SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การบริหารจัดการหนังสือบริจาค
ก.ค. 5th, 2021 by supachok

ในแต่ละปีการศึกษาแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  ได้รับหนังสือบริจาคเข้ามาเป็นจำนวนมาก บางส่วนบรรณารักษ์งานจัดหาฯ ที่ดูแลรับผิดชอบได้พิจารณาคัดเลือกเข้าศูนย์บรรณสารสนเทศ ตามที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และเนื้อหาอื่นๆ ที่พิจารณาแล้วมีประโยชน์และเสริมการเรียนรู้  กรณีที่ได้รับหนังสือบริจาคที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้อง จะพิจารณาบริจาคต่อให้กับกรมการศึกษานอกโรงเรียน หรือ กศน. โรงเรียนต่างๆ หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่ติดต่อขอบริจาคเข้ามา รวมทั้งสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมบริการชุมชน ของแผนกบริการสารสนเทศ  กรณีที่มีเนื้อหาที่สอดคล้อง แต่ได้รับจำนวนมากเกินไปในการนำขึ้นชั้นให้บริการ จะพิจารณาเก็บไว้เป็น Stock เพื่อประโยชน์ในการทดแทนหนังสือที่เคยมีอยู่ หากมีการสูญหาย หรือชำรุดจนไม่สามารถจะซ่อมได้ และไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว ซึ่งจะได้ช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อเข้ามาใหม่

ในการบริหารจัดการหนังสือ Stock นี้ เมื่อตรวจสอบกับระบบห้องสมุดแล้ว และพิจารณาว่าควรจะเก็บจะบันทึกไว้ใน Google docs โดยมีรายละเอียด ประกอบด้วย ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง/ผุ้รับผิดชอบ ครั้งที่พิมพ์/ปีที่พิมพ์ จำนวนฉบับ เลขISBN, OCLC  Number, ภาษาที่ตีพิมพ์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง  ลำดับและเลขตู้หนังสือ

การที่มีข้อมูลเลขตู้หนังสือ เพื่อจะได้ทราบว่า หนังสือเล่มที่จัดเก็บนั้น อยู่ที่ตู้ไหน ลำดับที่เท่าไรของตู้ เพื่อสะดวกในการหยิบหนังสือเล่มนั้นๆ กรณีที่ต้องการนำหนังสือเล่มนั้นนำเข้าศูนย์บรรณสารสนเทศ ต่อไป โดยที่ตัวเล่มจะใส่ slip และระบุลำดับที่เอาไว้ ซึ่งตู้เก็บหนังสือเหล่านี้จะจัดเก็บไว้ในห้องเก็บหนังสือ

การที่ใช้โปรแกรม Google docs เพื่อจะได้สามารถใช้งานร่วมกันได้หลายๆ คน เช่น ผู้อำนวยการ หรือ หัวหน้าแผนกฯ ในการเข้ามาดูรายชื่อหนังสือ และเพื่อสามารถบริหารจัดการหรือวางนโยบายต่อไปได้

“Keep Your Heart Strong … in Digital Era” จงมีหัวใจที่เข้มแข็ง….ในยุคดิจิทัล
ธ.ค. 25th, 2020 by supachok

กิจกรรม เรื่อง “Keep Your Heart Strong … in Digital Era” จงมีหัวใจที่เข้มแข็ง….ในยุคดิจิทัล เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัล ซึ่งจัดโดยศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษา  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องสื่อประสม ชั้น 2 อาคารบรรณสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมีวิทยากรที่ให้ความกรุณามาบรรยายในหัวข้อนี้ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนันท์  ศิริเจริญ อาจารย์ จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

วิทยากรถ่ายภาพร่วมกับผู้เข้ากิจกรรม

ซึ่งเป็นหนึ่งในที่กิจกรรมที่ส่งเสริมการให้ความรู้ทางวิชาการเพื่อการปรับตัวของผู้คนยุคใหม่ให้ทันโลกในยุคดิจิทัล และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้และนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเพื่อห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ

วิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถนำไปฝึกปฎิบัติได้จริง  มีการทำ workshop ซึ่งเป็นไปอย่างสนุกสนาน มีกิจกรรม และเกมส์ พร้อมรางวัลมาแจกให้ได้ลุ้นตลอดเวลา เช่น การวาดรูปบุคคลในดวงใจที่ไม่สามารถลืมได้ การร้องเพลงประกวดบนเวทีหรือ Best talent singing contest ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้กล้าแสดงออกต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก และจดจำบทเพลงที่ตัวเองชื่นชอบได้ในเวลาจำกัด และการตอบปัญหาชิงรางวัลกับความรู้รอบตัว Read the rest of this entry »

ห้องสมุดประเทศฟินแลนด์
ก.ค. 13th, 2020 by supachok

ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมฟังสัมมนาวิชาการ เรื่อง TK Forum 2020 ‘Finland Library and Education in the Age of Disruption”ที่จัดโดยสถาบันอุทยานการเรียนรู้  หรือ TK Park   เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมเอส 31 ถนนสุขุมวิท กรุงเทพฯ ได้รับฟังสาระความรู้ที่ดีและมีประโยชน์จากวิทยากร ของประเทศฟินแลนด์ คือ คุณแอนนา คอร์ปิ (Anna Korpi) ที่ปรึกษาด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์ประจำสถานทูตฟินแลนด์ในสิงคโปร์ บรรยายในหัวข้อ “How Library Can Promote the Quality of Education: The Experiences from Finland” (ห้องสมุดมีวิธีการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาได้อย่างไร : ประสบการณ์จากประเทศฟินแลนด์) และคุณยาน่า เตือร์นิ (Jaana Tyrni) ผู้อำนวยการห้องสมุดเมืองเอสโปประเทศฟินแลนด์ บรรยายในหัวข้อ “Living and Flourishing with Change – Development of Finnish Libraries”  โดยสรุปได้ดังนี้

 

 

How Library Can Promote the Quality of Education: The Experiences from Finland (ห้องสมุดมีวิธีการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาได้อย่างไร : ประสบการณ์จากประเทศฟินแลนด์)

สภาพโดยทั่วไปของประเทศฟินแลนด์

ประเทศฟินแลนด์เป็นประเทศขนาดเล็ก อยู่ในกลุ่มสหภาพยุโรป มีประชากรทั้งประเทศประมาณ 5.52 ล้านคน มีประวัติศาสตร์ความเป็นมามากกว่า 100 ปี ในอดีตเคยเป็นประเทศยากจนและเศรษฐกิจไม่ดีมาก่อน มีเมืองหลวงคือกรุงเฮลชิงกิ แต่ได้รับการพัฒนาจากภาครัฐอย่างต่อเนื่องและจริงจังจนปัจจุบันฟินแลนด์กลายเป็นประเทศที่ร่ำรวย และมีเศรษฐกิจดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ฟินแลนด์มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ  มีรัฐสภา ประมุขของประเทศ คือ ประธานาธิบดี อำนาจบริหารส่วนใหญ่จะอยู่ที่คณะรัฐมนตรี นำโดยนายกรัฐมนตรี มีการเลือกตั้งทุก ๆ 4 ปี โดยหน่วยงานระดับท้องถิ่นสามารถพิจารณางบประมาณการลงทุนและตัดสินใจพิจารณางบประมาณได้ด้วยตัวเอง เช่น การสร้างสมุดอย่างสมบูรณ์แบบ แม้ว่าจะใช้เงินมากมายมหาศาลแต่รัฐบาลเห็นความสำคัญในการลงทุนเพื่อประชาชน

การบริหารจัดการเรื่องห้องสมุด

ห้องสมุดประชนชนของประเทศฟินแลนด์ ขึ้นตรงกับกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม โดยได้รับงบประมาณที่มีจำนวนมากมายถึงปีละ 320 ล้านยูโร ซึ่งกระจายไปให้ห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศที่มีจำนวนถึง 720 แห่ง จัดสรรงบประมาณออกไปตามแต่ละท้องถิ่นให้บริหารกันเอง และไม่มีการตัดงบประมาณด้านห้องสมุดมีแต่จะเพิ่มขึ้น ประเทศฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับห้องสมุดมากที่สุด มีบริการห้องสมุดอยู่ทุกมุมเมืองของประเทศทั้งในตัวเมืองและตามชนบท มีตั้งแต่ห้องสมุดขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก Read the rest of this entry »

การจัดการหนังสือที่ได้รับบริจาค ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.ค. 13th, 2020 by supachok

เนื่องจากในแต่ละปี ทางแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับหนังสือบริจาคเข้ามาในปริมาณจำนวนมาก ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงมีแนวคิดในการบริหารจัดการหนังสือที่ได้รับบริจาคเหล่านั้น ดังนี้

  • พิจารณาคัดเลือกหนังสือที่ไม่ตรงกับการให้บริการ แยกออกเพื่อบริจาคไปยังหน่วยงานที่เหมาะสมต่อไป เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดเรือนจำ การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) และแห่งอื่น ๆ ที่ติดต่อขอรับบริจาคหนังสือ
  • พิจารณาหนังสือเก็บไว้ในห้องเก็บหนังสือ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป อาทิเช่น
    – หนังสือที่ให้บริการชำรุด หรือสูญหาย และไม่มีการจัดพิมพ์อีก ต้องทดแทน
    – หนังสือที่มีอยู่ มีความต้องการใช้มากขึ้น เป็นต้น
    – หนังสือที่มีเนื้อหาที่เป็นความรู้พื้นฐาน และมีความจำเป็นต้องใช้
    – หนังสือหายาก

งานบริจาคหนังสือ ดำเนินการโดยมีขั้นตอน ดังนี้

  1. ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของหนังสือกับระบบห้องสมุด และจำนวนที่มี
  2. กรณีที่มีแล้ว 2 เล่ม จะพิจารณาเก็บไว้ในห้องเก็บหนังสือ ถ้ามีเล่มเดียวจะพิจารณาเนื้อหา สถิติการใช้ และส่งมอบให้บรรณารักษ์เพิ่มจำนวนในระบบ
  3. จัดพิมพ์รายชื่อหนังสือที่ต้องการเก็บไว้ในห้องเก็บหนังสือ โดยใช้โปรแกรม Excel  กำหนดข้อมูลต่างๆ เช่น ลำดับของหนังสือ (Running Number) ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ครั้งที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ เลข ISBN และเลข Bib Number  (กรณีที่ตรวจสอบว่ามีในระบบห้องสมุดแล้ว เพื่อสะดวกในการสืบค้นในภายหลัง)
  4. มีการนำ Running number   ตามที่บันทึกไว้ในโปรแกรม Excel มาติดไว้ที่ตัวเล่ม และจัดเรียงตามหมายเลข เพื่อให้หาได้ง่าย

ดังนั้น งานบริจาคหนังสือจะมีไฟล์รายชื่อหนังสือที่เก็บไว้ใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งจะมีการใช้ไฟล์ร่วมกับงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และไม่ต้องเปลืองงบประมาณ

งานบริจาคหนังสือ…การให้การแบ่งปันความรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
มี.ค. 28th, 2018 by supachok

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  มีภาระกิจหลักในการเสาะแสวงหาทรัพยกรสารสนเทศ หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศทั้งด้วยการจัดซื้อด้วยงบประมาณของมหาวิทยาลัย และการขอรับบริจาคจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อนำทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ มาให้บริการแก่ผู้ใช้บริการของมหาวิทยาลัยฯ ให้ครอบคลุมหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยทำการเรียน การสอน การวิจัย รวมทั้งทรัพยากรสารสนเทศทั่วๆ ไป โดยสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศผ่านการสืบค้นระบบห้องสมุดอัตโนมัติ “WMS” หรือ WorldShare Management Services

สำหรับงานบริจาคของแผนกจัดหาฯ นั้นจะช่วยประหยัดงบประมาณด้านจัดซื้อได้มากทีเดียว หนังสือดีๆ มักจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาศูนย์บรรณสารสนเทศา ถ้ามีซ้ำและพิจารณาแล้วว่า มีจำนวนพอเพียง หรือทดแทนเล่มเก่าที่ชำรุดแล้ว จะบริจาคให้แก่หน่วยงานต่างๆ ต่อไป แต่คาดว่ายังมีหนังสือดีๆ ที่ยังไม่มีจึงต้องเสาะแสวงหาต่อไป

รูปแบบการรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศ Read the rest of this entry »

งานเปิดตัวหนังสือ “Thai Politics: Social Imbalance” และเสวนาวิชาการ “ส่องเมืองไทย: ดุลยภาพทางการเมือง ดุลยภาพทางสังคม”
มิ.ย. 13th, 2017 by supachok

