SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ข้อสังเกตจากการปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีน
ธ.ค. 25th, 2020 by wanna

จากการปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services-WMS ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนที่ห้องสมุดนำข้อมูลเข้าในระบบ WMS เขตข้อมูลชื่อผู้แต่ง (tag 100) และเขตข้อมูลชื่อเรื่อง (tag 245) จะต้องสะกดออกเสียงตามระบบ pinyin ชื่อผู้แต่ง (tag 100) จะต้องลงรายการเป็นอักษรจีน และ ต้องเพิ่ม tag 100 อีกเพื่อแปรอักษรจีนเป็นคำสะกดตามระบบ pinyin โดยอิงหลักเกณฑ์ตาม ALA-LC และ ชื่อเรื่อง (tag 245) จะเขียนเป็นอักษรจีน และเพิ่ม tag 245 อีกเช่นกัน เพื่อแปรอักษรจีนเป็นคำสะกดตาม ระบบ pinyin โดยเขียนสะกดแยกคำออกจากกัน แต่เนื่องจากโดยทั่วไปการสะกดคำตามระบบ pinyin จะสะกดตามที่นิยมเขียนเป็นคำศัพท์ที่ติดกัน เช่น 外国 เขียนสะกดตามระบบ pinyin เป็น waiguo หรือ 文化 จะเขียนเป็น wenhua จะไม่เขียนแยกเป็น wai guo หรือ wen hua

ข้อสังเกตจากการปฏิบัติงาน คือ ทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนบางเล่มจะพิมพ์ชื่อเรื่องตามหลักทั่วไป คือเขียนติดกันในหน้า colophon (หมายถึง หน้าที่มีข้อมูลทางบรรณานุกรม ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง และ ที่อยู่ของสำนักพิมพ์ เป็นต้น) ดังนั้น การลงรายการชื่อเรื่อง (tag 245 ) นอกจากเพิ่ม tag 245 เพื่อพิมพ์สะกดชื่อเรื่องเป็น pinyin ที่สะกดคำแยกกันแล้ว จะต้องลงรายการเพิ่มชื่อเรื่องในเขตข้อมูล 246 (tag 246) เพื่อสะกดชื่อเรื่อง pinyin ที่เขียนติดกันตามที่ปรากฏในหน้า colophon เพื่อให้สามารถสืบค้นชื่อเรื่องตามที่ใช้กันโดยทั่วไป

 

Read the rest of this entry »

ความในใจในการวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหนังสือชุด “รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน”《星云大师全集》
ต.ค. 22nd, 2020 by wanna

ความในใจในการวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหนังสือชุด รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน《星云大师全集

หนังสือชุด “รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน”《星云大师全集》ทั้งชุดมีทั้งหมด 365 เล่ม มีมากกว่า 30,000,000 ตัวอักษร มีสารบัญ 50,000 เรื่อง แบ่งเป็น 12 หมวด ใหญ่ ๆ ได้แก่

  • พระคัมภีร์ (經义) (24 เล่ม)
  • ข้อคิดต่าง ๆ ทางพุทธศาสนาในโลกมนุษย์ (人间佛教论丛) (17 เล่ม)
  • ตำราเรียน(教科书) (62 เล่ม)
  • รวมคำปาฐกถา (讲演集) (31 เล่ม)
  • รวมวรรณกรรม (文丛) (71 เล่ม)
  • บันทึกชีวประวัติ (传记) (34 เล่ม)
  • จดหมาย(书信) (12 เล่ม)
  • บันทึกประจำวัน(日记) (32 เล่ม)
  • หนังสือชุดฝอกวงซาน (佛光山系列) (13 เล่ม)
  • ภาพบันทึกกิจกรรมของฝอกวงซาน (佛光山行事图影) (10 เล่ม)
  • การประดิษฐ์อักษร (书法) (30 เล่ม)
  • ภาคผนวก (附录) (29 เล่ม 2 เล่มสุดท้าย คือ รวมสารบัญ และ รวมดรรชนี)

Read the rest of this entry »

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่มีอยู่ใน OCLC WorldCat
ต.ค. 31st, 2019 by wanna

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่มีอยู่ใน OCLC WorldCat มีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าระบบ WorldShare Management Services (WMS) ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

2.  สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการในโมดูล Metadata เลือก Record Manager และ Search เลือก Data Type ที่ Bibliographic Records โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้

2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหาที่  All WorldCat

2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number

2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น ISBN

Search: ISBN = 9787301260456

รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search

        Read the rest of this entry »

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่ยังไม่มีใน OCLC WorldCat
ต.ค. 30th, 2019 by wanna

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่ยังไม่มีใน OCLC WorldCat มีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าระบบ WorldShare Management Services (WMS) ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการในโมดูล Metadata เลือก Record Manager และ Search เลือก Data Type ที่ Bibliographic Records โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้

2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหาที่  All WorldCat

2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number

2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น Title

Search: Title = 中华实用起名全解

รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search

Read the rest of this entry »

กิจกรรมพิธีลงนามความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวัน
พ.ย. 30th, 2018 by wanna

กิจกรรมพิธีลงนามความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวันระหว่างหอสมุดกลางแห่งชาติไต้หวัน (National Central Library, Taiwan ROC : NCL) และ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Signing and Opening Ceremony of the Taiwan Resource Center for Chinese Studies (TRCCS) @ CU Library จัดโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561

กิจกรรมนี้ ประกอบด้วย

  • การบรรยาย เรื่อง Taiwan Lecture on Chinese Studies ; Thai images in Taiwan (ภาษาอังกฤษ) โดย Pei-hsiu Chen ผู้อำนวยการภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติจี้หนาน
  • พิธีเปิดมุมทรัพยากรสารสนเทศไต้หวัน (Taiwan Resource Center for Chinese Studies : TRCCS)
  • พิธีเปิดนิทรรศการ “ไทยวิจิตรตระการ-ตำนานไทยในรอยรำลึกไต้หวัน” (The Beauty and Grace of Thailand – An Exhibition of Thailand in Taiwan Memory)

จากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้ได้รับทราบโครงการความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวัน ระหว่าง หอสมุดกลางแห่งชาติไต้หวัน (National Central Library, Taiwan R.O.C. : NCL) และ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ชมการจัดมุมทรัพยากรสารสนเทศไต้หวัน และ ชมนิทรรศการ  “ไทยวิจิตรตระการ-ตำนานไทยในรอยรำลึกไต้หวัน” (The Beauty and Grace of Thailand – An Exhibition of Thailand in Taiwan Memory) และ ได้ฟังการบรรยาย เรื่อง Taiwan Lecture on Chinese Studies ; Thai images in Taiwan (ภาษาอังกฤษ) โดย Prof. Pei-hsiu Chen ผู้อำนวยการภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติจี้หนาน

 

วิทยากร Prof. Pei-hsiu Chen

Read the rest of this entry »

พิธีมอบหนังสือชุด”รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน”
ต.ค. 15th, 2018 by wanna

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้จัดพิธีรับมอบหนังสือชุด “รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน”《星云大师全集》จากมูลนิธิแสงพุทธธรรม ประเทศไทย (国际佛光会泰国协会)ณ ห้องบรรยายพิเศษ 2 (ห้องสื่อประสม) อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  โดยมีท่านอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ เป็นผู้รับมอบจาก พระอาจารย์ซินติ้ง(心定法师)ผู้ร่วมในพิธีมีทั้งผู้แทนจากมูลนิธิแสงธรรมประเทศไทย และ จากไต้หวัน รวมทั้ง ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และ เจ้าหน้าที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ

 

จากภาพจะเห็นหนังสือชุด“รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน”《星云大师全集》ทั้งหมด 365 เล่ม วางเรียงรายอยู่บนโต๊ะ และ ที่ผนังห้องจะเห็นรูปภาพของพระอาจารย์ซิงหวิน ที่มีใบหน้ายิ้มแย้มเปี่ยมด้วยความกรุณา ทำให้บรรยากาศในห้องเต็มไปด้วยความปิติยินดี Read the rest of this entry »

เทศกาลล่าปา (腊八节)
พ.ย. 23rd, 2017 by wanna

วันขึ้น 8 ค่ำเดือน 12 เป็นเทศกาลล่าปา(腊八节)จีนเป็นประเทศเกษตรกรรม ฉะนั้นธรรมเนียมและประเพณีต่าง ๆ จึงเกียวกับเกษตรกรรมทั้งสิ้น ความเป็นอยู่ของชาวนาก็ขึ้นอยู่กับคราดไถในฤดูใบไม้ผลิ หว่านดำในฤดูร้อน เก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง และเก็บเข้ายุ้งฉางในฤดูหนาว ใน 4 ฤดูจะมีงานมากในฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูใบไม้ร่วง ในฤดูหนาวก็จะว่าง ฉะนั้นเมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ก็จะเตรียมไหว้เทวดาฟ้าดินและบรรพบุรุษ เพิ่อขอให้บรรพบุรุษปกป้องรักษา และฟ้าดินประทานโชคลาภ ทำให้อากาศดีฝนตกต้องตามฤดูกาล ในสมัยโบราณก่อนที่จะทำการเซ่นไหว้ก็จะต้องไปล่าสัตว์มาเป็นเครื่องสังเวย จึงเรียกเดือน 12 ว่าเดือนล่า(腊)ซึ่งหมายถึงเดือนแห่งการล่าสัตว์ และพิธีบวงสรวงเทพเจ้าในเดือน 12 ก็คือการล่าสัตว์มาเซ่นไหว้ การเซ่นไหว้เทพเจ้านั้นมีอยู่ 8 องค์ ดังนั้ นจึงเรียกว่า “ล่าปา” คำว่า “ปา” ในที่นี้หมายความว่า 8

ยังมีตำนานเล่าขานกันว่า “ล่าปา” นั้นเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 12 นับตั้งแต่พุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาในประเทศจีน การไหว้ฟ้าดินหรือไหว้พระนั้นก็มีความหมายเดียวกัน ในเดือน 12 นั้นยังมีประเพณีต้ม ”โจ๊กล่าปา” และธรรมเนียมเก็บกักตุนเนื้อสัตว์หลังการเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว ชาวบ้านต่างก็เอาผลผลิตเช่น ธัญพืชและถั่วนานาชนิดมาหุงต้มด้วยกัน เรียกว่า “โจ๊กล่าปา” “โจ๊กล่าปา” นั้นมีประโยชน์บำรุงร่างกาย หลังจากเซ่นไหว้และรับประทานแล้ว เนื้อสัตว์ส่วนที่เหลือยังมีอีกมากมาย ก็นำมาเคล้าเกลือตากแห้งเก็บไว้เป็นเสบียงต่อไป

ประเพณีการรับประทาน “โจ๊กล่าปา” เกิดในสมัยราชวงศ์ซ่ง เมื่อ 1000 ปีก่อน และ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นสูงสุดในราชวงศ์ชิง เมื่อถึงเช้าตรู่วันขึ้น 8 ค่ำเดือน 12 จะต้องมีการทำข้าวต้ม 5 รสที่นำของมงคล 7 อย่างปรุงรวมกัน วิธีการทำ “โจ๊กล่าปา” มีสูตรแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่โดยทั่วไปแล้ว ข้าวเป็นส่วนประกอบหลัก และยังมีการผสมผลไม้แห้ง ธัญพืช และถั่วลงไปด้วยหลายชนิด ในค่ำคืนวันขึ้น 7 ค่ำเดือน 12 แต่ละครอบครัวจะเตรียมล้างข้าวสาร พุทราแห้ง องุ่นแห้ง ธัญพืชต่าง ๆ รอถึงเที่ยงคืนแล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาต้มรวมกันแล้วต้มด้วยไฟอ่อนข้ามคืน ถึงเช้าตรู่ของวันใหม่จึงถีอว่าทำเสร็จเรียบร้อย

Lapa-1

Lapa-2

รายการอ้างอิง

中國民俗傳統節日 : 佳節年年. 蘇佩吟選編. 曼谷 : 八音出版社, 2001.

ความเป็นมาและประเพณีในวันล่าปา. สืบค้นจาก http: // thai.cri.cn/247/2016/01/18/228s239065.htm.

ตงจื้อ (冬至 )หรือ เทศกาลฤดูหนาว
พ.ย. 23rd, 2017 by wanna

ตงจื้อ หรือ เทศกาลฤดูหนาว ซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลากลางฤดูหนาว ประมาณเดือน 11 และใกล้เคียงกับเทศกาลล่าปา ในสมัยชุนชิว ประเทศจีนก็มีการใช้เครื่องมือพื้นบ้านทำการวัดเวลาของ 24 เทศกาลใน 1 ปี  และพิสูจน์ได้ว่า วันตงจื้อเป็นเทศกาลแรกเทศกาลหนึ่ง ซึ่ง มีเวลากลางวันสั้นที่สุด และเวลาคืนยาวที่สุดในรอบปี  เมื่อผ่านพ้นตงจื้อไปแล้วกลางวันจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ  ฉะนั้นในสมัยโบราณจึงมีการสันนิษฐานว่า  วันตงจื้อนั้นเป็นวันขึ้นปีใหม่  ชาวบ้านจึงมีการฉลองอย่างครึกครื้นเป็นการใหญ่  ช่วงหลังชาวบ้านรับรู้ถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเช่นลูกเห็บตกในฤดูใบไม้ผลิ  ฟ้าคะนองในฤดูหนาว  การเกิดสุริยคราสหรือจันทรคราสอุทกภัยหรือภัยแล้ง  ทั้งหมดนี้เป็นเพราะฟ้าดินวิปริตแปรปรวน ซึ่งเป็นการลงโทษต่อมนุษย์โลกทั้งนั้น Read the rest of this entry »

การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC
ก.พ. 7th, 2017 by wanna

ก่อนที่ผู้เขียนจะมาปฏิบัติงานในตำแหน่งบรรณารักษ์ วิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรภาษาจีน ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ์ ผู้เขียนได้ปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรับผิดชอบการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และ ก่อนหน้านั้นได้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสาขาหลายแห่งของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากผู้เขียนมีพื้นความรู้ภาษาจีน จึงได้ช่วยบรรณารักษ์ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ ของ สำนักหอสมุด แปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ซึ่ง ในระยะแรก ๆ ผู้เขียนจะแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน โดย ใช้ระบบการสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin และ เขียนคำศัพท์ตามคำศัพท์ภาษาจีนเช่น คำว่า ภาษาจีน (汉语)จะแปรเป็นอักษรโรมันตามระบบ Pinyin อ่านว่า hanyu ซึ่งจะเขียนติดกัน แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้มาปฏิบัติงานที่ ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ สำนักหอสมุด และ รับผิดชอบงานการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรภาษาต่างประเทศ โดย รวมถึงภาษาจีนนั้น ผู้เขียนพบว่า การลงรายการทรัพยากรภาษาจีนของ OCLC จะสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin โดยสะกดแยกคำออกจากกัน เช่น คำว่า ภาษาจีน(汉语)จะสะกดเป็น Han yu โดยเขียนแยกกัน และ ใช้ H เป็นอักษรตัวใหญ่ ตามหลักของการเชียนภาษาอังกฤษ โดยใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น English, Chinese และ ชื่อประเทศ ชื่อมณฑล ชื่อเมือง ก็จะเขียนอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ และ เขียนติดกัน เช่น คำว่าประเทศจีน (中国)จะสะกดและเขียนเป็น Zhongguo ปักกิ่ง (北京)สะกดและเขียนเป็น Beijing เป็นต้น หลังจากผู้เขียนได้อ่านระบบการแปรอักษรจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC Romanization แล้ว จึงทราบความเป็นมาและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ดังนี้  การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC

ความสัมพันธ์จีน–อาเซียนภายใต้นโยบาย 1 แถบ 1 เส้นทาง” (Sino-ASEAN Relations under One Belt One Road Policy 一带一路背景 下 中国与 东盟关系)
ก.พ. 7th, 2017 by wanna

เมื่อวันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2560 ผู้เขียน ได้มีโอกาส เข้าร่วมสัมมนาวิชาการจีนศีกษา ครั้งที่ 7 เรื่อง “ความสัมพันธ์จีน–อาเซียนภายใต้นโยบาย 1 แถบ 1 เส้นทาง” (Sino-ASEAN Relations under One Belt One Road Policy 一带一路背景 下 中国与 东盟关系) ซึ่ง จัดโดย วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยากร คือ รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ไทยจีน ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Prof.Dr. Zhu Zhenming ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ไทยจีน สถาบันวิจัยสังคมศาสตร์แห่งมณฑลยูนนาน ผู้เขียน เห็นว่า เรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องที่น่าสนใจ จึงอยากจะแบ่งปันความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมสัมมนามาให้ผู้สนใจได้ทราบ ดังนี้

รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น กล่าวถึง ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนภายใต้นโยบาย 1 แถบ 1 เส้นทาง ว่าปัจจุบันเรียกว่า BRI (Belt and Road Initiative) ซึ่งเดิมเรียกว่า One Belt One Road ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศของจีน เป็นอันดับหนึ่งของโลก มีทุนสำรองเป็นอันดับหนึ่ง เงินหยวนถูกใช้มาก นักท่องเที่ยวจีนบุกโลก กล่าวถึงความสัมพันธ์จีน-อาเซียนครบรอบ 25 ปี การค้าจีน-อาเซียนในยุค New Normal ขยายตัวลดลง (New Low) การส่งออกของจีนในตลาดโลกลดลง
Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa