SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
วิธีติดตั้ง Zotero Connector ส่วนขยายเพิ่มเติมบน Browser
พ.ย. 22nd, 2020 by pailin

Zotero Connector คือ extension ที่ติดตั้งบน browser ไว้ใช้ทำงานร่วมกับโปรแกรม Zotero เพื่ออำนวยความสะดวกในการดาวน์โหลดและจัดเก็บไฟล์บทความพร้อมข้อมูลรายการอ้างอิง ในขณะที่ผู้ใช้กำลังสืบค้นข้อมูลและบันทึกไฟล์บทความจากฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ ทั้งนี้ ก่อนจะติดตั้งส่วนขยาย Zotero Connector นี้ ท่านควรมีโปรแกรม Zotero ในเครื่องก่อน สามารถย้อนดูวิธีการติดตั้งโปรแกรม Zotero และ Add-In Zotero ใน Microsoft Word ได้ คลิกที่นี่

 

1. ไปที่ URL www.zotero.org/download คลิก Install Chrome Connector

 

แต่ถ้าจะติดตั้งบน browser รุ่นอื่น ให้คลิกที่ Zotero Connectors for other browsers

แล้วกดเลือก browser ที่ต้องการใช้งาน

 

Read the rest of this entry »

การทำวิจัย
พ.ค. 11th, 2020 by supaporn

จากการฟังสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ดร. ศากุน บุญอิต อาจารย์ประจำสาขาบริหารการปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับโลกหลายฉบับ เรื่องการทำงานวิจัย   โดย ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์  ผ่าน YouTube https://youtu.be/mLu5iing7Tk น่าสนใจทีเดียว ขอสรุปสั้น ๆ ดังนี้

ในแง่ของนักศึกษาระดับปริญญเอก

อาจารย์ ศากุน แชร์ให้ฟังว่า การสอนในระดับปริญญาเอก จะเริ่มต้นด้วยการให้อ่านมาก ๆ ให้ตึกผลึกก่อน แล้วค่อยหาหัวข้อ วิจัย หลังการเรียน course work ควรเป็นเรื่องของการอ่าน ไม่อย่างนั้นจะไม่เป็น high abstract thinking

การทำวิจัย การเรียนปริญญาเอก การตีพิมพ์ คล้าย ๆ กัน คือ เป็นการเดินทาง (journey) ดังนั้น ต้องไม่ท้อใจ ต้องเรียนรู้ว่าเป็น journey พอเป็น journey ก็ต้องพบอะไรต่อมิอะไร แต่อย่าเพิ่งท้อใจ และเลิกไป จะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ไปทำงาน ไปสอน ก็ไม่จบ ต้องไปทางหลักจึงจะถึงจุดหมาย

ในแง่ของอาจารย์

การเป็นอาจารย์มีหน้าหลัก ๆ 3 อย่าง คือ สอน ทำวิจัย และบริการวิชาการ ซึ่ง 3 อย่างนี้เลือกไม่ได้ ต้องทำทุกอย่าง ครู กับ อาจารย์ นักวิชาการ ความหมายต่างกัน ครู หน้าที่หลัก คือ ทำหน้าที่สอน แต่พอเป็นอาจารย์และนักวิชาการ หน้าที่หลักมี 3 อย่าง ตามที่บอก วิจัย คือ 1 ในนั้น ดังนั้น อาชีพอาจารย์ การทำวิจัยไม่ใช่ทางเลือก แต่ต้องทำ ถึงต้องมีเกณฑ์ว่า เท่านั้น ปี ต้องตีพิมพ์ แล้วถึงต่อสัญญา ซึ่ง จริง ๆ ก็ถูก เพราะเป็นพันธกิจของอาจารย์ที่ต้องทำ ถ้าวิจัยในอาชีพอาจารย์ เป็น A Must ก็ต้องแบ่งเวลามาทำ ถ้าทำวิจัยวันละ 2 ชม. มี paper ออกมาแน่นอน ปัญหาหลัก คือ ไม่ทำมากกว่า เพราะมีทางเลือก จึงไม่ทำ ต้องเริ่มที่ mindset ว่า วิจัย เป็น A Must ที่ต้องทำ ไม่ใช่ทางเลือก เหมือนกับเป็นอาจารย์ ก็ต้องไปสอน

การทำวิจัยให้คิด 3 เรื่อง

1. โจทย์วิจัยมีความสำคัญหรือไม่ สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎี และเชิงปฏิบัติ

2. กระบวนการทำวิจัย เข้มข้น เข้มแข็งพอหรือไม่ มีความชัดเจน หรือไม่

3. ผลที่ได้น่าเชื่อถือ กับโจทย์ที่ตั้งมาหรือต้องการวัดหรือไม่

อ้างอิง

ศากุน บุญอิต. (2563, พฤษภาคม 10) การทำวิจัย. [Video file). สืบค้นจาก https://youtu.be/mLu5iing7Tk

การติดตั้ง Add-In Zotero ใน Microsoft Word
เม.ย. 25th, 2020 by pailin

Zotero เป็น software ประเภท open source สาหรับช่วยบริหารจัดการข้อมูลรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง หรือที่เรียกกันว่า Reference management และมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างรูปแบบการเขียนอ้างอิงได้หลายรูปแบบ ซึ่ง Zotero สามารถทำงานร่วมกับ Microsoft Word ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ใช้งานสามารถส่งรายการบรรณานุกรมที่เก็บรวบรวมไว้ใน Zotero เข้ามาแทรกตามตำแหน่งต่างๆ ในเอกสาร word ได้สะดวก ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องติดตั้ง Add-In ใน tool ของ Microsoft Word เพิ่มเติม โดยผู้เขียน ขอแบ่งการนำเสนอเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม Zotero  ส่วนที่ 2 การนำรายการทางบรรณานุกรมที่มีการดาวน์โหลดจากฐานข้อมูลหรือระบบที่ให้บริการจัดทำรูปแบบการอ้างอิงออกมา ส่วนที่ 3 การนำข้อมูลทางบรรณานุกรมที่นำออกจากฐานข้อมูล/ระบบห้องสมุด เข้าโปรแกรม Zotero และส่วนที่ 4 กล่าวถึงการ add-in โปรแกรม Zotero กับ Microsoft Word ต่อไป

ส่วนที่ 1 การติดตั้งโปรแกรม Zotero ในคอมพิวเตอร์

1. ดาวน์โหลดโปรแกรม Zotero จากเว็บไซต์ เนื่องจากเป็น open source จึงสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ https://www.zotero.org/download โดยให้เลือกเวอร์ชั่นให้ตรงกับ OS ที่ใช้งานอยู่ ว่าเป็น Windows / macOS / Linux

Read the rest of this entry »

การจัดการบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม Mendeley
มิ.ย. 27th, 2019 by Natchaya

Mendeley เป็นโปรแกรม Freeware ที่ผลิตขึ้นโดย Elsevier เป็นเครื่องมือจัดการบรรณานุกรมที่สามารถจัดเก็บและจัดการรายการบรรณานุกรม ทำรายการอ้างอิงในเนื้อหาและทำรายการบรรณานุกรมในรูปแบบที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย

ข้อดีของ Mendeley

  1. ใช้งานได้ทั้งบน Desktop และผ่าน Web
  2. รองรับการทำงานบน Windows, Mac และ Linux
  3. ใช้งานบน Smartphone ได้ ทั้งระบบ IOS และ Android
  4. ให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลฟรี ได้ถึง 2 GB
  5. รองรับไฟล์เอกสารมากถึง 20 รูปแบบ
  6. รูปแบบอ้างอิงในระบบพร้อมติดตั้ง 16 รูปแบบ และสามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้มากกว่า 8,000 รูปแบบ
  7. Import ข้อมูลได้หลายรูปแบบ จากฐานข้อมูลที่สำคัญทั้งหมด
  8. Export ข้อมูลเป็นไฟล์ BibTeX, RIS, EndNote, XML
  9. ใช้งานได้ฟรี

Read the rest of this entry »

เขียนผลงานวิชาการอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism)
ม.ค. 3rd, 2019 by supaporn

รองศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา ได้บรรยาย เรื่อง เขียนผลงานวิชาการอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism) โดยคณะนิติศาสตร์ และ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรมนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับคณาจารย์ นักวิจัย และผู้มาประชุมเครือข่ายประกันคุณภาพ 6 สถาบัน ที่มาร่วมประชุมวันที่ 24 ธันวาคม 2561 ณ ห้องสื่อประสม (ห้องบรรยายพิเศษ 2) อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

เขียนผลงานวิชาการอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism)

โดยสรุปจากการฟังและจากเอกสารประกอบการบรรยาย ได้ดังนี้

วิทยากรแบ่งการบรรยายออกเป็น 3 ภาค คือ

ภาค 1 เรียนรู้จากข่าว โดยนำกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่เป็นข่าวเกิดขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างสะท้อนให้เห็นความหมายของการลักลอกผลงาน ให้ชัดเจนขึ้น และให้เป็นข้อสังเกตว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของใครก็ตาม ต้องพิจารณาว่า ผลงานนั้นๆ มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ตัวอย่างที่ยกมานั้น มีทั้งกรณีที่เป็นนักศึกษา อาจารย์ และประชาชนทั่วไป ที่มีการคัดลอกผลงานทางวิชาการของคนอื่นมาเขียน ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา และมีการตรวจสอบได้ รวมทั้งวิธีการพิจารณาของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง เช่น มีทั้งการเพิกถอนปริญญา หรือบางกรณีเจ้าของผลงานไม่ติดใจ แต่ให้มหาวิทยาลัยดำเนินการตามมาตรการของมหาวิทยาลัยเอง ความเคลื่อนไหว และบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในการให้นิสิต นักศึกษา พ้นสภาพความเป็นนักศึกษาทันที หาพบว่ามีการจ้าง หรือคัดลอกวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในการพยายามหาเครื่องมือมาตรวจสอบการลอกเลียนทางวรรณกรรม Read the rest of this entry »

รายการอ้างอิงง่ายๆ ด้วยระบบ WMS
มิ.ย. 7th, 2018 by somsri

ในการทำรายงาน การเขียนรายงาน การทำวิทยานิพนธ์ การทำวิจัย หรือการเขียนทางวิชาการ ซึ่งจำเป็นต้องมีการอ้างอิงทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ  ผู้ใช้บริการมีตัวช่วยที่ทำให้การเขียนรายการอ้างอิง ได้ง่ายขึ้น โดยการสืบค้นจากระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นที่ช่วยในการเขียนรายการอ้างอิงที่สะดวก และทำให้ผู้ใช้บริการจัดทำรายการอ้างอิงได้อย่างง่ายๆ โดย Read the rest of this entry »

การใช้ Mendeley ช่วยทำงานวิจัย
มี.ค. 23rd, 2018 by pailin

Mendeley (www.mendeley.com) เป็นเครื่องมือออนไลน์จาก ELSEVIER ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนนักวิจัยในการทำวิจัย ช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการต่างๆ ของการทำวิจัย โดยเปิดให้ทุกท่านใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้

1. การสมัครสมาชิก 2. การใช้งานเครื่องมือช่วยทำวิจัย 3. การสืบค้นเอกสาร

Read the rest of this entry »

เครื่องมือช่วยค้นหาวารสารที่เหมาะสมในการเผยแพร่บทความและงานวิจัย
มิ.ย. 25th, 2017 by pailin

หนึ่งในกระบวนการสร้างสรรค์งานวิจัยนั้น ต้องมีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่บทความงานวิจัยออกสู่สาธารณชน ผ่านวารสารทางวิชาการที่มีอยู่มากมาย ดังนั้น ในการพิจารณาเลือกวารสารที่จะใช้เผยแพร่บทความของนักวิจัยนั้น จึงมีความสำคัญมาก เพราะ มีส่วนช่วยให้บทความนั้นถูกค้นพบ นำไปใช้ และอ้างถึง  ช่วยส่งเสริมในการประเมินคุณค่างานวิจัยชิ้นนั้น และเพิ่มอันดับให้นักวิจัยได้ด้วยเช่นกัน

ด้วยความจำเป็นดังกล่าว ทางสำนักพิมพ์ Elsevier จึงได้พัฒนาเครื่องมือ Elsevier Journal Finder ไว้อำนวยความสะดวกให้กับนักวิจัย ในการค้นหาวารสาร เปรียบเทียบข้อมูล พร้อมทั้งประเมินความเหมาะสมในการเผยแพร่บทความ โดยใช้เทคโนโลยีการค้นหาอัจฉริยะและคำศัพท์เฉพาะเจาะจงในการวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสม เพื่อหาวารสารในเครือ Elsevier ที่ตรงกับลักษณะบทความของคุณมากที่สุด มีขั้นตอนการใช้งาน ดังนี้

  1.  เข้าไปที่เพจ Elsevier Journal Finder  (http://journalfinder.elsevier.com)
  2.  แปะบทคัดย่อลงในช่อง Paper abstract
  3.  เลือกหมวดหมู่เนื้อหาที่ต้องการจะเผยแพร่บทความ โดยเลือกได้ไม่เกิน 3 หมวด
  4.  พิจารณาเลือกวารสารที่เหมาะสม จากการเปรียบเทียบข้อมูลสำคัญ โอกาสที่จะได้รับการตอบรับ และประเมินความเหมาะสม
  5.  ศึกษา ข้อมูล ข้อกำหนด ค่าใช้จ่าย ระยะเวลา สิ่งที่จำเป็น ในการส่งบทความให้บรรณาธิการของวารสารฉบับนั้นพิจารณา
  6.  ในเครือ Elsevier นักวิจัยสามารถส่งบทความออนไลน์ ได้ที่เมนู Submit Your Paper ในหน้าเพจของวารสาร

โดยมีรายละเอียดการใช้งาน ดังรูป Read the rest of this entry »

การใช้ประโยชน์จาก IEEE Xplore และการตีพิมพ์บทความกับ IEEE
มิ.ย. 13th, 2017 by pailin

Introduction to IEEE & IEEE Xplore

IEEE เป็นองค์กรที่มีบทบาทในวงการค้นคว้าและงานวิจัยมายาวนาน โดยดำเนินกิจการใน 4 กิจกรรมหลัก ดังนี้

  • Membership organization
  • Conferences organizer
  • Standards developer
  • Publisher of journals, conferences, standards, e-books and e-learning

Read the rest of this entry »

คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย
เม.ย. 16th, 2017 by supaporn

จากการบรรยายของ ศาสตราจารย์ ดร. อังศุมาลย์ จันทราปัตย์ หัวหน้าคณะผู้จัดทำจรรยาวิชาชีพและแนวทางปฏิบัติให้กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2560 ณ ห้องบรรยาย 3 อาคารอำนวยการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอสรุปส่วนหนึ่งของการบรรยาย ที่เกี่ยวกับการจัดทำผลงาน การเผยแพร่ผลงานวิจัย ขอนำมาสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อให้อยู่ในกรอบของการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย จากเอกสารประกอบการประชุมเชิงวิชาการ ของสำนักพัฒนาวิชาการ ดังนี้

การเผยแพร่ผลงานวิจัย

  • หากไม่จำเป็นไม่ควรเสนอผลงานที่ยังไม่สมบูรณ์ (Premature) หรือยังไม่ได้รับการประเมินออกสู่สังคม
  • ต้องให้เกียรติและอ้างถึงนักวิชาการ/แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้
  • ระบุและลำดับชื่อผู้นิพนธ์อย่างถูกต้องเป็นธรรม
  • ขอบคุณบุคคล คณะบุคคล และองค์กรที่สนับสนุนงานวิจัยในกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)
  • นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรม
  • แสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการนำเสนอผลงานวิจัยสู่สาธารณะ
  • ไม่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่องเดียวกันซ้ำซ้อนหรือมากกว่า 1 แห่ง (Dual or duplicate publication)
  • ตีพิมพ์ผลงานมากกว่าหนึ่งภาษาได้ หากวารสารที่จะตีพิมพ์มีนโยบายรองรับ แต่ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบล่วงหน้าด้วย
  • ส่งเรื่องเต็มของบทคัดย่อ (Abstract) ที่ตีพิมพ์ใน Proceedings ไปให้วารสารวิชาการพิจารณาได้ แต่ควรให้บรรณาธิการวารสารนั้นทราบและยินยอมก่อน
  • ไม่แบ่งย่อยผลงานวิจัยเป็นหลายเรื่องเกินความเหมาะสม เพื่อเพิ่มจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ (Salami publication or Balogna) เพราะอาจลดคุณค่าของงานได้ (แต่อาจจกระทำได้ หากบทความเหล่านั้น มีเนื้อหาเหมือนกันไม่เกินร้อยละสิบ และต้องไม่ใช้ตารางหรือภาพประกอบเดียวกัน และให้บรรณาธิการวารสารที่ส่งเรื่องไปตีพิมพ์ทราบและยินยอมด้วย)
  • การให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยแก่ผู้สนใจและร้องขอ ควรเป็นไปตามเงื่อนไขหรือได้รับความเห็นชอบตากต้นสังกัดว่าด้วยจริยธรรมที่ครอบคลุมข้อมูล วัสดุและทรัพย์สินทางปัญญาด้วย

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa