SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ซีรีย์จดหมายเหตุ : “เอกสารจดหมายเหตุศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย”
ก.ค. 8th, 2021 by matupode

พิธีเปิดหอจดหมายเหตุ

 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ได้ประกอบพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉิลมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 3  หลังจากที่ท่านได้เริ่มโครงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งเป็นปีแรกของการดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ให้ความสำคัญกับงานจดหมายเหตุเป็นอย่างมากทั้งในตอนดำรงตำแหน่งและสิ้นสุดวาระตำแหน่งอธิการบดี  ท่านได้มอบเอกสารหลักฐานการบริหารงานในช่วงระยะเวลา 4 ปี ประกอบด้วย เอกสารการประชุม นโยบายและแผน รายงาน โครงการอันเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานของทุกส่วนงานในมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งสิ่งพิมพ์ทุกชนิดที่มหาวิทยาลัยจัดทำหรือได้รับเพื่อการพัฒนาทางวิชาการหรือเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ  และอีกส่วนหนึ่งเป็นแฟ้มประวัติและผลงานส่วนตัวสมัยดำรงตำแหน่งรองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย และปลัดทบวงมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2535-2539 ให้กับหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ Read the rest of this entry »

ซีรีย์จดหมายเหตุ : “แนะนำชุดเอกสารในหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”
ม.ค. 31st, 2021 by matupode

เมื่อพูดถึงหอจดหมายเหตุ หลายๆ คนอาจยังสงสัยหรือมีคำถามอยู่ว่าคืออะไร เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอะไร ผู้เขียนทำงานด้านจดหมายเหตุมามากว่า 20 ปี ก็ยังคงได้ยินคำถามนี้อยู่บ่อยๆ วันนี้เลยจะมาบอกเล่าเกี่ยวกับหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติว่างานจดหมายเหตุเราทำอะไรบ้าง  และอะไรคือเอกสารจดหมายเหตุที่เราจัดเก็บ

จริงๆ แล้วหากเราจะเปรียบงานจดหมายเหตุให้เข้าใจง่ายๆ งานจดหมายเหตุจะมีลักษณะงานคล้ายๆ กับงานของห้องสมุด  จะแตกต่างกันตรงที่ว่างานจดหมายเหตุจะจัดเก็บเอกสารต้นฉบับหรือเอกสารชั้นต้น และให้บริการในลักษณะปิด  ในขณะที่ห้องสมุดจะจัดเก็บหนังสือและให้บริการแบบเปิด

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  อาจมีลักษณะแตกต่างจากหอจดหมายเหตุอื่นๆ สืบเนื่องจากตอนก่อตั้งผู้บริหารได้วางนโยบายในการจัดเก็บเอกสารไว้ว่า นอกจากจะจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแล้ว จะต้องจัดเก็บเอกสาร สิ่งพิมพ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกับบริบทของมหาวิทยาลัยฯ ด้วย เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โรงพยาบาลหัวเฉียว  และเอกสารหรือสิ่งพิมพ์จังหวัดสมุทรปราการ

นับตั้งแต่มีการจัดตั้งหอจดหมายเหตุเมื่อปี พ.ศ. 2540 จวบจนปัจจุบัน หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ ดำเนินการมาร่วม 23 ปี ได้รวบรวมเอกสารและสิ่งพิมพ์ไว้จำนวนมาก โดยได้แบ่งกลุ่มเอกสารเป็นกลุ่มหลักๆ  ดังนี้

1. เอกสารจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ

– เอกสารจดหมายเหตุหน่วยงานสายสนับสนุน เช่น เอกสารกองกลาง กองอาคารสถานที่  สำนักทะเบียนและประมวลผล  สำนักพัฒนาวิชาการ  สำนักพัฒนานักศึกษา  และศูนย์วัฒนธรรม

– เอกสารจดหมายเหตุคณะวิชา เช่น เอกสารคณะศิลปศาสตร์  คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม  คณะบริหารธุรกิจ  คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม Read the rest of this entry »

เรื่องเล่าชาว มฉก. “หุ่นคน” สู่ผลงานสร้างสรรค์ชุด “หุ่นคนตะลุงโนรา”
ก.ค. 23rd, 2020 by matupode

 

ผู้เขียนจำได้ว่า “หุ่นคน” เริ่มเข้ามามีบทบาทในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2546 ตอนนั้นนับว่าเป็นการแสดงที่แปลกใหม่ ผู้เขียนเคยสงสัยตอนได้ดูการแสดงในครั้งแรกว่า คนที่แสดงใช่หุ่นหรือว่าคนจริงๆ กันแน่ อาจเพราะการแต่งหน้า การแสดงที่สมจริงก็อาจเป็นได้ Read the rest of this entry »

ถอดบทสัมภาษณ์ “รองศาสตราจารย์ประจักษ์ พุ่มวิเศษ” อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.ค. 23rd, 2020 by matupode


หอจดหมายเหตุมีโครงการจัดทำหอเกียรติยศ (Hall of Fame) สำหรับผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฯ  เช่น  ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยทุกท่าน ปัจจุบันมีทั้งหมด 6 ท่าน เผยแพร่ผ่าน เว็บไซต์ของหอจดหมายเหตุ https://lib-km.hcu.ac.th/hcu-archives/index.php/hall-of-fame  ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล

Read the rest of this entry »

บันทึกความทรงจำกับการทำ Oral history : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า
มิ.ย. 30th, 2019 by matupode

 


Oral history  ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า เป็นงานอย่างหนึ่งของนักจดหมายเหตุ ถามว่าทำไมต้องเป็นอย่างนั้น เพราะโดยปกตินักจดหมายเหตุจะให้ความสำคัญกับเอกสารลายลักษณ์ หรือเอกสารต้นฉบับเป็นอันดับแรก นั่นเพราะบางครั้งองค์ ความรู้ ประสบการณ์ที่คนๆ หนึ่งมี ความเชี่ยวชาญก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นักจดหมายเหตุจึงต้องหาวิธีการต่อยอดองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ให้สูญหาย ประกอบกับเอกสารต้นฉบับบางครั้งเนื้อหาของเอกสารก็ไม่ได้สมบูรณ์เสมอไป การได้มาซึ่งความครบถ้วนของข้อมูลจึงเป็นงานส่วนหนึ่งของนักจดหมายเหตุ

Oral history หรือ “ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า” หมายถึง การบันทึก อนุรักษ์ และตีความหมายของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัวและความเห็นของผู้เล่าเหตุการณ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ เป็นการสร้างข้อมูลที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่ใช่หลักฐานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นการสัมภาษณ์เรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ผ่านประสบการณ์นั้นโดยตรง หรือเป็นเรื่องราวชีวิตของผู้ถูกสัมภาษณ์เอง การหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากการสัมภาษณ์เป็นหลักฐานประเภทหนึ่ง นอกเหนือจากหลักฐานโบราณคดีตัวเขียน หลักฐานประเภทสิ่งของ และภาพบันทึกต่างๆ Read the rest of this entry »

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลเชิงพฤติกรรม ( UX Design Using Library Analytics)
มี.ค. 1st, 2019 by matupode

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกรินทร์ ยลระบิลได้บรรยายถึงที่มาของ “การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลพฤติกรรม
ในงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 
สรุปความได้ดังนี้

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลพฤติกรรม เกิดจากความต้องการใช้บริการของนักศึกษาที่เปลี่ยนไป  ประกอบกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และงบประมาณที่หอสมุดมีอย่างจำกัด ทำให้ต้องเริ่มศึกษาพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้บริการในด้านการใช้ชีวิต การใช้เครื่องมือต่างๆ และพบคำว่า “UBIQUITOUS” ซึ่งหมายถึง การให้บริการทุกที่ ทุกเวลา ทุกเครื่องมือ ทุกช่องทาง จึงได้นำคำดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการให้บริการของสำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ของหอสมุดที่ว่า  “To be one of the best provider in ubiquitous learning and researching in Asia”

สำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดแนวทางในการพัฒนางานบริการออกเป็น 5 ระดับ โดยอ้างอิงทฤษฎีกรอบแนวความคิดจากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ประกอบด้วย

1. EMPATHIZE

2. DEFINE

3. IDEATE

4. PROTOTYPE

5. TEST

 

จากกรอบแนวความคิดดังกล่าว ได้นำมาจัดทำแบบสัมภาษณ์  กำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับสัมภาษณ์ สรุปผล และระดมความคิดเพื่อจัดทำรูปแบบการให้บริการสำหรับผู้ใช้บริการ ดังรายละเอียด ดังนี้

Read the rest of this entry »

ระบบจัดเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.ค. 31st, 2017 by matupode

“เอกสาร” จัดว่าเป็นหลักฐานการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานหรือองค์กร เอกสารที่อยู่ระหว่างปฏิบัติงานจะมีคุณค่าบริหารงานในช่วงเวลานั้นๆ  แต่เมื่อสิ้นสุดการใช้งานที่เรียกว่า “เอกสารสิ้นกระแสการใช้” จะมีทั้งเอกสารที่ต้องทำลาย  และเอกสารสำคัญที่มีคุณค่าในด้านบริหารงาน คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ คุณค่าด้านการศึกษาวิจัยต้องเก็บรักษาไว้ เราเรียกเอกสารนั้นว่า “เอกสารจดหมายเหตุ”

เมื่อปี พ.ศ.2540 ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เข้ารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ท่านได้เสนอขอจัดตั้งหอจดหมายเหตุต่อสภามหาวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมเอกสารที่สิ้นกระแสการใช้งานของหน่วยงานและเป็นเอกสารที่ได้รับการประเมินแล้วว่ามีคุณค่ามาจัดเก็บในหอจดหมายเหตุ และเล็งเห็นว่า การที่จะทำให้หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ เข้มแข็ง จะต้องมีเอกสารที่มีคุณค่าส่งมาเก็บได้อย่างต่อเนื่อง ท่านจึงได้วางระบบจัดเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ ขึ้น โดยการแต่งตั้งคณะทำงานชุดต่างๆ จัดระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตั้งแต่การจัดระบบหมวดหมู่การจัดเก็บเอกสาร การกำหนดอายุเอกสาร การทำลายเอกสาร และการส่งมอบเอกสารให้กับหอจดหมายเหตุ ผ่านคณะทำงาน 3 ชุด คือ

  1. คณะกรรมการจัดระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ
  2. คณะกรรมการประเมินคุณค่าและกำหนดอายุการเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ
  3. คณะกรรมการทำลายเอกสาร

Read the rest of this entry »

“ลำซำ” กำเนิดกสิกรไทย
ส.ค. 11th, 2016 by matupode

13901546_1138857892838119_6076371747915543278_n

มีคนกล่าวเปรียบเปรยกันว่า คนจีนหากเปรียบเป็นเมล็ดพืชที่ลอยตามกระแสน้ำเมื่อน้ำพัดพาไปบนพื้นแผ่นดินใด ก็ดูเหมือนเมล็ดพันธุ์นั้นเจริญงอกงามในทุกสถานที่…เช่นเดียวกับคน “ตระกูลอึ้ง” ชาวจีนโพ้นทะเลจากมณฑลกวางตุ้ง ที่อุตสาห์ดั้นด้นฝ่าคลื่นลมท้องทะเลและมรสุมชีวิตแห่งชีวิตเข้ามาปักหลักในแผ่นดินสยาม จนกระทั่งกลายเป็น “ตระกูลล่ำซำ” ที่มีบทบาทในแวดวงธุรกิจและธนาคารในทุกวันนี้ ศึกษาประวัติ และความเป็นมาของ ตระกูลล่ำซำ ได้จาก เรือชีวิตเจ้าสัวเลือดมังกร ตระกูล ล่ำซำ โดย ธนวัฒน์ ทรัพย์ไพบูลย์ มีให้บริการทั้งที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ เลขหมู่ HG1552.B35 ธ155ร 2543 และหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

วันนี้ในอดีต “ ๒๔ มีนาคม : วันหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ”
มี.ค. 23rd, 2016 by matupode

03

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ถึงมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมี ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ถวายการต้อนรับ วันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พัฒนามาจากวิทยาลัยหัวเฉียวโดยทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้เปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕  และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ฯ พระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”

มหาวิทยาลัยฯ แห่งนี้ก่อตั้งสำเร็จเพราะความปรารถนาของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และแรงดลใจของ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ ประธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งในสมัยนั้น ร่วมกับชาวจีนโพ้นทะเลที่ต้องการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานและปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนาที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยร่วมกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินบริเวณถนนบางนา-ตราด กม.๑๘ จำนวน ๑๔๐ ไร่ เพื่อสร้างมหาวิทยาลัย เพราะเล็งเห็นว่าการสร้างสถาบันการศึกษาจะช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ออกไปพัฒนาประเทศและช่วยเหลือสังคมได้ ดังปณิธาณของมหาวิทยาลัย “เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม”

CAM01049-1

เอกสารประวัติศาสตร์ บันทึกจากสำนักราชเลขาธิการ เรื่อง ทรงรับเชิญ เสด็จฯ ไปทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

และเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้วยพระองค์เอง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัย คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาที่จะต้องสำนึกจารึกจดจำไว้ตลอดกาลนาน

ร่วมย้อนรำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไปกับการประมวลภาพวันสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในวันที่ “๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗” และความประทับใจของอดีตอธิการบดี แพทย์หญิงกรรณิการ์ ตันประเสริฐ ซึ่งมีโอกาสได้ร่วมรับเสด็จฯ กับบทความ “ชื่นชมพระบารมี” ไว้ว่า Read the rest of this entry »

หลวงปู่ไต้ฮงกง
ก.พ. 24th, 2016 by matupode

หลวงปู่6

ในวันศุกร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ ที่จะถึงนี้ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  (มฉก.) จะจัดพิธีรำลึกและบำเพ็ญกุศลแก่หลวงปู่ไต้ฮงกง พระภิกษุสงฆ์ที่มีจริยวัตรแห่งเมตตาธรรมช่วยเหลือทั้งผู้มีชีวิตที่ยากไร้และผู้ตายที่ไร้ญาติ คุณธรรมความดีของท่านควรค่าแก่การถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่พวกเราชาว มฉก.

ขอเชิญร่วมรำลึกถึงหลวงปู่ไต้ฮงกง และศึกษาชีวประวัติของท่านเพิ่มเติมได้ที่ หลวงปู่ของเรา

รายการอ้างอิง

กรรณิการ์ ตันประเสริฐ. (๒๕๔๓). ๙๐ปีมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa