SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
คลังความรู้ดิจิทัล King Chulalongkorn Digital Archives
มี.ค. 28th, 2017 by supaporn

ผู้เขียนได้รับเกียรติจากสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเชิญเข้าร่วมงานเปิดตัว คลังความรู้ดิจิทัล King Chulalongkorn Digital Archives ในงานจุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันอังคารที่ 28 มีนาคม 2560 และชมนิทรรศการ พร้อมกับฟังเสวนาวิชาการ

  • จากพระราชดำรัส “การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้…” สู่จุฬาฯ 100 ปี โดย ศ. กิตติคุณ ดร. ปิยนาถ บุนนาค
  • พระอัจฉริยภาพด้านอักษรศาสตร์ โดย ผศ. ดร. อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล
    ภาพฉายสยาม ในสื่อหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส โดย อาจารย์ ดร. สิริวรรณ จุฬากรณ์
    สถาปัตยกรรมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง โดย ผศ. ดร. พีรศรี โพวาทอง
    ดำเนินรายการโดย นายเมทนี บุรณศิริ

ผู้เขียนตอบรับเข้าร่วมงานทันที่ที่ได้รับบัตรเชิญ ด้วยความเป็นชาวจุฬาฯ และเป็นบุคลากรที่เคยปฏิบัติงานของสำนักงานวิทยทรัพยากร หรือหอสมุดกลาง หรือสถาบันวิทยบริการ มาเพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเพื่อชื่นชมความสำเร็จในการคลังดิจิทัลนี้สำเร็จ แม้ว่าจะใช้เวลาร่วม 7 ปี และยังต้องดำเนินการต่อเนื่อง ด้วยเมื่อครั้งยังปฏิบัติงานโครงการนี้ ได้มีการดำริ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด และจำได้ว่าเป็นแผนการที่มีเป้าหมายในวันที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบ 100 ปี จนเป็นคลังดิจิทัลให้เป็นที่ประจักษ์แล้ววันนี้ ที่สามารถเข้าถึงได้ที่ http://kingchulalongkorn.car.chula.ac.th รวมพระราชนิพนธ์ จดหมายเหตุราชกิจรายวัน และพระราชหัตถเลขาต่างๆ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือตั้งแต่เล่มแรกจนถึงเล่มสุดท้ายในรัชสมัย ซึ่งเก็บรักษาไว้ในสำนักงานวิทยทรัพยากร และให้บริการมากกว่า 130 เล่ม และยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

สำนักงานวิทยทรัพยากร จัดงานนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จ อธิการบดี ศ. ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานในพิธีเปิดกล่าวชื่นชม คลังดิจิทัล King Chulalongkorn Digital Archives นี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการที่จะใกล้ชิดสังคม และนำความรู้สู่สังคมมากขึ้น พร้อมกับการชมนิทรรศการที่รังสรรค์ให้เห็นความสำคัญและยิ่งใหญ่ของพระราชนิพนธ์ที่มีจำนวนและทรงคุณค่า การเสวนาทางวิชาการ สร้างความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง หนังสือหลายเล่มที่ถูกนำมาพูดถึง ทำให้มีความคิดอยากหวนกลับไปอ่านอีก หรือติดตามหามาอ่าน

การเสวนาทางวิชาการ

การเสวนาทางวิชาการ

เมื่อประธานในพิธีกล่าวเปิดงานแล้ว ได้มีการชมนิทรรศการ จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย ซึ่งจัดที่ศูนย์ศิลป์ชั้น 7 การจัดนิทรรศการ จัดได้อย่างงดงามมาก กล่าวถึงประวัติการก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงเป็นลักษณะ Timeline ในแต่ละช่วงเวลา มีหนังสือพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ที่รวบรวมและนำมาจัดแสดงไว้อย่างน่าตื่นตา ตื่นใจเป็นอันมาก

พระราชปณิธาน (ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ)

พระราชปณิธาน (ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ)

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในห้องนิทรรศการ

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในห้องนิทรรศการ

พระราชนิพนธ์ที่นำมาจัดแสดง

พระราชนิพนธ์ที่นำมาจัดแสดง

เพดาน ทำเป็นรูป เลข ๕ เพื่อสื่อถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

เพดาน ทำเป็นรูป เลข ๕ เพื่อสื่อถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

Read the rest of this entry »

๑๐๐ ปีจุฬาฯ – ๑ ศตวรรษสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปสยาม จากนิตยสารศิลปวัฒนธรรม
มี.ค. 24th, 2017 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ศิลปวัฒนธรรม

ศิลปวัฒนธรรม ฉบับนี้มีเนื้อหาน่าสนใจทีเดียวเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงรู้จักกันมายาวนาน  คือ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”   เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เป็นมหาวิทยาลัยที่ นักเรียน ม.ปลาย ใฝฝันอยากจะเข้า จวบจนปัจจุบันครบ 100 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในวันที่ 26 มีนาคม 2560 ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมีนาคม 2560 จึงได้จัดทำขึ้นเป็นฉบับพิเศษ  100 ปีจุฬาฯ 1 ศตวรรษสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปสยาม สามารถหาอ่านได้จาก ชั้น 6 งานวารสารของศูนย์บรรณสารสนเทศ

นอกจากนี้ แล้ววารสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษในวาระ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครบ 100 ปี ยังได้จัดทำเป็นฉบับอิเล็กทรอนิกส์ อีกด้วย สามารถดาวน์โหลดอ่านได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club/miscellaneous/article_7569

จึงขอเชิญชวนทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นศิษย์เก่าหรือไม่ก็ตาม ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทยนี้ มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa