จากการบรรยาย เรื่อง A Room Is Not Just a Room: the Library as Place and Why It Matters โดย คริสเตียน ลอเออร์เซน (Christian Lauersen) ผู้อำนวยการห้องสมุดประชาชนรอสกิลด์ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก และ LocHal: Transformation from a Lending to a Social Library โดย พีเทอเนล ไธจ์เซน (Pieternel Thijssen) ผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรม ห้องสมุดลอคฮาล เมืองทิลเบิร์ก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในงาน TKForum 2021 หัวข้อเรื่อง “Library and Public Space for Learning” ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564 จัดโดย TK Park อุทยานการเรียนรู้
เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง A Room Is Not Just a Room: the Library as Place and Why It Matters
เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง LocHal: Transformation from a Lending to a Social Library
จากประสบการณ์ที่วิทยากรท้้งสองท่าน นำมาแลกเปลี่ยนให้ฟังนั้น การจัดการพื้นที่สาธารณะจนประสบความสำเร็จ เกิดจากการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ชุมชนร่วมกันออกความคิดเห็น เมื่อทราบความต้องการของชุมชน ออกแบบให้สอดคล้อง มีการสำรวจใช้ “ประสบการณ์ผู้ใช้ ” มีการออกไปยังชุมชน และดูความเหมาะสมกับสถานที่นั้น สังเกตชุมชน สะท้อนถึงชุมชน เพื่อให้ห้องสมุดที่จะสร้างนั้น เป็นที่ต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง หรือมีบทบาทอย่างไรเพื่อชุมชน และต้องมีการทำงานต่อเนื่องให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะความต้องการพื้นที่สาธารณะก็เปลี่ยนไปด้วย
นอกจากนี้ คริสเตียน ลอเออร์เซน ได้สรุปทิ้งทาย ว่า ความล้มเหลว เป็นเรื่องปรกติแต่ไม่ใช่แบบที่เกิดซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิมๆ ควรเปิดใจรับความล้มเหลว เป็นวิธีที่ดีในการเรียนรู้ สามาถปรับเปลี่ยนวิธีใหม่
จากหัวช้อ To Organize World’s Information and the Future of Education and Learning โดย คุณจารุณี สินชัยโรจน์กุล ผู้บริหารโครงการด้านการศึกษา บริษัท กูเกิล ประเทศไทย จำกัด ที่นำเสนอในงาน TKForum 2021 หัวข้อเรื่อง “Library and Public Space for Learning” ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564 จัดโดย TK Park อุทยานการเรียนรู้ กล่าวถึงหลายโครงการของ Google ที่เกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งตามพันธกิจของ Google คือ การจัดการข้อมูลบนโลก ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด และ Google ได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงกับการศึกษามากมาย และจากประสบการณ์ที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ให้แนวคิดว่า ผู้สอนต้องช่วยกันสร้างเงื่อนไข (condition) ในการเรียนรู้ ตั้งคำถามที่ต้องชวนให้ผู้เรียนคิด เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดตามมากขึ้น ดังนั้น ในการศึกษาควรจะประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ เงื่อนไข (Condition) เทคโนโลยี (Technology) และ กลยุทธ์ในการสอน (Pedagogy) ผู้สอนมี Content ที่จะต้องส่งต่อให้กับผู้เรียน ผู้สอนต้องรู้จักสร้างคำถาม หรือเงื่อนไข ให้ผู้เรียนคิดต่อ คิดตาม ไม่รู้สึกเบื่อ และทำให้ผู้เรียนรู้จัก explore มากขึ้น ผู้สอนมีเทคโนโลยี แต่สิ่งสำคัญ คือ กลยุทธ์ในการสอน ทั้ง 3 ส่วนนี้จะต้องไปด้วยกัน
บทบาทของผู้สอน (Role of Educators) 1. การเป็น Designer เดิมเคยทำแต่แผนการสอน แต่ปัจจุบันต้องเน้นที่ผู้เรียนมากขึ้น ผู้เรียนมีรูปแบบการเรียนรู้แบบไหน จะได้ออกแบบการสอนได้
2. การเป็น Facilitator ผู้สอนต้องทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ คิดกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
3. การเป็น Lifelong learner เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต
ในแต่ละบทบาทของการเป็นผู้สอน Google มีแพลตฟอร์มที่สนับสนุนในแต่ละด้านเตรียมไว้ใช้อยู่แล้ว
แพลตฟอร์มต่างๆ ของ Google ที่สนับสนุนบทบาทของผู้สอน
คุณ คริสตัล ลิม-แลงจ์ (Crystal Lim-Lange) อดีตผู้อำนวยการ NUS Centre for Future-ready Graduates และผู้ก่อตั้งบริษัท Forest Wolf ประเทศสิงคโปร์ ได้นำเสนอภาพ ทักษะต่างๆ จากสภาเศรษฐกิจโลก ในการบรรยายเรื่อง Deep Human Resilience-the Skills and Mindsets We Need to Succeed in an Era of Change ขึ้นมานำเสนอในงาน TKForum 2021 หัวข้อเรื่อง “Library and Public Space for Learning” ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564 ตั้งแต่เวลา 9.00-16.30 น. จัดโดย TK Park อุทยานการเรียนรู้
ทักษะที่ต้องมีในปี 2022
ในคอลัมน์ขวามือเป็นทักษะที่อยู่ในช่วงขาลง หมายถึง ทักษะที่ไม่มีประโยชน์อีกต่อไป เป็นทักษะที่ได้จากการศึกษาแบบดั้งเดิม เช่น ความจำ การอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ ทักษะเหล่านี้ หุ่นยนต์ เอไอ หรือเครื่องจักร สามารถทำได้ดี ส่วนคอลัมน์ทางซ้ายมือเป็นทักษะที่อยู่ในช่วงขาขึ้น เป็นทักษะที่ทำให้คนแตกต่างจากหุ่นยนต์ เรียกว่า ทักษะขั้นสูง ทักษะเหล่านั้น คือ ความสามารถในการคิดเชิงลึก เชิงวิพากย์ เชิงวิเคราะห์ การสร้างนวัตกรรมเป็นทักษะการคิดขั้นสูง การมีความคิดสร้างสรรค์ ความฉลาดทางอารมณ์ ความเป็นผู้นำและการมีอิทธิพลต่อผู้อื่น หรือการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน การสื่อสารที่ซับซ้อน Read the rest of this entry »
จากการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ไปศึกษาดูงานห้องสมุดมารวย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 10.00 น. – 12.00 น. ซึ่งเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น. นั้น สรุปการศึกษาดูงาน ได้ดังนี้
วิทยากรผู้นำชม คือ คุณณัฐยา ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้จัดการ ส่วนงานห้องสมุดมารวย ได้ให้ข้อมูลว่า ห้องสมุดมารวย เป็นห้องสมุดเฉพาะทางด้านตลาดทุนครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทยที่ทันสมัย ด้วยหนังสือและสื่อความรู้ด้านการเงิน การลงทุนมากกว่า 20,000 รายการ พร้อมยกระดับสู่การเป็นห้องสมุดดิจิทัลด้านตลาดทุนชั้นนำระดับประเทศ เพื่อให้นักลงทุน ผู้ประกอบวิชาชีพด้านตลาดทุน และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านตลาดทุนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ตามเป้าหมาย คือ
ประชาชนทั่วไป เริ่มต้นเรียนรู้การวางแผนการเงินและการบริหารเงินให้งอกเงย
นักลงทุน เริ่มต้นลงทุนศึกษาปัจจัยพื้นฐานและต่อยอดการลงทุนแนวเทคนิค
ผู้ประกอบวิชาชีพ ก้าวสู่การเป็นผู้แนะนำการลงทุน นักวิเคราะห์ และนักวางแผนการเงิน
ผู้ประกอบการ ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีแนวคิดใหม่ และนำนวัตกรรมมาใช้ขับเคลื่อนองค์กร
ในภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ มีหน้าที่หลักคือ 1) Exchange Function หา Product ต่าง ๆ ให้นักลงทุน 2) Education นักลงทุน และบุคคลทั่วไปที่สนใจ อยากมีความรู้ไปบริหารจัดการการเงินของตน ซึ่งในส่วนของงานห้องสมุดทำหน้าที่ในส่วนของการให้ความรู้ (Education) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ งานบริการ และการจัดสรรทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ
ทรัพยากรสารสนเทศมีมากกว่า 20,000 รายการ 80% เป็น Core Subject ด้านการเงิน การลงทุน การบริหารธุรกิจ ส่วนอีก 20% เป็น Support Core Subject ได้แก่ การพัฒนาตนเอง ไอที ภาษา วรรณกรรม หนังสือเด็ก รูปแบบการให้บริการยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัล หรืออิเล็กทรอนิกส์ ได้ทั้งหมด เนื่องจากผู้ใช้บริการยังมีทั้งคนรุ่นเก่า และรุ่นใหม่ Read the rest of this entry »
กิจกรรม เรื่อง “Keep Your Heart Strong … in Digital Era” จงมีหัวใจที่เข้มแข็ง….ในยุคดิจิทัล เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัล ซึ่งจัดโดยศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องสื่อประสม ชั้น 2 อาคารบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมีวิทยากรที่ให้ความกรุณามาบรรยายในหัวข้อนี้ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนันท์ ศิริเจริญ อาจารย์ จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
วิทยากรถ่ายภาพร่วมกับผู้เข้ากิจกรรม
ซึ่งเป็นหนึ่งในที่กิจกรรมที่ส่งเสริมการให้ความรู้ทางวิชาการเพื่อการปรับตัวของผู้คนยุคใหม่ให้ทันโลกในยุคดิจิทัล และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้และนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเพื่อห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ
วิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถนำไปฝึกปฎิบัติได้จริง มีการทำ workshop ซึ่งเป็นไปอย่างสนุกสนาน มีกิจกรรม และเกมส์ พร้อมรางวัลมาแจกให้ได้ลุ้นตลอดเวลา เช่น การวาดรูปบุคคลในดวงใจที่ไม่สามารถลืมได้ การร้องเพลงประกวดบนเวทีหรือ Best talent singing contest ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้กล้าแสดงออกต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก และจดจำบทเพลงที่ตัวเองชื่นชอบได้ในเวลาจำกัด และการตอบปัญหาชิงรางวัลกับความรู้รอบตัว Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงาน Chula UltimateX Library ณ อาคารจามจุรี 10 ภายใต้การบริหารของสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 13.30-16.00 น. ซึ่งเป็นต้นแบบห้องสมุดแบบ Unmanned Library โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม และทีมงาน เป็นผู้บรรยาย
สำนักงานวิทยทรัพยากร เปิดตัว Chula UltimateX Library ห้องสมุดที่ให้บริการในรูปแบบ Unmanned Library แห่งแรกของประเทศไทย ณ บริเวณชั้น 2 และชั้น M2 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) เปิดให้บริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 – 19.00 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 18.00 น. และช่วงการสอบจะขยายเวลาจนถึง 21.00 น. ทุกวันจันทร์ – วันอาทิตย์ Read the rest of this entry »
ผู้เขียนได้ฟังการเสวนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ เนื่องในวันจดหมายเหตุสากล 2563 และวันแห่งการสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เรื่องความปกติใหม่ (New Normal) ที่ท้าทายงานจดหมายเหตุ : บททดสอบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 14.00-15.30 น. จัดโดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ วิทยากร มีดังนี้
วิทยากร Cr. ภาพ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
1. คุณจุฑาทิพย์ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการหอจดหมายเหตุแห่งชาติ 2. นายแพทย์ โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) 3. ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) Thai PBS 4. ดร.ฐิติมา ธรรมบำรุง ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 5. นางจิราภรณ์ ศิริธร รองผู้อำนวยการส่วนบริหารงานเอกสาร บริหารงานจดหมายเหตุ และวัตถุพิพิธภัณฑ์ ฝ่ายส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย 6. นางสาวชลิดา เอื้อบำรุงจิต ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) วิทยากรและผู้ดำเนินรายการ
สรุปความได้โดยสังเขป ดังนี้ Read the rest of this entry »
ถอดรหัสความหมายภาพมงคลตรุษจีน บรรยายโดย ดร.เจษฎา นิลสงวนเดชะ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ ห้อง 1111 C ชั้น 11 อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถ.สีลม กทม. จัดโดย อาศรมสยาม-จีนวิทยา วิทยากรได้นำภาพมงคลต่าง ๆ มาเป็นตัวอย่าง และกล่าวถึงที่มาของภาพ ซึ่งภาพมงคลของจีนแต่ละภาพ ล้วนต้องมีความหมาย
ภาพมงคล (จี๋เสียงถูอ้าน (ถูอ้าน = ภาพ)) คือ ภาพที่เป็นศิริมงคล สิ่งที่นำมา เพื่อความเป็นมงคล ของจีนต้องนำมาในสิ่งที่ต้องการ คำว่า จี๋เสียง เริ่มใช้สมัยจ้านกว๋อ จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง เป็นเรื่องราวความสุข วาสนา มงคล กุศลธรรม คำว่า เสียง เป็นมิติหมายแห่งความปิติยินดี เฉลิมฉลอง มีความหมายเหมือนกับภาษาไทย คือ สิริมงคล เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ ภาพวาดมงคลนี้ ใช้ติดในเทศกาลตรุษจีน เป็นภาพงานฝีมือ ใช้เวลาในการวาด 4-5 เดือน จึงมีราคาสูง กลายเป็นของขวัญล้ำค่า ภาพที่ติดให้เห็นทั่วไป มักจะเป็นภาพพิมพ์จากภาพวาด ภาพเหล่านี้แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของจีน ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ ลายผ้า ภาพวาด ลายตุ๊กตา ลายกระเป๋า ภาพมงคลของจีน ภาพต้องมีความหมาย ความหมายต้องเป็นมงคล ภาพที่เป็นมงคล ต้องมีมงคล 4 ประการ คือ ฟู่ (ทรัพย์สินเงินทอง) กุ้ย (ล้ำค่า มีค่ามาก) โซ่ว (อายุยืนยาว) สี่ (ยินดี)
คนจีนทำความสะอาดบ้านแล้วจะหาซื้อภาพ (ภาพที่วาดในกระดาษ (เหนียนฮว้า = จื่อฮว้า)) มาติด ประดับประดา เนื้อหายุคแรกจะเป็นเทพเจ้า เช่น เทพทวารบาล เพื่อป้องกันสิ่งที่ไม่ดีเข้ามา ติดที่หน้าพระราชวัง พระตำหนักต่างๆ
วิทยากรได้นำภาพจากหมู่บ้านหยางหลิ่วชิง (หยาง คือ ต้นหยาง หลิ่วชิง คือ มีความเขียวขจี) เมืองเทียนจิน อยู่ใกล้ปักกิ่ง เป็นหมู่บ้านที่ทำภาพวาดทั้งหมู่บ้าน ทุกบ้านมีความถนัดในการวาดภาพ ลงสี ระบายสี แต่ทุกวันนี้ ก็จะลดน้อยลง มีกระดาษ ที่ใช้เขียนพู่กันจีน สารส้ม ใส่ในสี เพราะสีจะไม่หลุดง่าย น้ำหมึก สีหลากหลาย เน้น ยี่ห้อตราหัวม้า เพราะคงทน สีฉูดฉาดสวยงาม
ขั้นตอนการทำมี 5 ขั้นตอน ดังนี้
ทั้งนี้สามารถติดตามชมการบรรยายได้ที่
คลิปบรรยาย
หรือ https://www.youtube.com/watch?v=DCU5Y6m_hQE
Read the rest of this entry »
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 อาศรมสยาม-จีนวิทยา จัดบรรยายหัวข้อ การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 โดย ดร. พิมพร วัฒนากมลกุล อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ ณ ห้อง 4-0806 ชั้น 8 อาคาร CP All Academy สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยมีหัวข้อในการบรรยาย 4 หัวข้อ ได้แก่
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การเรียนรู้และนวัตกรรม ผ่านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เพื่อชีวิตและการทำงาน ดังนั้นในการสืบค้นสารสนเทศ จะต้องทราบว่า ต้องการค้นหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหา และต้องรู้จักวิธีการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูล หรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา
การสืบค้นสารสนเทศ
เราจึงควรต้องเรียนรู้แหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ และวิธีการค้นหาแหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ ให้เหมาะสมกับเรื่องที่้ต้องการค้นหา วิทยากรได้แนะนำ Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ Knowledge Sharing เพื่อตอบโจยท์ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ข้อที่ 6 บริหารจัดการมหาวิทยาลัยและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการ ข้อที่ 2.5 สนับสนุนส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานมีการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO)
ดังนั้น คณะกรรมการจัดการความรู้ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมติเห็นว่า บุคลากรในหลายแผนกไม่มีความรู้ หรือความชำนาญในการเขียนโครงการ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น ควรเรียนรู้ไว้ และจำเป็นที่จะต้องเขียนโครงการให้เป็น จึงได้กำหนดหัวข้อการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การเขียนโครงการ” ในวันที่ 16, 30 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00-15.30 ณ ห้องประชุม 212 ชั้น 2 อาคารบรรณสาร
ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยสรุป องค์ความรู์จากวิทยากร คือ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มีดังนี้
โครงการ หมายถึง การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน การเขียนโครงการจึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการวางแผนที่จะทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย โครงการที่ดำเนินการ ต้องมีความเชื่อมโยกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ แผนปฏิบัติงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังภาพ
ความพันธ์ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ มีดังนี้
ความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ
ในการอบรม การเขียนโครงการครั้งนี้ ยึดแนวทางปฎิบัติตามแบบฟอร์มที่ทางกองแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คือ แบบ 103 From-project-103 ซึ่งมีส่วนประกอบ ดังนี้ Read the rest of this entry »