จากการที่ได้ปฏิบัติงาน Acquisition module ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) ได้ตัดงบประมาณ ในส่วนของ ตัวเล่มหนังสือ และให้บริการตัวเล่มหนังสือเป็นหลักตลอดมา แต่มาช่วงปี 2562 ได้มีซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้น ดังนั้น จึงขอเขียนขั้นตอนงานตัดงบประมาณของ E-Product ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการสร้างใบ Invoice
– คลิกที่ Acquisition module
– คลิกที่ Invoice และกดเลือกที่ New Invoice
– ใส่รายละเอียด Invoice Number, Vender, Tax Handling ตามรูป และกด Save
เลือก Receive and Invoice
*** ส่วนของ Processing Type ให้เลือกที่ E-Product
ส่วนของ Action เลือก Receive and Invoice
ส่วนของ Vender ใส่ Vender
ส่วนของ Invoice Number ใส่เลขที่ใบส่งของ จากนั้นกดที่ View Items
Read the rest of this entry »
การจัดเรียง Item ในส่วนของ LHRs ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ด้วยการปรับแต่ละ Item ที่สลับ ฉบับ (ฉ.), สลับเล่ม (ล.) หรือปี พ.ศ. อยู่ ให้เรียงตามลำดับตำแหน่งให้ถูกต้องตามความต้องการ ด้วยการใส่ ตัวเลขตามลำดับที่ต้องการให้เรียงใน Item ลำดับไหน โดยใส่ในส่วนของ Copy Number ดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง รายการ Item ที่ยังไม่เรียงตามปี พ.ศ.
วิธีการ Shift row down และ Shift row up. ด้วยการแก้ไขการสลับบรรทัดใน Bibliographic Record ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS)
จากการที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเปลี่ยน Location ของสาขาวิชา สหกิจศึกษา โครงงานพิเศษ และงานวิจัย ของนักศึกษาปริญญาตรีมาแก้ไขหมวดหมู่นั้น ได้พบว่าในบางส่วนของ Master record เช่น tag 700 ยังมีจุดที่ต้องสลับสับเปลี่ยนบรรทัด คือ การสลับบรรทัดขึ้นลงก่อนหลังในตำแหน่งที่ปรึกษาและที่ปรึกษาร่วมอยู่ ซึ่งต้องมีการแก้ไขในส่วนนี้ให้ถูกต้องตามตำแหน่งและหน้าที่ก่อนหลัง ดังนั้นจึงขออธิบายสัญลักษณ์ที่ทำการเปลี่ยนให้ tag ต่างๆ สลับบรรทัด คือ Shift row down กับ Shift row up. ในบรรทัดที่มีเครื่องหมาย ลูกศร ขึ้นลง ซึ่งจะทำให้การทำงานสะดวกและย่นระยะเวลาในการแก้ไขง่ายขึ้น โดยไม่ต้องพิมพ์หรือ copy วางให้สับสนบรรทัด ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ไปที่โมดูล Metadata แล้วค้นหาชื่อเรื่องที่ต้องการแก้ไข เช่น เรื่อง ยาอมสารสกัดหญ้าดอกขาว* Read the rest of this entry »
ขั้นตอนการลงรายการบรรณานุกรม ในส่วนของ (LHRs) ของระบบ WorldShare Management Services-WMS
จากการที่ได้ทำการลงรายการบรรณานุกรม หนังสือของระบบ WorldShare Management Services-WMS มาระยะหนึ่ง ซึ่งต้องลงรายการของบรรณานุกรมให้ครบทั้ง 3 ส่วน คือ 1. ส่วนของ Master หรือ Bibliographic Record 2. ส่วนของ LBD 3. ส่วนของ LHR
การลงรายการในส่วน LHR ให้ราบรื่นไม่สะดุด และต่อเนื่อง ไม่ต้องค้นหา Bib ชื่อหนังสือนั้นใหม่อีกครั้ง เพื่อให้มีการลง Items ในส่วนที่ 3 นี้ได้อย่างถูกต้องและไม่ผิดพลาดในการลง สามารถทำได้โดยมีขั้นตอนดังนี้
ส่วนที่ 1. Master หรือ Bibliographic Record
ตัวอย่าง แสดงหน้าแรกของการสืบค้นจาก Bib Number 1012427386
เมื่อได้ชื่อหนังสือแล้วให้คลิกไปที่ชื่อเรื่อง “อ่านหนัง (สือ) กัน 20 หนังโปรดในดวงใจ ของข้าพเจ้าตลอดกาล” ก็จะปรากฏดังรูป Read the rest of this entry »
ในส่วนงานจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เมื่อได้รับเรื่องให้จัดซื้อหนังสือจากอาจารย์ นักศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆ ทางแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะต้องตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือในระบบห้องสมุด WMS (WorldShare Management Services) ก่อนการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดทุกครั้ง
ประโยชน์ในการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือมีดังนี้
ดังมีวิธีการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือ ดังนี้
1. เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms Read the rest of this entry »
จากการที่ได้ปฏิบัติงาน Acquisition module ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) นี้มาเป็นเวลา 1 ปี ได้เห็นถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการทำงานนี้มาโดยตลอด ดังนั้น จึงขอเขียนขั้นตอนการทำงานในโมดูลนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด เนื่องจากระบบ WMS มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องในขั้นตอนการทำงาน Acquisitions ซึ่งได้เคยเขียนขั้นตอนการทำงานนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง ดังนั้นจึงขอแสดงขั้นตอนงานตัดงบประมาณ Invoice อีกครั้ง เพื่อให้เห็นงานที่มีการเปลี่ยนแปลง ความละเอียด ชัดเจน กระชับ มากยิ่งขึ้น อีกครั้งตามขั้นตอนต่อไปนี้ รายละเอียด
ห้องสมุด จะมีข้อมูลในส่วนของร้านค้า หรือ Vendors ที่ห้องสมุดมีการติดต่อในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ ดังนั้น จึงต้องมีการสร้างข้อมูลของร้านค้าไว้ในระบบเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
วัตถุประสงค์
สร้างข้อมูลหลักของร้านค้าเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลของระบบจ่ายเงิน ในห้องสมุด ระบบ WorldShare Management Services (WMS) ในส่วนของ Vendors ภายใต้การใช้งานของ Acquisition module
องค์ประกอบข้อมูลหลักของร้านค้า
ข้อมูลหลักร้านค้าประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ Read the rest of this entry »
Acquisition module เป็น 1 ในอีกหลายโมดูล ที่ประกอบกันเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ แต่นับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เพราะเป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด สำหรับศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ใช้ระบบ WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นในการใช้งาน Acquisition module โดยมีขั้นตอนการทำงานประกอบด้วยส่วนของ Budgets โดยสามารถจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศให้กับคณะต่างๆ ที่มีอยู่ 14 คณะแยกเป็นหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษดังรูป
รูปที่ 1. แสดงตัวอย่างบางส่วนของงบประมาณคณะ
ขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อหนังสือหรือสื่อต่างๆ จากฐานข้อมูลระบบ VTLS ก่อนดำเนินการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด ซึ่งประโยชน์หลักๆ ในการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือมีดังนี้
ดังมีวิธีการตรวจสอบหนังสือและสื่อต่างๆ ดังนี้
ดังรูปภาพนี้
ก่อนการพิจารณาตรวจสอบฐานข้อมูล (Before)
วิธีการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือ
พิจารณาดำเนินการตรวจสอบแล้ว (After)
ผู้เขียนได้รับผิดชอบงานหนังสือประเภทสหกิจศึกษา โครงงานพิเศษและการวิจัย ซึ่งเป็นงานของนักศึกษาปริญญาตรี ไม่ใช่ของอาจารย์ หรือ ปริญญาโท ดังนั้น จึงขออธิบายความเป็นมาให้ทราบที่มาที่ไปของงานชิ้นนี้ ว่าทำไมถึงต้องวิเคราะห์แยกออกมาจากงานวิทยานิพนธ์และภาคนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท และความแตกต่างกับปริญญาตรีของหนังสือสหกิจ โครงงานพิเศษและการวิจัยนี้ มีเนื้อหารายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร มีชื่อว่าอะไรบ้าง การใช้ตัวย่อของการทำหนังสือประเภทนี้ ย่อมาจากอะไร มีประโยชน์อย่างไร และเพื่อสะดวกในการสืบค้นเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ดังนั้นจึงของชี้แจงความหมายของงานแต่ละประเภทดังนี้
1.งานสหกิจศึกษา สหกิจศึกษา (Co-operative Education: Co-op) เป็นระบบการศึกษาที่จัดให้มีการผสมผสาน ระหว่างการเรียนของนักศึกษาในห้องเรียนเข้ากับการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการอย่างมีหลักการ และเป็นระบบเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรงโดยกำหนดให้นักศึกษาออกปฏิบัติงานในสถานประกอบการในฐานะเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานชั่วคราว เต็มเวลาเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษาซึ่งนักศึกษาจะได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงานและการเรียนรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งทักษะของงานอาชีพและทักษะด้านการพัฒนาตนเองเป็นการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้ในสถานศึกษากับการให้นักศึกษาออกไปปฏิบัติงานจริงเต็มเวลา ณ สถานประกอบการ
หลักการและเหตุผล
สหกิจศึกษา เป็นระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในองค์กรผู้ใช้บัณฑิตอย่างมีระบบโดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการจัดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือเพื่อนักศึกษาจะได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพที่เป็นความต้องการของสถานประกอบการอันจะส่งผลให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้นอีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างสถานศึกษากับองค์กรผู้ใช้บัณฑิตทำให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรได้ตลอดเวลา และสถานประกอบการก็จะได้แรงงานนักศึกษาร่วมงานตลอดปี ดังนั้น นักศึกษาสหกิจศึกษาจึงเปรียบเสมือนผู้แทนที่เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัย ที่จะสะท้อนให้เห็นคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณของมหาวิทยาลัย สู่สาธารณชนซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ฉะนั้นเพื่อความสะดวก ในการวิเคราะห์และให้หมวดหมู่ของวิชาสหกิจศึกษา จึงกำหนดให้ใช้อักษรย่อ (สห) แทนการให้หมวดหมู่ และตามด้วยชื่อหลักสูตรของสาขาวิชานั้นๆ เช่น หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต กลุ่มวิชาชีพด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ วิชา CA4056 ตามด้วยชื่อผู้แต่ง และปี พ.ศ. ส่วนสถานะของหนังสือสหกิจจัดวางอยู่ชั้นหนังสือทั่วไปชั้น 4 ดังนี้ Read the rest of this entry »