ศูนย์บรรณสารสนเทศได้จัดทำบริการเชิงรุกให้กับผู้ใช้บริการโดยสามารถยืมหนังสือได้ไม่จำกัดระยะเวลาการยืม โดยการเข้าไป Renew หรือยืมหนังสือต่อด้วยตนเองง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ของห้องสมุด www.lib.hcu.ac.th หรือ เข้าสู่ระบบสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ https://hcu.on.worldcat.org/ เพื่อขยายเวลาการยืมออกไปได้ตามสถานะของสมาชิก (เดิมยืมต่อด้วยตนเองผ่านเว็บได้สุงสุด 2 ครั้ง) จนกว่าจะมีผู้ต้องการใช้หนังสือและทำการจองหนังสือเล่มดังกล่าว เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถอ่านหนังสือที่ต้องการได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยลดเรื่องค่าปรับหากยังใช้หนังสือไม่เสร็จเมื่อถึงกำหนดคืนและไม่มีเวลามาคืนหนังสือที่ห้องสมุด
ขั้นตอนการยืมต่อด้วยตนเองง่าย ๆ มี ดังนี้
ขั้นตอนยืมต่อด้วยตนเอง
ผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารสนเทศ สามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้ระบบห้องสมุด เช่น การยืม การยืมต่อ การจองและรายการค้างค่าปรับด้วยตนเอง ผ่านเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่ www.lib.hcu.ac.th หรือ เข้าสู่ระบบสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ https://hcu.on.worldcat.org/ เพื่อตรวจสอบรายการยืมหนังสือ วันกำหนดส่ง ข้อมูลส่วนตัว และต่ออายุการยืมหนังสือ (ยืมต่อด้วยตนเองผ่านเว็บได้สูงสุด 2 ครั้ง)
ผู้ใช้บริการสามารถใช้ช่องทางนี้ในการตรวจสอบพันธะทางห้องสมุดได้ด้วย ในกรณี ที่นักศึกษาแจ้งจบสามารถตรวจสอบพันธะทางห้องสมุดผ่านเว็บไซต์ก่อนถ้ามีติดค้างให้มาเคลียร์พันธะก่อนยื่นเอกสารแจ้งจบการศึกษาเพื่อความสะดวกของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
วิธีการตรวจสอบ ง่าย ๆ ทำตามรูปนี้ ได้เลย
วิธีการตรวจสอบการยืม การยืมต่อ การจองและรายการค้างค่าปรับด้วยตนเอง
การแสดงข้อมูล สถิติในรูปแบบของตัวเลข กราฟ เพื่อสรุปข้อมูลต่าง ๆ ในภาพรวม (Dash Board) เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่ผู้เขียนกำลังศึกษาฟังก์ชั่นงานในระบบ WMS (WorldShare Management Services) โดยการหาข้อมูลเกี่ยวกับ Analytics Reports เพื่อจะได้ทำสถิติการยืม-คืน และพบว่า มีฟังก์ชั่น Circulation Reports ที่สามารถทำ Circulation Dashboard ได้
รูปที่ 1 แสดงสถิติการยืมในรูปของ Dash Board
จากรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่ายอดการจองหนังสือน้อย เนื่องจากขณะที่เขียนเป็นช่วงมหาวิทยาลัยปิดการเรียนการสอน ช่วง COVID-19 ห้องสมุดก็จะสามารถเห็นข้อมูลเหล่านี้และวางแผนกันต่อไปได้ Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้จัดอันดับหนังสือ 10 อันดับหนังสือที่มีการยืมมากที่สุดประจำปีการศึกษา 2561 นี้ มาดูกันครับว่ามีหนังสือเล่มใดกันบ้างและหากสนใจอ่านสามารถมาอ่านได้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ นะครับ
สถิติจำนวนการใช้หนังสือกับงาน High Use Circulation Titles Summary Report ใน WMS
สถิติการยืมเหล่านี้ มาจากฟังก์ชั่นงานที่ OCLC ได้จัดทำสถิติในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เพื่อรายงานสถิติเกี่ยวกับการใช้หนังสือที่น่าสนใจดังนี้ Items Checked Out/ Items Renewed/Items Soft Checked Out และสรุปผลรวมการใช้หนังสือสามารถเข้าถึงได้โดยเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ High Use Circulation Titles Summary Report
ห้องสมุด ควรจะได้มีการนำสถิติเหล่านี้ มาใช้ประโยชน์ในโอกาสต่างๆ เช่น การจัดแสดงหนังสือ ตามประเภทที่ถูกใช้มากที่สุด หรือ หนังสือยอดฮิต หรือหนังสือที่มีการยืมน้อย
จากการฟังเสวนาในหัวข้อ “การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” โดย นางสาวกรวรรณ ดีวาจา ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from South Korea วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สามารถสรุปได้ดังนี้
นางสาวกรวรรณ ดีวาจา บรรณารักษ์ห้องสมุดนงเยาว์ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึง การนำแอปพลิเคชั่นไลน์แอดมามีบทบาทในการทำงานในด้านการประชาสัมพันธ์โดยการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตพบว่า ไลน์แอดเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่คนไทยใช้มากที่สุดจึงได้นำไลน์แอด (Line@) มาใช้ในงานหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยมี
Read the rest of this entry »
ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ได้ทำฟังก์ชั่น เพื่อรายงานสถิติเกี่ยวกับการทำงานในห้องสมุดที่น่าสนใจมีมากมาย ในส่วนของงาน Circulation มีดังนี้
โดยมีวิธีการ รายละเอียด
จากตัวอย่างข้างต้น บุคลากรผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้เพื่อจัดเก็บสถิติหรือตรวจสอบการทำงานได้อย่างง่ายดายเพื่อนำมารายงานผลการปฏิบัติงานได้ ผู้บริหารหรือหัวหน้างานสามารถตรวจสอบการทำงานได้หรือนำสถิติใน Circulation Events Detail Report มาช่วยในการตัดสินใจในการบริหารต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail
การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS
เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ
Notification Alert
ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่
วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม
การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS
ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording
งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS
งานสร้างระเบียนสมาชิก
No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร
การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)
ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS
วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก
คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1
มาทำความรู้จัก App Digby ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับมือถือตัวช่วยในการใช้งานในห้องสมุดกันครับว่าช่วยสนับสนุนการใช้งานห้องสมุดอย่างไรบ้าง
1. เข้าถึงรายการบรรณานุกรมของหนังสือ
2. นำขึ้นชั้นหนังสือได้ตามเลขหมู่
3. ทำ Inventory ของหนังสือ
4. คืนออกจากระบบผู้ใช้บริการ
5. Capture หน้าจอของบรรณานุกรมช่วยลดในการจดทำให้ประหยัดกระดาษ
มาเรียนรู้ App Digby เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานกันนะครับ
ทำความรู้จัก App Digby
จากแอพ Digby นี้ ทาง OCLC ได้พัฒนาการใช้งานของแอพพลิเคชัน ให้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้นเพื่อความสะดวกในการทำงานในห้องสมุดหรือพกพาแอพพลิเคชัน Digby ไปใช้งานนอกห้องสมุดได้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงาน ผมหวังว่าทาง OCLC จะเพิ่มลูกเล่นเพิ่มขึ้น เช่น การยืม การชำระค่าปรับ หรือการจองหนังสือผ่านแอพพลิเคชันในอนาคต
วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
สถิติห้องสมุดกับงาน Circulation Events Detail Report ใน WMS
การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน Circulation ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในโมดูลดังกล่าว สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ได้แก่ การยืม การคืน การคืนมีค่าปรับ การยืมต่อ การคืนหนังสือในตู้ การ Notes การรับแจ้งหนังสือหาย การสร้างระเบียนสมาชิก และการทำ Offline circulation เมื่อระบบขัดข้อง กระผมหวังว่าคู่มือการปฏิบัติงานจะกระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานนะครับ รายละเอียดของ คู่มือปฏิบัติงาน ยืม-คืน WMS ตามไฟล์ที่แนบมานี้ครับ
งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก
การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ อีกมากมายและยังมีบริการเสริมด้านอื่น ๆ เช่น บริการยืมปลั๊กไฟ บริการถุงผ้าสำหรับใส่หนังสือ บริการหมากฮอส หมากรุก หมากล้อม ห้องสมุดได้เพิ่มการบริการอีกรูปแบบหนึ่งนั้นคือ บริการรับฝากของซึ่งเป็นหนึ่งบริการที่จะอำนวยความสะดวกกับผู้ใช้บริการโดยจัดหาตู้ล็อกเกอร์จัดเตรียมไว้ให้ ณ บริเวณห้องโถงกลาง ชั้น 1
Something nice for your mind
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรมเชิงรุกโดยนำหนังสือมาจัดแสดงด้านหน้าศูนย์บรรณสารสนเทศ โดยผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ให้แนวคิดกับแผนกบริการสารสนเทศ ในการนำหนังสือจากการจัดซื้อจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ (Bangkok International Book Fair 2017) มาจัดแสดงทันที โดยลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือ ให้พอเพียงกับที่จะออกให้บริการได้อย่างทันทีและรวดเร็ว หลังจากที่มาจัดแสดง มีการยืม และเมื่อมีการนำกลับมาคืนแล้ว จึงนำหนังสือเหล่านั้น ไปลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือตามมาตรฐานของการลงรายการอย่างละเอียดต่อไป เนื่องจากหนังสือที่ออกจากงานสัปดาห์หนังสือฯ เหล่านี้ จะเป็นหนังสือออกใหม่ เพื่อให้ทันกับการเปิดตัวในงานที่มีผู้คนจำนวนมากสนใจติดตามว่ามีหนังสือชื่อเรื่องใดบ้างที่จะออกมาในช่วงนี้ ถ้ามีการจัดซื้อมาแล้ว แต่รอกระบวนความครบถ้วนของการจัดการหนังสือตามระบบห้องสมุด หนังสือใหม่ๆ ดังกล่าว อาจจะเป็นหนังสือเก่า ที่ไม่น่าติดตามแล้วแต่อย่างใด Read the rest of this entry »