การจัดกิจกรรมบริการชุมชนในแต่ละครั้งที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ออกแบบป้ายกิจกรรมการจัดงาน เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรได้มาร่วมกิจกรรมกับทางห้องสมุด ซึ่งผู้เขียนจะใช้แอป PicsArt เป็นหลักในการออกแบบผ่านหน้าจอมือถือ
ตัวอย่างป้ายกิจกรรมที่ใช้แอปพลิเคชั่น PicsArt ในการออกแบบ
Read the rest of this entry »
ในยุคดิจิทัล ทำให้หลายๆ วงการปรับการผลิต การให้บริการ คอนเทนต์ ห้องสมุดก็ได้รับผลของยุคดิจิทัล อย่างจัง เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศจากฉบับพิมพ์เป็นดิจิทัล สื่อสิ่งพิมพ์ถูกเปลี่ยนเป็นสื่อดิจิทัล การให้บริการจึงเน้นในการเข้าสารสนเทศดิจิทัลแทน
วารสารที่ให้บริการเช่นเดียวกัน วารสารจำนวนมาก ยกเลิกการผลิตฉบับพิมพ์ เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน ห้องสมุดเลิกการบอกรับฉบับพิมพ์ หันไปบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเหตุที่ว่าเข้าถึงได้สะดวกไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ไม่จำเป็นต้องเข้ามาในห้องสมุด โดยเฉพาะช่วงที่ห้องสมุดต้องปิดให้บริการชั่วคราว จากโรคระบาด หรืออาจจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่ผู้ใช้ก็ยังคงสามารถอ่านวารสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมทั้งวารสารทางวิชาการที่เป็น Open access ห้องสมุดได้ปรับแนวทางการให้บริการในเข้าถึง โดยการทำ QR Code เป็นช่องทางในการเข้าถึงวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน ภาพที่เคยเห็นวารสารบนชั้นวารสารในห้องสมุด จึงจะไม่ค่อยจะได้พบเห็น
งานวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ได้จัดทำช่องทางเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงวารสาร ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
1. ได้จัดทำช่องทางในการเข้าถึงวารสารให้สะดวกมากขึ้น แทนฉบับพิมพ์ที่เคยให้บริการที่ชั้นวารสาร จากรูปจะเห็นการจัดวาง QR Code รายชื่อวารสารแต่ละชื่อแทนตัวเล่ม (รูปที่ 1) โดยจะแบ่งเป็นหมวดตามสาขาวิชา/คณะ
รูปที่ 1 ช้้นวารสารที่แทบจะไม่มีวารสารฉบับพิมพ์ แต่มีชื่อวารสารพร้อม QR Code แทน
ตัวอย่าง วารสารด้านการพยาบาล
Home Healthcare Nurse
Journal of Emergency Nursing
Journal of Family Nursing
เนชั่นแนล จีโอกราฟิก (National Geographic) เป็นนิตยสารของสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก ออกวางจำหน่ายเป็นรายเดือน ซึ่งมีการตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นฉบับภาษาอังกฤษ เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2431 สำหรับเนื้อหาภายในนิตยสารนั้นจะมีเกี่ยวกับทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันมีการตีพิมพ์เป็นภาษาท้องถิ่นถึง 37 ภาษาทั่วโลก รวมทั้งภาษาไทย
งานวารสารฯ ศูนย์บรรณสารสนเทศ เห็นถึงการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งเดิมได้มีการบอกรับเป็นตัวเล่มเป็นภาษาไทยอยู่แล้ว จึงได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการบอกรับในรูปแบบของ e- Magazine ซึ่งสามารถอ่านจากที่ไหน ก็ได้ โดยการอ่านผ่านหน้าจอ Smart Phone หรือ Tablet เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ สำหรับการให้บริการนั้นทางห้องสมุดได้สมัครสมาชิกไว้เรียบร้อยแล้ว และได้รับ USER การใช้งาน 1 USER สามารถอ่านเนื้อหาได้ครั้งละ 5 เครื่องพร้อมกัน Read the rest of this entry »
ในช่วงเวลานี้ บรรดาผู้ที่อยู่ในสายงานแวดวงของการศึกษา หากไม่มีการกล่าวถึง ห้องสมุดของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรา ๆ ท่าน ๆ ก็คงจะคุยกับใครหลาย ๆ คนไม่รู้เรื่อง?
ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดที่ปรับโฉมใหม่ของทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของโลก ด้านการออกแบบในหมวดห้องสมุด (Library) จากงาน Best of Year Awards 2019 ซึ่งจัดโดย Interior Design Magazine นิวยอร์ก ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 90 ล้านบาท จากการบริจาคของศิษย์เก่าอย่าง เสริมสิน สมะลาภา ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562
ผู้เขียนเป็นอีกคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม สถานที่แห่งนี้เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 62 ซึ่งได้รับการต้อนรับ จาก ผศ.ศุภวัฒน์ หิรัญธนวิวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีกลุ่มบริหารกายภาพ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยคณบดีกลุ่มบริหารกายภาพ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้อนรับและสรุปที่มาของการรีโนเวตห้องสมุดให้ฟัง
คณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ตีพิมพ์หรือผลิตวารสารทางวิชาการ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ บทความวิจัย และบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานั้นๆ โดยเป็นผลงานของคณาจารย์ของแต่ละคณะ หรือคณาจารย์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ส่งบทความมาลงและผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประเมินบทความ (Peer review)
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีรวบรวมข้อมูลของวารสารคณะต่างๆ ไว้ที่ www.lib.hcu.ac.th เพื่อสะดวกในการเข้าถึงวารสารชื่อต่างๆ ของแต่ละคณะ จึงขอแนะนำวารสารของคณะต่างๆ ดังนี้
วารสารวิชาการ มฉก. คณะต่างๆ
วารสาร มฉก. วิชาการ HCU.Journal
ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette เรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือที่ได้รวบรวมคำประกาศของทางราชการ แปลว่า “เป็นที่เพ่งดูราชกิจ” เริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401
หน้าปกราชกิจจานุเบกษา
ราชกิจจานุเบกษา มีกำหนดออกเป็นรายสัปดาห์ โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษา สำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท ปัจจุบันมีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดพิมพ์ จะมีรูปเล่มที่คุ้นตากัน ก็คือ มีตัวอักษรและตราครุฑสีดำอยู่บนหน้าปกสีขาว จะขึ้นลำดับเล่มใหม่ทุกปี เริ่มตอนที่1 ในช่วงของต้นเดือนมกราคม มีขนาดของตัวเล่มคือ กว้าง 14.5 ซม. ยาว 21 ซม.
ราชกิจจานุเบกษาที่มีในห้องสมุดกฎหมาย ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ราชกิจจานุเบกษานับเป็นหนังสือที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากของทางราชการ ซึ่งใช้สำหรับการประกาศกฎหมาย ข่าวสารสำคัญของบ้านเมือง และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลย้อนหลัง ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงให้กับผู้ที่กำลังศึกษาทางด้านคณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์
สำหรับราชกิจจานุเบกษา ที่มีอยู่และให้บริการในห้องสมุดกฎหมาย ปัจจุบันได้มีการจัดเก็บ รวบรวมไว้ให้บริการอยู่ที่ชั้น 6 งานวารสารและเอกสาร แผนกบริการสารสนเทศ ซึ่งฉบับแรกที่มีให้บริการจะเป็น ปี พ.ศ. 2534 จนถึง ปี พ.ศ. 2556 รวบรวมไว้เป็นฉบับเย็บเล่มจัดเรียงตามปี พ.ศ. มีการเว้นช่วงการบอกรับไประยะเวลาหนึ่ง สืบเนื่องจากสามารถค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ได้จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาโดยตรง และรวดเร็วกว่าการค้นคว้าจากตัวเล่ม แต่ปัจจุบันทางคณะนิติศาสตร์ได้ขอความร่วมมือให้ทางห้องสมุดติดต่อบอกรับแบบตัวเล่มอีกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าจากต้นฉบับได้หลากหลายขึ้น
เคยตั้งคำถาม? หรือไม่ว่าทำไมห้องสมุดถึงยังต้องมีการจัดหาตัวเล่มของวารสารมาไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ทั้งๆ ที่ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวารสาร หรือหนังสือพิมพ์ ส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนให้ทันยุคทันสมัย ทั้งในรูปแบบของวารสารที่เป็นอิเลคทรอนิคส์ มี QR Code อยู่ตามหน้าปกตัวเล่ม เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการค้นคว้า ในยุคของโลกโซเชี่ยล หรือแม้แต่การอ่านข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ ก็จะมี application ของหนังสือพิมพ์ต่างๆ ให้ download เพื่อติดตามข่าวสารทางหน้าจอโทรศัพท์ รวมทั้งสะดวกรวดเร็วในการค้นคว้าหาข้อมูล
แต่กระนั้นแม้จะมีความสะดวก ทันสมัยมากเท่าไร ความต้องการแบบเดิมๆ ก็ยังมีผลต่อการค้นคว้า การอ่านบทความ รวมทั้งภาพถ่ายที่หลากหลาย และการอ่านจากตัวเล่มก็ยังได้อรรถรส มากกว่าการอ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอโทรศัพท์ที่ตัวหนังสือมีขนาดเล็ก ทำให้ต้องใช้สายตาในการอ่านมากกว่าปกติ
ดังนั้น ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงยังมีพิจารณาการบอกรับวารสารที่เป็นตัวเล่มอยู่ โดยจะมีการพิจารณาการบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ก่อน หรือจัดทำ QR code เพื่อให้ผู้ใช้บริการสแกนในการเข้าถึงวารสารฉบับอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการเข้าถึงได้มากกว่าตัวเล่ม สะดวกในการใช้ตามอุปกรณ์ที่เกิดขึ้น และลดงบประมาณในการรวมวารสารเพื่อการเย็บเล่ม โดยมีกระบวนการสั่งซื้อวารสาร ดังนี้ Read the rest of this entry »
เมื่อมีการนำระบบ WorldShare Management Services (WMS) เข้ามาใช้กับงานห้องสมุดของศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำให้งานวารสารมีแนวคิดริเริ่มพัฒนารูปแบบของการทำงานและการให้บริการวารสารเพื่อการค้นคว้า สอดคล้อง และก้าวตามทันยุคสมัยของการใช้อุปกรณ์การสื่อสารในยุคปัจจุบัน และเป็นการเข้าถึงสื่อความรู้ เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็ว ให้กับผู้ใช้บริการวารสารของศูนย์บรรณสารสนเทศ
งานวารสารเริ่มปรับปรุงการให้บริการ หรือ Work process เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงตัวเล่มได้ง่ายขึ้น โดยเริ่มจาก
วารสารที่ทำ QR Code เพื่อให้สแกนและเข้าให้เข้าถึงเนื้อหาได้ทันที
จุลสาร หรือ Pamphlet
เป็นสิ่งพิมพ์อีกประเภทหนึ่ง ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รวบรวมและจัดหมวดหมู่ พร้อมทั้งลงรายการทางบรรณานุกรมเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาที่บรรจุในจุลสารเล่มนั้นๆ หรือเรื่องนั้นๆ ได้
คำว่า จุลสาร สื่อให้ทราบถึงสาระที่เป็นสื่อชิ้นเล็กๆ หรือเล่มเล็กๆ คำว่า จุลสาร บางหน่วยงาน จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่กิจกรรม ใช้ขึ้นต้น เช่น จุลสาร (ชื่อหน่วยงาน) ออกเป็นวาระ ลักษณะเหมือนวารสาร แต่ในบริบทของห้องสมุด จะเก็บสิ่งพิมพ์ประเภท จุลสาร ซึ่งมิได้หมายความถึง การออกเป็นวาระ เหมือนวารสาร แต่เนื่องจากจุลสารมีลักษณะที่เป็นเล่มเล็ก มีจำนวนหน้าไม่มากนัก หรืออาจจะเท่ากับหนังสือเล่มทั่วไป แต่เนื่องจากขนาดของหนังสือเล็กหรือมีความบางเกินไป เมื่อนำมาจัดวางไว้ที่ชั้นหนังสือรวมกับหนังสือที่มีขนาดทั่วๆ ไป จะทำให้ หนังสือเล่มเล็กเหล่านี้ หลุดหรือตกออกจากชั้นหนังสือ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถจัดเรียงได้ตามปรกติ
ดังนั้น ห้องสมุด มักจะจัดเก็บจุลสาร แยกออกมาจากชั้นหนังสือทั่วไป โดยแยกเก็บเป็นคอลเลคชั่นพิเศษ หรือจัดเก็บพิเศษ มีการกำหนดหมวด ซึ่งกำหนดโดยห้องสมุดเอง โดยส่วนมากจะเป็นคำว่า จุลสาร และตามด้วยหมายเลขของจุลสาร หรืออาจจะใช้คำย่อว่า จล เป็นต้น
ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะได้รับจุลสาร ในลักษณะที่เป็นการได้รับบริจาค หรือเป็นจะเป็นการแจกจ่าย หรือได้รับเป็นอภินันทนาการ มีการพิจารณาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือเนื้อหา หรือกลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ คัดแยกและจัดหมวด โดยกำหนดว่า จุลสาร และ ตามด้วยหมายเลข ซึ่งเป็นลำดับที่ของจุลสารที่เข้ามา ลงรายการทางบรรณานุกรมเหมือนกับสิ่งพิมพ์ทั่วๆ ไป และให้บริการที่ชั้น 6 Read the rest of this entry »
ภูมิทัศน์อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี10)
เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2560 ผู้เขียนได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์ภายนอกสถานที่ ได้พบเห็นผู้บริหารของห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ และได้เข้าเยี่ยมชมห้องสมุด สำนักงานวิทยทรัพยากร สาขาเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา หรืออาคารจามจุรี 10 นั่นเอง ตัวอาคารจะตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของ ถนนพญาไท กลุ่มศึกษาดูงานได้พากันเดินชมความร่มรื่นสองข้างทางจากอาคารสำนักงานวิทยทรัพยากร เพื่อไปยังจุดหมายคืออาคารจามจุรี10
นำทีมโดยท่านรองศาสตราจารย์ ดร. อมร เพชรสม รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และเป็นกันเองเป็นอย่างมาก ท่านได้พาคณะศึกษาดูงานเดินขึ้นบันไดเพื่อลดแคลลอรี่และสร้างความแข็งแกร่งของร่างกาย ไปยังชั้น 2 ของตัวอาคารซึ่งเป็นพื้นที่ในส่วนของห้องสมุด มีเนื้อที่ใช้สอยประมาณ 1,500 ตารางเมตร เป็นอาคารที่ได้รวบรวมวิทยานิพนธ์ทั้งหมด งานวิจัย และหนังสืออ้างอิง ที่กระจัดกระจายตามคณะต่างๆ ซึ่งมีประมาณ 50,000 เล่ม นำมารวบรวมไว้ให้บริการในจุดเดียวกัน เพื่อสร้างความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ทุกๆ แขนงแก่บุคลากร นิสิต และประชาชนทั่วไป ซึ่งวิทยานิพนธ์เหล่านี้เดิมเคยให้บริการอยู่ที่ชั้น 2 ของหอสมุดกลางอาคารมหาธีรราชานุสรณ์ นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดในกลุ่มต่างๆ นำมารวบรวมไว้ให้บริการ เช่น