SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเพิ่มและการบันทึกรายการระเบียนบรรณานุกรม (Bib Record) ในกรณีใช้ระเบียนบรรณานุกรมร่วมกับห้องสมุดอื่น
ก.พ. 2nd, 2021 by jittiwan

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งเป็นระบบห้องสมุดที่รวมบรรณานุกรมของสมาชิกที่มีข้อมูลรวมกันในระบบ การนำเข้าข้อมูลทางบรรณานุกรมเข้าระบบ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำเข้าก่อนเสมอ ซึ่งจะใช้เขตข้อมูลต่อไปนี้ในการตรวจสอบ ได้แก่

  1. tag 020 ISBN
  2. tag 100 ผู้แต่ง
  3. tag 245 ชื่อเรื่อง
  4. tag 250 ครั้งที่พิพ์
  5. tag 260 ปีพิมพ์

กรณีที่เขตข้อมูลดังกล่าวตรงกับหนังสือที่กำลังนำเข้า สามารถใช้ bibliographic record ร่วมกันได้ และสามารถเพิ่ม
ข้อมูลใน bibliographic record ให้สมบูรณ์มากขึ้นได้ ดังตัวอย่าง Read the rest of this entry »

การตรวจสอบเลขบาร์โคดจาก Open Details
มิ.ย. 1st, 2020 by jittiwan

ในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มีฟังก์ชั่นการใช้งาน คือ Open Details เพื่อให้สามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดของรายการทางบรรณานุกรมของระเบียนนั้น ๆ ได้

ในกรณีที่ต้องการสืบค้นเพื่อต้องการทราบว่า หนังสือที่สืบค้นนั้น ประกอบด้วย เลขบาร์โคด ใดบ้าง สามารถตรวจสอบผ่าน Open Details ได้ ดังนี้

1. สืบค้นรายการหนังสือที่ต้องการ 

Read the rest of this entry »

การจัดการหนังสือทางด้านการพยาบาลที่วิทยาเขตยศเส
ม.ค. 17th, 2020 by jittiwan

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เปิดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา เมื่อปี 2548  มีการเรียนการสอนทั้งสองวิทยาเขต คือ วิทยาเขตยศเส และวิทยาเขตบางพลี จัดแหล่งทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน คือ ห้องสมุด ไว้ทั้งสองวิทยาเขต ปี 2562 ได้มีการปรับปรุงระบบการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และบางหลักสูตรของคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งมีการเรียนการสอนอยู่ที่วิทยาเขตยศเส ให้มาเรียนรวมกันที่วิทยาเขตบางพลีเพียงแห่งเดียว ห้องสมุดที่วิทยาเขตยศเส จึงต้องมีการขนย้ายทรัพยากรสารสนเทศมาให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี ทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุดยศเส นั้น เป็นหนังสือทางด้านพยาบาลศาสตร์เป็นส่วนมาก จึงต้องทำการขนย้ายกลับไป

แนวทางการพิจารณาหนังสือที่จะขนย้ายมาให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี Read the rest of this entry »

ความสำคัญของการพิมพ์สารบัญของหนังสือในฐานข้อมูล
มิ.ย. 28th, 2019 by jittiwan

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลแบบ word search ซึ่งผิดกว่าแต่ก่อนที่ต้องพิมพ์รายการบรรณานุกรมของหนังสือลงบัตรรายการ ดังนั้น บรรณารักษ์ควรพยายามบันทึกข้อมูลที่สำคัญเพื่อให้ระบบสืบค้นได้ โดยเฉพาะหนังสือที่เป็นรวมบทความ  รวมเรื่อง เอกสารการประชุม เอกสารการสัมมนา (ซึ่งมีบทความทางวิชาการที่น่าสนใจ) ถ้าบรรณารักษ์ไม่บันทึกสารบัญของหนังสือประเภทดังกล่าว ลงในเขตข้อมูล 505 (สารบัญ) จะทำให้ผู้ใช้บริการสืบค้นหรือหาเนื้อหาดังกล่าวที่อยู่ในหนังสือเล่มนั้นไม่พบ

ตัวอย่าง หนังสือที่เป็นรวมบทความ (ยังไม่ได้พิมพ์สารบัญ tag 505)

  1. พิมพ์ชื่อบทความที่ต้องการสืบค้น
  2. คลิกที่ Search จะปรากฎ ดังรูป (ไม่พบบทความที่ต้องการ)
  3. ทั้งนี้ เรื่อง ดอกไม้ในห้องเผด็จการ เป็นบทความหรือเรื่องหนึ่งในหนังสือ น้ำใส่กะโหลก นั่นเอง เมื่อไม่มีการบันทึกเข้าไป ระบบจึงไม่สามารถสืบค้นได้ ดังนั้น บรรณารักษ์จึงควรบันทึกบทความดังกล่าว เข้าไป โดยการสืบค้น หนังสือ เรื่องดังกล่าว เพื่อมาพิมพ์สารบัญเข้าไป

Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการเปลี่ยน Location ในระบบ WMS
พ.ค. 4th, 2019 by jittiwan

ผู้เขียนมีหน้าที่รับผิดชอบวิเคราะห์หมวดหมู่สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย คณะกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะการแพทย์แผนจีน ทรัพยากรสารสนเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ส่วนมากจะอยู่ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี จะมีบางส่วนอยู่ที่วิทยาเขตยศเส เมื่อจำเป็นจะต้องย้ายกลับมาให้บริการที่วิทยาเขตบางพลี บรรณารักษ์ผู้รับผิดชอบจึงต้องนำทรัพยากรสารสนเทศมาเปลี่ยน Location ให้อยู่ที่วิทยาเขตบางพลี เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการค้นหา ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

1. นำตัวเล่มหนังสือมาสืบค้น ดังตัวอย่าง สืบค้นด้วย ISBN

2. เลือกรายการที่ตรงกับตัวเล่ม ดังตัวอย่าง คลิกที่ชื่อเรื่อง

 

3. ตรวจสอบความถูกต้องหรือมีการเพิ่มเติมรายการบรรณานุกรมให้สมบูรณ์มากขึ้นใน Master record

Read the rest of this entry »

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร
มิ.ย. 8th, 2018 by jittiwan

ฐานข้อมูลที่มีการใช้ภาษาของเอกสารมาเป็นกรองในการสืบค้น เช่น ฐานข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดนั้น การที่จะดึงหรือกรองการสืบค้นด้วยภาษานั้น ในแต่ละระเบียนจึงต้องกำหนดรหัสภาษาไว้ในเขตข้อมูลที่ใช้ในการดึงรหัสภาษามาเป็นดรรชนีในการค้น ดังนั้น  การไม่ใส่รหัสภาษา จะส่งผลให้การค้นของระบบห้องสมุดที่สามารถกรองการค้นด้วยภาษาของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ไม่สามารถประมวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS มีการดึงรหัสภาษามาเป็นตัวกรองการสืบค้น แต่ผู้ใช้บริการ จะไม่ทราบแต่อย่างใดว่า มีข้อมูลรายการใดบ้างที่ไม่สามารถดึงออกมาได้ แต่ในส่วนการทำงาน (Staff) จะเห็นว่ามีรายการใดบ้าง ที่ขึ้นคำว่า No Linguistic content  และ Undetermined  Read the rest of this entry »

สหบรรณานุกรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย Union Catalog of Thai Academic Libraries (UCTAL)
พ.ค. 13th, 2018 by jittiwan

แนวความคิดของการจัดทำสหบรรณานุกรมสำหรับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย คือ การใช้รายการร่วมกัน อันจะช่วยรองรับการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ลดความ ซ้ำซ้อนในการจัดทำรายการบรรณานุกรม และใช้ประโยชน์ในการยืมระหว่างห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษาไทย รวมทั้งอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการ ทั้งนักศึกษา อาจารย์และนักวิชาการในการค้นหาหนังสือที่ต้องการโดย ที่ไม่ต้องเข้าเว็บไซต์ของแต่ละห้องสมุด ดังนั้นการจะทราบว่า ห้องสมุดแห่งใดมีทรัพยากรสารสนเทศรายการใดบ้าง จึงต้องมีการรวบรวมข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดแต่ละแห่ง

หน่วยวิจัยนวัตกรรมด้านสารสนเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database System) ให้สามารถรองรับการดำเนินงานสหรายการ บรรณานุกรม (Union catalog) ของห้องสมุดสมาชิกเครือข่าย ThaiLis รวมทั้งพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application) บนพื้นฐานมาตรฐานสากลในการควบคุมรายการบรรณานุกรม (Bibliographic control) เพื่อให้ สามารถรองรับการทำรายการ การตรวจสอบและควบคุม และการใช้รายการร่วมกัน (Copy & Shared catalog) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีค้นหาสหรายการบรรณานุกรม (Union catalog) 

ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดสมาชิกเครือข่าย ThaiLis ได้ดังนี้

1. เข้าไปที่ http://uc.thailis.or.th/main/index.aspx ค้นหาได้จากเขตข้อมูลที่กำหนดเป็นคำค้น เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ISBN หัวเรื่อง คำสำคัญ  Read the rest of this entry »

การลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศตามมาตรฐาน RDA
ก.ค. 7th, 2017 by jittiwan

บรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ต้องศึกษาพัฒนาการในการลงรายการทางบรรณานุกรม เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่ลงรายการให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุดให้มากที่สุด การลงรายการทางบรรณานุกรม ก็เพื่อต้องการสร้างช่องทางในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ การแสดงผลทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้มีการสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อผู้ใช้ข้อมูล

ปัจจุบัน คำว่า RDA หรือ Resource Description and Access เป็นคำที่ได้ยินกันหนาหูในกลุ่มบรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ว่าจะมาแทนที่ AACR II ผู้เขียน จึงได้ศึกษาและสรุป RDA จากผู้รู้ ไว้ดังนี้

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐาน RDA Read the rest of this entry »

CLASSIFICATION WEB
มิ.ย. 29th, 2017 by jittiwan

Classification and Library of Congress Subject Headings  คือ  เว็บไซต์สำหรับการจัดหมวดหมู่และหัวเรื่องของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันแบบออนไลน์  ซึ่งสามารถเข้าใช้งานโดยต้องบอกรับเป็นสมาชิกของแต่ละห้องสมุดหรือหน่วยงานนั้น  โดยสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์  https://classificationweb.net/  ซึ่งปรากฏดังภาพประกอบที่  1

ภาพประกอบที่ 1 Classification Web

ภาพประกอบที่ 1 Classification Web

รายละเอียดเบื้องต้นในการสั่งซื้อและราคา

  1. หากสั่งซื้อเพียง 1 User ราคา : $ 325
  2. ผู้ใช้งานจะต้อง Log on เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ Classification Web โดยใช้ Username & Password ที่แต่ละหน่วยงานกำหนดไว้  ซึ่งในการเข้าถึงนั้นไม่จำกัดเว็บไซต์
  3. สามารถใช้งานหรือเข้าถึงได้ 20 ชั่วโมง/เดือน
  4. ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ 1 User/ 1 Site
  5. หากห้องสมุดหรือหน่วยงานที่มีประสงค์จะสมัครสมาชิกมากกว่า 1 User มีรายละเอียดดังนี้
    5.1  ผู้ใช้ตั้งแต่  2-4 คน  ราคา =  $ 525
    5.2  ผู้ใช้ตั้งแต่  5-9 คน  ราคา =  $ 640
    5.3  ผู้ใช้ตั้งแต่  10-14 คน  ราคา =  $ 775
    5.4  ผู้ใช้ตั้งแต่  15-19 คน  ราคา =  $ 910
    5.5  ผู้ใช้ตั้งแต่   20-24 คน  ราคา =  $1,320
    5.6  ผู้ใช้ตั้งแต่   25-29 คน  ราคา =  $1,825
    5.7  ผู้ใช้ตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป  ราคา =  $1,960  หากเพิ่มผู้ใช้ 5 คน จะต้องบวกราคาเพิ่มอีก $135

โดยมีรายละเอียดดังปรากฏดังภาพประกอบที่  2 Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
เม.ย. 29th, 2016 by jittiwan

งานที่รับผิดชอบในแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยารสารสนเทศ คือ วิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท  โดยมีรายละเอียดในการเรียนการสอน แต่ละหลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรปริญญาตรี

1. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

  • สาขาวิชาการจัดการโรงพยาบาล
  • สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2. คณะพยาบาลศาสตร์ ประกอบด้วย

  • การพยาบาลพื้นฐานฯ
  • การพยาบาลผู้ใหญ่
  • การพยาบาลเด็ก
  • การพยาบาลมารดาฯ
  • การพยาบาลอนามัยฯ
  • การพยาบาลสุขภาพจิตฯ
  • การพยาบาลผู้สูงอายุ
  • กฎหมายและจรรยาบรรณ

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa