SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การศึกษาดูงาน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มกราคม 30th, 2017 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ทัศนศึกษา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2559 นำโดย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และทีมงานจำนวน 17 คน โดยมีการกำหนดหัวข้อในการขอเข้าฟัง ดังนี้

  1. การบริหารจัดการในภาพรวมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. การพัฒนาฐานข้อมูลการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ที่ผู้ใช้ตรวจสอบเอง และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การนำระเบียนข้อมูลทางบรรณานุกรมเข้าระบบ WorldCat
  3. การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
  4. การพัฒนานวัตกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. การบริการเชิงรุก
  6. การให้บริการ WorldShareILL
  7. การจัดการความรู้
  8. การประกันคุณภาพ
  9. การอนุรักษ์พลังงาน
บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ผอ. วรารักษ์ พัฒนเกียรติพงศ์) และบุคลากรที่มาต้อนรับ ทุกท่าน (ประกอบด้วย คุณคัทลียา  ปรีชานิ คุณปราชญ์ สงวนศักดิ์  คุณหวานใจ อรุณ คุณศุภวรรณ อาจกล้า  คุณสุรินทรา  หล้าสกูล คุณสดศรี  กันทะอินทร์  คุณศิริมนัส  อินต๊ะแก้ว และคุณจิราภรณ์  หาบุญ) ที่เร่งทำเวลาในการบรรรยายให้ความรู้ ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความเห็น และตอบคำถาม จึงขอสรุปข้อความรู้ในประเด็นหลักๆ ดังนี้

การบริหารจัดการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้า การวิจัย มีค่านิยมหลักในการทำงาน คือ CMUL ประกอบด้วย ร่วมแรงร่วมใจ (C – Collaboration) ยึดมั่นในคุณธรรม (M – Morality) มุ่งมั่นบริการ (U –User Focus)  เรียนรู้งานอย่างต่อเนื่อง (L – Learning) บริหารและดำเนินงานสำนักหอสมุด โดยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่าย (3 คน) และผู้ช่วยผู้อำนวยการ (1 คน) มีบุคลากรรวมทั้งสิ้น 125 คน บริหารและดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย สำหรับยุทธศาสตร์ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564)  ประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยุทธศาสตร์สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ รับผิดชอบต่อสังคม และสร้างการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่ยั่งยืน ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการวิจัยและการเรียนรู้
อย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์เชิงรุก

1.Environment and Energy

2. Lanna Innovation

3. Food and Health

ยุทธศาสตร์เชิงรุก

ยุทธศาสตร์ที่ 1 คลังความรู้ล้านนา

กลยุทธ์ที่ 1: พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมล้านนา

กลยุทธ์ที่ 2: พัฒนาเครือข่ายเพื่อสร้างคลังความรู้ล้านนา

กลยุทธ์ที่ 3: เพิ่มศักยภาพการเข้าถึงสารสนเทศล้านนา
ยุทธศาสตร์ที่ 2: บริการสนับสนุนการวิจัย

กลยุทธ์ที่ 1: สนับสนุนการผลิตผลงานวิจัยและจัดบริการสารสนเทศเพื่อการวิจัย

ยุทธศาสตร์ตามพันธกิจ

1. การผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม คุณภาพ เป็น Global citizen

2. การวิจัยที่เป็นเลิศ

3. การบริการวิชาการที่เกิดประโยชน์แก่สังคม

4. การแสวงหารายได้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

5. การบริหารจัดการเชิงบูรณาการ

ยุทธศาสตร์ตามพันธกิจ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 คลังความรู้สนับสนุนการผลิตบัณฑิตและการวิจัย

กลยุทธ์ที่ 1: พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสนับสนุนการผลิตบัณฑิตและการวิจัย

กลยุทธ์ที่ 2: เพิ่มศักยภาพการเข้าถึงองค์ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริการที่เป็นเลิศ

กลยุทธ์ที่ 1: พัฒนานวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ

กลยุทธ์ที่ 2: ส่งเสริมการใช้สารสนเทศ

กลยุทธ์ที่ 3: สร้างบรรยากาศเพื่อการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 5 บริการวิชาการแก่สังคม

กลยุทธ์ที่ 1: สนับสนุนพันธกิจบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ที่ 6 บริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ที่ 1: บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ที่ 2: พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการนำ/การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการบริหารงานมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงาน ซึ่งพัฒนาโดยบุคลากรของสำนักหอสมุด ได้แก่

  1. ระบบฐานข้อมูลด้านการบริหารงบประมาณและการเงินมาใช้ (e-Budget)
  2. ระบบฐานข้อมูลการจัดทำโครงการตามยุทธศาสตร์ (e-Project)
  3. ระบบฐานข้อมูลแหล่งเงินรายได้ (e-Revenue)
  4. ระบบฐานข้อมูลการพัฒนาบุคลากร (e-HRM)

นอกจากนี้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อ

  1. การจัดซื้อฐานข้อมูลและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
  2. การประหยัดงบประมาณและขยายแหล่งสารสนเทศให้กับผู้ใช้บริการ
  3. การแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศ

ผ่านเครือข่าย และมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือได้แก่ PULINET, PULINET + 4 (CU, TU, MU, KU), PULINET + 10 (CU, TU, MU, KU, SWU, RU, KMUTT, KMUTL, KMUTN, NIDA) และ ThaiOCLC Members (TU, CMU, CU, MU, KU)

 

การพัฒนาฐานข้อมูลการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ที่ผู้ใช้ตรวจสอบเอง

แนวทางการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีกระบวนการและขั้นตอนการทำงานในส่วนของการพัฒนาทรัพยากรโดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ หลายช่องทางได้แก่

  1. การคัดเลือกจากรายชื่อหนังสือที่สำนักหอสมุดส่งให้ หรือผ่านกิจกรรม CMU BOOK FAIR
  2. การเสนอผ่านเครื่องมือการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (พัฒนาโดยคุณปราชญ์ สงวนศักดิ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์และงานระบบคอมพิวเตอร์) โดยผู้ใช้บริการสามารถเสนอ 2 ช่องทาง กล่าวคือ
    2.1 ฐานข้อมูลการเสนอซื้อหนังสือทั่วไป (CMUL BOOK Recommendation) เป็นโปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเสนอซื้อให้ผู้ใช้บริการที่ต้องการเสนอชื้อหนังสือตามความต้องการของตนเอง ทำให้สำนักหอสมุดจัดหาหนังสือได้ครอบคลุมการเรียน การสอน ทุกสาขาวิชาและตรงกับความต้องการของผู้ใช้
    2.2 ฐานข้อมูลการเสนอซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (CMUL E-BOOK Recommendation)

เป็นโปรแกรมการสั่งซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOKS) ให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมการเรียนการสอนทุกสาขาวิชาและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และช่วยอำนวยความสะดวกในการเสนอซื้อให้กับอาจารย์ ที่ต้องการเสนอซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

กระบวนการปฏิบัติงาน

  1. นำรายชื่อหนังสือมาตรวจสอบกับฐานข้อมูล เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
  2. พิจารณาจัดซื้อตามนโยบายที่กำหนดไว้
  3. นำหนังสือมาดำเนินการในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
  4. แจ้งผลการจัดซื้อหนังสือและการให้บริการโดยทาง E-mail
  5. ผู้ใช้สามารถตรวจสอบทรัพยากรห้องสมุดที่ตนเองเสนอได้เองโดยผ่านช่องทางดังนี้
    • ฐานข้อมูลรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่หน้า OPAC
    • ฐานข้อมูลการเสนอหนังสือ (CMUL BOOK Recommendation)
    • ฐานข้อมูลการเสนอหนังสือ (CMUL E-BOOK Recommendation)
    • ฐานข้อมูลรายชื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักหอสมุดจัดซื้อ CMUL E-BOOKS

ประโยชน์ของฐานข้อมูลการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

ผู้ปฏิบัติงาน มีระบบและเครื่องมือในการบริหารจัดการด้านการจัดซื้อหนังสือ สามารถจัดซื้อหนังสือ และ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการลดความซ้ำซ้อน

ผู้ใช้บริการ มีส่วนร่วมในการพิจารณาคัดเลือกหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ครอบคลุมการเรียนการสอนทุกสาขาวิชา และตรงกับความต้องการโดยใช้เครื่องมือในการเสนอแนะรายชื่อหนังสือโดยเฉพาะอาจารย์ได้ความสะดวกสบายมากขึ้น

วิธีการดำเนินการการเสนอซื้อหนังสือ

สามารถดำเนินการสั่งซื้อได้จากหน้าเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด โดยกรอกข้อมูลเพื่อยืนยันตัวตน กรอกรายการบรรณานุกรมหนังสือ เลือกห้องสมุดที่ต้องการจัดซื้อ และยืนยันการเสนอซื้อ แล้วจึงบันทึกรายการเพื่อการจัดซื้อเพียงเท่านี้จะเสร็จสมบูรณ์ โดยมีนโยบายการจัดซื้อหนังสือ ภาษาไทย 2 เล่ม และภาษาอังกฤษ 1 เล่ม

วิธีการดำเนินการการเสนอซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

สามารถดำเนินการใช้งานฐานข้อมูล (CMUL E-BOOK Recommendation) ได้ที่  http://library.cmu.ac.th/ebookrecommend/book.php?BookID=26897 เลือกรายการหนังสือที่ต้องการ กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลผู้ซื้อและยืนยันการสั่งซื้อ และรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เสนอให้ครบถ้วน ในส่วนของระบบการจัดการจัดซื้อแบบนี้ ทำให้สะดวกมากขึ้น

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ในการส่งข้อมูลระเบียนบรรณานุกรมเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ ระบบ OCLC (WorldCat)

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ใช้ เป็นระบบที่พัฒนาโดยบริษัท Innovative, Inc เมื่อนำข้อมูลเข้าระบบ OCLC มีขั้นตอนดังนี้

  1. กำหนดประเภทระเบียนบรรณานุกรม
  2. ระเบียนบรรณานุกรม ประเภท หนังสือ
  3. แยกระเบียนภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ
  4. การดำเนินงานของระเบียนครั้งละไม่เกิน 5000 ระเบียน
  5. การ Export file เป็น ไฟล์ Excel
  6. การตรวจสอบความถูกต้องของระเบียนบรรณานุกรม
  7. การแปลงไฟล์ตามข้อกำหนดของระบบ
  8. Unload DATA และ LABEL ผ่าน PSweb

การส่งข้อมูลเข้า WorldCat มีกระบวนการ ดังนี้

  1. การ Create List เป็นการดึงข้อมูลระเบียนบรรณานุกรม
  2. การ Export to Excel เป็นการโอนข้อมูล
  3. การแจ้งขอไฟล์ .out เป็นการขอไฟล์ .out ซึ่งระเบียนบรรณานุกรมที่อยู่ในรูปของ MARC FILE
  4. การส่งข้อมูลเข้า WorldCat โดยการ Upload ไฟล์ระเบียนบรรณานุกรมทั้งการสร้างไฟล์ DATA และไฟล์ LABEL เป็นการดำเนินการตามรูปแบบจากคู่มือของ OCLC

การบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ

การซ่อมและอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศหนังสือ มีความจำเป็นต้องดำเนินการสงวนรักษาให้มีสภาพดีพร้อมใช้งานได้ โดยงานบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่ในการซ่อมและสงวนรักษาหนังสือทั้งของหอสมุดกลาง และห้องสมุดคณะ แต่เพียงแห่งเดียว

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีเครื่องมือที่ทันสมัยและนำมาใช้ในงานให้มีประโยชน์กับงาน ทำให้เพิ่มความสวยงามและคงสภาพความแข็งแรงของรูปเล่ม วิทยากรได้สาธิตวิธีสงวนรักษาหนังสือแบบเสริม
ปกแข็ง โดยการเสริมปกแข็งเป็นวิธีการทำให้หนังสือแข็งแรงรูปเล่มสวยงาม มีความคงทนถาวร มีอายุการใช้งานยาวนาน ทั้งนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องระยะเวลาการส่งคืนหนังสือซ่อม ซึ่งจะต้องมีระยะเวลาในการซ่อมหนังสือ แต่ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับความชำรุดของหนังสือที่ทำให้เกิดความยากหรือง่ายในการซ่อม

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อรองรับการให้บริการ

1.การให้บริการสารสนเทศผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการให้บริการสารสนเทศผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต ฯลฯ ตัวอย่างเช่น

  • CMUL AirPAC     เป็นระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด มช. พร้อมทั้งฟังก์ชั่นการใช้งานอื่น ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ เช่น ประวัติการยืม การต่ออายุการยืม บริการตอบคำถาม เป็นต้น
  • CMUL FindBook เป็นระบบช่วยค้นหาหนังสือ ว่ามีให้บริการอยู่ในห้องสมุดหรือไม่ โดยสามารถค้นหาได้จากการสแกนบาร์โค๊ด ISBN หลังหนังสือเล่มที่สนใจ แล้วระบบจะทำการส่งข้อมูลไปตรวจสอบกับฐานข้อมูลของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ว่ามีตรงกันหรือไม่ ทำให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าก่อนเดินทางไปยืมหนังสือเล่มที่ต้องการ
  • CMU e-textbook เป็นระบบฐานข้อมูลตำราเรียน เอกสารสารประกอบการสอนของคณาจารย์ และเอกสารสารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ถูกรวบรวมมาจัดทำเป็น e-book และเปิดให้นิสิตนักศึกษาสามารถดาวน์โหลดผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของสถาบัน

โมบายแอพพลิเคชั่น (Mobile Application) เหล่านี้  พัฒนาโดยโปรแกรมเมอร์ของสำนักหอสมุด (คุณปราชญ์ สงวนศักดิ์) โดยเขียนโค๊ดโปรแกรมแบ่งเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะระบบปฏิบัติการ (OS) เพื่อให้สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นไปใช้งานได้กับทั้ง 2 ค่าย คือ ระบบ Android สำหรับมือถือทั่วไป และ ระบบ iOS สำหรับไอโฟน ทั้งนี้ ต้องมีการติดตั้งสิ่งที่จำเป็นของแต่ละระบบคู่ขนานกันไป เช่น ระบบ API ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ซึ่งจะต้องเปิดให้โปรแกรมเมอร์สามารถพัฒนาระบบอื่นเข้าไปเชื่อมต่อได้เพื่อดึงข้อมูลมาใช้ประโยชน์กับโปรแกรมที่เขียนเองได้

2. การนำระบบแท็ก Tag # มาใช้ประโยชน์

ในปัจจุบัน ผู้คนต่างติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความคิดเห็นกันบนเครือข่ายโซเชียลมีเดีย สิ่งที่เชื่อมต่อผู้คนที่ไม่รู้จักกัน เข้ามาสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันได้นั้น โดยการติด
แฮชแท็ก (#) เพื่อให้ง่ายต่อการค้นพบโดยผู้อื่น ซึ่งคำที่ใช้ติดแฮชแท็กนี้ จะเป็นคำอะไรก็ได้แล้วแต่ผู้เขียนจะตั้งขึ้น ส่วนจะได้รับกระแสตอบรับ ค้นเจอ มีคนมาอ่านหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความสนใจบนเครือข่ายโซเชียล ณ ขณะนั้น ตัวอย่างการติดแฮชแท็ก เช่น  #NewYear2016 #ทีมลูกเกด  #โค้ชโจอี้  #TheVoiceThailand

ด้วยประโยชน์ของการติดแฮชแท็กดังกล่าว สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงนำไปประยุกต์ใช้กับงานที่กำลังทำการศึกษาค้นคว้าอยู่ เป็นระบบติดแท็กให้หนังสือ ซึ่งจะมีการพัฒนากลไกในการระบุความสัมพันธ์และคำเชื่อมโยง เพื่อประโยชน์ในการเชื่อมต่อหนังสือกับผู้ใช้บริการ ให้สามารถพบเห็นข้อมูลหนังสือเล่มที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ใช้บริการคนนั้นกำลังสนใจ หรือกำลังค้นหาอยู่นั่นเอง

การให้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้วางแผนและกำหนดการให้บริการที่หลากหลาย ดังนี้

  1. ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ (ปริญญาตรี/บัณฑิตศึกษา) โดยมีทีมงานแต่ละฝ่าย/งานไปให้ความรู้ เกี่ยวกับห้องสมุด และร่วมเล่นกิจกรรม
  2. Library Wow! ต้อนรับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2559 เพื่อ ให้นักศึกษาใหม่รับรู้ข้อมูลการให้บริการของห้องสมุด และช่องทางการการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ ตลอดจนช่องทางการรับรู้ข่าวสารและกิจกรรมผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของสำนักหอสมุด
  3. Book & Bag Service สำหรับผู้ยืมหนังสือตั้งแต่ 5 เล่มขึ้นไป รับสิทธิ์ยืมกระเป๋าฟรี
  4. ปลอดหนี้เข้าพรรษา ยกเว้นค่าปรับการส่งคืนหนังสือเกินกำหนด
  5. First Aid กรณีที่ผู้ใช้บริการไม่สบาย  เช่น เป็นไข้ เวียนศีรษะ ท้องเสีย มีบาดแผล เล็กน้อย
  6. บริการร่มกันฝน
  7. SMS แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบริการต่างๆ ของห้องสมุด เช่น บริการแจ้งเตือนวันกำหนดส่ง แจ้งค่าปรับ การรับหนังสือจอง ห้องบริการค้นคว้าส่วนบุคคล บริการยืมระหว่างห้องสมุด ข่าวกิจกรรม การฝึกอบรม ฯลฯ
  8. Document Delivery Services (DDS) เป็นบริการส่งเอกสารที่ยืม – คืน หรือยืมต่อของสมาชิก โดยที่สมาชิกไม่ต้องไปยืม – คืนด้วยตนเอง เพียงแต่รอรับเอกสารที่ห้องสมุดคณะ/สถาบัน/สำนัก ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ท่านสะดวกมากที่สุด จะได้รับเอกสารภายใน 24 ชั่วโมง สามารถยืมวัสดุสารนิเทศและโสตทัศนวัสดุประเภทวิชาการ ตามสิทธิการยืมของสมาชิกแต่ละประเภท
  9. EDD : Extra Document Delivery เป็นบริการส่งมอบเอกสารประเภทวิทยานิพนธ์ (CMU e-Theses) และงานวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU e-Research Reports) ที่มีบริการในสำนักหอสมุด ทั้งในห้องสมุดกลาง และห้องสมุดคณะ สถาบัน ศูนย์ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการสแกนเอกสาร และจัดส่งให้แก่ผู้ใช้บริการทาง email ซึ่งผู้ใช้บริการจะได้รับเอกสารภายใน 24 ชั่วโมง
  10. เปิดเทอมยืมนาน ให้ยืมหนังสือในช่วงปิดเทอม
  11. Shelf Check ยืมง่ายๆ ได้รางวัล
  12. ตอบคำถามชิงรางวัล e-book / e-magazines
  13. สารสนเทศอาเซียน
  14. Best Seller Zone
  15. มุมคุณธรรม
  16. ยอดนักอ่าน
  17. บริการสนับสนุนการวิจัย เป็นบริการให้ความช่วยเหลือนักวิจัย ได้แก่ การแจ้งข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาใหม่ในฐานข้อมูลที่นักวิจัยใช้เป็นประจำ  บริการตอบคำถามผ่านเว็บไซต์  บริการช่วยตรวจสอบว่ามีบุคคลอื่นนำผลงานทางวิชาการของนักวิจัยไปอ้างอิงหรือไม่ ใครบ้างที่เป็นผู้นำผลงานนั้นไปอ้างอิง จำนวนที่อ้างอิง บริการตอบคำถามและช่วยการสืบค้นสารนิเทศจากฐานข้อมูล
  18. บรรณารักษ์พบนักวิจัย (Liaison Librarians) เป็นกิจกรรมที่บรรณารักษ์พบนักวิจัย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างห้องสมุดกับนักวิจัยโดยสำนักหอสมุด ให้ข้อมูลด้านต่างๆ เป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัย
  19. Service Alerts บริการ แจ้งข้อมูลใหม่สำหรับนักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษาบัณฑิตศึกษาที่กำลังทำผลงานวิจัย นักวิจัยสามารถเลือกประเภทการแจ้งข้อมูลใหม่ตามความสนใจ ได้แก่ Issue Alerts / Favorite Journal , Search Alerts / Favorite topic และ Citation Alerts/Favorite Author ทันทีที่มีวารสารฉบับใหม่ บทความ และผลงานใหม่ หรือ มีผู้อื่นนำผลงานที่ท่านเผยแพร่ไปอ้างอิง  ท่านจะบริการแจ้งข้อมูลใหม่ทันทีผ่านทางอีเมล์
  20. บริการสำหรับนักศึกษากลุ่มพิเศษ ที่เป็นสมาชิกห้องสมุด ได้แก่ บริการหยิบและยืมหนังสือ/วัสดุโสตทัศน์วัสดุจากชั้น บริการยืมเครื่องอ่าน CD / DVD ชนิดพกพา และบริการส่งหนังสือ/โสตทัศนวัสดุที่ยืมไปให้ที่ห้องสมุดคณะ หรือหอพักในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บริการเชิงรุกสู่ห้องเรียน  Class Librarian @ CMU Library
  21. นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระชนมายุ 5 รอบ 60 พรรษา
  22. กิจกรรม “สืบสานศิลปะงานใบตอง สวยดอกล้านนา”
  23. Happy Library ห้องสมุดที่เป็นมากกว่าห้องสมุด
  24. บริจาคโลหิต “Give Blood to Save Life”
  25. กิจกรรมเสริมสร้างค่านิยมหลักของสำนักหอสมุด CMUL Happy Trip Happy Time @Chiangdao
  26. Information Skill and Training ได้แก่ การฝึกอบรมทักษะการสืบค้นสารนิเทศจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้การใช้โปรแกรมการจัดการเอกสาร และการใช้สารนิเทศในรูปแบบต่าง ๆ การศึกษาเรียนรู้การสืบค้นสารนิเทศได้ด้วยตนเอง ผ่านเว็บไซต์ Research Support
    ในการจัดกิจกรรม / โครงการบริการเชิงรุก ของสำนักหอสมุด จะมีการประเมินกิจกรรมและ ความพึงพอใจผ่านระบบ

การให้บริการ CMU WorldShare ILL

 ระบบ WorldCat Discovery  เป็นระบบสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศ ที่ใช้ในห้องสมุดทั่วโลก เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับความสะดวกในการสืบค้นรายการ ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุด (OPAC) และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่สำนักหอสมุด และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาบอกรับ ด้วยการใช้คำค้นเพียงที่เดียว (Single Search) และผู้รับบริการ สามารถสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดสมาชิกทั่วโลกกว่า 72,000 แห่ง ที่ใช้ระบบสืบค้นข้อมูล WorldCat พร้อมทั้งมีบริการ WorldShare ILL เพื่อจัดหาเอกสารจากห้องสมุดทั่วโลก ให้กับผู้ใช้บริการ

ในกรณีที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไม่มีบริการ โดยสำนักหอสมุดจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีกระบวนการในจัดการความรู้ประกอบด้วย

  1. กำหนดความรู้ประเด็นความรู้ โดยสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์สำนักหอสมุดและกลยุทธ์ที่ทบทวนในปีงบประมาณนั้น ๆ และแจ้งชุมชนนักปฏิบัติทราบ (คณะกรรมการจัดการความรู้เป็นผู้รับผิดชอบ)
  2. จัดทำแผนการจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด ดังต่อไปนี้
    2.1 กิจกรรมชุมชนแนวปฏิบัติ เพื่อกำหนดองค์ความรู้ที่ชุมชนแนวปฏิบัติจะดำเนินการจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ ตามที่คณะกรรมการจัดการความรู้กำหนด รวมทั้งกำหนดกิจกรรม เป้าหมายการดำเนินงาน และผลคาดว่าจะได้รับ
    2.2 กิจกรรมพุธสุนทรียเสวนา เพื่อเป็นเวทีในการเติมเต็มความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางาน พัฒนาคน ที่สอดคล้องกับประเด็นความรู้ ตามที่คณะกรรมการการจัดการความรู้กำหนด โดยจัดกิจกรรมทุก 2 เดือน ในช่วงบ่ายของวันพุธ
    2.3  การจัดกิจกรรม KM DAY เพื่อจัดกิจกรรมรายงานผลการจัดการความรู้ในรอบปี และนำเสนอความรู้ที่ได้รับในรูปแบบนิทรรศการ และการจัดเสวนา รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยตลอดจนห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในเชียงใหม่
  1. จัดทำแผนปฏิบัติการการจัดการความรู้ของชุมชนแนวปฏิบัติ โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด 5 กระบวนการในการวางแผนกิจกรรมของชุมชนแนวปฏิบัติ (ชุมชนแนวปฏิบัติเป็นผู้รับผิดชอบ) กิจกรรม ดังนี้
    3.1 การบ่งชี้ความรู้ (กำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นตามประเด็นความรู้ที่กำหนดโดยคณะกรรมการจัดการความรู้)
    3.2 การสร้างและแสวงหาความรู้ (การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า
    3.3 การแบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (กระบวนการหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้)
    3.4 การจัดเก็บความรู้ (การรวบรวมความรู้และจัดเก็บ อย่างเป็นระบบ โดยเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร ( Explicit Knowledge)
    3.5 การเรียนรู้ (การนำความรู้ที่ได้จากการถอดความรู้ไปประยุกต์หรือบูรณาการใช้ในการปฏิบัติงานจริง)
  1. จัดกิจกรรมการจัดการความรู้ตามแผนที่กำหนด มีกิจกรรม 3 รูปแบบ ดังนี้
    4.1 กิจกรรมชุมชนแนวปฏิบัติ  (ชุมชนแนวปฏิบัติเป็นผู้รับผิดชอบ)
    4.2 กิจกรรมพุธสุนทรียเสวนา (คณะกรรมการจัดการความรู้ เป็นผู้รับผิดชอบ)
    4.3  กิจกรรม KM  DAY (คณะทำงานจัดงาน KM DAY เป็นผู้รับผิดชอบ )
  1. ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้ในสำนักหอสมุด มีการรายงานผลการดำเนินงานในที่ประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ทุก 2 เดือน (คณะกรรมการจัดการความรู้ผู้รับผิดชอบ)
  2. สกัดและรวบรวมองค์ความรู้ คณะกรรมการจัดการความรู้และคุณอำนวย (Facilitator) ของแต่ละชุมชนตรวจสอบผลการดำเนินงาน เพื่อสกัดองค์ความรู้จากการกิจกรรมการจัดการความรู้ของชุมชนปฏิบัติ (คณะกรรมการจัดการความรู้ ผู้รับผิดชอบ)
  3. เผยแพร่องค์ความรู้ ตรวจสอบการนำองค์ความรู้เผยแพร่ผ่าน เว็บไซต์สำนักหอสมุด http://kmcorner.lib.cmu.ac.th  คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้และของชุมชนแนวปฏิบัติผู้รับผิดชอบ
  4. ประเมินผลการจัดการความรู้ประจำปี ประเมินผลภาพรวามของกิจกรรมการจัดการความรู้ประจำปี ในด้าน
    8.1 ความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการดำเนินงานการจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด
    8.2 การจัดกิจกรรมพุทธสุนทรียเสวนา
    8.3 การนำความรู้ไปใช้ประโยชน
    8.4 การเผยแพร่ความรู้ผ่าน KM Corner (คณะกรรมการจัดการความรู้ผู้รับผิดชอบ) โดยใช้เครื่องมือ แบบสอบถาม
  5. การพัฒนาการดำเนินงานการจัดการความรู้ในปีต่อไป นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะการจัดการความรู้มาพัฒนา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการความรู้ต่อไป (คณะกรรมการจัดการความรู้เป็นผู้รับผิดชอบ)

การประกันคุณภาพ

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินการประกันคุณภาพตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการเป็นเลิศ (Education Criteria for performance Excellence หรือ EdPEx) และใช้คู่มือที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำเนินการแปล “เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ 2556 -2557”   เป็นคู่มือรายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2557 ประกอบด้วย

โครงร่างองค์กร

หมวด 1 การนำองค์กร

หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์

หมวด 3 การมุ่งเน้นลูกค้าและการตลาด

หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้

หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร

หมวด 6 การจัดการกระบวนการ

หมวด 7 ผลลัพธ์

การตรวจประเมินประจำปีการศึกษา 2557-ปัจจุบัน เป็นการตรวจภาพรวมการดำเนินงานการประกันคุณภาพ

ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การอนุรักษ์พลังงาน

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินการกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงาน ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อดำเนินการรณรงค์การอนุรักษ์การใช้พลังงานภายในอาคารสำนักหอสมุด กระตุ้นการปลูกฝังให้บุคลากรสำนักหอสมุดเกิดจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานทั้งในสถานที่ทำงานที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง
  2. กำหนดมาตรการการประหยัดพลังงานของสำนักหอสมุด
  3. ดำเนินงานกิจกรรมที่ลดร่องรอยคาร์บอน ได้แก่
    3.1 การแยกขยะเพื่อพัฒนาภูมิทัศน์
    3.2 การล้างครีบคอยล์เย็นระบบปรับอากาศ
    3.3 การเปลี่ยนหลอดไฟ LED E27 แทนหลอดไส้และหลอด SL
    3.4 การล้างแผ่นกรองอากาศเพื่ออากาศสดใส
    3.5 การรณรงค์เปิด-ปิดไฟฟ้าแสงสว่าง
    3.6 การรณรงค์การเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ
    3.7 การจัดทำสลิปเงินเดือนอิเล็กทรอนิกส์  โดยขอความร่วมมืองานระบบคอมพิวเตอร์จัดทำโปรแกรมสลิปเงินเดือนผ่านเครือข่ายอินทราเน็ต ที่ระบบ CMUL MIS บุคลากรจะดูสลิปเงินเดือนของตนเองในระบบ และท้ายสลิปเงินเดือนทุกใบจะมีคำคมสะกิดใจ  เพื่อให้บุคลากรได้ตระหนักถึงการใช้พลังงาน ในการดำเนินงานดังกล่าวทำให้สำนักหอสมุดประหยัดงบประมาณการจัดซื้อกระดาษ หมึกพิมพ์ และลดการใช้กระดาษได้จำนวนหนึ่ง อีกทั้งข้อมูลที่จัดเก็บในระบบสามารถเข้าดูและพิมพ์ได้ด้วยตนเองตลอดเวลาเมื่อต้องการใช้งาน
    3. 8 กิจกรรมบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การอนุรักษ์พลังงาน

Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa