SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ยุคใหม่ของห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตุลาคม 16th, 2016 by supaporn

เป็นที่ตื่นตา ตื่นใจ และตื่นเต้น เมื่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้บริการที่มีการปรับโฉมใหม่ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 และในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2558 เวลา 13.00 น.

ลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนไป

eng1

eng2

eng3

eng4

eng5

eng6

eng7

แนวคิดในการพัฒนาห้องสมุด ด้วยปรัชญา TQM และ Quality Innovation โดยเริ่มจาก Outside-in คือ ความเข้าใจความคาดหวังของผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง สู่การออกแบบจากผู้ให้บริการสู่ผู้ใช้ Inside-Out และมีกลไกการประเมินคุณภาพเพื่อห้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน โดยมีจุดเริ่มต้นจากวิชา Advances Quality Management ของนิสิตปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ที่เป็น Term Project เรื่อง พัฒนาคุณภาพบริการห้องสมุด ไปสู่หัวข้อ IE Thesis ในปี 2557 มีการทำงานร่วมกับทีมงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 การปรับปรุงกายภาพ

ส่วนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพบริการและนวัตกรรม

ในส่วนที่ 1 นั้น ประกอบด้วย การทำความเข้าใจความคาดหวังของผู้ใช้บริการห้องสมุดในทุกกลุ่ม ทำให้ทราบว่า จุดประสงค์ของการใช้บริการห้องสมุดเปลี่ยนไปจากเดิม คือ เพื่ออ่านหนังสือและทำการบ้าน ใช้เป็นที่พักผ่อน ฟังเพลง เล่นโทรศัพท์มือถือ ใช้บริการห้องประชุมกลุ่มย่อย ใช้บริการยืม-คืน หนังสือ วารสาร และทรัพยากรอื่นๆ ดังนั้น ลักษณะทางกายภาพ เช่น ห้องประชุมกลุ่มย่อย พื้นที่ใช้สอย แสงสว่าง และอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องสมุดเป็นส่วนที่้ต้องปรับปรุงเป็นอันดับแรก และสิ่งที่เหนือความคาดหวัง คือ มีห้อง Study room ที่เก็บเสียงได้ สามารถใช้เสียงในห้องสมุดได้ระดับหนึ่ง อุปกรณ์อ่านหนังสือ electronics ระบบยืม-คืนหนังสือด้วยตัวเอง 24 ชม. และแจ้งเตือนรับ-คืนหนังสือ ร้านกาแฟและเบอเกอรี่ขนาดเล็ก มีบรรณารักษ์ผู้เชี่ยวชาญในการทำวิจัย

จึงสรุปปัญหาในส่วนที่ 1 คือ

1. Working space ของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ ไม่ได้ถูกออกแบบให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม
2. Book/People หนังสือมีจำนวนมากควรแยกออกจากคน
3. Student/Oriented นิสิตไม่ได้เข้าห้องสมุดเพื่อยืมหนังสือแต่ต้องการพื้นที่ในการหาความรู้
4. New Look บรรยากาศและเฟอร์นิเจอร์เก่าไม่ทันสมัย

เมื่อทราบความต้องการของผู้ใช้แล้ว แปลงความต้องการของผู้ใช้เป็นห้องสมุดในฝัน มีการ Benchmark กับ TK Park, ร้าน To Fast To Sleep, National University of Singapore, Central Library National Library of Korea และ Google Office เป็นต้น และนำไปสู่การออกแบบให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ

ส่วนที่ 2 การปรับปรุงบริการห้องสมุด เช่น มี App เพิ่มคุณภาพการบริการจองห้อง Study room การบริหารเครื่องดื่มและอาหารแบบ Grab & Go เป็นต้น

รายการอ้างอิง

ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย และ สุพรรณี ยงกิจเจริญลาภ. (2559). ห้องสมุด คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Smart Chula Engineering Library. จามจุรี 18(3),50-57.


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa