SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ขงจื่อ…สุดยอดครูแดนมังกร
ก.ค. 9th, 2021 by buaatchara

 

ขงจื่อหรือขงจื๊อ (ตามที่คนไทยเรียก) ที่คนจีนให้ความเคารพนับถือในคำสั่งสอนของท่าน แม้เวลาจะผ่านไปนับพันปีแล้วก็ตาม ขงจื๊อมีชาติกำเนิดเป็นถึงเชื้อสายของผู้ครองแคว้นในสมัยจีนโบราณ ว่ากันว่า ท่านมีรูปร่างสูงใหญ่ถึงสองเมตร เป็นชายที่ขี่ม้าเก่งและยิงธนูเป็นเลิศเหมือนพ่อของท่านที่เป็นนักรบ ทว่าเมื่อบิดาของขงจื๊อเสียชีวิตลงเมื่อตอนที่ท่านอายุ 3 ขวบ แม่ของท่านที่เป็นภรรยาคนที่ 3 ของพ่อ ทนถูกเมียหลวงกดขี่ข่มเหงไม่ไหวจึงพาขงจื๊อออกมาจากบ้านและทำงานเลี้ยงดูลูกชายด้วยตัวเองจนเติบใหญ่ ขงจื๊อได้รับการอบรมสั่งสอนจากแม่ให้รู้จักอ่านเขียนหนังสือจนแตกฉาน รวมไปถึงกริยามารยาทและความรู้ต่างๆ จนอายุ 17 ปี แม่ของท่านได้ป่วยตายจากไป เวลานั้นขงจื๊อได้เข้ารับราชการเป็นขุนนางเล็กๆ แล้วค่อยๆ ไต่เต้าขึ้นไปมีบทบาทสำคัญทางการเมืองจนเมื่ออายุได้ 30 ปี ท่านจึงตั้งโรงเรียนเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่เด็กรุ่นหลัง โดยไม่แบ่งชนชั้นว่ารวยหรือจน และโรงเรียนของท่าน ไม่มีการสอนแบบท่องจำ แต่เน้นที่ความเข้าใจซึ่งท่านจะปรับวิธีการสอนให้เข้ากับนักเรียนแต่ละคน จนขงจื๊ออายุได้ 51 ปี บ้านเมืองกำลังขาดคนช่วยบริหาร ราชสำนักจึงมาเชื้อเชิญท่านให้ไปทำงานรับราชการอีกครั้ง ซึ่งขงจื๊อก็ได้เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาจนเสร็จสิ้นแล้วก็ออกมาเป็นครูเหมือนเก่า ซ้ำยังออกเดินทางไปเปิดโรงเรียนเพิ่มเติมในที่ต่างๆ เพื่อกระจายความรู้ออกไปให้ทั่วถึง เรียกได้ว่าท่านเป็นสุดยอดครูแดนมังกรเลยทีเดียว

หากผู้ที่สนใจอยากรู้ประวัติและผลงานของท่านเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ห้องสมุด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จากรายชื่อหนังสือต่อไปนี้  (บางส่วน)
ขงจื่อ : จอมปราชญ์แห่งแผ่นดิน : call number B128 ช618ข 2553
ขงจื่อ มหาปราชญ์แห่งแผ่นดิน : ชีวประวัติและคำสอนบัณฑิต 60 ข้อ : call number B128.C8 ข119 2556
ขงจื่อ : ผู้พลิกพื้นโลกโบราณ : call number B127.C65 ย229ข 2532
ผลึกภูมิปัญญา พุทธ เต๋า ขงจื่อ : ปรัชญาการดำเนินชีวิต : call number B123 ว571ผ 2543
ขงจื้อ : ประวัติจากภาพจารึกอายุ 600 ปี : call number B127.C65 ข119 2538
孔子 : call number B128.C8 J61K 1965
孔子的故事 : call number B128.C8 B221K 1997
孔子画传 = Confucius : call number B128.C8 G821K 2014 v.1
孔子外传 : call number B128.C8 G364K 1993
孔子答客问 : call number B128.C8 W246K 1997

ที่มาภาพ : http://ren.bytravel.cn/history/kongzi.html

การลงรายการทางบรรณานุกรมสำหรับหนังสือสมาคมจีนที่จัดตั้งในประเทศไทย
ก.ค. 4th, 2020 by buaatchara

หนังสือสมาคมจีนที่จัดตั้งในประเทศไทย คือ หนังสือรวบรวมรายนามผู้ก่อตั้งและสมาชิกของสมาคมจีน   หนังสือที่ระลึก หนังสืออนุสรณ์ รายงานประจำปีของสมาคม หนังสือตระกูลแซ่ชาวจีนโพ้นทะเล ฯลฯ เนื้อหามักประกอบด้วยรายชื่อสมาชิก  ตำแหน่ง  สำนักงาน  สถานที่ติดต่อของสมาชิก บางเล่มมีกล่าวถึงประวัติและวัตถุประสงค์ของสมาคมที่จัดตั้งขึ้นและกิจกรรมของสมาคม

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีหนังสือสมาคมจีนที่จัดตั้งในประเทศไทย อยู่จำนวนพอสมควร มีการจัดเก็บเพื่อให้บริการค้นคว้า ความเป็นมาของแต่ละสมาคม คณะกรรมการแต่ละชุด และผลงานของสมาคมแต่ละแห่ง การลงรายการทางบรรณานุกรม ของหนังสือประเภทนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศได้กำหนดแนวทางไว้โดยให้บริการอ่านในห้องสมุดภาษาจีนเท่านั้น มิให้ยืมออก และมีการกำหนดหมวดหมู่ขึ้นใช้เอง ถ้าต้องการใช้สามารถสืบค้นในระบบห้องสมุด หรือมาที่ห้องสมุดภาษาจีน ชั้น 5 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และติดต่อขอยืมอ่านได้

การลงรายการทางบรรณานุกรมสำหรับหนังสือสมาคมจีน ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีขั้นตอนดังนี้ Read the rest of this entry »

หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
มิ.ย. 29th, 2020 by buaatchara

หนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย  เริ่มมีการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี   2450 ชื่อหนังสือพิมพ์จีนที่มีปรากฎไว้ในหอสมุดแห่งชาติ คือ華暹新報  ชื่อไทย จีโนสยามวารศัพท์   โดยมีนายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรืองเป็นเจ้าของ จากนั้นก็มีการผลิตหนังสือพิมพ์จีนชื่ออื่นๆ ต่อมา ดังรายชื่อต่อไปนี้

1.國民日報星期增刊  ก๊กมิ้นฉบับพิเศษ รายสัปดาห์

2.光華周刊  กงหอจิวคัง รายสัปดาห์

3.光華報  กงหอป่อ รายวัน

4.光華周刊  กงหอป่อฉบับวันอาทิตย์ รายสัปดาห์

5.光明週報  กวงหมิง รายสัปดาห์

6.光華報  กวงฮั้วเป้า รายวัน

7.光華周刊  กวงฮั้วเป้า รายสัปดาห์

8.國民日報  กัวมิน รายวัน

9.商報  ข่าวสินค้าพาณิชย์ รายวัน

10.聲  คิ่วเซ็ง รายวัน

11.聲  เคียวเซ็ง รายวัน

12.中中  จงจงวิทยาสาร

13.華暹新報  จีโนสยามวารศัพท์ รายวัน

14.正氣  จิ้นชี้ รายทศ

15.知行導報  จือสิงเต้าเป้า รายวัน (ฉบับบ่าย) Read the rest of this entry »

เมนูคู่จีน “เกี๊ยว (ภาษาจีน饺子 เจียวจื่อ)”
ก.ค. 28th, 2019 by buaatchara

                            

 

 เกี๊ยว เมนูยอดฮิตของชาวจีนที่อยู่คู่แดนมังกรมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 – พ.ศ. 763)   มีที่มาและบทบาทที่น่าสนใจในวิถีชีวิตของชาวจีนมาจนถึงปัจจุบัน เริ่มแรกนั้น   เกี๊ยวนี้เกิดมาจากคุณหมอจางจงจิง (张仲景) ซึ่งเป็นหมอที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น คุณหมออยากให้คนป่วยได้กินอะไรร้อนๆ ที่มีสารอาหารครบถ้วน ทั้งเนื้อสัตว์ ผัก (ที่เป็นยาสมุนไพร) และแป้งในคำเดียว จึงคิดประดิษฐ์แป้งห่อไส้เนื้อและผักขึ้นมา โดยใช้วิธีต้มเพื่อให้ย่อยง่าย ก่อนจะมีคนนำไปพัฒนารูปร่างของมันให้ดูดีขึ้น เหมือนใบหูของผู้หญิงทำให้มีชื่อเรียกว่า 娇耳 เจียวเอ๋อร์  แปลว่าใบหูของสาวงาม ก่อนจะเพี้ยนเสียงมาเป็น  เจียวจื่อ หรือเกี๊ยว (คนไทยเรียก) ในปัจจุบัน

ปัจจุบัน เกี๊ยวมีทั้งแบบต้ม นึ่งและทอด และเป็นเมนูสำคัญที่ขาดไม่ได้ในเทศกาลปีใหม่และงานแต่งงาน  เนื่องจากในเทศกาลปีใหม่  คนจีนจะเปลี่ยนวิธีห่อเกี๊ยวให้เป็นรูปถุงเงิน เพื่อขอพรหรืออวยพรให้มีเงินทองไหลมาเทมา ซึ่งในงานแต่งนั้น เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องรับประทานเกี๊ยวดิบ 生饺子 เซิงเจียวจื่อ ที่พ้องเสียงกับ 生骄子 เซิงเจียวจื่อ ที่แปลว่าให้กำเนิดอภิชาตบุตร

เยี่ยมชมและศึกษาดูงานหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
เม.ย. 8th, 2019 by buaatchara

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2560 เวลา 10.00 -12.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงานที่หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพิ่งผ่านการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับทองปีล่าสุด ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้รับความกรุณาจากหอสมุดฯ ในการแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการศึกษาดูงานห้องสมุดโดยทั่วไป ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสาวพรจิตต์   หมีงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและวิชาการกล่าวต้อนรับและเป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “การจัดการพลังงาน” โดยเหตุผลที่ต้องอนุรักษ์พลังงาน ก็เพื่อลดค่าใช้จ่าย ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น การบริการก็จะดีขึ้น  มีความปลอดภัยและยังแสดงความรับชอบต่อสังคม

ข้อมูลเบื้องต้นอาคารหอสมุดและคลังความรู้ฯ

1. ชื่อนิติบุคคล : มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)

ชื่ออาคารควบคุม : หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

TSIC ID: 85302-0082

2. กลุ่มที่ 1 (ขนาดเล็ก)

อาคารควบคุมที่ใช้เครื่องวัดไฟฟ้าหรือติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ารวมกันน้อยกว่าสามพันกิโลวัตต์หรือสามพันห้าร้อยสามสิบกิโลวัตต์แอมแปร์หรืออาคารควบคุมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากไอน้ำหรือพลังงานสิ้นเปลืองอื่นๆ โดยมีปริมาณพลังงานเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าหกสิบล้านเมกะจูล

3. ที่ตั้งอาคารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
อาคารของหอสมุดและคลังความรู้ฯ นับว่าตั้งอยู่ใจกลางของมหาวิทยาลัย

4. ประเภทอาคาร (สำนักงาน / สถานศึกษา) พื้นที่รวมของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ทั้ง 3 ชั้น รวม 14,000 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ชั้นล่างสุดของส่วนงาน 7,600 ตารางเมตร

5. อาคารเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2528 จำนวนพนักงานปัจจุบัน 122 คน จำนวน 3 สำนักงาน 4 ฝ่าย

6. จำนวนอาคารทั้งหมด 1 อาคาร

7. ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน : นายประมุข หนูเทพย์

กระบวนการการจัดการพลังงานของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล Read the rest of this entry »

เทศกาลแห่งความรักของจีน
ก.ค. 16th, 2018 by buaatchara

ในปัจจุบัน ทั้งชาวจีนและญี่ปุ่นต่างถือวันที่ เดือน  (七夕节 qī xī jié) เป็นวันแห่งความรักสืบเนื่องมาจากตำนานความรักอันน่าประทับใจของหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า ที่หนุ่มเลี้ยงวัวเกิดไปรักเทพธิดาทอผ้าที่เป็นนางฟ้าสูงศักดิ์  ทั้งสองแอบแต่งงานและมีลูกด้วยกัน 2 คนทำให้เง็กเซียนฮ่องเต้โกรธในความรักต่างชนชั้นนี้ และมีคำสั่งพรากคู่รักทั้งสองออกจากกัน แต่เจ้าแม่ซีหวังหมู่ (ชายาเง็กเซียนสงสารจึงประทานพรให้ทั้งคู่ได้มาพบกันแค่ปีละครั้ง ในวันที่ 7 เดือน7 ในคืนนี้ชาวจีนจะมีการละเล่นมากมายที่เน้นไปทางการทดสอบฝีมือการบ้านการเรือนของหญิงสาว เช่น การทอดขนม และสนเข็ม เมื่อหนุ่มๆมาเห็นว่าสาวๆเก่งการบ้านการเรือนแบบนี้แล้วก็จะเร่งผู้ใหญ่ให้มาสู่ขอ

a8014c086e061d951163f81570f40ad162d9caf2

แต่เมื่อพันกว่าปีก่อน  วันแห่งความรักของจีนคือวันเทศกาลโคมไฟ (元宵节 yuán xiāo jié)   ซึ่งจะตรงกับวันที่ 15 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติ  ชาวจีนจะนิยมทำขนมบัวลอย (汤圆 tāng yuán) รับประทานกันในครอบครัวก่อนออกไปชมโคมไฟที่ประดับประดากันอย่างสวยงามทั่วเมือง ในคืนนั้น ชาวจีนผู้เคร่งครัดเรื่องระยะห่างระหว่างชายหญิงจะยอมผ่อนปรน  ให้หนุ่มสาวได้ออกจากบ้านไปพบเจอกัน และลูกสาวจะได้รับอนุญาตไม่ต้องกลับบ้านตลอดทั้งคืน เป็นเหตุให้หลังจากคืนวันเทศกาลโคมไฟจะมีพิธีแต่งงานตามมาอีกหลายบ้าน

223

การบันทึกข้อมูลทางบรรณานุกรมสำหรับหนังสือบริจาคที่จะนำเข้าห้องสมุดภาษาจีน
มิ.ย. 29th, 2018 by buaatchara

ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีกระบวนการจัดการหนังสือที่ได้รับบริจาค ดังนี้

1. การคัดแยกหนังสือ  ถ้าหนังสือไม่สอดคล้องกับนโยบายทางการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยก็จะทำการคัดออกเพื่อนำไปบริจาคแก่บุคคล และหน่วยงานอื่นๆ
2. การนำหนังสือเข้าห้องสมุดภาษาจีน เนื่องจากหนังสือบริจาคมีเป็นจำนวนมาก บรรณารักษ์วิเคราะห์การลงรายการทางบรรณานุกรมเข้าระบบไม่ทัน จึงมีการพิจารณาลงรายการทางบรรณานุกรมโดยบันทึกเฉพาะข้อมูลที่สำคัญ เพื่อให้สามารถผู้ใช้บริการสืบค้นได้ และบรรณารักษ์ สามารถค้นหาตัวเล่มได้ว่าเก็บหนังสือเล่มดังกล่าวไว้ที่ใด  โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.บันทึกข้อมูลสำคัญทางบรรณานุกรม (Basic tags) ได้แก่ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์

image1

 

2. กำหนดรหัส (เหมือนเลขหมู่) เพื่อเป็นการกำหนดว่า หนังสือนั้นๆ จัดเก็บอยู่ที่ใด โดยมีการกำหนดเป็น ตู้ ใช้ รหัส เป็น ต และ เรียงลำดับของหนังสือที่จัดเก็บในตู้ เช่น  จากภาพ ต1/1 หมายถึง หนังสืออยู่ที่ตู้ที่ 1 เล่มที่ 1

image2

3. ใส่รหัสในข้อ 2 ตรง Call number และกำหนด shelving location ของหนังสือ

 

image3

 

4. เขียนหมายเลขตู้และลำดับ ใน slip และเสียบไว้ที่ตัวเล่มหนังสือ และนำไปจัดเรียงเข้าตู้ โดยให้ตรงตามหมายเลขของตู้และตามลำดับของตัวเล่ม

image11

การสนทนาภาษาจีนเบื้องต้นในห้องสมุด
ก.ค. 14th, 2017 by buaatchara

ด้วยตำแหน่งคือ บรรณารักษ์ ทำหน้าที่ลงรายการทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีน จึงขอแนะนำประโยคภาษาจีนไปใช้สนทนาในเบื้องต้น โดยได้กำกับคำอ่านภาษาไทยไว้ให้อ่านเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ที่ทำงานด้านห้องสมุดนำไปประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ (บางคำจะเป็นคำที่ใช้ในศูนย์บรรณสารสนเทศ)

ภาษาจี คำอ่าน คำแปล
你好! หนี  ห่าว สวัสดีครับ/ค่ะ
老师好! เหล่า  ซือ  ห่าว สวัสดีครับ/ค่ะอาจารย์
学生好! เสวีย  เซิง  ห่าว สวัสดีครับ/ค่ะนักเรียน
谢谢! เซี่ย   เซี่ย ขอบคุณครับ/ค่ะ
再见! ไจ้   เจี้ยน ลาก่อน
早安! จ่าว   อัน สวัสดีตอนเช้า ครับ/ค่ะ
午安! อู่   อัน สวัสดีตอนบ่าย ครับ/ค่ะ
吃饭了吗? ชือฟ่าน เลอ มา กินข้าวหรือยัง ครับ/ค่ะ
你要去哪里? หนี่  เย้า  ชวี่  หนา  หลี่ คุณจะไปไหน
请你排队 ฉิ่ง  หนี่  ผาย  ตุ้ย กรุณาเข้าแถว ครับ/ค่ะ
乐意为您效劳 เล่อ อี้ เหว่ย หนิน เสี้ย เหลา ยินดีรับใช้คุณ ครับ/ค่ะ
有什么要帮忙吗? โหย่ว เสิน เมอ เย้า ปัง หมัง มา มีอะไรให้ช่วยไหม ครับ/ค่ะ
你有什么事吗? หนี่ โหย่ว เสิน เมอ ซื่อ มา คุณมีธุระอะไรไหม ครับ/ค่ะ
你要借书吗? หนี่ เย้า เจี้ย ซู มา คุณต้องการยืมหนังสือไหม
你要还书吗? หนี่ เย้า หวน ซู มา คุณต้องการคืนหนังสือไหม
你要续借吗? หนี่ เย้า ซวี่ เจี้ย มา คุณต้องการยืม (หนังสือต่อไหม
中文书在5 จง เหวิน ซู ไจ้ อู่ โหลว หนังสือจีนอยู่ชั้น 5
中文报纸在5 จง เหวิน เป้า จื่อ ไจ้ อู่ โหลว หนังสือพิมพ์จีนอยู่ ชั้น 5
5 中文图书馆 อู่ โหลว จง เหิวน ถู ซู กว่าน ชั้น5ห้องสมุดภาษาจีน
诗琳通公主御览室 ซือ หลิน ทง กง จู่ วี่ หลัน ซื่อ ห้องทรงพระอักษรสมเด็จพระเทพๆ
郑午楼博士文物纪念馆 เจิ้ง อู่ โหล่ว ป๋อ ซื่อ เหวิน อู่ จี้ เนี่ยน กว่าน หอเอกสาร ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์

คำศัพท์ที่ใช้บ่อยในห้องสมุด

ภาษาจี คำอ่าน คำแปล
图书馆 ถูซูกว่าน ห้องสมุด
ซู หนังสือ
馆员 กว่านเหยียน บรรณารักษ์
借书 เจี้ย ซู ยืมหนังสือ
还书 หวน ซู คืนหนังสือ
续借 ซวี่ เจี้ย ยืมหนังสือต่อ
报纸  เป้า จื่อ หนังสือพิมพ์
杂志 จ๋า จื้อ นิตยสาร
书展 ซูจ่าน นิทรรศการหนังสือ
书架 ซูเจี้ย ชั้นวางหนังสือ
大学生 ต้า เสวีย เซิง นักศึกษา
学生 เสวีย เซิง นักเรียน
参观者 ชัน กวน เจ่อ แขกเยี่ยมชม

 

เก่งคำศัพท์ภาษาจีนและภาษาอังกฤษด้วยรูปภาพ Let’s GO!!
ส.ค. 11th, 2016 by buaatchara

 

9787563716654a

 

 

Picture-Chinese-Book-The-most-useful-Mandarin-when-you-travel-in-China-1CD-Free-Shipping

 

Picture Chinese 看图学最有用的汉语

เป็นหนังสือเรียนคำศัพท์สองภาษาคือภาษาจีนและภาษาอังกฤษ   แบ่งออกเป็น 62 หัวข้อ เช่น ชีวิตประจำวัน สภาพอากาศ การใช้โทรศัพท์ วัน เวลา สี คำตรงกันข้าม ร้านซูเปอร์มาร์เก็ต ฯลฯ มีภาพประกอบเป็นรูปภาพสีที่สวยงาม      ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆ   เพื่อให้เข้าใจง่ายสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะในการฝึกภาษา โดยรวบรวมคำศัพท์สำคัญที่ใช้บ่อยและตัวอย่างประโยคที่มักจะใช้ในชีวิตประจำวัน นักศึกษาที่กำลังศึกษาการใช้ภาษาจีน แต่มีคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ควบคู่กันไปด้วย แนะนำให้อ่านเล่มนี้ได้เลยค่ะ เหมาะมากค่ะ ให้บริการที่ชั้น 5 ห้องสมุดภาษาจีน ศูนย์บรรณสารสนเทศ เลขเรียกหนังสือ PL1121 K172 2013

รายการอ้างอิง

李红丽 ผู้แปล. (2013).  Picture Chinese 看图学最有用的汉语 . พิมพ์ครั้งที่ 2. 北京 : 旅遊教育.

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa