เป็นเทศกาลประจำปีตามประเพณี(年节หรือ传统节日) ที่สำคัญของชาวจีน ที่แสดงออกถึงความกตัญญูความเคารพและการระลึกถึงบรรพบุรุษ คำว่า”เช็งเม้ง”นั้นเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋ว ภาษาจีนกลางเรียกว่า “ชิงหมิง” เมื่อพูดคำเต็มว่า”ชิงหมิงเจี๋ย”ก็หมายถึงเทศกาลเช็งเม้งนั่นเองเทศกาลนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยชุนชิว (ก่อนคริสตศักราช 770 ปี ถึงก่อนคริสตศักราช 476ปี) เทศกาลนี้นอกจากเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษแล้ว ยังให้ความสำคัญกับข้าราชการตงฉินชื่อเจี้ยจื่อทุย (介子推) แห่งรัฐจิ้น (晋国) ด้วย โดยทางการห้ามมีการก่อไฟในบ้าน (禁火) และให้กินอาหารเย็นๆ เรียกว่า”หานสือ”(寒食) เป็นช่วงเวลายาวกว่า 3 เดือน เมื่อหมดช่วงหานสือชาวบ้านจะได้เชื้อไฟจากในวังที่พระจักพรรดิ์ทรงพระราชทานให้เหล่าเสนาบดี จากนั้นแล้ว ชาวบ้านจึงสามารถติดไฟปรุงอาหารร้อนได้ ต่อมาทางการเห็นว่าไม่สมควร ในสมัยราชวงศ์ถัง(ค.ศ.618-ค.ศ.907) จึงลดวัน”หานสือ” ให้น้อยลง และเน้นความสำคัญในการเซ่นไหว้บรรพบุรุษมากขึ้น รวมทั้งการทำความสะอาดสุสาน การอาบน้ำที่ริมแม่น้ำที่เรียกว่า”ฝูเซีย”(祓褉) เพื่อเป็นสิริมงคลให้ห่างไกลจากภัยพิบัติ การท่องเที่ยวนอกเมือง ในสมัยพระเจ้าถังเสวียนจง (唐玄宗)(ค.ศ.712 –ค.ศ.742) ทรงมีพระราชบัญชาให้ราษฏรหยุดในเทศกาลนี้ 4 วัน ข้อมูลเกี่ยวกับวันเทศกาลนี้ดูได้จากหนังสือ”ถังฮุ่ยเย้า ตอนที่ 82” (《唐会要》卷82) มาถึงสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ(北宋)(ค.ศ.960-ค.ศ.1127 )เทศกาลเช็งเม้งและหานสือได้หยุดรวม 7 วัน ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ ”เหวินชังจ๋าลู่” (《文昌杂录》) ของผังหยวนอิง (庞元英) ในปี ค.ศ.1935 รัฐบาลประเทศจีน (中华民国) ก่อนตั้งประเทศใหม่ ได้กำหนดวันที่ 5 เดือน 4 ของปีคริสตศักราชเป็นวันเช็งเม้งประจำปี และให้เป็นวันหยุดอย่างเป็นทางการหนึ่งวัน ต่อมาในปี ค.ศ.2007 เดือน 7 วันที่ 12 รัฐบาลมีประกาศให้หยุดวันเช็งเม้งอย่างเป็นทางการ โดยหยุดตามวันที่ปฏิทินจีน หรือปฏิทินหนงลี่ (农历) กำหนดไว้ Read the rest of this entry »
ถอดรหัสความหมายภาพมงคลตรุษจีน บรรยายโดย ดร.เจษฎา นิลสงวนเดชะ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ ห้อง 1111 C ชั้น 11 อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถ.สีลม กทม. จัดโดย อาศรมสยาม-จีนวิทยา วิทยากรได้นำภาพมงคลต่าง ๆ มาเป็นตัวอย่าง และกล่าวถึงที่มาของภาพ ซึ่งภาพมงคลของจีนแต่ละภาพ ล้วนต้องมีความหมาย
ภาพมงคล (จี๋เสียงถูอ้าน (ถูอ้าน = ภาพ)) คือ ภาพที่เป็นศิริมงคล สิ่งที่นำมา เพื่อความเป็นมงคล ของจีนต้องนำมาในสิ่งที่ต้องการ คำว่า จี๋เสียง เริ่มใช้สมัยจ้านกว๋อ จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง เป็นเรื่องราวความสุข วาสนา มงคล กุศลธรรม คำว่า เสียง เป็นมิติหมายแห่งความปิติยินดี เฉลิมฉลอง มีความหมายเหมือนกับภาษาไทย คือ สิริมงคล เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ ภาพวาดมงคลนี้ ใช้ติดในเทศกาลตรุษจีน เป็นภาพงานฝีมือ ใช้เวลาในการวาด 4-5 เดือน จึงมีราคาสูง กลายเป็นของขวัญล้ำค่า ภาพที่ติดให้เห็นทั่วไป มักจะเป็นภาพพิมพ์จากภาพวาด ภาพเหล่านี้แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของจีน ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ ลายผ้า ภาพวาด ลายตุ๊กตา ลายกระเป๋า ภาพมงคลของจีน ภาพต้องมีความหมาย ความหมายต้องเป็นมงคล ภาพที่เป็นมงคล ต้องมีมงคล 4 ประการ คือ ฟู่ (ทรัพย์สินเงินทอง) กุ้ย (ล้ำค่า มีค่ามาก) โซ่ว (อายุยืนยาว) สี่ (ยินดี)
คนจีนทำความสะอาดบ้านแล้วจะหาซื้อภาพ (ภาพที่วาดในกระดาษ (เหนียนฮว้า = จื่อฮว้า)) มาติด ประดับประดา เนื้อหายุคแรกจะเป็นเทพเจ้า เช่น เทพทวารบาล เพื่อป้องกันสิ่งที่ไม่ดีเข้ามา ติดที่หน้าพระราชวัง พระตำหนักต่างๆ
วิทยากรได้นำภาพจากหมู่บ้านหยางหลิ่วชิง (หยาง คือ ต้นหยาง หลิ่วชิง คือ มีความเขียวขจี) เมืองเทียนจิน อยู่ใกล้ปักกิ่ง เป็นหมู่บ้านที่ทำภาพวาดทั้งหมู่บ้าน ทุกบ้านมีความถนัดในการวาดภาพ ลงสี ระบายสี แต่ทุกวันนี้ ก็จะลดน้อยลง มีกระดาษ ที่ใช้เขียนพู่กันจีน สารส้ม ใส่ในสี เพราะสีจะไม่หลุดง่าย น้ำหมึก สีหลากหลาย เน้น ยี่ห้อตราหัวม้า เพราะคงทน สีฉูดฉาดสวยงาม
ขั้นตอนการทำมี 5 ขั้นตอน ดังนี้
ทั้งนี้สามารถติดตามชมการบรรยายได้ที่
คลิปบรรยาย
หรือ https://www.youtube.com/watch?v=DCU5Y6m_hQE
Read the rest of this entry »
เมื่อปีการศึกษา 2547 รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในขณะนั้นได้ริเริ่มให้มีการจัดกิจกรรมรำมวยจีน (ไท้เก๊ก) โดยร่วมมือกับสมาคมรำมวยเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีนายแพทย์วิลาส ศรีประจิตติชัย เป็นนายกสมาคมได้ส่งวิทยากรของสมาคมท่านแรก คือ อาจารย์ทวีศักดิ์ ศิลาพร มาช่วยแนะนำและฝึกให้บุคลากร นักศึกษาที่สนใจการรำมวยจีน กิจกรรมนี้ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และได้รับการสนับสนุนจากสมาคมฯ เรื่อยมา ต่อมาในปีการศึกษา 2549 เปิดสอนไท้เก๊กให้กับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนจีน และในปีการศึกษา 2551 ได้เปิดสอนไท้เก๊กเป็นวิชาบังคับของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกหลักสูตร ปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการเรียนไท้เก๊กมากที่สุดในประเทศไทยนอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนยังมีการจัดตั้งชมรมไท้เก๊กโดยนักศึกษาเพื่อจัดกิจกรรมแนะนำการรำมวยจีนเพื่อสุขภาพ
ศาสตราจารย์พิเศษ ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผู้ริเริ่มกิจกรรมไทเก๊กในมหาวิทยาลัย
ในปัจจุบัน ทั้งชาวจีนและญี่ปุ่นต่างถือวันที่ 7 เดือน 7 (七夕节 qī xī jié) เป็นวันแห่งความรักสืบเนื่องมาจากตำนานความรักอันน่าประทับใจของหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า ที่หนุ่มเลี้ยงวัวเกิดไปรักเทพธิดาทอผ้าที่เป็นนางฟ้าสูงศักดิ์ ทั้งสองแอบแต่งงานและมีลูกด้วยกัน 2 คนทำให้เง็กเซียนฮ่องเต้โกรธในความรักต่างชนชั้นนี้ และมีคำสั่งพรากคู่รักทั้งสองออกจากกัน แต่เจ้าแม่ซีหวังหมู่ (ชายาเง็กเซียน) สงสารจึงประทานพรให้ทั้งคู่ได้มาพบกันแค่ปีละครั้ง ในวันที่ 7 เดือน7 ในคืนนี้ชาวจีนจะมีการละเล่นมากมายที่เน้นไปทางการทดสอบฝีมือการบ้านการเรือนของหญิงสาว เช่น การทอดขนม และสนเข็ม เมื่อหนุ่มๆมาเห็นว่าสาวๆเก่งการบ้านการเรือนแบบนี้แล้วก็จะเร่งผู้ใหญ่ให้มาสู่ขอ
แต่เมื่อพันกว่าปีก่อน วันแห่งความรักของจีนคือวันเทศกาลโคมไฟ (元宵节 yuán xiāo jié) ซึ่งจะตรงกับวันที่ 15 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติ ชาวจีนจะนิยมทำขนมบัวลอย (汤圆 tāng yuán) รับประทานกันในครอบครัวก่อนออกไปชมโคมไฟที่ประดับประดากันอย่างสวยงามทั่วเมือง ในคืนนั้น ชาวจีนผู้เคร่งครัดเรื่องระยะห่างระหว่างชายหญิงจะยอมผ่อนปรน ให้หนุ่มสาวได้ออกจากบ้านไปพบเจอกัน และลูกสาวจะได้รับอนุญาตไม่ต้องกลับบ้านตลอดทั้งคืน เป็นเหตุให้หลังจากคืนวันเทศกาลโคมไฟจะมีพิธีแต่งงานตามมาอีกหลายบ้าน
วันขึ้น 8 ค่ำเดือน 12 เป็นเทศกาลล่าปา(腊八节)จีนเป็นประเทศเกษตรกรรม ฉะนั้นธรรมเนียมและประเพณีต่าง ๆ จึงเกียวกับเกษตรกรรมทั้งสิ้น ความเป็นอยู่ของชาวนาก็ขึ้นอยู่กับคราดไถในฤดูใบไม้ผลิ หว่านดำในฤดูร้อน เก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง และเก็บเข้ายุ้งฉางในฤดูหนาว ใน 4 ฤดูจะมีงานมากในฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูใบไม้ร่วง ในฤดูหนาวก็จะว่าง ฉะนั้นเมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ก็จะเตรียมไหว้เทวดาฟ้าดินและบรรพบุรุษ เพิ่อขอให้บรรพบุรุษปกป้องรักษา และฟ้าดินประทานโชคลาภ ทำให้อากาศดีฝนตกต้องตามฤดูกาล ในสมัยโบราณก่อนที่จะทำการเซ่นไหว้ก็จะต้องไปล่าสัตว์มาเป็นเครื่องสังเวย จึงเรียกเดือน 12 ว่าเดือนล่า(腊)ซึ่งหมายถึงเดือนแห่งการล่าสัตว์ และพิธีบวงสรวงเทพเจ้าในเดือน 12 ก็คือการล่าสัตว์มาเซ่นไหว้ การเซ่นไหว้เทพเจ้านั้นมีอยู่ 8 องค์ ดังนั้ นจึงเรียกว่า “ล่าปา” คำว่า “ปา” ในที่นี้หมายความว่า 8
ยังมีตำนานเล่าขานกันว่า “ล่าปา” นั้นเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 12 นับตั้งแต่พุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาในประเทศจีน การไหว้ฟ้าดินหรือไหว้พระนั้นก็มีความหมายเดียวกัน ในเดือน 12 นั้นยังมีประเพณีต้ม ”โจ๊กล่าปา” และธรรมเนียมเก็บกักตุนเนื้อสัตว์หลังการเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว ชาวบ้านต่างก็เอาผลผลิตเช่น ธัญพืชและถั่วนานาชนิดมาหุงต้มด้วยกัน เรียกว่า “โจ๊กล่าปา” “โจ๊กล่าปา” นั้นมีประโยชน์บำรุงร่างกาย หลังจากเซ่นไหว้และรับประทานแล้ว เนื้อสัตว์ส่วนที่เหลือยังมีอีกมากมาย ก็นำมาเคล้าเกลือตากแห้งเก็บไว้เป็นเสบียงต่อไป
ประเพณีการรับประทาน “โจ๊กล่าปา” เกิดในสมัยราชวงศ์ซ่ง เมื่อ 1000 ปีก่อน และ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นสูงสุดในราชวงศ์ชิง เมื่อถึงเช้าตรู่วันขึ้น 8 ค่ำเดือน 12 จะต้องมีการทำข้าวต้ม 5 รสที่นำของมงคล 7 อย่างปรุงรวมกัน วิธีการทำ “โจ๊กล่าปา” มีสูตรแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่โดยทั่วไปแล้ว ข้าวเป็นส่วนประกอบหลัก และยังมีการผสมผลไม้แห้ง ธัญพืช และถั่วลงไปด้วยหลายชนิด ในค่ำคืนวันขึ้น 7 ค่ำเดือน 12 แต่ละครอบครัวจะเตรียมล้างข้าวสาร พุทราแห้ง องุ่นแห้ง ธัญพืชต่าง ๆ รอถึงเที่ยงคืนแล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาต้มรวมกันแล้วต้มด้วยไฟอ่อนข้ามคืน ถึงเช้าตรู่ของวันใหม่จึงถีอว่าทำเสร็จเรียบร้อย
รายการอ้างอิง
中國民俗傳統節日 : 佳節年年. 蘇佩吟選編. 曼谷 : 八音出版社, 2001.
ความเป็นมาและประเพณีในวันล่าปา. สืบค้นจาก http: // thai.cri.cn/247/2016/01/18/228s239065.htm.
ตงจื้อ หรือ เทศกาลฤดูหนาว ซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลากลางฤดูหนาว ประมาณเดือน 11 และใกล้เคียงกับเทศกาลล่าปา ในสมัยชุนชิว ประเทศจีนก็มีการใช้เครื่องมือพื้นบ้านทำการวัดเวลาของ 24 เทศกาลใน 1 ปี และพิสูจน์ได้ว่า วันตงจื้อเป็นเทศกาลแรกเทศกาลหนึ่ง ซึ่ง มีเวลากลางวันสั้นที่สุด และเวลาคืนยาวที่สุดในรอบปี เมื่อผ่านพ้นตงจื้อไปแล้วกลางวันจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ ฉะนั้นในสมัยโบราณจึงมีการสันนิษฐานว่า วันตงจื้อนั้นเป็นวันขึ้นปีใหม่ ชาวบ้านจึงมีการฉลองอย่างครึกครื้นเป็นการใหญ่ ช่วงหลังชาวบ้านรับรู้ถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเช่นลูกเห็บตกในฤดูใบไม้ผลิ ฟ้าคะนองในฤดูหนาว การเกิดสุริยคราสหรือจันทรคราสอุทกภัยหรือภัยแล้ง ทั้งหมดนี้เป็นเพราะฟ้าดินวิปริตแปรปรวน ซึ่งเป็นการลงโทษต่อมนุษย์โลกทั้งนั้น Read the rest of this entry »
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงหลักธรรมที่ชื่อว่า “โอวาทปาติโมกข์” ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการ (3) อุดมการณ์ (4) และวิธีการ (6) ปฏิบัติที่นำไปใช้ได้ในทุกสังคม Read the rest of this entry »
วันมาฆบูชาใกล้เข้ามาแล้ว ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ร่วมจิตทำบุญและเวียนเทียน ขอนำประวัติสั้นๆ วันสำคัญของชาวไทยพุทธอีกหนึ่งวัน ที่ได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน จนถือเป็นประเพณีและวัฒนาธรรมจนถึงปัจจุบัน และเพื่อเป็นการปลูกฝังให้แก่ลูกหลาน ได้รับรู้และเข้าใจในศาสนาพุทธรวมทั้งหลักธรรมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักต่อความสำคัญของพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะชาวพุทธ และยังเป็นการช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไป Read the rest of this entry »
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 คณะภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดเทศกาลตรุษจีน บริเวณหอศิลปวัฒนธรรม และอาคารบรรณสาร
การเชิดสิงโต
การเล่นโยโย่
นักเรียนที่มาร่วมงานให้ความสนใจชมนิทรรศการ