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานเปิดตัวหนังสือ “Thai Politics: Social Imbalance” และงานเสวนาวิชาการ “ส่องเมืองไทย: ดุลยภาพทางการเมือง ดุลยภาพทางสังคม” ที่วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ งานนี้ได้ทั้งความรู้และได้รับแจกหนังสือ Thai Politics: Social Imbalance” อีก 1 เล่ม งานเสวนาครั้งนี้ ได้รับความรู้ด้านการเมือง การปกครองตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน พัฒนาการของระบบอประธิปไตยของประเทศไทยตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด 85 ปี จากนักวิชาการและนักการเมืองอาชีพ ทั้ง 3 ท่านได้แก่ ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา และดำเนินรายการโดย คุณอดิศักดิ์ ศรีสม ได้รับฟังมุมมองแนวคิดทางการเมืองเกี่ยวกับกับการปฎิรูปการเลือกตั้งของประเทศไทย ที่จะมาขึ้นในเร็วๆนี้

วิทยากร

วิทยากร

 

Read the rest of this entry »

Practicing Rights: Human rights-based approaches to social work practice
ส.ค. 11th, 2016 by supachok

Practicing Rights: Human rights-based approaches to social work practice by David Androff

ในยุคสังคมปัจจุบันเรานี้ คำว่า สิทธิมนุษยชน กำลังเบ่งบานทุกพื้นที่ทั่วโลก เพราะการอยากได้ อยากดี อยากแย่งชิงอาณาเขต ทรัพยากรที่เริ่มร่อยหรอ อยากได้ อยากมีทรัพยากรอันล้ำค่าของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดสงครามและความอดอยาก จนทำให้มีคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน หนังสือที่จะแนะนำเล่มนี้เป็นหนังสือคู่มือฉบับพกพาติดตัวได้ เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ขนาดพกพา  เหมาะสำหรับ นักสิทธิมนุษยชน นักการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์ฯ นักจิตวิทยา

Practicing Rights เขียนโดย เดวิด แอนดรอฟฟ์ นักเขียนผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมสงเคราะห์ จบปริญญาเอกด้านนี้โดยตรง ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ที่ ม.อริโซน่า สหรัฐอเมริกา

Practicing-Rights

 

นอกจากเรื่องสิทธิมนุษยชน แล้วคุณยังจะได้แนวคิด วิสัยทัศน์ใหม่ๆ เกี่ยวกับดำเนินงาน ประสบการณ์เกี่ยวกับงานสังคมสงเคราห์เด็กยากไร้ เด็กจรจัด การดำเนินงานสังคมสงเคราะห์กับคนชราที่ถูกทอดทิ้ง การบริบาล และการดูแลอย่างต่อเนื่องรวมทั้ง งานด้านสุขภาพจิต การฝึกปฎิบัติจริงกับงานสังคมสงเคราะห์ฯ นักศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์ฯ ไม่ควรพลาด ฉบับพิมพ์ล่าสุดมีให้บริการแล้วที่ชั้น 3 ศูนย์บรรณสารสนเทศ หมวดหมู่ HV10.5A574P 2016

TK park โชว์นิทรรศการ “โลกของแมลง” A Bug’s Life
ก.พ. 17th, 2016 by supachok

TK park ห้องสมุดมีชีวิตแห่งแรกของไทย หรือ อุทยานการเรียนรู้ TK park เซ็นทรัลเวิล์ด ขอยกป่ามาไว้ในห้างสรรพสินค้ากลางกรุง เพราะแค่ก้าวท้าวเข้าไปกลางลานสานฝัน ก็ได้ยินเสียงเพื่อนร่วมโลกอย่าง “แมลง” ดังระงม แถมทั้งด้วงกว่าง ผีเสื้อ ตั๊กแตน แมงมุม ฯลฯ ยังเป็นแมลงต่างชนิดที่ยากจะเจอพร้อมกันในชีวิตจริงด้วย แต่ก็มาอยู่รวมกันได้ในนิทรรศการ “โลกของแมลง” A Bug’s Life ซึ่งอุทยานการเรียนรู้ TK park ได้ร่วมมือกับหน่วยอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร จัดขึ้นมาเพื่อที่จะมอบประสบการณ์ใหม่ๆให้กับทั้งเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่สนใจโลกของแมลง Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa