ปัญหาสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกอย่างบนโลกใบนี้ ซึ่งปัญหาโดยส่วนใหญ่เกิดมาจากการกระทำของมนุษย์ ที่เห็นได้ชัดเจน คือ ปัญหาภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ทวีความรุนแรงในการเกิดพายุต่างๆ สาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนมาจากการสะสมก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ อันเกิดมาจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์
ในการดำเนินชีวิตของเราทุกคนล้วนมีส่วนสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เราจึงควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือช่วยลดผลกระทบต่างๆ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมของโลกเราไว้ให้ดีหรือให้ยังคงอยู่เหมือนเดิม ด้วยการลดกิจกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือเข้าร่วมโครงการต่างๆ ที่มีช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การเข้าร่วมกิจกรรมชดเชยคาร์บอน ที่ใช้เป็นกลไกและมีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อน อันเกิดมาจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจก
ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases : GHG)
ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซชนิดต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และสารประกอบจำพวกฟลูออไรด์ 3 ชนิด คือ ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrofluorocarbon: HFC) เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (Perfluorocarbon: PFC) และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (Sulfurhexafluoride: SF6) ซึ่งวัฎจักรการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมีทั้ง โดยทางตรงจากกลุ่มการเผาไหม้เชื้อเพลิง หรือโดยทางอ้อมจากการผลิตกระแสไฟฟ้าและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน จะเห็นได้ว่าการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่มีอยู่หลากหลาย ได้สร้างก๊าซเรือนกระจกมากมายขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ
Read the rest of this entry »
ตามแผนกลยุทธ์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 6 มีการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล มาตรการที่ 3.2 ปลูกฝังจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่วนร่วม นั้น สำนักงานเลขานุการ ได้จัดโครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองกลยุทธ์ดังกล่าว การจัดกิจกรรม 4 กิจกรรม ซึ่งกิจกรรมการพับถุงกระดาษ (ที่นำกระดาษจากซองใส่กระดาษ) นำมาพับเป็นถุงใส่ยา เพื่อมอบให้ศูนย์ยามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมีขั้นตอนการพับถุงกระดาษ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 นำกระดาษที่ได้รับบริจาคมาจากกสถานทื่ต่างๆ มาเตรียมเพื่อทำถุงใส่ยา Read the rest of this entry »
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2560 เวลา 10.00 -12.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงานที่หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพิ่งผ่านการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับทองปีล่าสุด ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้รับความกรุณาจากหอสมุดฯ ในการแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการศึกษาดูงานห้องสมุดโดยทั่วไป ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสาวพรจิตต์ หมีงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและวิชาการกล่าวต้อนรับและเป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “การจัดการพลังงาน” โดยเหตุผลที่ต้องอนุรักษ์พลังงาน ก็เพื่อลดค่าใช้จ่าย ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น การบริการก็จะดีขึ้น มีความปลอดภัยและยังแสดงความรับชอบต่อสังคม
ข้อมูลเบื้องต้นอาคารหอสมุดและคลังความรู้ฯ
1. ชื่อนิติบุคคล : มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)
ชื่ออาคารควบคุม : หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
TSIC ID: 85302-0082
2. กลุ่มที่ 1 (ขนาดเล็ก)
อาคารควบคุมที่ใช้เครื่องวัดไฟฟ้าหรือติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ารวมกันน้อยกว่าสามพันกิโลวัตต์หรือสามพันห้าร้อยสามสิบกิโลวัตต์แอมแปร์หรืออาคารควบคุมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากไอน้ำหรือพลังงานสิ้นเปลืองอื่นๆ โดยมีปริมาณพลังงานเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าหกสิบล้านเมกะจูล
3. ที่ตั้งอาคารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล อาคารของหอสมุดและคลังความรู้ฯ นับว่าตั้งอยู่ใจกลางของมหาวิทยาลัย
4. ประเภทอาคาร (สำนักงาน / สถานศึกษา) พื้นที่รวมของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ทั้ง 3 ชั้น รวม 14,000 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ชั้นล่างสุดของส่วนงาน 7,600 ตารางเมตร
5. อาคารเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2528 จำนวนพนักงานปัจจุบัน 122 คน จำนวน 3 สำนักงาน 4 ฝ่าย
6. จำนวนอาคารทั้งหมด 1 อาคาร
7. ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน : นายประมุข หนูเทพย์
กระบวนการการจัดการพลังงานของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล Read the rest of this entry »
การแถลงข่าว Library care the bear
Library Care the Bear เป็นโครงการความร่วมมือเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ผ่านเครือข่ายห้องสมุดทั่วประเทศ โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ขยายความร่วมมือจากหน่วยงานและบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อรณรงค์ให้บริษัท และหน่วยงานมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้โครงการ Care the bear “Change the Climate Change” ลดคาร์บอนจากงานEvent ลดโลกร้อน โดยขั้นตอนง่ายๆ 6 ขั้นตอน
Care the bear
ประธานคณะกรรมการดำเนินการด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม นำโดย อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม จากทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 60 คน ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ มีการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษา 2559-2561 มีโครงการที่มุ่งเน้นด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมให้แก่นักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยฯ ประกอบด้วย กิจกรรมแบบมีส่วนร่วมที่มุ่งเน้นด้านการประหยัดพลังงานและดูแลสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการศึกษาดูงานอาคาร สำนักงานประหยัดพลังงาน เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการโครงการดังกล่าว ในปีการศึกษา 2561 ได้เข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 เวลา 09.00-12.00 น.
อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง หรือ EGAT Learning Center เป็นโครงการที่กฟผ. มุ่งทำขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์การแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานของประเทศไทยและพลังงานของโลก ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 18 ไร่ มีพื้นที่ 6,000 ตารางเมตร จำนวน 4 ชั้น เจ้าหน้าที่พาชมบริเวณด้านหน้าทางขึ้นเป็นสวนแนวตั้ง ประดับด้วยพรรณไม้ประเภทไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ที่มีความทนทานต่อแสงแดดเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น ฟิโลเดนดรอนสีทอง สีเขียว (Philodendron) เฟิร์น เป็นต้น บริเวณด้านหน้าประตูทางขึ้นมีตราสัญลักษณ์ของ กฟผ. มองลงไปเบื้องหน้าริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระราม 7 และภายในบ่อบำบัด จะเห็นว่าในบ่อมีน้ำสีเขียว เรียกว่าบ่อซึม สามารถใช้น้ำที่บำบัดแล้ว นำมาหมุนเวียนใช้ต่อได้
สวนแนวตั้งและตราสัญลักษณ์ กฟผ.
แสงเงาของผู้เยี่ยมชม
ตามที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำรายงานการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ของศูนย์บรรณสารนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในการอนุรักษ์พลังงาน ในตารางการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
1. ตารางสรุปการใช้ไฟฟ้า น้ำประปา อาคารบรรณสาร 2. กราฟแสดงทิศทางการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา อาคารบรรณสาร 3. วิธีการคำนวณน้ำหนักกระดาษ อาคารบรรณสาร 4. ข้อมูลการใช้ทรัพยากรและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาคารบรรณสาร 5. การวิเคราะห์ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก อาคารบรรณสาร 6. ปริมาณขยะ อาคารศูนย์บรรณสารสนเทศ
มารู้จักวิธีการคำนวณรายงานการใช้ทรัพยากรสารสนเทศกันเถอะ….
ประโยชน์ที่ได้จากการทำรายงานฉบับนี้ ทำให้ทราบถึงปริมาณการใช้ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และกระดาษ ของอาคารบรรณสาร หากมีการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรดังกล่าว จะได้หาปัญหาของการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรนั้น เช่น การช่วยรณรงค์ การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟฟ้า ลดปริมาณขยะ และรวมถึงการร่วมแรงร่วมใจกันใช้กระดาษรีไซเคิลนำมาพิมพ์เอกสาร ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวมาข้างต้น ได้มีอยู่ในมาตรการการประหยัดพลังงานด้วยคุณธรรมของมหาวิทยาลัย 15 ข้อ
หลังจากที่อบรมการเป็นผู้ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียวของเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวเมื่อวันที่ 29-30 มกราคม 2561 พร้อมกับการทดสอบความรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงานและเกณฑ์การตรวจในหมวดต่างๆ ไปแล้วนั้น กิจกรรมของการเป็นผู้ตรวจ ต่อจากนั้น จึงเริ่มจากการฝึกว่าที่ผู้ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียวกับห้องสมุดที่เสนอชื่อรับการตรวจห้องสมุดสีเขียวในรอบปีที่ 3 โดยว่าที่ผู้ตรวจจะต้องฝึกการตรวจประเมินห้องสมุดจำนวน 2 แห่ง มี ในการลงสนามว่าที่ผู้ตรวจของผู้เขียนครั้งนี้ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกลยุทธ์เพื่อธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในการตรวจ ประกอบด้วยทีมผู้ตรวจ ได้แก่ ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นางสาวรุ่งทิพย์ ห่อวโนทยาน ประธานมาตรฐานวิชาชีพ คนที่ 2 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย เและนางสาว ธนาภรณ์ ฉิมแพ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเป็นพี่เลี้ยงในการตรวจ
ในการตรวจจะแบ่งหน้าที่ตามเกณฑ์ที่ผู้ตรวจมีความเชี่ยวชาญ ตามเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ข้อกำหนด แนวทางเชิงปฏิบัติ และวิธีการตรวจประเมิน พ.ศ. 2559 โดยหลักๆ เช่น ทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม นโยบาย เครือข่ายและห้องสมุด และตัวบ่งชี้ต่างๆ เช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนวรรณ มั่งคั่ง จะตรวจหมวด 2 (โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) หมวด 3 (การจัดการทรัพยากรและพลังงาน), และหมวด 4 (การจัดการของเสียและมลพิษ) ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ จะรับตรวจในหมวดที่ 1 ทั่วไป และ หมวดที่ 5 การบริหารจัดการและการให้บริการห้องสมุด เพื่อส่งเสริมการอนุรักษพลังงานและสิ่งแวดล้อม คุณรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน รับตรวจในหมวดหมวดที่ 7 เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด และคุณธนาภรณ์ ฉิมแพ รับตรวจในที่ 6 บทบาทของบคลากรห้องสมุดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และหมวดที่ 8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว แต่ทั้งนี้ อาจจะมีการสลับหมวดหรือเพิ่มเติมหมวดในการตรวจกันบ้างในกรณีที่ผู้ตรวจบางท่านติดภารกิจ
ว่าที่ผู้ตรวจควรจะพิจารณาลงตรวจในหมวดที่มีความถนัด หรือสนใจ และควรจะเวียนตรวจในหมวดอื่นๆ ด้วย เพื่อจะได้ทดสอบความรู้ที่มีอยู่ ฝึกการตั้งคำถามฝึกการสังเกต ฝึกการพิจารณาหลักฐาน ฝึกการสรุปประเด็น การสรุปข้อสังเกต ฝึกการพิจารณาและอภิปรายประเด็นที่อาจจะมองเห็นต่างมุม ตลอดจนพิจารณาตัดสินว่า ควรจะให้คะแนนหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้ ประเด็นที่เห็น ที่คิด ควรจะได้มีการนำเสนอ เพื่อให้กลุ่มว่าที่ผู้ตรวจและผู้ตรวจทราบว่า คิดเห็นอย่างไร จะได้มีการปรับความคิด หรือการพูด การให้เหตุผลที่ดี ก่อนจะนำเสนอและสรุปเป็นคะแนนต่อไป Read the rest of this entry »
ตามที่ อาคารบรรณสาร โดยศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว และห้องสมุดสีเขียว และได้ผ่านการตรวจประเมินในระดับทอง และผ่านเกณฑ์ ของทั้งสองมาตรฐานไปแล้วนั้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของความตระหนักถึงการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภารกิจหนึ่งที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้พยายามสานต่อ ก็คือ การสร้างพื้นที่สีเขียว โดยรอบอาคารบรรณสาร ในปีการศึกษา 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดสร้างห้องสมุดในสวน ส่วนที่ติดกับศูนย์วัฒนธรรม และได้มีพิธีเปิดห้องสมุดในสวนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2559 (https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/16-news/156-160811-open-garden-library)
ในปีการศึกษา 2560 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้รับความอนุเคราะห์จากกองอาคารและสถานที่ในการร่วมกันจัดทำพื้นที่สีเขียว เพิ่มเติมในฝั่งรูปปั้น ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ เนื่องจากเป็นส่วนที่จะมีแดดจ้าในตอนเช้า ทำให้ผู้ใช้บริการไม่นิยมมาใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว กองอาคารและสถานที่ ได้ออกแบบสำหรับการจัดทำพื้นที่สีเขียว ไว้ดังนี้ (โดยกิจกรรมบางส่วน ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดทำเอง และกองอาคารฯ ได้มาต้นไม้มาเพิ่มเติมตามที่ออกแบบไว้)
พื้นที่ก่อนจัดทำเป็นพื้นที่สีเขียว
การออกแบบในการปลูกต้นไม้โดยใช้ต้นปาล์ม
ผู้เขียนมีความตระหนักในการนำของใช้แล้วมาทำประโยชน์ได้ใหม่ อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ผู้เขียนและครอบครัว มักจะทำกิจกรรมในเรื่องการดัดแปลงของที่ไม่ใช้แล้วนำมาดัดแปลงเป็นสิ่งของที่ใช้ได้ใหม่อยู่เสมอๆ เช่น ดัดแปลงภาชนะที่ไม่ใช้แล้วเป็นกระถางปลูกต้นไม้ ทำที่นอนสุนัขแบบเก๋ๆ ทำโซฟา ฯลฯ ผลงานล่าสุดของครอบครัว ก็คือ การประดิษฐ์โซฟาจากล้อรถยนต์ เพื่อประดับสวน นั่งเล่น สวยงาม โซฟาที่ดูเหมือนง่ายแต่ก็ยากเหมือนกันนะคะ ขอบอก! ผู้เขียนจึงขอแบ่งปันประสบการณ์การทำโซฟาจากยางรถยนต์ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านบ้าง ดังนี้
ขั้นตอนการทำ 1.ขอความอนุเคราะห์จาก เพื่อน หรือ คนรู้จัก ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากล้อรถยนต์แล้ว จำนวน 10 ล้อ นำมาล้างทำความสะอาด ตากทิ้งไว้ให้แห้ง ดูขนาดล้อรถว่ามีขนาดที่สมดุลกันหรือไม่ ซึงต้องใช้ขนาดที่ใกล้เคียงกัน
รูปที่ 1 ขั้นตอนการล้างทำความสะอาด
การรียูส (Reuse) คือ การนำวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทต่างๆ เช่น กระดาษ แก้ว โลหะ และพลาสติก ที่ยังสามารถใช้ประโยชน์นำกลับมาใช้ให้คุ้มค่าที่สุด เพราะการใช้ครั้งเดียว ทำให้เกิดขยะมากเกินจำเป็นและสูญเสียทรัพยากรในการผลิตวัสดุเหล่านี้ซ้ำ เพื่อเป็นการนำมาใช้เพิ่มเติมอีกครั้ง เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ลดใช้การใช้พลังงาน เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และยังได้สิ่งของใหม่ไว้ใช้งานได้อีกด้วย การใช้ซ้ำโดยไม่ผ่านกระบวนการทางโรงงาน มี 2 วิธี
1. การนำกลับมาใช้ซ้ำด้วยวิธีการเดิม เช่นการนำภาชนะใส่อาหาร นำมาใส่อาหารซ้ำอีกครั้ง
2. การนำกลับมาใช้ซ้ำโดยผ่านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่ เช่น การประดิษฐ์ยางล้อรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว
มาดูตัวอย่างที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรตินำวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำ และขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง ซึ่งพอสรุปกลุ่มสิ่งของที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ดังนี้ Read the rest of this entry »