SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
บทบาทของผู้สอน (Role of Educators)
เม.ย. 28th, 2021 by supaporn

จากหัวช้อ To Organize World’s Information and the Future of Education and Learning โดย  คุณจารุณี สินชัยโรจน์กุล ผู้บริหารโครงการด้านการศึกษา บริษัท กูเกิล ประเทศไทย จำกัด ที่นำเสนอในงาน TKForum 2021 หัวข้อเรื่อง “Library and Public Space for Learning” ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564 จัดโดย TK Park อุทยานการเรียนรู้

กล่าวถึงหลายโครงการของ Google ที่เกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งตามพันธกิจของ Google คือ การจัดการข้อมูลบนโลก ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด และ Google ได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงกับการศึกษามากมาย  และจากประสบการณ์ที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ให้แนวคิดว่า ผู้สอนต้องช่วยกันสร้างเงื่อนไข (condition) ในการเรียนรู้ ตั้งคำถามที่ต้องชวนให้ผู้เรียนคิด เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดตามมากขึ้น ดังนั้น ในการศึกษาควรจะประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ เงื่อนไข (Condition) เทคโนโลยี (Technology) และ กลยุทธ์ในการสอน (Pedagogy) ผู้สอนมี Content ที่จะต้องส่งต่อให้กับผู้เรียน ผู้สอนต้องรู้จักสร้างคำถาม หรือเงื่อนไข ให้ผู้เรียนคิดต่อ คิดตาม ไม่รู้สึกเบื่อ และทำให้ผู้เรียนรู้จัก explore มากขึ้น ผู้สอนมีเทคโนโลยี แต่สิ่งสำคัญ คือ กลยุทธ์ในการสอน ทั้ง 3 ส่วนนี้จะต้องไปด้วยกัน

บทบาทของผู้สอน (Role of Educators)

1. การเป็น Designer เดิมเคยทำแต่แผนการสอน แต่ปัจจุบันต้องเน้นที่ผู้เรียนมากขึ้น ผู้เรียนมีรูปแบบการเรียนรู้แบบไหน จะได้ออกแบบการสอนได้

2. การเป็น Facilitator ผู้สอนต้องทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ คิดกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

3. การเป็น Lifelong learner เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

ในแต่ละบทบาทของการเป็นผู้สอน Google มีแพลตฟอร์มที่สนับสนุนในแต่ละด้านเตรียมไว้ใช้อยู่แล้ว

แพลตฟอร์มต่างๆ ของ Google ที่สนับสนุนบทบาทของผู้สอน

ทักษะที่ต้องมี
เม.ย. 28th, 2021 by supaporn

คุณ คริสตัล ลิม-แลงจ์ (Crystal Lim-Lange) อดีตผู้อำนวยการ NUS Centre for Future-ready Graduates และผู้ก่อตั้งบริษัท Forest Wolf ประเทศสิงคโปร์ ได้นำเสนอภาพ ทักษะต่างๆ จากสภาเศรษฐกิจโลก ในการบรรยายเรื่อง Deep Human Resilience-the Skills and Mindsets We Need to Succeed in an Era of Change ขึ้นมานำเสนอในงาน TKForum 2021 หัวข้อเรื่อง “Library and Public Space for Learning” ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564 ตั้งแต่เวลา 9.00-16.30 น. จัดโดย TK Park อุทยานการเรียนรู้

ทักษะที่ต้องมีในปี 2022

 

ในคอลัมน์ขวามือเป็นทักษะที่อยู่ในช่วงขาลง หมายถึง ทักษะที่ไม่มีประโยชน์อีกต่อไป เป็นทักษะที่ได้จากการศึกษาแบบดั้งเดิม เช่น ความจำ การอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ ทักษะเหล่านี้ หุ่นยนต์ เอไอ หรือเครื่องจักร สามารถทำได้ดี ส่วนคอลัมน์ทางซ้ายมือเป็นทักษะที่อยู่ในช่วงขาขึ้น เป็นทักษะที่ทำให้คนแตกต่างจากหุ่นยนต์ เรียกว่า ทักษะขั้นสูง ทักษะเหล่านั้น คือ ความสามารถในการคิดเชิงลึก เชิงวิพากย์ เชิงวิเคราะห์ การสร้างนวัตกรรมเป็นทักษะการคิดขั้นสูง การมีความคิดสร้างสรรค์ ความฉลาดทางอารมณ์ ความเป็นผู้นำและการมีอิทธิพลต่อผู้อื่น หรือการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน การสื่อสารที่ซับซ้อน Read the rest of this entry »

เพียงแค่ส่อง ก็ได้อ่าน
พ.ย. 30th, 2019 by uthairath

นับได้ว่าในปัจจุบัน ไม่มีใครไม่รู้จัก [ส่อง] ส่องในที่นี้ผู้เขียนหมายถึง ส่อง QR Code ส่องหรือเรียกอย่างเป็นทางการว่าสแกน QR Code

ผู้เขียน ทำหน้าที่ลงรายการบรรณานุกรมในส่วนของหนังสือ นวนิยายและเรื่องสั้น ทำให้เห็นถึงพัฒนาการของหนังสือนวนิยาย  เช่น QR Code ทดลองอ่าน ของสำนักพิมพ์ต่างๆ จากทางด้านหลังของปกหนังสือ QR Code ทดลองอ่านนี้ วิธีการสแกน QR Code ก็ง่าย ๆ เพียงแค่เอากล้องไปส่องหรือจ่อที่ QR Code ที่เราต้องการสแกน เมื่อสแกนสำเร็จ ก็จะมีข้อความ หรือลิงค์ หรือข้อมูลที่อยู่ใน QR Code  ขึ้นมา แตะที่ลิงค์ก็จะเข้าไปที่สำนักพิมพ์นั้น ๆ เช่น สำนักพิมพ์สถาพรแล้วลิงค์ไปยังนวนิยายเล่มที่เราทำการสแกน ในนั้นมีเนื้อเรื่องของนวนิยายให้เราได้ทดลองอ่านกันประมาณ 40 กว่าหน้าเลยที่เดียว บางเรื่องก็มีให้ทดลองอ่านเยอะมาก แถมยังได้ทดลองอ่านได้วิเคราะห์พิจารณาว่าเรื่องนี้ตรงกับความต้องการของเราหรือเปล่า ถ้าทดลองอ่านแล้วยังไม่โดนใจ ก็สแกน QR Code เล่มต่อไปมาทดลองอ่านได้อีก สแกน QR Code ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้นวนิยายเล่มที่ถูกใจ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ที่นิยมและชื่นชอบทางด้านหนังสือนวนิยายได้เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงจัดให้บริการหนังสือนวนิยายใหม่ๆ สามารถหายืมได้ที่ “มุมคนรักนิยาย” ที่ชั้น 1 ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เรามีไว้ให้บริการ มากมายหลายเรื่อง

ตัวอย่างการ สแกน QR Code ของหนังสือนวนิยาย

รูปภาพที่ 1 หนังสือนวนิยายที่ต้องการ สแกน

Read the rest of this entry »

Board Game กับ ห้องสมุดในศตวรรษที่ 21
ต.ค. 15th, 2019 by pailin

Board Game หรือเกมกระดาน เป็นอุปกรณ์เครื่องเล่นที่ปรากฏอยู่คู่สังคมมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น หมากรุก หมากฮอส หมากล้อมหรือโกะ จนกระทั่งในปัจจุบัน Board Game สมัยใหม่ได้มีการพัฒนาออกมาหลากหลายรูปแบบ มีทั้งแบบที่เล่นเองได้โดยง่าย และแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น มีการกำหนดกฎเกณฑ์ กติกา และเพิ่มเรื่องราว โดยออกแบบร้อยเรียงเข้าไว้ในขั้นตอนการเล่นเกม จึงทำให้ผู้เล่นต้องศึกษาทำความเข้าใจในรายละเอียดของเกมก่อนที่จะเล่น ในระหว่างที่เล่นเกม ต้องคิดวางแผนแก้ไขปัญหา รวมทั้งมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ที่กำลังล้อมวงเล่นเกมในขณะนั้น ส่งผลให้ผู้เล่นเกิดการพัฒนาทางความคิด เสริมสร้างทักษะที่ดีให้กับผู้เล่น ทั้งยังสร้างความสนุกสนาน ให้บันเทิงกับผู้เล่นได้เป็นอย่างดี

ด้วยคุณสมบัติพิเศษดังกล่าว ทำให้ห้องสมุดหลายแห่งพิจารณานำ Board Game เข้ามาให้บริการ เพื่อเป็นสิ่งที่จะช่วยกระตุ้นและเสริมสร้างพัฒนาการของเยาวชน ให้มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา สามารถสื่อสาร และร่วมงานกับคนอื่นได้ ซึ่งถือเป็นทักษะสำคัญของคนในศตวรรษที่ 21 หรือที่เรียกแบบย่อ ว่า 4Cs ซึ่งย่อมาจาก

  • Creativity      ความคิดสร้างสรรค์ การใช้จินตนาการสร้างสิ่งใหม่ สิ่งที่ดีกว่า
  • Critical Thinking      การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุผล รู้จักแก้ปัญหา
  • Communication       การสื่อสาร ความสามารถในการใช้ภาษา เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ
  • Collaboration      ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อทำงานให้สำเร็จได้

Read the rest of this entry »

เมนูคู่จีน “เกี๊ยว (ภาษาจีน饺子 เจียวจื่อ)”
ก.ค. 28th, 2019 by buaatchara

                            

 

 เกี๊ยว เมนูยอดฮิตของชาวจีนที่อยู่คู่แดนมังกรมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 – พ.ศ. 763)   มีที่มาและบทบาทที่น่าสนใจในวิถีชีวิตของชาวจีนมาจนถึงปัจจุบัน เริ่มแรกนั้น   เกี๊ยวนี้เกิดมาจากคุณหมอจางจงจิง (张仲景) ซึ่งเป็นหมอที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น คุณหมออยากให้คนป่วยได้กินอะไรร้อนๆ ที่มีสารอาหารครบถ้วน ทั้งเนื้อสัตว์ ผัก (ที่เป็นยาสมุนไพร) และแป้งในคำเดียว จึงคิดประดิษฐ์แป้งห่อไส้เนื้อและผักขึ้นมา โดยใช้วิธีต้มเพื่อให้ย่อยง่าย ก่อนจะมีคนนำไปพัฒนารูปร่างของมันให้ดูดีขึ้น เหมือนใบหูของผู้หญิงทำให้มีชื่อเรียกว่า 娇耳 เจียวเอ๋อร์  แปลว่าใบหูของสาวงาม ก่อนจะเพี้ยนเสียงมาเป็น  เจียวจื่อ หรือเกี๊ยว (คนไทยเรียก) ในปัจจุบัน

ปัจจุบัน เกี๊ยวมีทั้งแบบต้ม นึ่งและทอด และเป็นเมนูสำคัญที่ขาดไม่ได้ในเทศกาลปีใหม่และงานแต่งงาน  เนื่องจากในเทศกาลปีใหม่  คนจีนจะเปลี่ยนวิธีห่อเกี๊ยวให้เป็นรูปถุงเงิน เพื่อขอพรหรืออวยพรให้มีเงินทองไหลมาเทมา ซึ่งในงานแต่งนั้น เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องรับประทานเกี๊ยวดิบ 生饺子 เซิงเจียวจื่อ ที่พ้องเสียงกับ 生骄子 เซิงเจียวจื่อ ที่แปลว่าให้กำเนิดอภิชาตบุตร

รัฐบาล ตั้งสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
ต.ค. 7th, 2016 by supaporn

ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 62/2559 เรื่อง การปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ กำหนดให้มีสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดทิศทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมทั้งปรับปรุงระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศตลอดจนกํากับและติดตามการบริหารจัดการ การจัดสรรงบประมาณ และประเมินผลการดําเนินการให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีเอกภาพ อันเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาการวิจัยของประเทศและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน อ่านเพิ่มเติม http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/225/8.PDF

ปลาสลิดบางบ่อ
ต.ค. 3rd, 2016 by supaporn

disk10.9.tif

ภาพจาก สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาสมุทรปราการ

จากการลงพื้นที่ของ อ. อัญชลี สุภาวุฒิ นักวิชาการวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อหาข้อมูลการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ ทำให้พวกเราทราบว่า

“หากจะกล่าวถึงปลาสลิดรสชาติดี จะต้องนึกถึงปลาสลิดบางบ่อ โดยแหล่งผลิตปลาสลิดใหญ่ที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ คือ ตำบลคลองด่าน อำเภอคลองด่าน ลุงผัน หรือ ผัน ตู้เจริญ เริ่มเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อเป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2500 และประสบผลสำเร็จ ทำรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดีและยั่งยืน จนถึงปัจจุบัน แต่ก่อนลุงผันมีอาชีพทำนาข้าว หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วน้ำแห้งมาก จึงเริ่มคิดหาวิธีกักน้ำไว้เลี้ยงปลา โดยในบ่อของลุงผัน มีปลาดุกสีทอง ปลาช่อนสีทอง และปลาสลิด ซึ่งปลาสลิดเยอะที่สุด จึงเป็นเหตุให้เลิกทำนาข้าวและหันมาเลี้ยงปลาสลิดแทน เลี้ยงได้ประมาณ 3-4 ปี จึงได้นำปลาสลิดทูลเกล้าถวายฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในปี 2506 ถึงสองครั้ง จนได้รับพระราชทานปลาสลิดทอง

ปัจจุบันการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ มีพื้นที่ประมาณ 5,000 กว่าไร่ บริเวณ หมู่ 1, 2 ,3, 4 และ หมู่ 11, 12 เป็นการเลี้ยงจากบ่อธรรมชาติ คือ บ่อดิน โดยจะขุดดินล้อมพื้นที่ทำคันให้สูงใช้ที่นาเดิมที่มีอยู่ ฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอน เพื่อเป็นอาหารปลา กักน้ำเก็บไว้ เริ่มปล่อยปลาลงบ่อ มีการคัดเลือกสายพันธุ์ตัวปลาที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีแผล ครีบและหางไม่แตก เพศผู้ เพศเมีย ลักษณะตัวมีขนาดใหญ่ สีดำ เน้นการผสมพันธุ์แบบธรรมชาติ ตัวปลาที่สมบูรณ์ สามารถวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขึ้นไป ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม เมื่อปลาสมบูรณ์เต็มที่ ก็จับปลามาจำหน่ายหรือแปรรูปต่อไป”

รายการอ้างอิง

อัญชุลี สุภาวุฒิ. (2557). ภูมิปัญญา สร้างอาชีพ ปลาสลิดจากบ่อธรรมชาติ. สารศิลป์, 4 (2), 3-4.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาสมุทรปราการ. ของฝากจังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้นจาก http://samutprakan.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=1

Thailand 4.0
ก.ย. 10th, 2016 by supaporn

ระยะนี้ได้ยินคำว่า Thailand 4.0 กันหนาหู หลายคนอาจจะสงสัยว่า คืออะไร แล้ว 1-3 คืออะไรบ้าง เรามีภาพอธิบายง่ายๆ มาให้ค่ะ

Thailand 4.0

Thailand 4.0

รายการอ้างอิง

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2559).  EGA พร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 Thailand Economic MODEL. กรุงเทพฯ : สำนักงาน. สืบค้นจาก https://www.ega.or.th/th/content/920/11549/

หน่วยงานภาครัฐ พร้อมแค่ไหนกับรัฐบาลดิจิทัลภายใต้นโยบาย Digital Economy
ก.ย. 10th, 2016 by supaporn

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. ได้สำรวจความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ โดยมอบหมายให้บริษัท ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ทำการสำรวจ ซึ่งจะดำเนินการสำรวจตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2559  อ่านรายละเอียดผลสำรวจได้ที่ https://www.ega.or.th/th/profile/1997/ หรือบทสรุป (สไลด์) ได้ที่ https://www.ega.or.th//upload/download/file_11e52b5903303d3f9cf4756e89332d2e.pdf

รายการอ้างอิง
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2559). การสำรวจความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลสำหรับหน่วยงานภาครัฐระดับกรม ประจำปี 2559 (Thailand Digital Government Readiness Survey for Central Government Agencies). กรุงเทพฯ : สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). สืบค้นจาก https://www.ega.or.th/th/profile/1997/

ความประทับใจจาก TEDxChula
ก.ย. 9th, 2016 by supaporn

อ. ธงชัย โรจน์กังสดาล ไปฟัง TEDx ChulalongkornU เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2559 และได้ถ่ายทอดความประทับใจ ออกมา 3 เรื่อง ลงในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (วันที่ 9 กันยายน 2559) อ่านแล้วชอบ มาสรุปอีกต่อหนึ่งนะคะ อ่านรายละเอียดได้จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ค่ะ หรือติดตามวิดีโอคลิปการบรรยายของงาน TEDx ChulalongkornU ซึ่งจะนำขึ้นเว็บไซต์ www.tedxchulalongkornu.com หรือยูทูบเร็วๆ นี้

เรื่องแรกการออกจาก Comfort Zone ของข้าราชการเกษียณอายุที่เดินทางท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ แบบแบ๊กแพ็ก ซึ่งหลายคนก็จะมีความกลัวสารพัด การสื่อสาร ความไม่ปลอดภัย แต่จริงๆ แล้วเรากลัวไปก่อนล่วงหน้า อย่ามัวกลัว อย่ามัวรอเพื่อน จะไม่ได้ไปไหนซักที่ หรือสักที ค้นหาข้อมูล เตรียมตัวให้พร้อม และเดินทางท่องเที่ยวได้เลย

เรื่องของน้องกัน ผู้พูดอายุน้อยที่สุดในงาน น้องกัน สังเกตเรื่องขยะล้นเมือง เกิดแรงบันดาลใจอยากสร้างถังขยะเพื่อแก้ปัญหา น้องกันเริ่มจากการสังเกตปัญหา สร้างต้นแบบ รับฟังความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงต้นแบบ ส่งเข้าประกวด ปรับปรุงผลงานจนได้รางวัลระดับโลกด้านสิ่งประดิษฐ์ เป็นการพัฒนานวัตกรรมนั่นเอง น้องกัน เป็นนักเรียนประถมสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น ป.6 ค่ะ

เรื่องสุดท้าย ผู้พูดกล่าวว่า เพราะอารมณ์มักมาก่อนเหตุผลในการตัดสินใจ ดังนั้น เราควรใช้เทคนิคนี้ในการสร้างความประทับใจของการบริการต่างๆ เช่น นอกเหนือจาก welcome drink แล้ว โรงแรมควรให้เครื่องดื่มแก่ลูกค้าก่อนเช็กเอาต์ออกจากโรงแรมระหว่างคอยแม่บ้านตรวจห้องพัก เพื่อให้ลูกค้าจดจำประสบการณ์ดีๆ

น่าคิดต่อนะคะ ถ้าจะมีเครื่องดื่มแบบนี้บ้าง แต่เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เราจะเรียกว่า Thank you drink ดีมั้ยคะ

รายการอ้างอิง

ธงชัย โรจน์กังสดาล. (2016). ไอเดียที่ควรเผยแพร่จาก TEDxChula 2016. เดลินิวส์ 9 (กย. 2559)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa