 by ratchanee

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดโครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หัวข้อ “เขยิบมาแยกขยะ” เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของขยะ  การจัดการขยะ และการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์วนิดา สุวรรณพ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.30-12.00 น. นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในยุทธศาสตร์ที่ 6 มีการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 3.2 ปลูกฝังจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่วนรวม

วัตถุประสงค์โครงการ

1.เพื่อปลูกจิตสำนึกแก่ นักศึกษา อาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

2.เพื่อให้ความรู้ และสร้างความตระหนักในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

วิทยากรได้กล่าวถึงภาวะโลกร้อน ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และขยะก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถจัดเก็บให้ทันกับปริมาณ ทั้งนี้จึงมีการเชิญชวนให้คัดแยกขยะ โดยร่วมกับโครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้ เพื่อช่วยลดการตัดต้นไม้เพื่อผลิตกระดาษได้ถึง 17 ตัน แถมยังช่วยลดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ และลดพื้นที่หลุมฝังกลบขยะอีกด้วย

 

โครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้

โครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้

จากภาพข้างต้น เป็นการนำกล่องนมยูเอชที กลับมาใช้ใหม่ โดยสอนวิธีการพับเก็บกล่องอย่างถูกวิธี ก่อนนำไปรีไซเคิล Read the rest of this entry »

วิธีติดต่อร้านหนังสือเพื่อจัดซื้อหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศ
มิ.ย. 22nd, 2017 by ratchanee

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีหน้าที่หลัก คือ การให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ให้กับผู้ใช้บริการ และมีหน้าที่หลักอีกส่วนหนึ่งที่จำเป็นและสำคัญ  คือการจัดซื้อหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุดให้เนื้อหาตรงตามกับคณะที่เปิดสอน และตรงตามกับผู้ใช้บริการต้องการ

มหาวิทยาลัยจึงมีนโยบายให้คณะแต่ละคณะส่งรายชื่อหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศตามที่คณาจารย์คัดเลือกส่งมายังห้องสมุดเพื่อทำการจัดซื้อ  เมื่อทางห้องสมุดได้รายชื่อหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการจัดซื้อ จะตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศ หากห้องสมุดยังไม่มีหนังสือและทรัพยาการสารสนเทศเล่มใด ก็จะดำเนินการสั่งซื้อ  โดยตรวจสอบว่าหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศเล่มใดสามารถซื้อได้จากร้านค้าไหน เพื่อทำการติดต่อไปยังร้านค้าที่ขายหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศเพื่อส่งรายการหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศไปให้ทำการเสนอราคา Read the rest of this entry »

การเสนอการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
พ.ค. 24th, 2017 by ratchanee

ในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยเฉพาะหนังสือที่อยู่ในหลักสูตรต่างๆ อาจจะมีกระบวนการที่แตกต่างจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ  อาจเนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นมหาวิทยาลัยขนาดกลาง จึงสามารถที่จะกำกับดูแล หรือร่วมพิจารณาการจัดซื้อหนังสือ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

โดยในการจัดซื้อหนังสือนั้น จะต้องผ่านการพิจารณาจากคณบดีแต่ละคณะ ซึ่งผู้เขียน มีหน้าที่ในการจัดซื้อ จะจัดทำรายชื่อหนังสือที่อาจารย์แต่ละท่านแต่ละคณะได้พิจารณาคัดเลือกจากร้านหนังสือ  จากนั้้นทำบันทึกข้อความที่ได้รับการตรวจสอบจากฐานข้อมูลหนังสือที่พิจารณาคัดเลือกว่ามีอยู่ในห้องสมุดหรือไม่  กรณีที่ยังไม่มีหนังสือดังกล่าว จะดำเนินการทำบันทึกเสนอถึงคณบดีแต่ละคณะ และกำกับสาขาๆ ลงนามประธานคณะกรรมการวิชาการ และส่งกลับให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ

เมื่อศูนย์บรรณสารสนเทศได้รับรายชื่อหนังสือที่ผ่านการพิจารณาจากคณบดีแต่ละคณะเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการติดต่อร้านค้าเพื่อส่งรายชื่อหนังสือ ขอใบเสนอราคาร้านค้าเพื่อตรวจสอบราคา และพิจารณาดำเนินการสั่งซื้อต่อไป

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa