ในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS มีฟังก์ชั่น ในการพิมพ์สันหนังสือได้ โดยใช้คำสั่ง Label and Export List สำหรับการพิมพ์สันหนังสือ หรือเลขเรียกหนังสือที่บรรณารักษ์กำหนดไว้สำหรับหนังสือเล่มนั้นๆ ตามขั้นตอนดังนี้
Read the rest of this entry »
หัวเรื่อง (subject heading) มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อรวบรวมวัสดุสารสนเทศที่มีเนื้อหาในเรื่องเดียวกันมาอยู่ด้วยกันภายใต้คำหรือวลีเดียวกัน เป็นวิธีการจัดเก็บและควบคุมสารสนเทศอีกวิธีหนึ่งที่จะให้ความสะดวกในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศและข้อมูลทางบรรณานุกรมได้ตามความต้องการและช่วยให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงสารสนเทศของห้องสมุด
หัวเรื่องที่บรรณารักษ์แผนกวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะกำหนดหัวเรื่องโดยมีคู่มือหัวเรื่องที่มีการจัดทำออกมาอย่างเป็นมาตรฐาน ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ หรือเป็นคู่มือการกำหนดหัวเรื่องเฉพาะสาขาวิชา สำหรับคู่มือการกำหนดหัวเรื่องที่รู้จักกันดีและเป็นมาตรฐานในการที่บรรณารักษ์ใช้เป็นคู่มือในการกำหนดหัวเรื่อง เช่น Library of Congress Subject Headings ของ Library of Congress
ปัจจุบันสามารถมีเป็นไฟล์หัวเรื่อง ติดตาม ได้ที่ https://www.loc.gov/aba/publications/FreeLCSH/freelcsh.html ซึ่งใช้กำหนดหัวเรื่องสำหรับทรัพยากรสารสนเทศภาษาอังกฤษ หรือ คู่มือกำหนดหัวเรื่องทางการแพทย์ (Medical Subject Headings) ส่วนการกำหนดหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทย เช่น หัวเรื่องสำหรับการลงรายการหนังสือภาษาไทย ของคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งปัจจุบันมีเวอร์ชั่นออนไลน์เพื่อให้บริการจัดเก็บและสืบค้นผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้ได้จากที่ต่างๆ สะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น สามารถเข้าถึงได้ที่ https://webhost2.car.chula.ac.th/thaiccweb/main.php
เว็บไซต์หัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์
ขั้นตอนการเข้าสู่ระบบ
พิมพ์ชื่อผู้ใช้ : visitor
รหัสผ่าน : 123
Verify code : (ใส่ code ที่ระบบให้มา ในการเข้าสู่ระบบแต่ละครั้ง number code จะเปลี่ยนไป)
การใช้หัวเรื่องออนไลน์เพื่อตรวจสอบคำค้นนั้น โดยผู้ใช้พิมพ์คำค้นที่ต้องการลงไปในช่องการสืบค้นข้อมูลและคลิกค้นหา เช่น ต้องการค้นหาหัวเรื่อง กฎหมาย ว่ามีการกำหนดใช้หรือไม่ สามารถพิมพ์คำว่า กฎหมาย
ตัวอย่างการตรวจสอบคำค้นกฎหมายที่ฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์จะปรากฎหัวเรื่องที่เป็นภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ เข้าไปทดลองใช้กันดูนะคะ
หนังสืออ้างอิง (Reference Books)
ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่อง “โครงการแก้ไข Location หนังสืออ้างอิง” จึงได้รวบรวมและเรียบเรียงความหมายของหนังสืออ้างอิงขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ด้านการศึกษาและให้ความรู้ด้านหนังสืออ้างอิง เมื่อกล่าวถึงหนังสืออ้างอิงหลายคนนึกถึง พจนานุกรม สารานุกรม หรือหนังสือที่มีรูปเล่มขนาดใหญ่และหนากว่าหนังสือทั่วๆ ไป และตระหนักว่า เป็นหนังสือประเภทหนึ่งซึ่งเขียนขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้ค้นคว้า หาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง โดยไม่ต้องอ่านหมดทั้งเล่มแต่ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าเฉพาะเนื้อหาบางส่วนที่ต้องการเท่านั้น
หนังสืออ้างอิงมีคุณสมบัติทั่วไปดังนี้
1. เป็นหนังสือที่มุ่งให้ความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงที่สำคัญ 2. เขียนโดยผู้ทรงวุฒิในเฉพาะสาขาวิชา 3. รวบรวมความรู้ไว้หลายสาขาวิชา 4. เรียบเรียงเนื้อหาไว้อย่างมีระบบ สะดวกแก่การใช้ 5. ส่วนมากมีรูปเล่มขนาดใหญ่ มีหลายเล่มจบ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องอ่าน ตลอดเล่ม อ่านเฉพาะตอนที่ต้องการ
ความสำคัญและลักษณะของหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิงเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญ ใช้สำหรับค้นคว้าหาคำตอบที่ต้องการและ ช่วยในการประกอบการค้นคว้าหาความรู้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหนังสืออ้างอิงแต่ละประเภทมีความสำคัญในด้านให้ข้อเท็จจริงที่จะเป็น ประโยชน์ในการค้นคว้าหาคำตอบที่แตกต่างกัน หนังสืออ้างอิงนั้น เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ห้องสมุดมักจะจัดแยกหนังสืออ้างอิงไว้ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อสะดวกในการ ศึกษาค้นคว้า โดยให้สัญลักษณ์ตัวอักษร อ. (ย่อมาจาก อ้างอิง) หรือ R (ย่อมาจาก Reference) กำกับไว้ที่สันของหนังสือ หนังสืออ้างอิงมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากหนังสือทั่วไป Read the rest of this entry »
เมื่อคราวที่ผู้เขียน มาทัศนศึกษา ดูงาน ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากเสร็จสิ้นการดูงานในทางวิชาการแล้ว ทีมงานได้เดินทางมาทัศนศึกษาสถานที่อื่นๆ อีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ แห่งหนึ่ง ก็คือ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ พวกเราเดินทางขึ้นไปถึงตอนเช้า อากาศเย็นๆ กำลังดี ทำให้สามารถเดินชมบริเวณโดยรอบพระตำหนักฯ ได้อย่างสบายๆ แต่ด้วยจิตใจที่รำลึกถึงในพระมหากรุณาธิคุณในหลวง ร.9 และด้วยความประทับใจขอนำเรื่องพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ มาเล่าสู่กันฟังนะคะ จากแผ่นพับที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ด้านหน้า (เป็นฉบับภาษาไทย-ภาษาจีน) และเว็บไซต์พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ให้ข้อมูลไว้ดังนี้ค่ะ
พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,373.198 เมตร เนื้อที่โดยรอบพระตำหนักประมาณ 400 ไร่ นั้น แบ่งเป็นบริเวณที่ เปิดให้นักท่องเที่ยว ได้ชื่นชมประมาณ 200 ไร่ คำว่า “ดอยบวกห้า” เป็นชื่อเรียก ตามคำพื้นเมือง ดอยหมายถึงภูเขา บวกหมายถึง หนองน้ำ ห้าหมายถึงต้นหว้า หมายความว่า ที่ยอดดอยแห่งนี้มี หนองน้ำอุดมไปด้วยต้นหว้าขึ้นปกคลุมทั่วบริเวณหนองน้ำนั้น เป็นพระตำหนักที่ประทับในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับแรมที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคเหนือ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะที่เสด็จฯ เยือนประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมจะประท้บรับรองแต่ในพระนครหลวงเท่านั้น โดยพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2504 และพระราชทานนาม พระตำหนักองค์นี้ว่า ภูพิงคราชนิเวศน์ โดยทรงเลือกจาก หนึ่งใน 2 ชื่อ ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งเป็นที่ พระศาสนโสภณ เป็นผู้คิดชื่อถวาย คือ “พิงคัมพร” กับ “ภูพิงคราชนิเวศน์” ในครั้งแรกได้ก่อสร้างเฉพาะองค์พระตำหนักที่ประทับ และเรือนรับรองเท่านั้น ส่วนอาคารอื่นๆ ได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมต่อมาในภายหลัง
โดยรอบพระตำหนักฯ จะได้ชื่นชมกับดอกกุหลาบ และพันธุ์ไม้ต่างๆ มากมาย จัดตกแต่งด้วยความสวยงาม นักท่องเที่ยวต้องหยุดเพื่อเก็บภาพเป็นที่ระลึกตลอดเส้นทาง พวเราเดินจนไปถึง อ่างเก็บน้ำ/น้ำพุ ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในบริเวณพระตำหนัก ริมอ่างเก็บน้ำด้านข้าง มีพลับพลาที่ประทับ สร้างด้วยไม้สักทอง รอบๆ อ่างเก็บน้ำจะเป็นสวนดอกไม้เมืองหนาว ในเว็บไซต์พระตำหนักฯ (http://www.bhubingpalace.org/index2.php) จะมีข้อมูลดอกกุหลาบและพันธุ์ไม้ต่างๆ รวมทั้งผีเสื้อพันธุ์ต่างๆ ให้ศึกษาและชมภาพอันงดงามไว้ด้วยค่ะ
ในช่วงที่ผู้เขียนไปในอยู่ในเดือนธันวาคม พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ได้เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวและประชาชนที่เดินทางเข้ามายังพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ได้ร่วมลงนามถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ เรือนรับรอง ภายในพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ทั้งนี้เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนได้ร่วมลงนามถวายความอาลัยอย่างทั่วถึงโดยแต่งกายไว้ทุกข์
รายการอ้างอิง ภูพิงคราชนิเวศน์. แผ่นพับ. พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์. http://www.bhubingpalace.org/index2.php
ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตประจำวันในสถานที่ทำงานไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง/วัน หรือเกือบครึ่งหนึ่งของชีวิต บางคนอาจใช้เวลาในที่ทำงานมากกว่าที่บ้าน คุณภาพชีวิตของคนในสำนักงานจะดีหรือไหมนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานเป็นสำคัญ ภายในอาคาร สำนักงานถ้ามีสิ่งแปลกปลอมเจือปนอยู่ในปริมาณมากและเป็นระยะเวลานานๆๆ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของคนในสำนักงานได้ “โรคสำนักงาน” หรือ Sick buildings syndrome ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา รวมทั้งสาร VOCs (Volatile Organic Compounds) และมลพิษอื่นๆ ที่มาจาก สี เสียง กลิ่น อุปกรณ์ตกแต่งสำนักงาน ระบบปรับอากาศ และของเสียภายในสำนักงาน อีกทั้ง Read the rest of this entry »