SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS จุดเด่น/ความแตกต่าง (ตอนที่ 2)
พ.ค. 20th, 2018 by supaporn

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดในฐานะที่เคยทำงานด้านวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศหรือ Cataloging ก็คือ โมดูลในการลงรายการบรรณานุกรมนั้น ในระบบ WorldShare Management Services – WMS นั้น ให้ความสำคัญกับการทำเมทาดาทา การบริหารจัดการเมทาดาทา ขั้นตอนการทำงานในโมดูลเทาดาทาจึงมีแตกต่างจากโมดูล Cataloging ของระบบห้องสมุดโดยทั่วไป กล่าวคือ ในโมดูลเมทาดาทา (Metadata Module) ซึ่งเป็นโมดูลของการนำเข้าทรัพยากรสารสนเทศ หรือเดิมมักจะรู้จักกันในชื่อว่า Cataloging Module จะมีการบริหารจัดการข้อมูลทางบรรณานุกรม หรือเมทาดาทาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม และเนื่องจากเป็นการรวมรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่เป็นสมาชิก OCLC มากกว่า 7,200 แห่งทั่วโลก จึงทำให้สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างการสร้างระเบียนข้อมูลทางบรรณานุกรมแตกต่างจากเดิมเพื่อให้สนับสนุนการทำงานที่เป็นระบบ World Cataloging ซึ่งก็คือ พัฒนาการของการเป็นระบบสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalogue นั่นเอง

สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างระเบียนทางบรรณานุกรมของระบบ WMS เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงกับ WorldCat นั้น จึงแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย คือ

1. Master Record
2. Local Bibliographic Data (LBD)
3. Local Holding Record (LHR)

โครงสร้างระเบียนบรรณานุกรม

 

Master Record หมายถึง ระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ ที่ห้องสมุดนำเข้าระบบเป็นแห่งแรก จะถือว่าระเบียนนั้น เป็นระเบียนหลัก ประกอบด้วยข้อมูลทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศที่นำเข้าตามหลักเกณฑ์การลงรายการทางบรรณานุกรมแบบ AACR2 และ MARC21 หรืออาจจะเป็น RDA ห้องสมุดอื่นที่จะนำเข้าในระบบ WorldCat และตรวจสอบความซ้ำซ้อนและพบว่ามีระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำเข้าอยู่แล้ว (Master record) สามารถใช้ Master record เพื่อเป็นระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดตนเองได้ โดยไม่ต้องลงข้อมูลทางบรรณานุกรมใหม่ แต่สามารถเพิ่มข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นข้อมูลเฉพาะของห้องสมุดได้ในส่วนประกอบที่เรียกว่า Local Bibliographic Data (LBD) และใส่ข้อมูลเกี่ยวกับ item information ในส่วนประกอบที่เรียกว่า Local Holding Record (LHR)

Local Bibliographic Record (LBD) หมายถึง ข้อมูลทางบรรณานุกรมที่ห้องสมุดแห่งอื่นๆ ที่ใช้ Master record ร่วมกัน มีข้อมูลที่เป็นส่วนของห้องสมุดต้องการใส่ เช่น หัวเรื่อง (ที่กำหนดใช้ขึ้นเอง) หมายเหตุ (Note) ที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นเอง ชื่อชุด ที่กำหนดเอง

Local Holding Record (LHR) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับ item ของระเบียนนั้นๆ ได้แก่ เลขหมู่ หมายเหตุ (ที่เกี่ยวกับหนังสือ) บาร์โคด ราคา การกำหนดการยืม การกำหนดการให้ทำสำเนา เป็นต้น

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
ต.ค. 15th, 2017 by supaporn

หลังจากที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้นำระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่จัดหามาเพื่อให้บริการแก่ชุมชนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติแล้ว บุคลากรแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อร่วมกันจัดทำคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata เพื่อใช้เป็นคู่มือให้กับผู้ปฏิบัติงานในแผนกฯ ได้ลงรายการในระบบไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 มีผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และบรรณารักษ์แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้จากการที่ได้รับการอบรม และทดลองการใช้ระบบ จนสามารถสรุปเป็นคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ได้ดังนี้

คู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa