มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นด้านคุณธรรม 6 ประการ คือ ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ และ กตัญญู มีการส่งเสริมให้นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ มีคุณธรรมทั้ง 6 ประการในการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิต รวมทั้งยึดถือเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยอีกแนวทางหนึ่ง
ศูนย์บรรณสารสนเทศเป็นหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้า การวิจัย จึงได้รวบรวมสารสนเทศด้านคุณธรรม เพื่อใช้เป็นแหล่ง สารสนเทศทางด้านคุณธรรม เน้นในด้านความซื่อสัตย์ ประหยัด รับใช้สังคม มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1. วางแผนค้นหาข้อมูลด้านคุณธรรมประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ ประหยัด รับใช้สังคม
2. ค้นหาจากแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ เช่น ระบบห้องสมุด ฐานข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้ง สารสนเทศที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต
3. รวบรวมข้อมูลที่สืบค้นได้ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น หนังสือ บทความ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อออนไลน์ เป็นต้น
4. เขียนข้อมูลที่รวบรวมได้เป็นการลงรายการทางบรรณานุกรมแบบ APA
5. นำสารสนเทศด้านคุณธรรมเผยแพร่ขึ้นเว็บไซต์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/virtue
นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มเติมเว็บไซต์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศแต่ละด้านไว้ด้วย
จากการไปศึกษาดูงานที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ Unmanned Library ภายใต้ชื่อ “Chula Ultimate X Library” โดย สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ทำให้รู้สึกและมีความเห็นว่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก็มีสื่อทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่พัฒนาเองและที่ซื้อมาให้บริการ อยู่พอสมควร น่าจะได้มีการรวบรวมและแนะนำ ให้เป็นที่รู้จัก และจะได้มีการเข้าถึงในวงกว้างมากขึ้น
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่จะขอแนะนำ ขอแบ่งเป็น
1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง
2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศจัดซื้อมาให้บริการ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทรือฐานข้อมูลที่เก็บสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อดิจิทัล ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมหาวิทยาลัยพัฒนาเอง โดยครอบคลุมถึงการดิจิไทซ์เอกสาร พัฒนาระบบเพื่อให้สืบค้น และเข้าถึงได้ นำเผยแพร่ขึ้นเว็บไซต์ ได้แก่
1. ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เป็นฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดิจิไทซ์และให้บริการตั้งแต่ฉบับปี 2464 จนถึง ปี 2530 และยังดิจิไทซ์อย่างต่อเนื่อง สามารถอ่านรายละเอียดของประวัติความเป็นมาได้จากบทความ ความร่วมมือระหว่างศูนย์บรรณสารสนเทศกับหอสมุดแห่งชาติ ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/library-cooperation-national-library-thailand-hcu เป็นฐานข้อมูลระบบปิด นักวิจัยหรือผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าสามารถติดต่อมาที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อขออนุญาตการเข้าใช้
2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิป่อเต็กตึํง โรงพยาบาลหัวเฉียว สามารถเข้าอ่านได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/e-book-hcu
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของ มฉก. / มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ปรับกระบวนการแนะนำหนังสือใหม่ ซึ่งแต่เดิม จะแนะนำหนังสือใหม่ หลังจากที่ลงรายการทางบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งกว่าจะผ่านกระบวนดังกล่าว จะใช้เวลาพอสมควรกว่าหนังสือใหม่จะออกให้บริการ จึงได้มีการปรับกระบวนแนะนำหนังสือใหม่ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. เมื่อแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศคัดเลือกและจัดหาหนังสือใหม่ เข้ามาในห้องสมุดแล้ว จะแนะนำให้แก่ผู้อ่านทันทีผ่าน Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศ (https://www.facebook.com/libhcufanpage) โดยมีการโปรยคำเพื่อเป็นการแนะนำหนังสือ เช่น อาหาร (สมอง) เมนูใหม่ รอบวันที่ ….. และติดแฮชแทค #หนังสือจัดซื้อเข้ามาใหม่ #หนังสือเข้ามาใหม่ #HCULIB #HCULibrary www.lib.hcu.ac.th และให้ผู้ที่สนใจทักจองเข้ามา เพื่อที่ว่าจะได้รีบดำเนินการลงรายการในระบบห้องสมุดและนำส่งให้ผู้ใช้อย่างเร็วที่สุด
ภาพที่ 1 แนะนำหนังสือใหม่ขึ้น FB
ในยุคดิจิทัลที่โลกมีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ศูนย์บรรณสารสนเทศได้เห็นความสำคัญของเรื่องนี้จึงมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดแสดงแนะนำหนังสือใหม่แต่ละเดือนของปีการศึกษาด้วย QR code แนะนำหนังสือใหม่ผ่าน Facebook เพียงแต่ใช้โทรศัพท์มือถือสแกน QR code หนังสือใหม่ที่แนะนำ ก็จะได้รายละเอียดข้อมูลของหนังสือเล่มนั้น ๆ ปรากฎในหน้าจอมือถือ
ผู้เขียนรับผิดชอบในการจัดทำ QR Code แนะนำหนังสือใหม่ที่ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแบ่งปันการทำ QR แนะนำหนังสือใหม่ ผ่าน Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังนี้
1. เข้าเว็บไซต์ https://web.facebook.com/pg/libhcufanpage/photos/?ref=page_internal
จัดทำหนังสือลงใน Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศในแต่ละเดือน โดยใส่บรรณานุกรมหนังสือ และรายละเอียดแบบย่อให้ผู้ใช้ได้ทราบพอสังเขป หลังจากแนะนำหนังสือผ่าน Facebook เสร็จแล้ว นำมาทำ QR code Read the rest of this entry »
เครื่อง HP Scanjet Autometic Document Feeder
ศูนย์บรรณสารสนเทศได้จัดแสดงแนะนำหนังสือใหม่ เพื่อส่งเสริมการอ่าน มีการจัดแสดงหนังสือแนะนำทุกเดือนที่บริเวณ ชั้น 1 และประชาชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ เช่น Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
ผู้เขียนมีหน้าที่ในการแนะนำหนังสือผ่าน FB ด้วย เริ่มตั้งแต่การสแกนหน้าปกของหนังสือ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
เปิดเครื่อง HP Scanjet Autometic Document Feeder ขึ้นคำว่า Ready ก่อนจึงจะสแกนหนังสือได้
นำหนังสือที่ต้องการจะสแกน กลับหน้าปกวางลงบนเครื่องสแกน
ปิดฝาเครื่องสแกนให้เรียบร้อย
สแกนหนังสือโดยโปรแกรม NAPS2
ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 10.00 -12.00 น. โดยมี น.ส. ฉัตรรัตน์ แสงคง เป็นผู้บรรยาย และนำชมห้องสมุด
คุณฉัตรรัตน์ แสงคง (วิทยากร)
iQNewsClip คือบริการคลิปปิ้งข่าวออนไลน์ (กฤตภาคข่าว) ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย นำเสนอข่าวที่ตัดจากหนังสือพิมพ์กว่า 30 ฉบับ ในรูปแบบของคลิปข่าวที่เป็นภาพสีและขาวดำที่มีความคมชัดสูง จัดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่โดยมีฟังก์ชั่นในการสืบค้นข่าวแบบ Full-Text เพื่อความสะดวกในการใช้งาน สามารถเลือกดาวน์โหลดเป็นคลิปข่าวที่เป็นภาพสี หรือขาวดำ ตัวหนังสือสะอาดคมชัดอ่านง่าย และการสืบค้นเป็นแบบ Full-Text คือ สืบค้นได้ถึงเนื้อหาข่าว มิใช่เพียงแค่หัวข้อข่าว สิ่งที่กำหนดประเภทของ iQNewsClip คือ ระยะเวลาของข้อมูลย้อนหลัง ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบ คือ (1) ย้อนหลัง 30 วัน และ (2) ย้อนหลัง 30 วัน ณ วันที่เริ่มรับบริการโดยสะสมต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังรับบริการอยู่ หากผู้ใช้งานต้องการใช้ข้อมูลย้อนหลังเพื่อการสืบค้นมากกว่า 30 วัน ควรเลือกรับบริการแบบ (2)
ผู้เขียนซึ่งได้รับมอบหมายในการคัดเลือกข่าวตัดจากหนังสือพิมพ์ เสนอผู้บริหาร จึงขอแบ่งปันความรู้ในเรื่องการรวบรวมข่าวกฤตภาคจากการทำงานเป็นขั้นตอนที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับความรู้และนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้าง
หน้าจอภาพ IQNewsClip
กระเป๋า ” Health Book : อ่านเพื่อสุขภาพดี”
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดบริการมุมหนังสือน่าอ่านของห้องสมุด (ชั้น4) เป็นเสมือนมุมสุขภาพ ผ่าน กระเป๋า” Healthy books : อ่านเพื่อสุขภาพดี” ของ สำนักงานกองทุนสนันสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) จากโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ “เครือข่ายสร้างปัญญา”
สำนักงานกองทุนสนันสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ได้ผลิตสื่อองค์ความรู้สุขภาวะหลากรูปแบบ อาทิ หนังสือ นิตยสาร วีซีดี มุ่งให้นำความรู้จากสื่อมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีสุขภาวะ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ จึงจัดกิจกรรม “เครือข่ายสร้างปัญญา” ผลิตสื่อบรรจุหนังสือดีในกระเป๋าเดินทาง ทำหน้าที่เสมือนห้องสมุดเคลื่อนที่ เรียกว่า Healthy Book มอบให้กับห้องเครือข่ายห้องสมุด จำนวน 30 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดสถานศึกษา โรงพยาบาล และแหล่งเรียนรู้สุขภาวะ สุขภาพดีหาซื้อไม่ได้ การป้องกันดีกว่าการรักษา เชิญมาหาความรู้ได้จาก หนังสือดีๆ เพื่อสุขภาพและหนังสืออื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีหนังสือการสร้างสุขภาพ เพิ่มเข้ามาให้บริการเป็นอย่างมากมายทำให้ผู้อ่านมาใช้บริการและยืมหนังสือเหล่านี้กลับไปอ่านกัน หรือไม่ก็จะนั่งอ่านในห้องสมุด ได้ทั้งความเพลิดเพลิน และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันระหว่างผู้ใช้บริการกันเอง Read the rest of this entry »
ตำราออร์โธปิดิกส์ ฉบับกระเป๋า
ตำราออร์โธปิดิกส์เล่มนี้ เป็นตำราวิชาการของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาออร์โธปิดิกส์มีบทความการวิจัยเรื่องกระดูก ข้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ เอ็น เอ็นกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อประสาท) ซึ่งประกอบกันเป็นโครงร่างและทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว จุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน หนังสือเล่มนี้มีคำศัพท์จากพจนานุกรมศัพท์แพทยศาสตร์ ศัพท์วิทยาศาสตร์ คำที่เขียนทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เหมาะสำหรับผู้อ่านที่มีความสนใจ และนักศึกษาแพทย์กำลังศึกษาวิชาออร์โธปิดิกส์
ข้อมูลหนังสือ:
ตำราออร์โธปิดิกส์ ฉบับกระเป๋า (Orthopaedics pocket textbook) บรรณาธิการ กิตติ จิระรัตนโพธิ์ชัย, สุกิจ แสงนิพันธ์กูล, กิติวรรณ วิปุลากร และสุรชัย แซ่จึง หมวดหมู่ WE168 ต367 2557 หนังสือทั่วไปชั้น 4 (ศูนย์บรรณสารสนเทศ)
เมื่อหัวใจเป็นมิตรกับฝืนป่า
หนังสือเล่มนี้เป็นกรณีศึกษาจากห้าพื้นที่ในโครงการชุมชนวิถีชีวิตเป็นมิตรกับผืนป่าตะวันตก ซึ่งเป็นผืนป่าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ครอบคลุมหกจังหวัด ตั้งแต่ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี มีพื้นที่กว่า 12 ล้านไร่ ประกอบไปด้วยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 6 แห่ง และอุทยานแห่งชาติ 11 แห่ง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ้มน้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำท่าจีน ลุ่มน้ำปิง และบางส่วนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ สรรพสัตว์น้อยใหญ่ ร่วมไปถึงชุมชุนที่อาศัยอยู่ในผืนป่า บริเวณประชิดขอบป่า และบริเวณโดยรอบป่า ซึ่งการดูแลรักษาผืนป่าตะวันตก ไม่เใช่เพียงการให้ความสำคัญกับผืนป่าและสัตว์ป่าเท่านั้น แต่ต้องหมายรวมถึงการทำให้คนอยู่คู่กับป่าและสัตว์ป่าได้ ผู้อ่านจะได้รับรู้การทำงานของมูลนิธิสืบนาคะเสถียรในผืนป่าตะวันตก เพื่อเป็นการเผยแพร่สู่สาธารณชน ได้นำไปศึกษา และประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการอนุรักษ์ป่าไม้ของประเทศไทย หมวดหมู่ SD414.T5 ม843 2558
รายการอ้างอิง
เมื่อหัวใจเป็นมิตรกับผืนป่า. (2558). “โครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วมในผืนป่าตะวันตก” มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. กรุงเทพฯ : ธนาคารไทยพาณิชย์.