SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Check in ก่อนเข้าห้องสมุด ยุค New Normal
ก.ค. 14th, 2020 by Natchaya

ตั้งแต่สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 เกิดขึ้น ก็ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป โดยหลัก ๆ จะเป็นการเว้นระยะห่าง ทั้งระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และระยะห่างทางกายภาพ (Pysical Distancing) รวมถึงการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งของที่อยู่ในสาธารณะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ตามมาตรการหลักที่ทาง ศูนย์ข้อมูลมาตรการการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้กำหนดไว้

เหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นที่มาของการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงชื่อเข้าใช้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  จากแต่เดิมจะใช้บัตรนักศึกษา Scan Barcode ผ่านเครื่อง Scan หรือหากนักศึกษาไม่ได้นำบัตรมา ก็ต้องใส่รหัสประจำตัวผ่านแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ลงในตาราง Excel เพื่อเป็นการเก็บสถิติผู้เข้าใช้ในแต่ละวัน แต่ละช่วงเวลา ก็ปรับเปลี่ยนเป็นการ Scan QR code ด้วยโทรศัพท์มือถือของตนเอง เพื่อเข้าไปกรอกข้อมูลผู้เข้าใช้ใน Google Form แทน ซึ่งวิธีนี้ ลด เลี่ยง การสัมผัสจากสิ่งของสาธารณะได้ 100%   Read the rest of this entry »

กิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
มิ.ย. 11th, 2018 by pacharamon

  โครงการกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของเราชาว ศบส.

สำนักงานเลขานุการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดโครงการ “กิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ” ซึ่งโครงการดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 6 เรื่อง การบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 2.6 บริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยคุณธรรมและคุณภาพอย่างยั่งยืน (Life Long Quality) โดยรวมถึง การมีสุขภาพที่ดี (Life Long Health Quality) ซึ่งมีระยะเวลาการจัดกิจกรรมตลอดปีการศึกษา 2560
Read the rest of this entry »

อ่านถูกต้อง…ปกป้องสุขภาพ
มี.ค. 26th, 2018 by suwanna

อ่านถูกต้อง…ปกป้องสุขภาพ

สำหรับเวลาพักผ่อนหรือช่วงเวลาว่าง ๆ ของหลาย ๆ คนนั้น เชื่อว่าบางคนชอบเอาเวลาในช่วงนี้ไปหาอะไร  ๆ มาอ่าน มาดูเพลิน ๆ ไปตามเรื่องมากกว่าการออกไปเที่ยวช้อปปิ้ง (Shopping) หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ส่วนใหญ่การอ่านหรือการดูเหมือนจะใกล้เคียงกันมาก บางอย่างอาจดูได้อย่างเดียว เช่น ดูเพื่อให้เกิดความบันเทิง, ดูเพื่อให้ได้รับรู้ข่าวสาร แต่บางอย่างเมื่อดูแล้วก็ต้องอ่านไปด้วยจึงจะได้รับความรู้และความบันเทิง หรือที่เรียกว่าเกิด “อรรถรสในการอ่าน” อย่างนี้เป็นต้น ทราบกันหรือไม่ว่า หากเรารู้จักอ่านอย่างถูกต้องก็จะช่วยปกป้องสุขภาพของเราไปด้วยค่ะ

อ่านอย่างไร? เรียกว่า อ่านถูกต้อง

พฤติกรรมการอ่าน, ความเหมาะสมของท่าทางการอ่าน

การอ่านที่ถูกต้อง ควรนั่งหลังตรง ไม่เกร็งเกินไป เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงและเท้าแขนให้เหมาะสมกับร่างกาย นั่งแล้วรู้สึกสบายในการถือหนังสืออ่าน มีความผ่อนคลายได้ดี ควรถือหนังสือในระดับที่ห่างจากสายตาไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และหนังสือควรอยู่ในแนวตั้ง ทำมุมประมาณ 40-80 องศากับโต๊ะ หรือตามลักษณะทางกายภาพของผู้อ่าน ซึ่งในลักษณะเช่นนี้จะทำให้อ่านหนังสือได้สบายตาที่สุด ไม่ปวดเมื่อยร่างกาย ทำให้อ่านได้นานและดีต่อสุขภาพ

 

สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการอ่าน

  • สถานที่และบรรยากาศการอ่าน

การอ่านเพื่อให้มีความสุข ควรอ่านในมุมที่เราชอบ มุมที่เรารู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด  เป็นมุมที่เงียบสงบ อากาศปลอดโปร่งถ่ายเทสะดวก เป็นห้องอ่านหนังสือแบบชิล ๆ  ภายในห้องควรมีหน้าต่างที่สามารถเปิดรับแสง รับลม มีบรรยากาศที่สดชื่นโอบล้อมกับธรรมชาติได้ดี ไม่ควรอ่านในขณะที่เราเคลื่อนไหว เช่น การเดิน การอ่านบนรถขณะที่รถกำลังวิ่ง หรืออ่านในสถานที่ที่มีความพลุกพล่าน หรือมีเสียงดังรบกวนมาก ซึ่งจะทำให้ขาดสมาธิในการอ่านได้

  • แสงสว่าง

แสงสว่างที่ควรใช้ในการอ่าน ควรเป็นแสงธรรมชาติที่อ่านแล้วทำให้เราเห็นได้ชัดเจน สบายตา ไม่ควรใช้แสงที่สว่างจ้าเกินไป หรือมืดเกินไป  แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้แสงจากหลอดไฟฟ้า ควรใช้หลอดไฟที่มีแสงแบบ Continuous Spectrum เหมือนแสงอาทิตย์ธรรมชาติ เพื่อให้ได้แสงสว่างอย่างต่อเนื่อง ไม่กระพริบ เช่น หลอดตะเกียบ หรือหลอด LED

 

ความเหมาะสมของตัวอักษร

อักษรที่ใช้ในการพิมพ์หนังสือในปัจจุบันมีขนาดที่แตกต่างกัน การใช้อักษรที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป จะเป็นปัญหาต่อระบบการอ่าน คือ เล็กมากเกินก็จะทำให้อ่านยาก ใหญ่เกินไปจะทำให้สายตาไม่สามารถจับโฟกัสได้ชัดเจน ทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง ฉะนั้นขนาดอักษรที่ถูกต้องและเหมาะสมกับการอ่านมากที่สุดคือ ขนาดอักษรไม่ควรเล็กกว่า 14 พอยต์ (Point)

หมึกพิมพ์หรือสีของตัวหนังสือ

ในปัจจุบัน เราจะเห็นว่า หมึกที่ใช้ในการพิมพ์มีหลากสี สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการขึ้นอยู่กับผู้พิมพ์ว่าเขาต้องการจะสื่อหรือเน้นอะไร แต่ส่วนมากแล้วตัวหนังสือที่ใช้ในการพิมพ์ มักจะใช้หมึกสีเข้ม เช่น สีดำ เพื่อให้ตัวอักษรลอยเด่นจากพื้นกระดาษ จะทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น หรือสังเกตแบบง่าย ๆ คือ ตัวหนังสือที่เราใช้อ่านควรจะเป็นสีเข้มกว่าพื้นหลังนั่นเอง

กระดาษพิมพ์

โดยทั่วไปกระดาษพิมพ์ มักจะนิยมพิมพ์บนกระดาษสีพื้น ซึ่งสีที่เหมาะสมที่สุด ควรเป็นสีตุ่น ๆ สักหน่อย เช่น สีขาวนวล ๆ หรือสีอ่อน ๆ ซึ่งเป็นสีที่มีการสะท้อนแสงน้อย เพื่อเป็นการถนอมสายตาเวลาอ่าน

ขนาดรูปเล่ม

ลักษณะของขนาดรูปเล่มหนังสือ หรือวัตถุที่เราจะอ่าน ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับการหยิบจับได้ถนัดมือ ไม่ควรมีขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้ขาดความสมดุลในการอ่าน หรือเสียบุคลิกในการอ่านได้

สุดท้ายนี้ขอฝากบรรดานักอ่านหรือผู้ที่รักการอ่านทั้งหลาย ถ้าจะอ่านอย่างมีความสุข สนุกไปกับการอ่านทุกครั้งต้องดูแลรักษาสุขภาพของตนเองด้วนนะคะ…

แหล่งที่มา :

กระเป๋า “Healthy Book : อ่านเพื่อสุขภาพดี”
มิ.ย. 27th, 2017 by sirinun

กระเป๋า " Health Book : อ่านเพื่อสุขภาพดี"

กระเป๋า ” Health Book : อ่านเพื่อสุขภาพดี”

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดบริการมุมหนังสือน่าอ่านของห้องสมุด (ชั้น4)  เป็นเสมือนมุมสุขภาพ ผ่าน กระเป๋า” Healthy books : อ่านเพื่อสุขภาพดี” ของ สำนักงานกองทุนสนันสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) จากโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ “เครือข่ายสร้างปัญญา”

สำนักงานกองทุนสนันสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ได้ผลิตสื่อองค์ความรู้สุขภาวะหลากรูปแบบ อาทิ หนังสือ นิตยสาร วีซีดี มุ่งให้นำความรู้จากสื่อมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีสุขภาวะ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ จึงจัดกิจกรรม “เครือข่ายสร้างปัญญา” ผลิตสื่อบรรจุหนังสือดีในกระเป๋าเดินทาง ทำหน้าที่เสมือนห้องสมุดเคลื่อนที่ เรียกว่า Healthy Book มอบให้กับห้องเครือข่ายห้องสมุด จำนวน 30 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดสถานศึกษา โรงพยาบาล และแหล่งเรียนรู้สุขภาวะ  สุขภาพดีหาซื้อไม่ได้ การป้องกันดีกว่าการรักษา เชิญมาหาความรู้ได้จาก หนังสือดีๆ เพื่อสุขภาพและหนังสืออื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีหนังสือการสร้างสุขภาพ เพิ่มเข้ามาให้บริการเป็นอย่างมากมายทำให้ผู้อ่านมาใช้บริการและยืมหนังสือเหล่านี้กลับไปอ่านกัน หรือไม่ก็จะนั่งอ่านในห้องสมุด ได้ทั้งความเพลิดเพลิน และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันระหว่างผู้ใช้บริการกันเอง Read the rest of this entry »

ไวรัสซิกา
มี.ค. 18th, 2016 by jittiwan

ช่วงนี้มีข่าวเรื่องไข้เลือดออก ซึ่งเราก็คุ้นเคยกันมานานว่า มียุงลายเป็นพาหะในการก่อให้เกิดโรคชนิดนี้ แต่เป็นข่าวดังมากยิ่งขึ้น เมื่อมีการเสียชีวิตของบุคคลที่เป็นดารา ทำให้ทุกคนยิ่งเริ่มหันมาให้ความใส่ใจกันยิ่งอีกมากขึ้น และก็ยิ่งน่าสนใจและน่าติดตามพร้อมกับต้องให้ความระมัดระวังมากขึ้น ด้วยมีเชื้อไวรัสที่มีชื่อที่เราไม่ค่อยจะคุ้นหูเท่าไรนัก และก็มีสาเหตุมาจากยุง เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะไม่ได้เป็นตัวที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกก็ตาม แต่เป็น 1 ใน 3 โรคร้ายที่เกิดจากยุงลาย

ไวรัสที่กำลังพูดถึงนี้คือ ไวรัสซิกา ไวรัสตัวนี้เกิดดังมากในช่วงปี 2558  เพราะระบาดหนักในแถบลาตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศบราซิล ทำให้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ  สำหรับประเทศไทย แม้ว่าจะยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออกประกาศจัดให้ “โรคติดเชื้อไวรัสซิกา” เป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ แต่เรามาทำความรู้จักไวรัสซิกา กันซักนิดนะคะ

ไวรัสซิกาหรือไข้ซิกาเป็นเชื้อไวรัสตระกูลเฟลวิไวรัส ลักษณะคล้ายคลึงกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก รวมทั้งไวรัสเวสต์ไนล์ที่เป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ ตั้งแต่ปี 2490 ที่ Alexander Haddow นักกีฏวิทยาชาวสกอต พบว่าลิงที่เลี้ยงไว้ตัวหนึ่ง มีอาการป่วยและพบว่ายุงลายเป็นพาหะ เลยตั้งชื่อให้ตามชื่อป่าว่า ไวรัสซิลิกา

กลุ่มเสี่ยงคือกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ หากติดเชื้อแล้วจะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตราย คือจะทำให้ศีรษะเล็กกว่าปกติ ไวรัสซิกา เป็นเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะ การติดต่อจึงมาจากการถูกยุงที่มีเชื้อกัด

อาการ คล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้เลือดออก มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ไข้ขึ้นสูง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวและปวดหัว อาการเหล่านี้สามารถทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

การรักษา รักษาตามอาการเช่นเดียวกับโรคไวรัสอื่นๆที่มียุงลายเป็นพาหะ ผู้ป่วยควรพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานยาตามแพทย์สั่ง ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือวิธีการรักษาที่แน่ชัด

การป้องกัน พยายามอย่าให้ยุงกัด ควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อเป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์ และป้องกันโรคที่มาจากยุงลาย

ภัยอันตรายจากยุงลาย

ภัยอันตรายจากยุงลาย

ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ไข้ซิกาเป็น 1 ใน 3 โรคร้ายที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ ส่วนอีก 2 โรค ก็คือ โรคไข้เลือดออก และ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา ซึ่งจะต่างจากไข้เลือดออก และ ไข้ซิกา คือ จะมีอาการปวดข้อมากเป็นพิเศษ บางคนหายป่วยแล้ว ยังมีอาการปวดข้อต่อเนื่องกว่า 6 เดือน

รายการอ้างอิง

ปอมอ. (2559). โรคไข้ ZIKA ไม่ใหม่. แพรว 37, 877 (10 มีนาคม 2559), 250.
ปาจรีย์. (2559). 3 โรคร้ายจากยุงลาย หายนะตัวจิ๋ว. แพรว 37, 877 (10 มีนาคม 2559), 256.
ไวรัสซิกา ไข้ซิกา โรคติดต่อที่ไร้วัคซีนป้องกัน ภัยเงียบจากยุงลาย. สืบคืนเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2559 จาก http://health.kapook.com/view139846.html

เคล็ดไม่ลับในการทำลาย CALORIES ในตัวคุณโดยการขึ้นบันได
ก.พ. 25th, 2016 by ปัญญา วงศ์จันทร์

10565119_655132997959739_7907859403114711827_n

อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  (มฉก.) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในอาคารที่เข้าประกวดการประหยัดพลังงาน ดังนั้น ในการงดใช้ลิฟต์ก็จะช่วยให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้า (กดลิฟต์ 1 ครั้ง เท่ากับ ใช้หลอดไฟนีออน 500 ดวง) ถ้าพวกเราชาว มฉก. ลองหันมาขึ้นบันไดดูซิว่าจะทำลาย calories เท่ากับเท่าใดกันในแต่ละชั้น Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa