SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเพิ่ม LHRs อย่างต่อเนื่องง่ายนิดเดียว
พ.ย. 1st, 2019 by ladda

ขั้นตอนการลงรายการบรรณานุกรม ในส่วนของ (LHRs) ของระบบ WorldShare Management Services-WMS

จากการที่ได้ทำการลงรายการบรรณานุกรม หนังสือของระบบ WorldShare Management Services-WMS มาระยะหนึ่ง ซึ่งต้องลงรายการของบรรณานุกรมให้ครบทั้ง 3 ส่วน คือ 1. ส่วนของ Master หรือ Bibliographic Record  2. ส่วนของ LBD  3. ส่วนของ LHR

การลงรายการในส่วน LHR ให้ราบรื่นไม่สะดุด และต่อเนื่อง ไม่ต้องค้นหา Bib ชื่อหนังสือนั้นใหม่อีกครั้ง เพื่อให้มีการลง Items ในส่วนที่ 3 นี้ได้อย่างถูกต้องและไม่ผิดพลาดในการลง  สามารถทำได้โดยมีขั้นตอนดังนี้

ส่วนที่ 1.  Master หรือ Bibliographic Record

ตัวอย่าง แสดงหน้าแรกของการสืบค้นจาก Bib Number 1012427386

เมื่อได้ชื่อหนังสือแล้วให้คลิกไปที่ชื่อเรื่อง “อ่านหนัง (สือ) กัน 20 หนังโปรดในดวงใจ ของข้าพเจ้าตลอดกาล” ก็จะปรากฏดังรูป Read the rest of this entry »

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่มีอยู่ใน OCLC WorldCat
ต.ค. 31st, 2019 by wanna

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่มีอยู่ใน OCLC WorldCat มีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าระบบ WorldShare Management Services (WMS) ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

2.  สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการในโมดูล Metadata เลือก Record Manager และ Search เลือก Data Type ที่ Bibliographic Records โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้

2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหาที่  All WorldCat

2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number

2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น ISBN

Search: ISBN = 9787301260456

รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search

        Read the rest of this entry »

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่ยังไม่มีใน OCLC WorldCat
ต.ค. 30th, 2019 by wanna

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่ยังไม่มีใน OCLC WorldCat มีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าระบบ WorldShare Management Services (WMS) ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการในโมดูล Metadata เลือก Record Manager และ Search เลือก Data Type ที่ Bibliographic Records โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้

2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหาที่  All WorldCat

2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number

2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น Title

Search: Title = 中华实用起名全解

รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search

Read the rest of this entry »

การนำข้อมูลของในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS ที่มีอยู่มาต่อยอดของหัวเฉียวง่ายนิดเดียวกับคำว่า Derive
พ.ค. 15th, 2019 by uthairath

วิธีและขั้นตอนการทำ Derive Bib หรือทำการคัดลอก Bib เดิม ให้ได้ Bib ใหม่

ผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่ในงานจัดหาฯ ของแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับมอบหมายในการลงรายการเบื้องต้น และทำการ Derive ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) ในการสร้าง Order ของฐานข้อมูลห้องสมุด เพื่อเป็นการลงรายการทางบรรณนุกรมเบื้องต้น และเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบรรณารักษ์แผนกวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms
  2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการ การสืบค้นสามารถสืบค้นได้ทั้ง 2 โมดูล คือ ในโมดูล Acquisition เลือก Discover Items  Search และโมดูล Metadata เลือก Record Manager Search โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้
    2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหา My Library Holding , All WorldCat, My LHRs
    2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title,  Author, ISBN, ISSN,  OCLC Number
    2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น ต้องการหาชื่อเรื่อง Search: Title = ทำตลาดได้เงินล้านบนไลน์ด้วย Line@

Search: Title = ทำตลาดได้เงินล้านบนไลน์ด้วย Line@ (All WorldCat)

รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search

Read the rest of this entry »

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS จุดเด่น/ความแตกต่าง (ตอนที่ 2)
พ.ค. 20th, 2018 by supaporn

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดในฐานะที่เคยทำงานด้านวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศหรือ Cataloging ก็คือ โมดูลในการลงรายการบรรณานุกรมนั้น ในระบบ WorldShare Management Services – WMS นั้น ให้ความสำคัญกับการทำเมทาดาทา การบริหารจัดการเมทาดาทา ขั้นตอนการทำงานในโมดูลเทาดาทาจึงมีแตกต่างจากโมดูล Cataloging ของระบบห้องสมุดโดยทั่วไป กล่าวคือ ในโมดูลเมทาดาทา (Metadata Module) ซึ่งเป็นโมดูลของการนำเข้าทรัพยากรสารสนเทศ หรือเดิมมักจะรู้จักกันในชื่อว่า Cataloging Module จะมีการบริหารจัดการข้อมูลทางบรรณานุกรม หรือเมทาดาทาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม และเนื่องจากเป็นการรวมรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่เป็นสมาชิก OCLC มากกว่า 7,200 แห่งทั่วโลก จึงทำให้สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างการสร้างระเบียนข้อมูลทางบรรณานุกรมแตกต่างจากเดิมเพื่อให้สนับสนุนการทำงานที่เป็นระบบ World Cataloging ซึ่งก็คือ พัฒนาการของการเป็นระบบสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalogue นั่นเอง

สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างระเบียนทางบรรณานุกรมของระบบ WMS เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงกับ WorldCat นั้น จึงแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย คือ

1. Master Record
2. Local Bibliographic Data (LBD)
3. Local Holding Record (LHR)

โครงสร้างระเบียนบรรณานุกรม

 

Master Record หมายถึง ระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ ที่ห้องสมุดนำเข้าระบบเป็นแห่งแรก จะถือว่าระเบียนนั้น เป็นระเบียนหลัก ประกอบด้วยข้อมูลทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศที่นำเข้าตามหลักเกณฑ์การลงรายการทางบรรณานุกรมแบบ AACR2 และ MARC21 หรืออาจจะเป็น RDA ห้องสมุดอื่นที่จะนำเข้าในระบบ WorldCat และตรวจสอบความซ้ำซ้อนและพบว่ามีระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำเข้าอยู่แล้ว (Master record) สามารถใช้ Master record เพื่อเป็นระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดตนเองได้ โดยไม่ต้องลงข้อมูลทางบรรณานุกรมใหม่ แต่สามารถเพิ่มข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นข้อมูลเฉพาะของห้องสมุดได้ในส่วนประกอบที่เรียกว่า Local Bibliographic Data (LBD) และใส่ข้อมูลเกี่ยวกับ item information ในส่วนประกอบที่เรียกว่า Local Holding Record (LHR)

Local Bibliographic Record (LBD) หมายถึง ข้อมูลทางบรรณานุกรมที่ห้องสมุดแห่งอื่นๆ ที่ใช้ Master record ร่วมกัน มีข้อมูลที่เป็นส่วนของห้องสมุดต้องการใส่ เช่น หัวเรื่อง (ที่กำหนดใช้ขึ้นเอง) หมายเหตุ (Note) ที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นเอง ชื่อชุด ที่กำหนดเอง

Local Holding Record (LHR) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับ item ของระเบียนนั้นๆ ได้แก่ เลขหมู่ หมายเหตุ (ที่เกี่ยวกับหนังสือ) บาร์โคด ราคา การกำหนดการยืม การกำหนดการให้ทำสำเนา เป็นต้น

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa