ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีการเก็บค่าปรับแก่ผู้ใช้บริการที่ค้างส่งหนังสือเกินกำหนดต่างๆ เพื่อนำส่งกองคลัง และกองคลังได้จัดสรรเป็นทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่อไป
ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ (ซึ่งเป็นกระบวนการที่กระชับมากขึ้น เนื่องจากมีการปรับวิธีการเก็บค่าปรับส่งกองคลัง ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้จาก ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail) ทำให้กระบวนการส่งค่าปรับถึงกองคลัง เหลือเพียง 3 ขั้นตอน ดังนี้
รายงานค่าปรับ
2. เขียนใบเสร็จค่าปรับยอดรวมทั้งหมดของแต่ละวันที่จะส่งค่าปรับ
ใบเสร็จรับเงินค่าปรับ ยอดรวม
3. นำเสนอผู้อำนวยการเพื่อลงนามอนุมัตินำส่งค่าปรับ
เสนอค่าปรับเพื่อส่งต่อกองคลัง
4. นำเงินพร้อมเอกสารที่มีการอนุมัติลงนามพร้อมเงินค่าปรับส่งกองคลัง กองคลังคืนสำเนาเพื่อเก็บเป็นหลักฐานของการส่งเงินค่าปรับในแต่ละครั้ง
เนื่องจากเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ต้องปรับตัว เข้ากับสถานการณ์ในยุค New Normal ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ในการใช้บริการห้อง Study Room โดยยึดหลัก Social Distancing ดังนี้
มีการวางเจลแอลกอฮอล์หน้าห้อง
การจัดเก้าอี้ เว้นระยะห่าง
ผู้เขียน มีหน้าที่ดูแลและอำนวยความสะดวกในการใช้ห้อง Study Room ซึ่งมีจำนวน 10 ห้อง ให้บริการที่ชั้น 4 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีผู้ขอใช้บริการแน่นตลอดทั้งปี ที่ผ่านมามักจะขอใช้เพื่อประชุม ติวหนังสือ ใช้เป็นที่สอบนักศึกษา ในปีนี้ เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้มหาวิทยาลัยปิดทำการชั่วคราว และปรับเป็นการสอนออนไลน์แทนที่
ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงขอความร่วมมือจากศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษาในการเดินสายเน็ตเวิร์คห้อง Study room ให้ แม้ว่าจะมี WiFi ให้บริการแล้วก็ตาม แต่เพื่อความมั่นใจในการสอนออนไลน์ จึงได้เพิ่มสาย LAN เพื่อให้อาจารย์มีความมั่นใจในการสอนออนไลน์แบบไม่สะดุดเพราะสัญญาณอินเทอร์เน็ต และเริ่มเปิดให้บริการเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา มีจำนวนการใช้ห้องเพื่อสอนออนไลน์สูงเป็นอันดับแรก (59 กลุ่ม / 66 คน) เนื่องจากอาจารย์ต้องการความเงียบกว่าห้องพักอาจารย์ที่คณะ และมีความเป็นสัดส่วน เสียงไม่รบกวนกัน ศูนย์บรรณสารสนเทศได้รับเสียงตอบรับในการขอใช้ห้องเพื่อสอนออนไลน์มากขึ้น ทั้งนี้ จะได้พิจารณาการเดินสายเน็ตเวิร์คเพิ่มเติม และอาจจะพิจารณาหาสถานที่เพิ่มเติม
จะเห็นได้ว่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ ต้องมีการปรับตัว ปรับสถานที่ เพื่อให้เอื้อต่อการใช้ประโยชน์มากขึ้น
ให้บริการจองห้อง Study Room เพื่อสอนออนไลน์
Study room ชั้น 4 อาคารบรรณสาร ☎️ 1432 Learning Space ชั้น 1 อาคารบรรณสาร ☎️ 1332 ศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษา อาคารอำนวยการ ☎️ 1114/1149
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีบริการใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้ นักศึกษา สามารถยืมหนังสือกลับไปอ่านในช่วงปิดภาคการศึกษาได้ เนื่องจากโดยปรกติแล้ว ศูนย์บรรณสารสนเทศจะไม่อนุญาตให้ยืมหนังสือ จนกว่านักศึกษาจะมีการลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อเป็นการสนับสนุนการยืมหนังสือและเป็นการส่งเสริมการอ่าน ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้พิจารณาเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ ไม่มีความเสี่ยงในการยืมหนังสือแล้วไม่นำมาคืน เป็นนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป นักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอก Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม การจัดแสดงหนังสือตามวันสำคัญ และจัดแสดงหนังสือร่วมกับคณะวิชาในเทศกาลต่างๆ เพื่อเป็นการแนะนำหนังสือที่มีอยู่ให้ผู้ใช้เข้าถึงได้โดยง่าย เช่น วันแม่ เทศกาลกินเจ วันขงจื่อ หนังสือมุมคุณธรรม มุมหนังสือพุทธทาสภิกขุ มุมหนังสือ สสส. จากการจัดจัดกิจกรรมดังกล่าวมีผู้สนใจยืมหนังสือ จำนวน 200 คน/ 241 เล่ม ซึ่งถือว่าเป็นการบริการเชิงรุกที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนหนังสือสู่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้น
แนะนำหนังสือสาขาวิชาต่างๆ
เทศกาลตรุษจีน
ในการทำรายงาน การเขียนรายงาน การทำวิทยานิพนธ์ การทำวิจัย หรือการเขียนทางวิชาการ ซึ่งจำเป็นต้องมีการอ้างอิงทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ผู้ใช้บริการมีตัวช่วยที่ทำให้การเขียนรายการอ้างอิง ได้ง่ายขึ้น โดยการสืบค้นจากระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นที่ช่วยในการเขียนรายการอ้างอิงที่สะดวก และทำให้ผู้ใช้บริการจัดทำรายการอ้างอิงได้อย่างง่ายๆ โดย Read the rest of this entry »
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มียุทธศาสตร์ในการเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและจีนศึกษา ศูนย์บรรณสารสนเศ ซึ่งเป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย จึงมีหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยมีการให้บริการหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ ชั้น 4
ดังนั้น เพื่อให้หนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่รู้จักและมีการใช้งานมากขึ้น ผู้ปฏิบัติงาน จึงได้จัดมุมหนังสือใหม่ (New Books) ขึ้น ที่บริเวณประตูทางเข้าชั้น 4 ดังปรากฏดังภาพ
โดยการจัดมุมหนังสือแนะนำนั้น จะเลือกหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มีการจัดทำบรรณนิทัศน์ประกอบหนังสือแต่ละเล่มไว้ด้วย เพื่อเป็นการนำเสนอให้ผู้ใช้บริการอ่านเนื้อหาโดยสรุปและพิจารณาที่จะอ่านต่อหรือยืมกลับไปอ่านต่อไป
หนังสือแนะนำดังกล่าว จะมีการประชาสัมพันธ์ขึ้น เฟซบุ๊ค ของศูนย์บรรณสารสนเทศและทางเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศในแต่ละเดือนด้วยเช่นกัน
หากผู้ใช้สนใจต้องการยืม สามารถหยิบไปยืมได้ที่ชั้น 1 ค่ะ
ศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นหน่วยงานสนับสนุนของมหาวิทยาลัยในด้านการเรียน การสอน การค้นคว้า วิจัย โดยเฉพาะทางด้านจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และเมื่อวันที่ 19 – 20 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมาสภาเทคนิคการแพทย์ได้มาทำการตรวจประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรวิทยาศาตร์บัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และรับรองสถาบันการศึกษา รวมทั้งได้ตรวจเยี่ยมชมศูนย์บรรณสารสนเทศ เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน 2560 เวลา 14.00 น. เนื่องจากเกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับศูนย์บรรณสารสนเทศ ในฐานะเป็นห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการเรียน การสอนในหลักสูตรต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน ก็คือ
ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดเตรียมหนังสือของคณะเทคนิคการแพทย์ไว้เพื่อตรวจประเมิน 8 สาขาวิชา ส่วนหนึ่ง ไว้ที่ชั้น 4 ซึ่งเป็นชั้นหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย
ชั้นจัดแสดงหนังสือสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่วนหนึ่ง
พร้อมจัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์บริการต่างๆ ที่สนับสนุนเกณฑ์ในข้อ 1 และ ข้อ 2
บอร์ดข้อมูล นโยบายของศูนย์บรรณสารสนเทศ การเปิดให้บริการ
บอร์ดข้อมูลบริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการสืบค้นข้อมูล การให้บริการสนับสนุนการเรียน การสอน การค้นคว้า การวิจัย
สอนลูกให้เป็นเด็กหัวดีไม่ต้องเครียดไม่ต้องกวดวิชาเคร่งเครียดกับตำราก็สอบเข้าที่ 1 ได้ ใครๆ ก็อยากให้ลูกเป็นคนเก่ง นอกจากจะต้องฉลาดด้วยวิธีที่ทันสมัยและอิงหลักเหตุผลนี้จะทำให้คุณสอนลูกอย่างเข้าใจ ไม่ใช่การใช้ไม้เรียวการดุการสอนอย่างพ่อแม่แต่เป็นการสอนอย่างเข้าใจและเป็นเพื่อนกับเขา Mind Map จะทำให้เด็กๆ โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ หนังสือ “เทคนิคช่วยลูกเรียนเก่งด้วย Mind Map” โดย ครูมายด์ สุดธิดา
สนใจติดตามอ่านได้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หมวดหมู่ WS113 ค167ท 2557 ชั้น 4 ค่ะ
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้ใช้บริการห้องสมุด ทั้งนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอก เข้ามาค้นหาหนังสือ และสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการ ปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้บริการขอความช่วยเหลือหรือคำแนะนำ หรือสอบถามจากบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดประจำชั้น ได้แก่ การหาหนังสือไม่พบ เฉพาะกรณีที่สืบค้นพบรายการหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ แต่เมื่อไปหาหนังสือที่ชั้นหนังสือแล้ว ไม่พบ จากการที่ให้บริการหาหนังสือที่ผู้ใช้หาไม่พบ สามารถสรุปสาเหตุและจัดทำเป็นแนวปฏิบัติวิธีการให้บริการของการหาหนังสือไม่พบ ดังนี้ Read the rest of this entry »