SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Bulk renew itemsในระบบ OCLC
ก.ค. 14th, 2020 by kamolchanok

Bulk renew items เป็นฟังก์ชั่นใหม่ที่ทำให้การทำงานของ Admin ที่ดูแลระบบทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น  เพื่อให้สะดวกมากขึ้นในการปรับ วันกำหนดส่ง (Due dates) ในระบบ WMS ให้กับผู้ใช้บริการครั้งละมากๆ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19  ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ต้องขยายการต่ออายุ หรือต่ออายุหนังสือให้กับผู้ที่ยืม โดยที่ไม่ต้องห่วงเรื่องการมาคืน หรือกลัวจะถูกปรับ เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่สามารถออกจากบ้านได้ เนื่องจากการเกิดโรคระบาด

ฟังก์ชั่นนี้ต้องจัดทำโดยผู้ดูแลระบบเท่านั้น ซึ่งมีขั้นตอนในการทำดังนี้

1.ดาวน์โหลดโปรแกรม worldshare-circ-bulk-renew-windows.exe Read the rest of this entry »

การ Shift row down และ Shift row up. ใน Bibliographic Record ของระบบ WMS
ก.พ. 5th, 2020 by ladda

วิธีการ Shift row down และ Shift row up. ด้วยการแก้ไขการสลับบรรทัดใน Bibliographic Record ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS)

จากการที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเปลี่ยน Location ของสาขาวิชา สหกิจศึกษา โครงงานพิเศษ และงานวิจัย ของนักศึกษาปริญญาตรีมาแก้ไขหมวดหมู่นั้น ได้พบว่าในบางส่วนของ Master record เช่น  tag 700 ยังมีจุดที่ต้องสลับสับเปลี่ยนบรรทัด คือ การสลับบรรทัดขึ้นลงก่อนหลังในตำแหน่งที่ปรึกษาและที่ปรึกษาร่วมอยู่  ซึ่งต้องมีการแก้ไขในส่วนนี้ให้ถูกต้องตามตำแหน่งและหน้าที่ก่อนหลัง ดังนั้นจึงขออธิบายสัญลักษณ์ที่ทำการเปลี่ยนให้ tag ต่างๆ สลับบรรทัด คือ Shift row down กับ Shift row up. ในบรรทัดที่มีเครื่องหมาย ลูกศร ขึ้นลง ซึ่งจะทำให้การทำงานสะดวกและย่นระยะเวลาในการแก้ไขง่ายขึ้น โดยไม่ต้องพิมพ์หรือ copy วางให้สับสนบรรทัด ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ไปที่โมดูล Metadata แล้วค้นหาชื่อเรื่องที่ต้องการแก้ไข เช่น เรื่อง ยาอมสารสกัดหญ้าดอกขาว* Read the rest of this entry »

คลิก Hide Facets ช่วยได้เยอะ
ต.ค. 29th, 2019 by uthairath

การ Search หรือค้นหาข้อมูล ให้ง่ายขึ้น โดยเลือกในส่วนของ Hide Facets

ผู้เขียนได้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของการลงรายการการสั่งซื้อหนังสือและสื่อต่างๆ เช่น เกม ฯลฯ ในฐานข้อมูลระบบ WorldShare Management Services (WMS) จึงต้องมีการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ให้ได้ตรงตามความต้องการมากที่สุดและมีขั้นตอนที่สามารถช่วยให้หาข้อมูลได้ง่ายขึ้น จึงขอนำเสนอวิธีการสืบค้น ที่จะช่วยให้สืบค้นได้ง่ายมากขึ้นจากการใช้ hide facet จากตัวอย่าง การสืบค้น Marrakech

รูปภาพที่ 1 เกมชื่อ Marrakech

1.เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือหรือชื่อเกมที่ต้องการสืบค้น ในครั้งนี้จะทำการสืบค้นเกมที่มีชื่อว่า Marrakech

ในโมดูล Acquisition เลือก Discover Items Search โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้ Read the rest of this entry »

กระบวนการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือของระบบ WMS (WorldShare Management Services) ก่อนดำเนินการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด
มิ.ย. 12th, 2019 by ladda

ในส่วนงานจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เมื่อได้รับเรื่องให้จัดซื้อหนังสือจากอาจารย์ นักศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆ ทางแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะต้องตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือในระบบห้องสมุด  WMS  (WorldShare Management Services) ก่อนการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดทุกครั้ง

ประโยชน์ในการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือมีดังนี้

  1. เพื่อป้องกันการจัดซื้อหนังสือ ซ้ำ
  2. เพื่อป้องกันไม่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณของห้องสมุด
  3. เพื่อตรวจสอบความต้องการเพิ่มเติมของจำนวนหนังสือ เนื่องจากหนังสือชื่อใดที่มีอยู่แล้วใน ศูนย์บรรณสารสนเทศและอาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ ก็สามารถจัดซื้อเพิ่มเติมได้ เนื่องจากมีผู้ใช้จำนวนมาก

ดังมีวิธีการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือ ดังนี้

1. เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms Read the rest of this entry »

Linked data กับ WorldCat – OCLC
ก.พ. 1st, 2019 by supaporn

ตอนที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียติ ตัดสินใจเลือกซื้อระบบ WorldShare Management Services หรือ WMS ซึ่งพัฒนาโดย OCLC เพราะว่า OCLC เป็นผู้พัฒนา WorldCat ซึ่งเป็นเหมือนสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalog ของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากมีสมาชิกอยู่ในเครือข่ายนำระเบียนบรรณานุกรมเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถที่จะขยายผลและต่อยอดของระเบียนบรรณานุกรมที่มีอยู่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ข้อมูล

OCLC ได้ขยายผลในเรื่องของ Linked data โดยใช้ฐานข้อมูลทางบรรณานุกรมเดียวกันนี้ในระบบ WMS แต่การพัฒนาโมดูล WCD หรือ WorldCat Discovery ซึ่งเป็นโมดูลการสืบค้น หรือ OPAC ของ WMS อาจจะยังไม่เท่ากับ WorldCat (ซึ่งตอนนี้ เรียกกันว่า WorldCat Local) คาดว่าประมาณกลางเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2562 WorldCat Local จะปิดลงและ WCD ก็จะได้รับการพัฒนาและมีศักยภาพเช่นเดียวกับ WorldCat Local

OCLC พัฒนาเรื่อง Linked data อย่างไรบ้าง  (Carol Jean Godby, Shenghui Wang and Jeffrey K. Mixter จากหนังสือ Library Linked Data in the Cloud หน้า 9)

Carol Jean Godby, Shenghui Wang and Jeffrey K. Mixter จากหนังสือ Library Linked Data in the Cloud หน้า 9)

Read the rest of this entry »

Change the Game โลกเปลี่ยน ห้องสมุดเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยน
ม.ค. 18th, 2019 by dussa

งาน APRC หรือ Asia Pacific Regional Council Conference ประจำปี 2018 ของ OCLC จัดภายใต้หัวข้อ Change the Game ที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน ระหว่างวันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน 2561 Skip Prichard ซึ่งเป็น CEO ของ OCLC ได้พูดถึงความสำคัญของคำว่า Change the Game ภายใต้หัวข้อ How can we change the game? ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

ห้องสมุดเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง    

Skip Prichard เกริ่นนำ โดยพูดถึงเรื่องรอบ ๆ ตัว ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น แผนที่แบบกระดาษ เปลี่ยนเป็นแผนที่ดูจากคอมพิวเตอร์ จากโทรศัพท์มือถือ ตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญที่ไม่มีใครใช้แล้ว ก็เปลี่ยนเป็น การใช้โทรศัพท์ในมือของตนเอง การเฝ้าบ้านที่เคยใช้สุนัข ก็เปลี่ยนเป็น การดูแลบ้านผ่านโทรศัพท์มือถือ จากนั้นก็กล่าวถึง เกมส์ ให้เราเข้าใจมากขึ้น จากพัฒนาการแบบง่าย ๆ เช่น ตู้เกมส์จอดำ เกมส์แบบตลับ เกมส์คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนรูปแบบไปอย่างเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น ถึงคราวที่ห้องสมุดต้องเปลี่ยนแล้ว

จุดเปลี่ยนที่ วิทยากร กล่าวคือ สิ่งที่ห้องสมุดต้องเปลี่ยนใน 4 ด้าน ได้แก่

  • You Chang your Frame (เปลี่ยนกรอบ/เปลี่ยนสิ่งที่ต้องเห็น)
  • You Chang your Culture (เปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานใหม่)
  • You Chang your Mindset (เปลี่ยนแนวคิดของตัวเอง)
  • You Chang your Narrative (เปลี่ยนวิธีการเล่าเรื่องใหม่)

การเปลี่ยนของจุดเปลี่ยนทั้ง 4 ด้านต้องเริ่มจากตัวเราเอง เปลี่ยนที่ตัวเราเอง แล้วส่งต่อการเปลี่ยนแปลงให้คนอื่น อย่าสั่งให้คนอื่นเปลี่ยนโดยที่ตัวเองทำแค่สั่ง เพราะสุดท้ายมันไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้น นอกจากเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแล้ว ที่สำคัญสิ่งที่ต้องรักษาไว้ก็คือ

  • Keep Your Values (เก็บค่านิยม/คุณค่าของห้องสมุด)
  • Keep Your Principles (เก็บหลักการ/หลักการพื้นฐานของห้องสมุด)
  • Keep Your Purpose (เก็บวัตถุประสงค์/จุดประสงค์ของการทำงานห้องสมุด)
  • Keep Your Passion (เก็บความรัก/ความหลงไหลที่มีคุณค่าในงานห้องสมุด)

บทสรุปจากการฟังในวันดังกล่าว สื่งที่ต้องเปลี่ยน ทั้ง 4 ด้านแล้ว ที่สำคัญที่สุด ในความคิดที่ได้จากการฟัง ต้องเปลี่ยนความคิดตัวเอง (Mindset) หมายความถึงบรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องเปลี่ยนความคิดตัวเองก่อน ก้าวตามโลกให้ทัน ต้องมีแนวคิดที่ทันสมัย ตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และ อีกสิ่งที่ต้องเก็บไว้รักษาไว้ คือ ความเป็นเอกลักษณ์ของห้องสมุด เช่น เป็นแหล่งที่มีข้อมูลหลากหลายจัดเก็บอย่างเป็นระบบด้วยมืออาชีพ และต้องเก็บความหลงใหล Passion ความรักในห้องสมุดอย่างยั่งยืน

 

การปรับปรุงพัฒนางาน Acquisition Module ในระบบห้องสมุด WMS
ม.ค. 7th, 2019 by ladda

จากการที่ได้ปฏิบัติงาน Acquisition module ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) นี้มาเป็นเวลา 1 ปี ได้เห็นถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการทำงานนี้มาโดยตลอด ดังนั้น จึงขอเขียนขั้นตอนการทำงานในโมดูลนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด เนื่องจากระบบ WMS มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องในขั้นตอนการทำงาน Acquisitions ซึ่งได้เคยเขียนขั้นตอนการทำงานนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง ดังนั้นจึงขอแสดงขั้นตอนงานตัดงบประมาณ Invoice อีกครั้ง เพื่อให้เห็นงานที่มีการเปลี่ยนแปลง ความละเอียด ชัดเจน กระชับ มากยิ่งขึ้น อีกครั้งตามขั้นตอนต่อไปนี้ รายละเอียด

OCLC’s Integrated Management Platform, WorldShare Management Services (WMS) สามารถช่วยตอบโจทย์ในปัจจุบันของห้องสมุดได้อย่างไร
ธ.ค. 29th, 2018 by supaporn

หัวข้อดังกล่าว เป็นการจัดเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการเปิดตัวระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) อย่างเป็นทางการของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561 โดยบริษัท แอดวานซ์ มีเดีย เซอร์วิส (Advance Media Service-AMS) ได้จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรื่อง OCLC’s integrated management platform, WorldShare Management Services (WMS) สามารถช่วยตอบโจทย์ในปัจจุบันของห้องสมุดได้อย่างไร เพื่อให้ห้องสมุดที่สนใจ เข้าร่วมฟัง

OCLC’s Integrated Management Platform, WorldShare Management Services (WMS) สามารถช่วยตอบโจทย์ในปัจจุบันของห้องสมุดได้อย่างไร

ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับ และกล่าวถึงการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services (WMS) มาใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย และทีมงาน AMS ได้มาอัพเดท feutures ใหม่ ๆ ของ WMS ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของห้องสมุด สุดท้ายเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ในการนำระบบ WMS มาใช้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พร้อมสาธิตระบบให้แก่ผู้สนใจเข้าฟัง ณ ห้องสื่อประสม (ห้องบรรยายพิเศษ 2) ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Read the rest of this entry »

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ
ก.ย. 12th, 2018 by ปัญญา วงศ์จันทร์

มาทำความรู้จัก App Digby ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับมือถือตัวช่วยในการใช้งานในห้องสมุดกันครับว่าช่วยสนับสนุนการใช้งานห้องสมุดอย่างไรบ้าง

1. เข้าถึงรายการบรรณานุกรมของหนังสือ

2. นำขึ้นชั้นหนังสือได้ตามเลขหมู่

3. ทำ Inventory ของหนังสือ

4. คืนออกจากระบบผู้ใช้บริการ

5. Capture หน้าจอของบรรณานุกรมช่วยลดในการจดทำให้ประหยัดกระดาษ

มาเรียนรู้ App Digby เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานกันนะครับ

ทำความรู้จัก App Digby

จากแอพ Digby นี้ ทาง OCLC ได้พัฒนาการใช้งานของแอพพลิเคชัน ให้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้นเพื่อความสะดวกในการทำงานในห้องสมุดหรือพกพาแอพพลิเคชัน Digby ไปใช้งานนอกห้องสมุดได้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงาน ผมหวังว่าทาง OCLC จะเพิ่มลูกเล่นเพิ่มขึ้น เช่น การยืม การชำระค่าปรับ หรือการจองหนังสือผ่านแอพพลิเคชันในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

สถิติห้องสมุดกับงาน Circulation Events Detail Report ใน WMS

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก 

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมา

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

 

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS จุดเด่น/ความแตกต่าง (ตอนที่ 2)
พ.ค. 20th, 2018 by supaporn

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดในฐานะที่เคยทำงานด้านวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศหรือ Cataloging ก็คือ โมดูลในการลงรายการบรรณานุกรมนั้น ในระบบ WorldShare Management Services – WMS นั้น ให้ความสำคัญกับการทำเมทาดาทา การบริหารจัดการเมทาดาทา ขั้นตอนการทำงานในโมดูลเทาดาทาจึงมีแตกต่างจากโมดูล Cataloging ของระบบห้องสมุดโดยทั่วไป กล่าวคือ ในโมดูลเมทาดาทา (Metadata Module) ซึ่งเป็นโมดูลของการนำเข้าทรัพยากรสารสนเทศ หรือเดิมมักจะรู้จักกันในชื่อว่า Cataloging Module จะมีการบริหารจัดการข้อมูลทางบรรณานุกรม หรือเมทาดาทาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม และเนื่องจากเป็นการรวมรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่เป็นสมาชิก OCLC มากกว่า 7,200 แห่งทั่วโลก จึงทำให้สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างการสร้างระเบียนข้อมูลทางบรรณานุกรมแตกต่างจากเดิมเพื่อให้สนับสนุนการทำงานที่เป็นระบบ World Cataloging ซึ่งก็คือ พัฒนาการของการเป็นระบบสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalogue นั่นเอง

สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างระเบียนทางบรรณานุกรมของระบบ WMS เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงกับ WorldCat นั้น จึงแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย คือ

1. Master Record
2. Local Bibliographic Data (LBD)
3. Local Holding Record (LHR)

โครงสร้างระเบียนบรรณานุกรม

 

Master Record หมายถึง ระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ ที่ห้องสมุดนำเข้าระบบเป็นแห่งแรก จะถือว่าระเบียนนั้น เป็นระเบียนหลัก ประกอบด้วยข้อมูลทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศที่นำเข้าตามหลักเกณฑ์การลงรายการทางบรรณานุกรมแบบ AACR2 และ MARC21 หรืออาจจะเป็น RDA ห้องสมุดอื่นที่จะนำเข้าในระบบ WorldCat และตรวจสอบความซ้ำซ้อนและพบว่ามีระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำเข้าอยู่แล้ว (Master record) สามารถใช้ Master record เพื่อเป็นระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดตนเองได้ โดยไม่ต้องลงข้อมูลทางบรรณานุกรมใหม่ แต่สามารถเพิ่มข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นข้อมูลเฉพาะของห้องสมุดได้ในส่วนประกอบที่เรียกว่า Local Bibliographic Data (LBD) และใส่ข้อมูลเกี่ยวกับ item information ในส่วนประกอบที่เรียกว่า Local Holding Record (LHR)

Local Bibliographic Record (LBD) หมายถึง ข้อมูลทางบรรณานุกรมที่ห้องสมุดแห่งอื่นๆ ที่ใช้ Master record ร่วมกัน มีข้อมูลที่เป็นส่วนของห้องสมุดต้องการใส่ เช่น หัวเรื่อง (ที่กำหนดใช้ขึ้นเอง) หมายเหตุ (Note) ที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นเอง ชื่อชุด ที่กำหนดเอง

Local Holding Record (LHR) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับ item ของระเบียนนั้นๆ ได้แก่ เลขหมู่ หมายเหตุ (ที่เกี่ยวกับหนังสือ) บาร์โคด ราคา การกำหนดการยืม การกำหนดการให้ทำสำเนา เป็นต้น

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa