SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การบริหารจัดการข้อมูลที่จัดเก็บใน One drive เพื่อการปฏิบัติงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ
ธ.ค. 20th, 2022 by supaporn

ตามภารกิจของ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในการทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนการเรียนรู้ นั้น การดำเนินการต่างๆ จึงมีไฟล์เอกสารทั้งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน การปฏิบัติงาน การให้บริการของศูนย์ฯ อยู่เป็นจำนวนมาก  มีการจัดเก็บไฟล์เอกสารสำหรับการบริหารงาน และการดำเนินงานของผู้บริหาร และหัวหน้าแผนก อยู่ในแพลตฟอร์มหนึ่ง ซึ่งมีการบันทึกข้อมูลต่างๆ  และผู้มีสิทธิ์สามารถเข้าไปบันทึกและแก้ไขในการทำงานร่วมกัน แต่เนื่องจากมีการจำกัดสิทธิ์ใช้เฉพาะผู้บริหารและหัวหน้าแผนก และมีวิธีการใช้ที่ต้องศึกษาและใช้งานอย่างสม่ำเสมอ จึงจะเกิดความคล่องตัวในการใช้งาน รวมทั้งต้องมีทักษะในการบันทึกเรื่องราว  และจัดเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัย  รวมทั้งการใช้ Thumb drive หรือ external drive ในการแบ่งปันการใช้ไฟล์ร่วมกัน อาจจะมีปัญหาเรื่องการติดไวรัสคอมพิวเตอร์ตามมา และด้วยมหาวิทยาลัยฯ มีการจัดซื้อ Microsoft 365 ซึ่งมีโปรแกรมในการจัดเก็บไฟล์ และใช้ไฟล์ร่วมกันผ่าน cloud จึงเกิดความสะดวกในการใช้ไฟล์เอกสารต่างๆ มากขึ้น  ทำให้ต้องเริ่มมีการวางแผนในการจัดการไฟล์เอกสารต่างๆ ให้เป็นระบบ การวางแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าใช้และทำงานร่วมกันต่อไปได้ในวงกว้างมากขึ้น แม้ว่าจะไม่ได้เป็นการบันทึกเรื่องราว เหมือนกับแพลตฟอร์มที่ใช้ในปัจจุบัน แต่เพื่อความสะดวกของบุคลากรส่วนใหญ่

Pain Point: (ปัญหา)
1. บุคลากรลดน้อยลง ต้องมอบหมายงานให้บุคลากรอื่นมาปฏิบัติงานแทน
2. เอกสารอยู่ที่ตัวบุคลากร  ไม่มีการส่งมอบไฟล์เอกสาร อย่างเป็นทางการเพื่อให้บุคลากรอื่นๆ สามารถใช้ไฟล์เอกสารและทำงานร่วมกันหรือทำงานทดแทนกันได้
3. ไม่มีการจัดการหรือจัดเก็บไฟล์เอกสารต่างๆ อย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถจัดเก็บและค้นได้
4. เอกสารมีการสูญหาย หรือเปิดอ่านจากสื่อที่บันทึกไม่ได้
5. ความไม่ปลอดภัยในการจัดเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์ของบุคลากร
6. ไม่มีพื้นที่มากพอในการจัดเก็บไฟล์เอกสารต่างๆ  (ในส่วนของบุคลากร และหน่วยงานอื่นที่ส่งไฟล์เอกสาร/สื่อบันทึกอื่นๆ แทนการใช้กระดาษ)

การวิเคราะห์หาสาเหตุ และเสนอแนวทางการแก้ปัญหา:

 

สาเหตุของปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา 
1. บุคลากรลดน้อยลง ต้องมอบหมายงานให้บุคลากรอื่นปฏิบัติงานแทน 1. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมอบไฟล์เอกสารหรือคู่มือต่างๆ ไว้ในส่วนกลาง
2. เอกสารอยู่ที่ตัวบุคลากร 2. ให้บุคลากรส่งมอบไฟล์เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานจัดเก็บไว้ในส่วนกลาง
3. ไม่มีการจัดการหรือจัดเก็บไฟล์เอกสารต่างๆ อย่างเป็นระบบ 3. จัดทำแนวทางในการจัดเก็บไฟล์เอกสารอย่างเป็นระบบในส่วนกลาง
4. เอกสารมีการสูญหาย หรือเปิดอ่านจากสื่อที่บันทึกไม่ได้ 4. ให้บุคลากรส่งมอบไฟล์เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาไว้ในระบบส่วนกลาง
5. ความไม่ปลอดภัยในการจัดเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์ของบุคลากร 5. ให้บุคลากรส่งมอบไฟล์เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาไว้ในระบบส่วนกลาง
6. ไม่มีพื้นที่มากพอในการจัดเก็บไฟล์เอกสารต่างๆ 6. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งไฟล์เอกสาร เช่น งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรืออื่นๆ เข้ามาในระบบส่วนกลางแทนการส่งด้วยสื่อบันทึกหรือทางอีเมล

ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้ร่วมกันพิจารณาหาแนวทางการบริหารจัดการไฟล์เอกสารและการใช้ไฟล์เอกสารในระบบส่วนกลาง เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยง และเพื่อเป็นการหาแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการและการใช้ไฟล์เอกสาร เพื่อการปฏิบัติงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ  จึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากบุคลากรแต่ละแผนก/งาน จำนวน 4 ครั้ง โดยแต่ละครั้งได้ข้อคิดมาจัดทำเป็นแนวปฏิบัติที่ดี

ครั้งที่ 1  วันที่ 16 ธันวาคม 2565  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เฉพาะกลุ่มผู้บริหาร ได้แก่ ผู้อำนวยการ หัวหน้าแผนก และนักเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการบริหารจัดการไฟล์ การใช้ไฟล์เอกสาร ที่จัดเก็บไว้ในระบบส่วนกลาง เกิดเป็นแนวปฏิบัติในการพิจารณาไฟล์ที่ต้องนำมาใส่ใน One drive แนวปฏิบัติในการจัดการโฟลเดอร์ และไฟล์

ครั้งที่ 2 วันที่  22 มีนาคม 2566   มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เฉพาะกลุ่มผู้บริหาร ได้แก่ ผู้อำนวยการ หัวหน้าแผนก โดยเป็นการพิจารณาการจัดทำโฟลเดอร์  การนำไฟล์เอกสารต่างๆ ที่นำเข้า และมีการปฏิบัติงานจริง ผ่านการใช้ One drive  มีการปรับปรุงไฟล์เอกสารบางประเภทให้อยู่ในโฟลเดอร์ ที่ความเหมาะสม

ครั้งที่ 3 วันที่ 27 มีนาคม 2566  เป็นการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากรทั้งศูนย์ฯ จึงต้องจัดแบ่งเป็น 2 รอบ รอบแรก เวลา 9.00-11.00 น. และรอบสอง เวลา 13.30-15.00 น. โดยเป็นการสื่อสารวัตถุประสงค์ ในการนำ One drive มาใช้ และแนวทางการจัดการไฟล์ต่างๆ ที่ร่างมาแล้วนำเสนอ  ได้มีการเสนอโฟลเดอร์และไฟล์ต่างๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งศูนย์ เช่น ไฟล์ตารางการปฏิบัติงานล่วงเวลา ไฟล์ข้อมูลการเปิดให้บริการในแต่ละภาคการศึกษา โฟลเดอร์ภาพกิจกรรมของศูนย์ฯ เป็นต้น

ครั้งที่ 4  วันที่  26 เมษายน 2566   จัดแบ่งเป็น 2 รอบ รอบแรก เวลา  09.30       สำหรับบุคลากรที่มีสิทธิ์ในการเข้าไปดูไฟล์ อย่างเดียว และรอบสอง เวลา 13.30 น. สำหรับบุคลากรที่มีสิทธิ์ในการใช้ไฟล์  เพื่อแนะนำการเข้าไปดูไฟล์และการเข้าไปใช้ไฟล์ตามสิทธิ์ที่ได้รับมอบหมาย

จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้ง 4 ครั้ง สามารถนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการไฟล์เอกสารเพื่อการปฏิบัติงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ดังนี้

ที่มาและวัตถุประสงค์ ในการพิจารณานำ One drive มาใช้ในการบริหารจัดการไฟล์เอกสารของศูนย์บรรณสารสนเทศ  ดังนี้  Read the rest of this entry »

กิจกรรมชดเชยคาร์บอน และ เครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์
มิ.ย. 11th, 2021 by pailin

ปัญหาสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกอย่างบนโลกใบนี้ ซึ่งปัญหาโดยส่วนใหญ่เกิดมาจากการกระทำของมนุษย์ ที่เห็นได้ชัดเจน คือ ปัญหาภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ทวีความรุนแรงในการเกิดพายุต่างๆ  สาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนมาจากการสะสมก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ อันเกิดมาจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์

ในการดำเนินชีวิตของเราทุกคนล้วนมีส่วนสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เราจึงควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือช่วยลดผลกระทบต่างๆ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมของโลกเราไว้ให้ดีหรือให้ยังคงอยู่เหมือนเดิม ด้วยการลดกิจกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือเข้าร่วมโครงการต่างๆ ที่มีช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การเข้าร่วมกิจกรรมชดเชยคาร์บอน ที่ใช้เป็นกลไกและมีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อน อันเกิดมาจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจก

ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases : GHG)

ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซชนิดต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และสารประกอบจำพวกฟลูออไรด์ 3 ชนิด คือ ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrofluorocarbon: HFC) เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (Perfluorocarbon: PFC) และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (Sulfurhexafluoride: SF6)  ซึ่งวัฎจักรการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมีทั้ง โดยทางตรงจากกลุ่มการเผาไหม้เชื้อเพลิง หรือโดยทางอ้อมจากการผลิตกระแสไฟฟ้าและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน  จะเห็นได้ว่าการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่มีอยู่หลากหลาย ได้สร้างก๊าซเรือนกระจกมากมายขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ

Read the rest of this entry »

มุมเพาะชำความรู้ มุมเพาะชำนักอ่าน
ม.ค. 12th, 2021 by rungtiwa

แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีแนวคิดเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้หนังสืออย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น โดยนำหนังสือที่จัดซื้อในปีที่ผ่านมาลงมาจัดแสดงที่มุมเพาะชำความรู้  มุมเพาะชำนักอ่าน  หรือมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เก๋ คือ Something nice to you ซึ่งหมายถึง น่าจะมีหนังสือ ซัก 1 เล่ม ที่คุณชอบ  บริเวณโถงกลาง ด้านหน้าศูนย์บรรณสารฯ

มีการจัดกิจกรรมดังกล่าวมาประมาณ 2-3 ปี  ผู้บริหาร จึงได้มีการหารือเพื่อให้หนังสือที่นำมาจัดแสดงน่าสนใจ มากขึ้น ผู้เขียนและทีมงาน จึงได้มีการปรับปรุงการนำหนังสือมาจัดแสดง ซึ่งเดิมพิจารณากันเอง อาจจะมีเปะปะ จึงวางแผนการจัดแสดงหนังสือทั้งปี แบ่งการจัดเป็น Theme ต่างๆ ใช้ระยะเวลาจัดแสดง Theme ละ 2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย ตามตารางด้านล่าง

ตารางกิจกรรมการจัดหนังสือมุมเพาะชำความรู้ มุมเพาะชำนักอ่าน

จากการจัดแสดงหนังสือเป็น Theme เป็นระยะเวลาหนึ่ง ไดัรับความสนใจจากผู้ใช้บริการที่เดินผ่านบริเวณ โถงศูนย์บรรณสารฯ ได้แวะชมและหยิบยืมหนังสือเพิ่มขึ้น  นับเป็นการกระตุ้นการใช้หนังสือให้คุ้มค่ามากขึ้น ทั้งยังได้เพิ่มยอดการยืมหนังสืออีกทางหนึ่ง โดยที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียเวลาขึ้นไปหาหนังสือบนชั้นต่างๆ จากภาพจัดแสดงหนังสือตาม Theme ต่างๆ รวมทั้งเทศกาลและวันสำคัญ ดังนี้ (ทั้งนี้ Theme อาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้ตามภาวะการณ์หรือมีกระแสเกิดขึ้้นในสังคม)

Read the rest of this entry »

ความร่วมมือระหว่างศูนย์บรรณสารสนเทศกับหอสมุดแห่งชาติ
พ.ย. 20th, 2020 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความร่วมมือในหลาย ๆ ด้านกับหอสมุดแห่งชาติ เริ่มจากความร่วมมือเพื่อการดิจิไทซ์หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เพื่อเป็นการอนุรักษ์หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย มีการจัดเก็บในระยะยาวและเพื่อให้สามารถสืบค้นได้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีพัฒนาการความร่วมมือในด้านต่างๆ กับหอสมุดแห่งชาติ ดังนี้

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ในโครงการจัดทำสำเนาหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ในการนำหนังสือพิมพ์ภาษาจีนเก่าทุกฉบับที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย ทั้งรายวัน รายสองวัน และรายสัปดาห์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเอกสารอันมีคุณค่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสงวนรักษาหนังสือพิมพ์จีน และเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย

การลงนามความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุดแห่งชาติและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ณ ห้องรับรอง ชั้น 4 อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

 

การลงนามความร่วมมือการทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย ระหว่างสำนักหอสมุดแห่งชาติและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

สาระสำคัญของบันทึดข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย ระหว่าง กรมศิลปากร กับ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Read the rest of this entry »

จากกิจกรรมจัดซื้อหนังสือสัญจรสู่การตรวจฐานข้อมูลหนังสือ (ผ่านมือถือ)
พ.ย. 10th, 2020 by uthairath

จากการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรมจัดซื้อหนังสือสัญจร ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ  ณ ชานเลนเจอร์ 2 อิมแพ็คเมืองทองธานี ได้มีคณาอาจารย์หลายท่านให้ความสนใจร่วมกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรมเลือกซื้อหนังสือให้ตรงกับสาขาที่เปิดสอน ทางศูนย์บรรรณสารสนเทศ ได้จัดบุคลากรเพื่อไปช่วยดูแลและค้นหาหนังสือที่ อาจารย์ได้คัดเลือกเพื่อเป็นการไม่ให้เกิดการซ้ำของหนังสือนั้นๆ

ภาพกิจกรรมโครงการจัดซื้อหนังสือสัญจร

ในกิจกรรมนี้ทางฝ่ายจัดซื้อก็จะ Search หรือค้นหาหนังสือจากฐานข้อมูลของห้องสมุด (ผ่านมือถือ) ว่าหนังสือเล่มนั้นมีแล้วหรือไม่  ซึ่งทำได้ง่ายและสะดวกมากๆ โดย เริ่มจากการเข้าไปที่ เว็บไซต์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ตามขั้นตอนดังนี้ https://lib-km.hcu.ac.th/ Read the rest of this entry »

Love to Read สุดยอดนักอ่าน
พ.ย. 8th, 2020 by rungtiwa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นหน่วยงานหนึ่งของสายสนับสนุนการเรียนการสอน ได้จัดหาทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับการเรียนการสอน ซึ่งในแต่ละปีจะมีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ เข้ามาให้บริการ  และเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดซื้อเข้ามาอย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ทางศูนย์บรรณสารฯ ได้จัดกิจกรรมเชิงรุก Love to Read สุดยอดนักอ่าน ขึ้นเพื่อกระตุ้นยอดการใช้ทรัพยากรฯ ให้มากยิ่งขึ้น โดยมีกติกาง่าย ๆ ดังนี้ Read the rest of this entry »

การตรวจสอบการยืม การยืมต่อ การจองและรายการค้างค่าปรับด้วยตนเอง
ส.ค. 22nd, 2020 by ปัญญา วงศ์จันทร์

ผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารสนเทศ สามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้ระบบห้องสมุด เช่น การยืม การยืมต่อ การจองและรายการค้างค่าปรับด้วยตนเอง  ผ่านเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่ www.lib.hcu.ac.th หรือ เข้าสู่ระบบสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ https://hcu.on.worldcat.org/  เพื่อตรวจสอบรายการยืมหนังสือ วันกำหนดส่ง ข้อมูลส่วนตัว และต่ออายุการยืมหนังสือ (ยืมต่อด้วยตนเองผ่านเว็บได้สูงสุด 2 ครั้ง)

ผู้ใช้บริการสามารถใช้ช่องทางนี้ในการตรวจสอบพันธะทางห้องสมุดได้ด้วย ในกรณี ที่นักศึกษาแจ้งจบสามารถตรวจสอบพันธะทางห้องสมุดผ่านเว็บไซต์ก่อนถ้ามีติดค้างให้มาเคลียร์พันธะก่อนยื่นเอกสารแจ้งจบการศึกษาเพื่อความสะดวกของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ

วิธีการตรวจสอบ ง่าย ๆ ทำตามรูปนี้ ได้เลย

วิธีการตรวจสอบการยืม การยืมต่อ การจองและรายการค้างค่าปรับด้วยตนเอง

การให้บริการห้อง Study Room ยุด New Normal
ก.ค. 30th, 2020 by somsri

เนื่องจากเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ต้องปรับตัว เข้ากับสถานการณ์ในยุค New Normal ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ในการใช้บริการห้อง Study Room โดยยึดหลัก Social Distancing ดังนี้

  1. จัดโต๊ะในห้อง Study Room ใหม่ จากเดิมที่มีเก้าอี้ 10 ตัว ลดเหลือ 2 ตัวและจัดระยะห่าง
  2. ผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาที่ใช้ห้อง Study Room
  3. มีการสแกนอุณหภูมิก่อนการเข้าใช้บริการ (โดยสแกนที่ชั้น 1 ก่อนเข้าศูนย์บรรณสารสนเทศ)
  4. ทำความสะอาดอุปกรณ์ โต๊ะ เก้าอี้ ด้วยแอลกอฮอล์ หลังการใช้งานเสร็จในแต่ละครั้ง
  5. จัดเจลแอลกอฮอล์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการทำความสะอาดมือได้ตลอดเวลา

มีการวางเจลแอลกอฮอล์หน้าห้อง

 

การจัดเก้าอี้ เว้นระยะห่าง

การให้บริการสอนออนไลน์ที่ห้อง Study Room
ก.ค. 24th, 2020 by somsri

ผู้เขียน มีหน้าที่ดูแลและอำนวยความสะดวกในการใช้ห้อง Study Room ซึ่งมีจำนวน 10 ห้อง ให้บริการที่ชั้น 4 ศูนย์บรรณสารสนเทศ  มีผู้ขอใช้บริการแน่นตลอดทั้งปี  ที่ผ่านมามักจะขอใช้เพื่อประชุม ติวหนังสือ ใช้เป็นที่สอบนักศึกษา ในปีนี้ เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้มหาวิทยาลัยปิดทำการชั่วคราว และปรับเป็นการสอนออนไลน์แทนที่

ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงขอความร่วมมือจากศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษาในการเดินสายเน็ตเวิร์คห้อง Study room ให้ แม้ว่าจะมี WiFi ให้บริการแล้วก็ตาม แต่เพื่อความมั่นใจในการสอนออนไลน์  จึงได้เพิ่มสาย LAN เพื่อให้อาจารย์มีความมั่นใจในการสอนออนไลน์แบบไม่สะดุดเพราะสัญญาณอินเทอร์เน็ต และเริ่มเปิดให้บริการเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา มีจำนวนการใช้ห้องเพื่อสอนออนไลน์สูงเป็นอันดับแรก  (59 กลุ่ม / 66 คน) เนื่องจากอาจารย์ต้องการความเงียบกว่าห้องพักอาจารย์ที่คณะ และมีความเป็นสัดส่วน เสียงไม่รบกวนกัน  ศูนย์บรรณสารสนเทศได้รับเสียงตอบรับในการขอใช้ห้องเพื่อสอนออนไลน์มากขึ้น ทั้งนี้ จะได้พิจารณาการเดินสายเน็ตเวิร์คเพิ่มเติม และอาจจะพิจารณาหาสถานที่เพิ่มเติม

จะเห็นได้ว่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ ต้องมีการปรับตัว ปรับสถานที่ เพื่อให้เอื้อต่อการใช้ประโยชน์มากขึ้น

ให้บริการจองห้อง Study Room เพื่อสอนออนไลน์

Study room ชั้น 4 อาคารบรรณสาร ☎️ 1432
Learning Space ชั้น 1 อาคารบรรณสาร ☎️ 1332
ศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษา อาคารอำนวยการ ☎️ 1114/1149

Check in ก่อนเข้าห้องสมุด ยุค New Normal
ก.ค. 14th, 2020 by Natchaya

ตั้งแต่สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 เกิดขึ้น ก็ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป โดยหลัก ๆ จะเป็นการเว้นระยะห่าง ทั้งระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และระยะห่างทางกายภาพ (Pysical Distancing) รวมถึงการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งของที่อยู่ในสาธารณะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ตามมาตรการหลักที่ทาง ศูนย์ข้อมูลมาตรการการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้กำหนดไว้

เหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นที่มาของการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงชื่อเข้าใช้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  จากแต่เดิมจะใช้บัตรนักศึกษา Scan Barcode ผ่านเครื่อง Scan หรือหากนักศึกษาไม่ได้นำบัตรมา ก็ต้องใส่รหัสประจำตัวผ่านแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ลงในตาราง Excel เพื่อเป็นการเก็บสถิติผู้เข้าใช้ในแต่ละวัน แต่ละช่วงเวลา ก็ปรับเปลี่ยนเป็นการ Scan QR code ด้วยโทรศัพท์มือถือของตนเอง เพื่อเข้าไปกรอกข้อมูลผู้เข้าใช้ใน Google Form แทน ซึ่งวิธีนี้ ลด เลี่ยง การสัมผัสจากสิ่งของสาธารณะได้ 100%   Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa