SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเข้าร่วมงาน Libraries at the Crossroads “Tracking Digital Footprints: Recognizing and Predicting User Behavior”
กุมภาพันธ์ 13th, 2017 by supaporn

ผู้เขียนได้เข้าร่วมการประชุม Asia Pacific Regional Council Meeting 2016 หรือ APRC Meeting 2016 ภายใต้หัวข้อ เรื่อง Libraries at the Crossroads  “Tracking Digital Footprints: Recognizing and Predicting User Behavior”  และศึกษาดูงาน ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน และ 1-2 ธันวาคม พ.ศ. 2559 รวมระยะเวลา 3 วัน ณ Habour Grand Hotel เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดโดย  Asia Pacific Regional Council (APRC)  ร่วมกับ The University of Hong Kong Libraries โดยในการประชุมดังกล่าว มีตัวแทนจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาจากประเทศไทย ได่แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รวมทั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย

ทีมจากประเทศไทยถ่ายภาพกับผู้บริหาร OCLC

ทีมจากประเทศไทยถ่ายภาพกับผู้บริหาร OCLC

การประชุมและศึกษาดูงาน สามารถสรุปประเด็นที่น่าสนใจได้ดังนี้

  • Libraries at the Crossroads โดย Skip Richard  ประธานและ CEO ของ OCLC สรุปว่า  ขณะนี้ห้องสมุดได้เดินทางมาถึงทางแยก และจำเป็นต้องตัดสินใจว่าจะเดินต่อไปในเส้นทางใด ดังนั้น ห้องสมุดจำเป็นต้องปรับบทบาทโดยการคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ ในการจัดหาองค์ความรู้ อำนวยความสะดวกในการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ และจัดหาพื้นที่ให้
  • Peer-to-Peer Teaching & Learning โดย Professor Ping-Cheng Yeh, Associate Professor at the Department of Electrical Engineering, National Taiwan University กล่าวว่า ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเอง จาก lecture เป็น facilitator เนื่องจากผู้เรียนเปลี่ยนไป ต้องมีการสร้างแรงจูงใจ มีการกระตุ้นผ่านการใช้เกมส์ การประกวด การแข่งขันในระหว่างกลุ่มเรียน การใช้ MOOCs รวมทั้งการมีการเรียนการสอนแบบ Flipped Classroom
  • Integrating Libraries into ‘Always on’ Lives of Our Users
    ในความเป็นปัจจุบันที่ ‘always on, always connected’ ผู้รับบริการมีความต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบริการและใช้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด คำถามที่ว่า How do we configure the physical space when users are relying more on electronic collections but space is in greater demand than ever?  จึงเป็นความท้าทายใหม่ของห้องสมุด ในหัวข้อนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยห้องสมุดมหาวิทยาลัย ได้แก่
  1.   Anne Horn จาก University of Sheffield ได้พูดถึงความร่วมมือระหว่างห้องสมุด 3 แห่งใน
    สหราชอาณาจักร คือ White Rose Libraries (https://www.whiterose.ac.uk/) เป็นความร่วมมือระหว่างห้องสมุด  Universities of Leeds, Sheffield and York
  2. Shirley Chiu-wing Wong จาก The Hong Kong Polytechnic University ที่มีสัดส่วนทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าสิ่งพิมพ์ นโยบายและงบประมาณการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มีมากกว่าในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ ห้องสมุดมีการปรับพื้นที่การให้บริการใหม่ การจัดสัดส่วนของพื้นที่การเก็บสิ่งพิมพ์ การจัดการวารสารฉบับพิมพ์ มีความร่วมมือในเครือข่าย JULAC Libraries (Joint University Libraries Advisory Committee- http://www.julac.org/)  ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 8 แห่ง ได้แก่ The Chinese University of Hong Kong,  City University of Hong Kong, The Education University of Hong Kong, Hong Kong Baptist University, The Hong Kong Polytechnic University, The Hong Kong University of Science and Technology, Lingnan University และ The University of Hong Kong มีความตกลงในเรื่องการเก็บวารสารฉบับพิมพ์  เพื่อเก็บไว้เพียงฉบับเดียว นอกจากนี้ ยังมี Hong Kong Academic Library Link (HKALL) เป็นเครือข่ายความร่วมมือที่สามารถให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดที่ผู้รับบริการสามารถจัดการได้เองโดยแทบจะต้องอาศัยบุคลากรของห้องสมุด รวมทั้งเป็น Union Catalog อีกด้วย
  3. Dr. Jim Hok-yan Chang (Hong Kong Central Library) นำหัวข้อ Library at Your Fingertips ที่ได้รางวัล Best Lifestyle (Learning & Living) Gold Award ในงาน Hong Kong ICT Awards 2015 และ  Merit Award (Government and Public Sector) ในงาน Asia Pacific Information and Communication Technology Alliance (APICTA) Awards 2015 มาเล่าให้ฟัง โดยที่คนหนุ่มสาวมีชีวิตเป็น ‘Smombie’ (มาจากคำว่า Smartphone และ Zombie) จึงทำ applications  “My Library” และ “Multimedia Information” ให้ผู้รับบริการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศและบริการต่างๆ ของห้องสมุดผ่านทางโทรศัพท์มือถือ (ติดตาม apps ได้ที่ https://www.hkpl.gov.hk/tc/e-resources/index.html และ https://mmis.hkpl.gov.hk/)
  4. Greg Morgan (Manager Digital and Service Development Auckland Libraries) ได้พูดถึงการพัฒนา applications (http://www.aucklandlibraries.govt.nz/EN/About/App/Pages/app.aspx) เพื่อให้ผู้รับบริการของ Auckland Libraries ซึ่งเป็นเครือข่ายห้องสมุดประชาชนที่มีขนาดใหญ่ (ให้บริการประชาชน 1.57 ล้านคน) และมีการพัฒนาการให้บริการโดยการวิเคราะห์การใช้ ความพึงพอใจ และการวิจัยกลุ่มเป้าหมาย

ในวันที่สองของการประชุม ประกอบด้วยหัวข้อ Learning Services as a Predictor of Student Retention และ Learning About Out Users Through the Visitors & Residents Framework: Mapping Engagement with Technology จะเน้นเรื่องการศึกษา การวิจัย ผู้รับบริการ การใช้ห้องสมุด สถานภาพในมหาวิทยาลัย เพื่อจะได้ข้อมูลที่ผู้รับบริการมีความเกี่ยวข้องหรือมีกิจกรรมอะไร ใช้บริการอย่างไร  ผ่านเทคโนโลยีประเภทใด เพื่อนำมาออกแบบการให้บริการที่บูรณาการอย่างเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของผู้รับบริการในยุคปัจจุบันต่อไป

นอกจากนี้ มีการทัศนศึกษาห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวน 3 แห่งได้แก่

  1. The University of Hong Kong Libraries (http://lib.hku.hk/index.html)
  2. Hong Kong Central Library (https://www.hkpl.gov.hk/en/hkcl/home/index.html)
  3. The Hong Kong Polytechnic University Pao Yue-Kong Library (https://www.lib.polyu.edu.hk/)

ห้องสมุดทั้ง 3 แห่ง มีระบบห้องสมุด อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยทัดเทียมกัน ขอนำเสนอด้วยภาพในจุดหรือประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

The University of Hong Kong Libraries ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1912 เป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในฮ่องกง ประกอบด้วยห้องสมุดกลางและสาขาอีก 6 แห่ง มีจำนวนสิ่งพิมพ์มากกว่า 3 ล้านรายการและทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก

โต๊ะศึกษาเดี่ยวที่ใช้การ์ดควบคุมการปิดเปิดไฟ ลิ้นชัก และบันทึกการใช้

โต๊ะศึกษาเดี่ยวที่ใช้การ์ดควบคุมการปิดเปิดไฟ ลิ้นชัก และบันทึกการใช้

 

การใช้ห้องสัมมนาและโต๊ะศึกษาเดี่ยวที่ใช้การ์ดเป็นตัวควบคุมและบันทึกการเข้าใช้

การใช้ห้องสัมมนาและโต๊ะศึกษาเดี่ยวที่ใช้การ์ดเป็นตัวควบคุมและบันทึกการเข้าใช้

Hong Kong Central Library  เป็นห้องสมุดประชาชน ตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2001 นับว่าเป็น

ห้องสมุดประชาชนที่ใหญ่ที่สุดในฮ่องกง ในด้านพื้นที่ให้บริการ ขนาดของ collection และการให้บริการต่างๆ มีจำนวนผู้รับบริการและอัตราการยืมหนังสือสูงมากในฮ่องกง

หน้า Hong Kong Central Library

หน้า Hong Kong Central Library

HK5

ห้องสมุดแห่งนี้ ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพ แต่มอบเอกสารเกี่ยวกับห้องสมุดเป็นจำนวนมากเพื่อให้ศึกษาในภายหลัง เป็นห้องสมุดประชาชนที่มีกิจกรรมจำนวนมาก มีผู้รับบริการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ มากมาย ตั้งแต่วัยเด็ก ถึงผู้สูงอายุ โดยเฉพาะวัยเด็ก จะมีการจัดพื้นที่ในห้องสมุดเป็นเสมือนสนามเด็กเล่น มีของเล่นตามพัฒนาการของเด็ก ผู้ปกครองอยู่เล่นและอยู่ดูแลกับเด็กๆ รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่แนะนำหรือสอนเพื่อให้เกิดพัฒนาการ และเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก

The Hong Kong Polytechnic University Pao Yue-Kong Library ตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1972 สำหรับนักศึกษาของ Hong Kong Polytechnic และในปี ค.ศ. 1976 มีการรวมห้องสมุด 2 แห่งเข้าด้วยกัน และมีการเปลี่ยนชื่อใหม่ในปี ค.ศ. 1995 เพื่อเป็นเกียรติแก่ Sir Yue-Kong Pao ที่บริจาคให้กับห้องสมุด

หน้าอาคาร The Hong Kong Polytechnic University Pao Yue-Kong Library

หน้าอาคาร The Hong Kong Polytechnic University Pao Yue-Kong Library

ห้องสมุดแห่งนี้ จัดหา 3D Printing เพื่อให้บริการแก่นักศึกษา ซึ่งมีจำนวนผู้รับบริการจำนวนมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าร้านค้าภายนอก

3D Printing ที่ให้บริการ

3D Printing ที่ให้บริการ

วัสดุที่ออกจากเครื่อง 3D Printing

วัสดุที่ออกจากเครื่อง 3D Printing


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa