ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบรรยากาศภายในอาคารให้เกิดความรู้สึกสบาย ผ่อนคลายมากขึ้น และพยายามสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการ เห็นหนังสือที่น่าสนใจ ที่เข้ามาใหม่ๆ อยู่เสมอ ๆ โดยการทำกิจกรรม Link หนังสือโดนใจ เพื่อติด QR Code แนะนำหนังสือตามชั้นหนังสือ แต่ได้เพิ่มความน่าสนใจ สะดุดตา โดยการนำเหล็กกั้นที่ชั้นหนังสือ มาทดลองดัดแปลงเพื่อให้เกิดประโยชน์ จากเหล็กกั้นหนังสือธรรมดา สามารถนำมาเป็นที่จัดแสดงหนังสือในมุมมองที่แปลกตาขึ้นจากเดิม โดยการปรับเปลี่ยน ดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ ก็จะได้รูปลักษณ์ใหม่ๆ ที่ดูน่าสนใจมากขึ้น
ขั้นตอนการดัดเหล็กกั้นหนังสือ มีดังนี้
1. จากเหล็กกั้นหนังสือแบบดั้งเดิม ดังภาพ
Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงาน Chula UltimateX Library ณ อาคารจามจุรี 10 ภายใต้การบริหารของสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 13.30-16.00 น. ซึ่งเป็นต้นแบบห้องสมุดแบบ Unmanned Library โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม และทีมงาน เป็นผู้บรรยาย
สำนักงานวิทยทรัพยากร เปิดตัว Chula UltimateX Library ห้องสมุดที่ให้บริการในรูปแบบ Unmanned Library แห่งแรกของประเทศไทย ณ บริเวณชั้น 2 และชั้น M2 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) เปิดให้บริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 – 19.00 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 18.00 น. และช่วงการสอบจะขยายเวลาจนถึง 21.00 น. ทุกวันจันทร์ – วันอาทิตย์ Read the rest of this entry »
ห้องสมุดแต่ละแห่ง มักจะมีหนังสือที่มีหลาย ๆ ขนาด และมักจะมีหนังสือขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าปรกติ ทั้งนี้ การจัดหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าหนังสือทั่วไป รวมกับหนังสือทั่วไป ก็ย่อมทำได้ และห้องสมุดส่วนใหญ่ก็มักจะจัดรวมกัน แต่การแยกหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าปรกติ ออกจากชั้นหนังสือทั่วไป แยกออกมาเป็นมุมหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือ Oversize ก็จะทำให้การจัดชั้นหนังสือทั่วไปมีขนาดเท่า ๆ กัน ความกว้างของชั้นหนังสือ หรือความสูงของชั้นหนังสือเท่ากัน แลดูเป็นระเบียบ และเจ้าหน้าที่ ผู้จัดชั้นหนังสือก็ไม่ต้องขยับหรือขยายความกว้างของหนังสือบ่อย ๆ ถ้าต้องพบกับหนังสือที่มีความใหญ่หรือสูงหรือกว้างกว่าความสูงของชั้นหนังสือโดยทั่วไป
ตัวอย่างภาพหนังสือที่มีหลากหลายขนาดจัดรวมอยู่ด้วยกัน
ภาพที่ 1 หนังสือทุกขนาดจัดรวอยู่ในชั้นหนังสือเดียวกัน
การเปรียบเทียบกับหนังสือที่มีขนาดปกติให้เห็นความแตกต่างด้านความสูงของหนังสือ ดังภาพที่ 2 Read the rest of this entry »
QR Code Link หนังสือโดนใจ เป็นอีกหนึ่งบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่เข้ากับยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากมายในชีวิตประจำวัน เมื่อพูดถึง QR Code คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะปัจจุบันนี้เมื่อเดินไปที่ไหน ๆ มักจะเห็นกันแทบทุก ๆ พื้นที่รอบ ๆ ตัวเรา อย่างเช่น ตามป้ายโฆษณา ร้านค้า ธนาคาร แม้แต่การอบรม สัมมนา ฯลฯ การใช้ QR code เป็นสีสันของการประชาสัมพันธ์ หรือการให้ข้อมูลที่สะดวกมากขึ้น ให้เข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลได้ทันที ที่ สแกน QR code
ศูนย์บรรณสารสนเทศเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการนำ QR Code มาใช้กับหนังสือ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ เช่น แนะนำเรื่องย่อของหนังสือแต่ละเล่ม เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจในการเลือกหยิบหนังสือเล่มนั้น ๆ มายืมเพื่อกลับไปอ่านที่บ้าน
ขั้นตอนการทำ QR Code มีดังนี้
1.ค้นหาหนังสือจากศูนย์บรรณสารสนเทศที่น่าสนใจ
2. นำรายชื่อหนังสือที่ต้องการค้นหา มาสืบค้นเพื่อหาลิงค์ นำมาทำ QR Code ส่วนใหญ่แหล่งข้อมูลที่ได้มาจากเว็บไซต์ หรือบทคัดย่อที่ได้จากเว็บไซต์ของร้านหนังสือ เช่น SE-ED , B2S หรือ นายอินทร์ Read the rest of this entry »
TOEIC , TOEFL and HSK เพื่อน้องๆ
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแนะนำมุมหนังสือที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง คือ มุมหนังสือที่เป็นคู่มือการสอบภาษาต่างประเทศ ของภาษาอังกฤษ ภาษาจีน คือ TOEIC , TOEFL และ HSK ไว้ให้บริการเป็นการเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการหาคู่มือเพื่ออ่านเตรียมสอบภาษาต่างประเทศ โดยได้จัดหนังสือพร้อมมีที่นั่งอ่านแบบสบายๆ แถมชมวิวทิวทัศน์ที่เป็นธรรมชาติและเน้นความเป็นส่วนตัว ไว้ให้บริการที่ชั้น 3 อาคารบรรณสาร บริเวณชั้น 3
หลายคนคงมีคำถามในใจว่า TOEIC , TOEFL และ HSK คืออะไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน เพราะในการประกาศรับสมัครงานบางแห่งมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีผลสอบ TOEIC , TOEFL ประกอบการสมัครงานด้วย เรามาทำความรู้จักคำย่อนี้กันค่ะ Read the rest of this entry »
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เปิดให้บริการ ตั้งแต่ 08.00 – 21.00 น. และช่วงสอบปลายภาค เปิดให้บริการ ถึง 24.00 น. ในอนาคตหอสมุดจะเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
การให้บริการยืม-คืนหนังสือของมหาวิทยาลัยมหิดล
เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดล มีหลายวิทยาเขต หากจะยืมหนังสือจากหอสมุดฯ สามารถแจ้งขอรับบริการได้ที่เคาน์เตอร์ฯ ของห้องสมุดเครือข่าย หรือส่งคำขอใช้บริการออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของหอสมุดฯ โดยระบุชื่อหอสมุดที่สะดวกในการรับหนังสือที่จะยืมหรือส่งคืน โดยหอสมุดกลาง มีบริการรถรับ-ส่งหนังสือเป็นประจำทุกวัน ผู้ใช้บริการสามารถยืมหนังสือจากที่ไหนก็ได้ สะดวกที่ไหนก็ยืมหนังสือได้ที่นั่นเลย โดยไม่เสียค่าบริการใดๆ
การให้บริการตอบคำถามออนไลน์
อีกหนึ่งบริการที่น่าสนใจของทางหอสมุดฯ คือ มีนักประชาสัมพันธ์ คอยตอบคำถามต่างๆ ทางออนไลน์ ที่เว็บไซต์ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา www.li.mahidol.ac.th Read the rest of this entry »
บุคลากรจากแผนบริการสารสนเทศในแต่ละชั้น มีหน้าที่ในการรับหนังสือใหม่ที่ผ่านการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศแล้ว เพื่อนำให้บริการต่อไป แต่ก่อนที่จะนำขึ้นให้บริการนั้น แผนกบริการสารสนเทศ จะมีการถูกสอบความถูกต้องของหนังสือ เช่น เลขเรียกหนังสือที่อาจจะผิดพลาดได้ กล่าวคือ สันหนังสืออาจจะมีเลขเรียกหนังสือต่างจากที่บันทึกในระบบห้องสมุด
แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีขั้นตอนในการตรวจสอบ ดังนี้
1.หนังสือที่ผ่านการ Catalog จากแผนกวิเคราะห์ฯ เรียบร้อยแล้ว หนังสือจะถูกส่งมายังแผนกบริการสารสนเทศ เพื่อขึ้นชั้นให้บริการ พร้อมแบบฟอร์มการส่งหนังสือ ดังภาพ
2.เมื่อตรวจเช็คจำนวนหนังสือแล้ว จึงนำตัวเล่มหนังสือนั้นๆ มาตรวจสอบความถูกต้องในระบบห้องสมุด WMS หรือ WorldShare Management Services ก่อนนำขึ้นชั้นหนังสือต่อไป
วิธีการตรวจสอบความถูกต้องในระบบ WMS Read the rest of this entry »
การซ่อมหนังสือ เป็นการบำรุงรักษาหนังสือของห้องสมุด หนังสือที่ผ่านการหยิบใช้งานบ่อยๆ อาจมีชำรุด เช่น สันหนังสือ ปกหนังสือ หรือ หน้าหนังสือ หลุดออกจากตัวเล่ม ตัวอย่างหนังสือที่ชำรุด ดังภาพ
เมื่อผู้ดูแลความเรียบร้อยประจำพื้นที่ พบหนังสือชำรุด จะเก็บหนังสือเล่มนั้นๆ มาเพื่อซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพปกติ เพื่อพร้อมที่จะนำออกให้บริการต่อไปจึงต้องมีการ เปลี่ยน Status ของหนังสือ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบว่าหนังสือเล่มนั้นๆ ยังไม่พร้อมให้บริการ โดยจะปรากฏ ที่หน้าจอ การสืบค้น ดังนี้ “Repair Room”
เมื่อหนังสือได้รับการซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องเปลี่ยน Status เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่าหนังสือเล่มนั้นๆ พร้อมให้บริการแล้ว โดยจะปรากฏ ที่หน้าจอ การสืบค้น ดังนี้ “Available”
หนังสือ เป็นทรัพยากรสารเทศหลักที่มีอยู่ในห้องสมุด จึงต้องมีการจัดเก็บให้ตรงตามหมวดหมู่และตำแหน่งที่ถูกต้อง ตามหลักการของการจัดหมวดหมู่เนื้อหาของหนังสือ เพื่อให้สะดวกแก่การค้นหาของผู้ใช้บริการ
การที่ต้องมีการจัดเรียงหนังสือให้ถูกต้องตามหมวดหมู่นั้น เนื่องจากมีหนังสือเข้ามาในส่วนของงานบริการเพื่อให้บริการผู้ใช้อยู่เสมอและอย่างต่อเนื่อง และผู้ใช้มีการหยิบหนังสือออกจากชั้นหนังสือ เพื่ออ่านในห้องสมุด หรือยืมออกจากห้องสมุด ก็ตาม เมื่อมีการนำกลับมาคืน ต้องมีการจัดเรียงขึ้นชั้นให้ถูกต้องตามตำแหน่งดังเดิม
ผู้เขียน มีหน้าที่ในการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น โดยจะรวบรวมหนังสือที่ผู้ใช้บริการอ่านเสร็จแล้ว และนำหนังสือวางไว้ที่ชั้นพักหนังสือ หรือรวบรวมหนังสือที่อยู่ตามโต๊ะต่างๆ มาดำเนินการเพื่อเตรียมการจัดขึ้นชั้นหนังสือ โดยแยกเป็น หนังสือภาษาไทยกับหนังสือภาษาอังกฤษ และแยกประเภทของหนังสือก่อนที่จะจัดเรียงขึ้นชั้น
ประเภทของหนังสือจะแบ่งออกเป็น หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือหายาก งานวิจัย ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น และหนังสือมุมต่างๆ เช่น มุมพุทธทาสภิกขุ มุมคุณธรรม มุม สสส. เป็นต้น
วิธีการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น มีดังนี้
การจัดเรียงจะทำการเรียงจากเลขน้อยไปหาเลขมาก เรียงจากซ้ายไปขวา และเรียงจากชั้นบนลงชั้นล่าง โดยดูจากเลขเรียกหนังสือที่สันหนังสือ ดังตัวอย่างและภาพประกอบ
หรือ ถ้าหนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน มีหลายฉบับ เรียงตามลำดับฉบับ หรือ Copy ดังตัวอย่างและภาพประกอบ
ตัวอย่างการจัดเรียงหนังสือบนชั้น
นำเสนอความเป็นมาของวรรณกรรม จาก อดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งการเตรียมที่จะเป็นนักเขียนมืออาชีพ “การเขียน” เป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก รวบรวมเป็นงานเขียน “คุณพร้อมหรือยังที่จะเป็นนักเขียนมืออาชีพ” ผู้ที่จะเป็นนักเขียนควรศึกษาเครื่องมือและกลไกอันเป็นหลักพื้นฐานของการเขียน เพราะได้รวบรวมประสบการณ์ในการเขียนมาเรียบเรียงและถ่ายทอดให้ผู้ที่สนใจอยากเป็น “นักเขียน” เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานต่อไป
“ปั้นฝัน…เป็นหนังสือ คือนักเขียน” ของ ประภาศรี เทียนประเสริฐ หมวดหมู่ PN145 ป344ป 2559 ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดหามาไว้ให้บริการที่ ชั้น 3 ค่ะ