Zotero Connector คือ extension ที่ติดตั้งบน browser ไว้ใช้ทำงานร่วมกับโปรแกรม Zotero เพื่ออำนวยความสะดวกในการดาวน์โหลดและจัดเก็บไฟล์บทความพร้อมข้อมูลรายการอ้างอิง ในขณะที่ผู้ใช้กำลังสืบค้นข้อมูลและบันทึกไฟล์บทความจากฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ ทั้งนี้ ก่อนจะติดตั้งส่วนขยาย Zotero Connector นี้ ท่านควรมีโปรแกรม Zotero ในเครื่องก่อน สามารถย้อนดูวิธีการติดตั้งโปรแกรม Zotero และ Add-In Zotero ใน Microsoft Word ได้ คลิกที่นี่
1. ไปที่ URL www.zotero.org/download คลิก Install Chrome Connector
แต่ถ้าจะติดตั้งบน browser รุ่นอื่น ให้คลิกที่ Zotero Connectors for other browsers
แล้วกดเลือก browser ที่ต้องการใช้งาน
Read the rest of this entry »
จากการฟังสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ดร. ศากุน บุญอิต อาจารย์ประจำสาขาบริหารการปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับโลกหลายฉบับ เรื่องการทำงานวิจัย โดย ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ ผ่าน YouTube https://youtu.be/mLu5iing7Tk น่าสนใจทีเดียว ขอสรุปสั้น ๆ ดังนี้
ในแง่ของนักศึกษาระดับปริญญเอก
อาจารย์ ศากุน แชร์ให้ฟังว่า การสอนในระดับปริญญาเอก จะเริ่มต้นด้วยการให้อ่านมาก ๆ ให้ตึกผลึกก่อน แล้วค่อยหาหัวข้อ วิจัย หลังการเรียน course work ควรเป็นเรื่องของการอ่าน ไม่อย่างนั้นจะไม่เป็น high abstract thinking
การทำวิจัย การเรียนปริญญาเอก การตีพิมพ์ คล้าย ๆ กัน คือ เป็นการเดินทาง (journey) ดังนั้น ต้องไม่ท้อใจ ต้องเรียนรู้ว่าเป็น journey พอเป็น journey ก็ต้องพบอะไรต่อมิอะไร แต่อย่าเพิ่งท้อใจ และเลิกไป จะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ไปทำงาน ไปสอน ก็ไม่จบ ต้องไปทางหลักจึงจะถึงจุดหมาย
ในแง่ของอาจารย์
การเป็นอาจารย์มีหน้าหลัก ๆ 3 อย่าง คือ สอน ทำวิจัย และบริการวิชาการ ซึ่ง 3 อย่างนี้เลือกไม่ได้ ต้องทำทุกอย่าง ครู กับ อาจารย์ นักวิชาการ ความหมายต่างกัน ครู หน้าที่หลัก คือ ทำหน้าที่สอน แต่พอเป็นอาจารย์และนักวิชาการ หน้าที่หลักมี 3 อย่าง ตามที่บอก วิจัย คือ 1 ในนั้น ดังนั้น อาชีพอาจารย์ การทำวิจัยไม่ใช่ทางเลือก แต่ต้องทำ ถึงต้องมีเกณฑ์ว่า เท่านั้น ปี ต้องตีพิมพ์ แล้วถึงต่อสัญญา ซึ่ง จริง ๆ ก็ถูก เพราะเป็นพันธกิจของอาจารย์ที่ต้องทำ ถ้าวิจัยในอาชีพอาจารย์ เป็น A Must ก็ต้องแบ่งเวลามาทำ ถ้าทำวิจัยวันละ 2 ชม. มี paper ออกมาแน่นอน ปัญหาหลัก คือ ไม่ทำมากกว่า เพราะมีทางเลือก จึงไม่ทำ ต้องเริ่มที่ mindset ว่า วิจัย เป็น A Must ที่ต้องทำ ไม่ใช่ทางเลือก เหมือนกับเป็นอาจารย์ ก็ต้องไปสอน
การทำวิจัยให้คิด 3 เรื่อง
1. โจทย์วิจัยมีความสำคัญหรือไม่ สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎี และเชิงปฏิบัติ
2. กระบวนการทำวิจัย เข้มข้น เข้มแข็งพอหรือไม่ มีความชัดเจน หรือไม่
3. ผลที่ได้น่าเชื่อถือ กับโจทย์ที่ตั้งมาหรือต้องการวัดหรือไม่
อ้างอิง
ศากุน บุญอิต. (2563, พฤษภาคม 10) การทำวิจัย. [Video file). สืบค้นจาก https://youtu.be/mLu5iing7Tk
Zotero เป็น software ประเภท open source สาหรับช่วยบริหารจัดการข้อมูลรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง หรือที่เรียกกันว่า Reference management และมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างรูปแบบการเขียนอ้างอิงได้หลายรูปแบบ ซึ่ง Zotero สามารถทำงานร่วมกับ Microsoft Word ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ใช้งานสามารถส่งรายการบรรณานุกรมที่เก็บรวบรวมไว้ใน Zotero เข้ามาแทรกตามตำแหน่งต่างๆ ในเอกสาร word ได้สะดวก ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องติดตั้ง Add-In ใน tool ของ Microsoft Word เพิ่มเติม โดยผู้เขียน ขอแบ่งการนำเสนอเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม Zotero ส่วนที่ 2 การนำรายการทางบรรณานุกรมที่มีการดาวน์โหลดจากฐานข้อมูลหรือระบบที่ให้บริการจัดทำรูปแบบการอ้างอิงออกมา ส่วนที่ 3 การนำข้อมูลทางบรรณานุกรมที่นำออกจากฐานข้อมูล/ระบบห้องสมุด เข้าโปรแกรม Zotero และส่วนที่ 4 กล่าวถึงการ add-in โปรแกรม Zotero กับ Microsoft Word ต่อไป
ส่วนที่ 1 การติดตั้งโปรแกรม Zotero ในคอมพิวเตอร์
1. ดาวน์โหลดโปรแกรม Zotero จากเว็บไซต์ เนื่องจากเป็น open source จึงสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ https://www.zotero.org/download โดยให้เลือกเวอร์ชั่นให้ตรงกับ OS ที่ใช้งานอยู่ ว่าเป็น Windows / macOS / Linux
ผู้เขียนได้เข้าฟังการบรรยาย เรื่อง บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นฤตย์ นิ่มสมบุญ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from South Korea วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตสรุปความได้โดยสังเขป ดังนี้
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ คือ การศึกษา และค้นคว้าสารสนเทศอย่างเป็นระบบแล้วนำมาสังเคราะห์ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง โดยต้องเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือได้ มีมาตรฐาน โดยการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก ที่มีการตกลงกันไว้ก่อน มีการกำหนดวิธีการสืบค้นที่แม่นยำ เที่ยงตรง และเชื่อถือได้ ดังนั้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จึงมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
บรรณารักษ์มีส่วนในการช่วยนักวิจัยในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ บรรณารักษ์มีหลายบทบาท ตั้งแต่การเป็นผู้แนะนำฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูล บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย ในฐานะเป็นที่ปรึกษา ในฐานะเป็นผู้ให้การศึกษา Database Selection การพิจารณาคัดเลือกฐานข้อมูลในการสืบค้น เช่น
Librarian as co-researcher (บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย)
มีงานวิจัยรองรับว่า การทำงานกับบรรณารักษ์สามารถเพิ่มคุณภาพในการสืบค้น โดยเฉพาะเมื่อบรรณารักษ์มีความรู้เกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพราะบรรณารักษ์เชี่ยวชาญด้านกระบวนการกำหนดคำสำคัญและกำหนดหัวเรื่อง Read the rest of this entry »
พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และ กชพร ขวัญทอง. (2561). การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านใน อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ (A Study of Folklore: A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bang Sao Thong District, Samutprakan Province). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
รายงานการวิจัยเรื่องนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของการตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านริมคลองในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของคลองที่เปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เน้นศึกษาจากการลงภาคสนามและเอกสารเป็นสำคัญ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ กลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุในท้องถิ่น นักวิชาการท้องถิ่น ผู้นำชุมชน พระภิกษุ รวมทั้งศึกษาจากเอกสารราชการ งานเขียนกึ่งวิชาการ บันทึกท้องถิ่น หนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจ แผนที่คลองในอดีตและปัจจุบัน และลงภาคสนามสังเกตลักษณะทางกายภาพของคลองและสถานที่ ๆ เกี่ยวข้อง โดยมีการตรวสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบสามเส้า(Triangulation) ผลจากการวิจัยพบว่า การตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ชื่อส่วนใหญ่คนในท้องถิ่นตั้งกันเองตามชื่อบุคคลที่อยู่ในคลองหรือลักษณะโดดเด่นของคลอง เช่น ชื่อพืชพันธุ์ไม้ ขนาดหรือทิศทางของคลอง ภูมิประเทศ สัตว์ สิ่งก่อสร้าง กริยาการกระทำ เครื่องใช้ไม้สอย และความเชื่อหรือตำนาน ตามลำดับ เพื่อจดจำได้ง่ายและสะดวกในการสื่อสารให้เข้าใจได้ตรงกัน
บทบาทและความสำคัญของคลองจากอดีตสู่ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลัง คลองในอดีตที่เคยมีความสำคัญเป็นต้นกำเนิดของชุมชน แหล่งเศรษฐกิจทำกินและเส้นทางคมนาคมหลัก เปลี่ยนไปเมื่อถนนตัดผ่าน ก็ก่อเกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ เกิดพื้นที่ธุรกิจ อุตสาหกรรมและหมู่บ้านแห่งใหม่ของคนต่างถิ่นอยู่ตามแนวถนนและมีรูปแบบสังคมเมือง ส่วนหมู่บ้านที่อยู่ติดคลองเปลี่ยนเป็นรูปแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท Read the rest of this entry »
บังอร ฉางทรัพย์ สุภาภรณ์ วรรณภิญโญชีพ ศิริวรรณ ตันตระวาณิชย์ เกษม พลายแก้ว ภาสินี สงวนสิทธิ์ และ ระพีพันธุ์ ศิริเดช (2561). ความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษาตอนต้น ในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย (Prevalence of Enterobius vermicularis among preschool and lower primary school children in Bangbor district, Samutprakarn province, Thailand). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในเขตอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และ 2) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของพยาธิเข็มหมุดกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาโดยการตรวจหาไข่พยาธิเข็มหมุดด้วยวิธีสกอตเทป ในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษา ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 9 แห่ง และโรงเรียนประถมศึกษา 20 แห่งในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างเดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนธันวาคม 2559 เด็กที่รับการตรวจจำนวน 2,013 คน เป็นเพศชาย จำนวน 1,013 คน เพศหญิง จำนวน 1,000 คน ผลการสำรวจพบความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็ก ร้อยละ 5.17 (104/2,013) พบเด็กขายมีความชุกพยาธิเข็มหมุด ร้อยละ 5.23 (53/1,013) เพศหญิง ร้อยละ 5.10 (51/1,000) เมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กกับปัจจัยที่ศึกษา ประกอบด้วย 1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับเด็ก ได้แก่ เพศ อาการแสดงของโรค และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด 2) ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้ปกครองเด็ก ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ ความเพียงพอของค่าใช้จ่าย ระดับการศึกษา อาชีพ พื้นเพดั้งเดิม และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคพยาธิลำไส้ และ 3) พื้นที่ศึกษา พบว่าเกือบทุกปัจจัยไม่มีความสัมพันธ์กับความชุกของยาธิเข็มหมุดในเด็ก (p>0.05) ยกเว้น ปัจจัยด้านการกัดเล็บเล่นของเด็ก ความเพียงพอค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองเด็ก และระดับการศึกษาของผู้ปกครองเด็ก ที่มีความสัมพันธ์กับความชุกพยาธิเข็มหมุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กวัยประถมศึกษายังคงมีการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดค่อนข้างสูง ดังนั้นควรมีการอบรมครูและผู้ปกครองเด็กเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดีเพื่อลดการแพร่ระบาดของพยาธิเข็มหมุดในพื้นที่ศึกษาและพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป
ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2561). การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา. (A Study of Acronym in 108 Core Scripture as a Supplementary Buddhist Material). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108 (2) เพื่อศึกษาแหล่งที่มา สาระสำคัญ และการนำอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ไปใช้ในมิติต่าง ๆ (3) เพื่อศึกษาการใช้อักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และนำเสนอเป็นรายงานการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Analysis Description)
ผลการวิจัยพบว่า การย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่ใช้วิธีการย่ออักษรตามคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะที่เป็นทฤษฎีการย่ออักษร 4 รูปแบบ คือ การย่ออักษรตัวแรกของศัพท์ การย่ออักษรตัวสุดท้ายของศัพท์ การย่ออักษรที่ใช้วิธีทั้งสองข้างต้นร่วมกัน การย่ออักษรแล้วประมวลอักษรมาไว้ตรงกลางโดยวางอักษรสลับกันไปมา หัวใจนอกจากนี้ใช้คำย่อ คำศัพท์ อักษรในภาษาบาลี อักษรไทย และคำไทยมาผสมกัน สำหรับแหล่งที่มาของอักษรย่อส่วนใหญ่มาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ รวมถึงบทสวดมนต์จากหนังสือสวดมนต์ แต่มีหัวใจบางส่วนที่มีแหล่งที่มาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไสยศาสตร์ วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์และขุนช้างขุนแผนที่โบราณาจารย์นำมาใช้สื่อเรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระรัตนตรัย พระพุทธเจ้า พระธรรม พุทธสาวกบางรูป คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา พิธีกรรม และเรื่องเล่าในพระพุทธศาสนา สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของโบราณาจารย์ที่นำเรื่องเหล่านี้มาใช้สื่อผ่านหัวใจต่าง ๆ ดังนั้น หัวใจและอักษรย่อของหัวใจจึงเป็นสื่อการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาโดยย่อ ส่วนการนำไปใช้นั้นพบในรูปแบบสำคัญคือ การใช้ที่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจที่สัมพันธ์กับหลักการในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ใช้สำหรับท่องจำหลักที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ใช้เป็นอุบายฝึกจิตให้เป็นสมาธิโดยใช้อักษรในหัวใจเป็นเครื่องภาวนา และใช้เป็นอุบายเตือนสติผู้นำไปใช้ให้ละความชั่ว ทำความดีด้วยการรักษาศีล เสียสละ และพัฒนาจิตให้ผ่องใส ส่วนการนำไปใช้ที่ไม่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจนั้นพบว่า ส่วนใหญ่นำไปใช้ตามความเชื่อในไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดอานุภาพด้านทีดี เช่น ปลอดภัยจากอันตราย เมตตามหานิยม เป็นต้น และบางส่วนถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ทำให้คนหลงรัก ทำให้คนเกลียดชังกัน และนำไปใช้เสกของกินร่วมกับสุราที่เป็นการส่งเสริมให้คนผิดศีลข้อที่ 5 แต่ถ้ากล่าวสรุปตามสาระสำคัญของหัวใจแล้ว อักษรย่อในคัมภีร์ในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่เป็นสื่อการเรียนรู้พระพุทธ ศาสนาที่มุ่งให้คนเข้าใจและนำไปใช้พัฒนาชีวิตตั้งแต่หลักการพื้นฐาน เช่น ศีล 5 จนถึงหลักธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตสู่ความหลุดพ้นทุกข์ เช่น อริยสัจสี่ เป็นต้น
ผลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นประโยชน์ของการศึกษาเรื่องนี้โดยสรุป คือ การไขความลี้ลับของหัวใจ 108 ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ที่มีอานุภาพต่าง ๆ แต่ผลการศึกษาเรื่องนี้สามารถยืนยันได้ว่า หัวใจต่าง ๆ ในคัมภีร์หัวใจ 108 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่อันเป็นกุศโลบายในการสอนพระพุทธศาสนาของ โบราณาจารย์ไทย แต่เรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนาถูกกลบไปด้วยอิทธิพลของความเชื่อไสยศาสตร์ ประกอบกับการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้มักจะไม่มีการบอกความหมายและแหล่งที่มาของอักษรย่อจึงทำให้หลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนาเลือนหายไปกลายเป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์เข้ามาแทนที่อย่างน่าเสียดาย
Mendeley (www.mendeley.com) เป็นเครื่องมือออนไลน์จาก ELSEVIER ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนนักวิจัยในการทำวิจัย ช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการต่างๆ ของการทำวิจัย โดยเปิดให้ทุกท่านใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้
1. การสมัครสมาชิก 2. การใช้งานเครื่องมือช่วยทำวิจัย 3. การสืบค้นเอกสาร
จากการบรรยายของ ศาสตราจารย์ ดร. อังศุมาลย์ จันทราปัตย์ หัวหน้าคณะผู้จัดทำจรรยาวิชาชีพและแนวทางปฏิบัติให้กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2560 ณ ห้องบรรยาย 3 อาคารอำนวยการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอสรุปส่วนหนึ่งของการบรรยาย ที่เกี่ยวกับการจัดทำผลงาน การเผยแพร่ผลงานวิจัย ขอนำมาสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อให้อยู่ในกรอบของการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย จากเอกสารประกอบการประชุมเชิงวิชาการ ของสำนักพัฒนาวิชาการ ดังนี้
การเผยแพร่ผลงานวิจัย
นักวิจัยหลายๆ ท่านอาจจะเคยได้รับจดหมายเชิญขวนให้ส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ เราจะมีหลักการพิจารณาได้อย่างไร ว่าวารสารเหล่านั้นไม่ใช่วารสารประเภท predatory journal
1. ตรวจสอบวารสารที่จะตีพิมพ์ผลงานวิจัย อยู่ใน Master Journal List ของบริษัท Thomson Reuters หรือไม่ ได้ที่ http://ip-science.thomsonreuters.com/mjl/ โดยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฉพาะวารสารที่มีอยู่ใน Science Citations Index และ Science Citations Index Expanded เท่านั้นที่จะมีค่า impact factor และวารสารในสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ จะต้องอยู่ใน Social Science Citation Index และ Arts and Humanities Citation Index เท่านั้น โดยสามารถดาวน์โหลดรายชื่อวารสารทั้งหมดในฐาน Science Citations Index, Science Citations Index Expanded และ Arts and Humanities Citation Index ได้จากเมนูขวามือ
การตรวจสอบรายชื่อวารสาร
2. ตรวจสอบค่าดัชนีอ้างอิงวารสาร impact factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports หรือ InCites Journal Citation Reports
รายการอ้างอิง
วสุ ปฐมอารีย์. (2559). การคัดเลือกวารสารสำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย. Re-Form. vol.4 (ก.ค.-ส.ค.)