SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเพิ่มและการบันทึกรายการระเบียนบรรณานุกรม (Bib Record) ในกรณีใช้ระเบียนบรรณานุกรมร่วมกับห้องสมุดอื่น
ก.พ. 2nd, 2021 by jittiwan

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งเป็นระบบห้องสมุดที่รวมบรรณานุกรมของสมาชิกที่มีข้อมูลรวมกันในระบบ การนำเข้าข้อมูลทางบรรณานุกรมเข้าระบบ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำเข้าก่อนเสมอ ซึ่งจะใช้เขตข้อมูลต่อไปนี้ในการตรวจสอบ ได้แก่

  1. tag 020 ISBN
  2. tag 100 ผู้แต่ง
  3. tag 245 ชื่อเรื่อง
  4. tag 250 ครั้งที่พิพ์
  5. tag 260 ปีพิมพ์

กรณีที่เขตข้อมูลดังกล่าวตรงกับหนังสือที่กำลังนำเข้า สามารถใช้ bibliographic record ร่วมกันได้ และสามารถเพิ่ม
ข้อมูลใน bibliographic record ให้สมบูรณ์มากขึ้นได้ ดังตัวอย่าง Read the rest of this entry »

เข้าใจข้อมูล สื่อสารได้เข้าใจ โดนใจผู้ใช้
ม.ค. 20th, 2021 by supaporn

การเขียนบทความนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2563 เรื่อง เข้าใจข้อมูล สื่อสารได้เข้าใจ โดนใจผู้ใช้

เนื่องจากมีการพิจารณาแล้วเห็นว่า ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มีการลงข้อมูลบรรณานุกรมพร้อมรายละเอียดอื่นๆ ที่ผู้ใช้ห้องสมุดควรทราบและจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด โดยเฉพาะระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เป็นระบบที่เป็นแหล่งรวมข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดเป็นสมาชิกในเครือข่ายมากกว่า 7,200 แห่งทั่วโลก ดังนั้น ข้อมูลหรือข้อความที่ลงในปรากฏในระเบียนบรรณานุกรม 1 ระเบียนจะมีความแตกต่างจากระเบียนบรรณานุกรมของระบบห้องสมุดโดยทั่วไป การที่ผู้ใช้ห้องสมุดจะสามารถใช้ฟังก์ชั่นงานต่างๆ และข้อมูลหรือข้อความที่ปรากฏในระเบียนบรรณานุกรมได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดนั้น บุคลากรของห้องสมุดควรจะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้หรือสามารถอธิบายข้อมูลหรือข้อความในระเบียนบรรณานุกรมให้กับผู้ใช้ได้ดีที่สุด

แต่การที่บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ส่วนใหญ่จบมาจากหลากหลายสาขา และปฏิบัติหน้าที่ในงานอื่นๆ ที่เป็นงานหลัก แต่ต้องทำหน้าที่ให้บริการในช่วงนอกเวลาทำการ ย่อมทำให้มีความรู้ ข้อมูลที่อาจจะไม่เท่ากัน และเพื่อเป็นการปรับทักษะ หรือให้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่ระบบพัฒนาขึ้นมาใหม่ ด้วย ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “เข้าใจข้อมูล สื่อสารได้เข้าใจ โดนใจผู้ใช้” นี้ขึ้น ทั้งนี้ เน้นข้อมูลหรือข้อความที่ผู้ใช้ห้องสมุดเห็นจากระบบการสืบค้นเป็นหลัก

ในการเขียนเอกสารนี้ ขอเขียนขึ้นในลักษณะที่เป็นข้อคำถาม ซึ่งน่าจะง่ายต่อความเข้าใจ และเป็นไปตามลำดับของการเข้าใช้ระบบ

1. การแจ้ง URL ในการสืบค้น

คำอธิบาย:  ให้ตอบว่า  https://hcu.on.worldcat.org/discovery

ถ้าต้องตอบว่า จะสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของศูนย์บรรณสารสนเทศได้จากช่องทางใด ควรจะตอบว่า https://hcu.on.worldcat.org/discovery  มากกว่าที่จะตอบว่า เข้ามาที่เว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่  https://lib-km.hcu.ac.th

เนื่องจากหน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ทำช่องสืบค้นของระบบห้องสมุด WMS ไว้ให้ จึงง่ายต่อการแนะนำ และ URL สำหรับหน้าจอการสืบค้นของ WMS อาจจะยาวและจำยาก แต่ควรแนะนำให้แจ้ง URL ที่ ตัวสืบค้นของระบบห้องสมุด WMS จะดีกว่า  เนื่องจากระบบ WMS มีการบริหารจัดการอยู่บน Cloud กรณีที่มหาวิทยาลัยไฟดับ หรือมีการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ผู้ใช้สามารถเข้าสืบค้นมายังระบบห้องสมุด WMS ได้โดยตรง (ไม่ต้องมาเข้าที่เว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ซึ่งจะเข้าใช้ไม่ได้ถ้าเกิดไฟดับ เนื่องจากเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ที่มหาวิทยาลัย)

สำหรับ URL https://hcu.on.worldcat.org/discovery  นี้  มีเทคนิคในการจำแบบง่าย ๆ ดังนี้

hcu                 =        Huachiew University
on                   =        บน
worldcat        =        รายการบรรณานุกรมบนโลก (World Cataloging)
org                  =        องค์กร (organization) เป็นชื่อโดเมนบริหารโดย OCLC
discovery       =        การสืบค้น การค้นหา

ทั้งหมดนี้จะมีชื่อเรียกเป็นคำย่อสำหรับหน้าจอหรือช่องทางการสืบค้นของระบบ WMS ว่า WCD = worldcat discovery หรือคำทั่วไป ที่เรามักจะได้ยินว่า OPAC ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติทั่วไป นั่นเอง Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการ Payment รายการค่าปรับบางส่วนในระบบห้องสมุด WMS
ม.ค. 16th, 2021 by kityaphat

สมาชิกหรือผู้ใช้ห้องสมุดเมื่อยืมหนังสือออกจากห้องสมุดแล้วไม่สามารถนำหนังสือมาคืนได้ตามกำหนดเวลา หรือนำหนังสือมาคืนล่าช้ากว่ากำหนดจึงทำให้เกิดค่าปรับขึ้น  สมาชิกหรือผู้ใช้บางท่าน อาจจะไม่พร้อมที่จะชำระค่าปรับทั้งหมดในคราวเดียวกันได้  ศูนย์บรรณสารสนเทศ อนุญาตให้สมาชิกสามารถแบ่งการชำระค่าปรับได้  ดังมีขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องดำเนินการเคลียร์รายการค่าปรับในระบบ ดังนี้

1.เข้าสู่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS คลิกที่เมนูตามลูกศรชี้

 

Read the rest of this entry »

Group related editions ฟังก์ชั่นเพื่อช่วยในการสืบค้นของ WMS
ม.ค. 6th, 2021 by supaporn

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS เพิ่มฟังก์ชั่นช่วยในการสืบค้น ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้เป็นตัวช่วยใน (กรอง) การสืบค้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการมากขึ้น ฟังก์ชั่นหรือทางเลือกที่เพิ่มเข้ามาได้แก่

รูปที่ 1 ตัวกรองการสืบค้น

Current Search        –  Keep selections for subsequent searches

เมื่อเปิดใช้งานตัวเลือกนี้ search filters ที่ผู้ใช้ได้เลือกไปแล้วนั้นจะยังคงอยู่เพื่อใช้ในการค้นหาในครั้งต่อไป ถ้าปิดตัวเลือกนี้ search filters ที่เคยเลือกไว้จะถูกลบ เมื่อผู้ใช้ได้ค้นหาคำค้นครั้งใหม่ Read the rest of this entry »

การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในรูปแบบ Article Exchange
พ.ค. 13th, 2019 by navapat

การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในระบบ WorldShare Interlibrary Loan หรือ WorldShareILL นั้น มีบริการให้ผู้ใช้สามารถขอรับบริการได้  2 แบบ คือ

1) ยืมตัวเล่ม (loan)  ดูเพิ่มเติม  ขั้นตอนการให้บริการการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan)

2) ขอสำเนาเอกสาร (Copy) หรือไฟล์ข้อมูล (Article Exchange)  โดยบทความนี้ จะขอกล่าวถึง รายละเอียดและขั้นตอนการให้บริการ ดังนี้

ขั้นตอนการให้บริการ Article exchange

  1. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานบริการยืมระหว่างห้องสมุดได้รับคำร้อง (Request) จากห้องสมุดหรือสถาบันของผู้ใช้บริการ
  2. ตรวจสอบว่าเอกสารที่ผู้ใช้บริการขอใช้ มีการจัดทำหรือสแกนเป็นไฟล์เอกสารแล้วหรือไม่
  3. พิจารณาค่าธรรมเนียมในการให้บริการเพื่อให้มีความสอดคล้องกับประกาศมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ 137/2560 เรื่อง “การกำหนดอัตราการจัดเก็บค่าบริการยืมระหว่างห้องสมุด พ.ศ. 2560” ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2560   หากพบว่ามีความสอดคล้อง สามารถดำเนินการตามคำร้องของผู้ใช้บริการได้
  4. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสแกน หรือดิจิไทซ์ บทความหรือเอกสารที่ผู้ใช้บริการต้องการ (กรณีที่ไม่มีไฟล์เอกสาร)
  5. จัดส่งไฟล์ให้ผู้ใช้บริการโดยเลือกคลิกลิ้ง OCLC Article Exchange จากนั้นจะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เลือกไฟล์ คลิกปุ่ม upload แล้วกด Yes ระบบจะแสดง Password ผู้ใช้บริการสามารถ download เอกสารที่เราจัดส่งให้ด้วย URL และ Password ดังกล่าว เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการให้บริการ ดังภาพ

 

 

Change the Game โลกเปลี่ยน ห้องสมุดเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยน
ม.ค. 18th, 2019 by dussa

งาน APRC หรือ Asia Pacific Regional Council Conference ประจำปี 2018 ของ OCLC จัดภายใต้หัวข้อ Change the Game ที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน ระหว่างวันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน 2561 Skip Prichard ซึ่งเป็น CEO ของ OCLC ได้พูดถึงความสำคัญของคำว่า Change the Game ภายใต้หัวข้อ How can we change the game? ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

ห้องสมุดเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง    

Skip Prichard เกริ่นนำ โดยพูดถึงเรื่องรอบ ๆ ตัว ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น แผนที่แบบกระดาษ เปลี่ยนเป็นแผนที่ดูจากคอมพิวเตอร์ จากโทรศัพท์มือถือ ตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญที่ไม่มีใครใช้แล้ว ก็เปลี่ยนเป็น การใช้โทรศัพท์ในมือของตนเอง การเฝ้าบ้านที่เคยใช้สุนัข ก็เปลี่ยนเป็น การดูแลบ้านผ่านโทรศัพท์มือถือ จากนั้นก็กล่าวถึง เกมส์ ให้เราเข้าใจมากขึ้น จากพัฒนาการแบบง่าย ๆ เช่น ตู้เกมส์จอดำ เกมส์แบบตลับ เกมส์คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนรูปแบบไปอย่างเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น ถึงคราวที่ห้องสมุดต้องเปลี่ยนแล้ว

จุดเปลี่ยนที่ วิทยากร กล่าวคือ สิ่งที่ห้องสมุดต้องเปลี่ยนใน 4 ด้าน ได้แก่

  • You Chang your Frame (เปลี่ยนกรอบ/เปลี่ยนสิ่งที่ต้องเห็น)
  • You Chang your Culture (เปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานใหม่)
  • You Chang your Mindset (เปลี่ยนแนวคิดของตัวเอง)
  • You Chang your Narrative (เปลี่ยนวิธีการเล่าเรื่องใหม่)

การเปลี่ยนของจุดเปลี่ยนทั้ง 4 ด้านต้องเริ่มจากตัวเราเอง เปลี่ยนที่ตัวเราเอง แล้วส่งต่อการเปลี่ยนแปลงให้คนอื่น อย่าสั่งให้คนอื่นเปลี่ยนโดยที่ตัวเองทำแค่สั่ง เพราะสุดท้ายมันไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้น นอกจากเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแล้ว ที่สำคัญสิ่งที่ต้องรักษาไว้ก็คือ

  • Keep Your Values (เก็บค่านิยม/คุณค่าของห้องสมุด)
  • Keep Your Principles (เก็บหลักการ/หลักการพื้นฐานของห้องสมุด)
  • Keep Your Purpose (เก็บวัตถุประสงค์/จุดประสงค์ของการทำงานห้องสมุด)
  • Keep Your Passion (เก็บความรัก/ความหลงไหลที่มีคุณค่าในงานห้องสมุด)

บทสรุปจากการฟังในวันดังกล่าว สื่งที่ต้องเปลี่ยน ทั้ง 4 ด้านแล้ว ที่สำคัญที่สุด ในความคิดที่ได้จากการฟัง ต้องเปลี่ยนความคิดตัวเอง (Mindset) หมายความถึงบรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องเปลี่ยนความคิดตัวเองก่อน ก้าวตามโลกให้ทัน ต้องมีแนวคิดที่ทันสมัย ตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และ อีกสิ่งที่ต้องเก็บไว้รักษาไว้ คือ ความเป็นเอกลักษณ์ของห้องสมุด เช่น เป็นแหล่งที่มีข้อมูลหลากหลายจัดเก็บอย่างเป็นระบบด้วยมืออาชีพ และต้องเก็บความหลงใหล Passion ความรักในห้องสมุดอย่างยั่งยืน

 

การปรับปรุงพัฒนางาน Acquisition Module ในระบบห้องสมุด WMS
ม.ค. 7th, 2019 by ladda

จากการที่ได้ปฏิบัติงาน Acquisition module ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) นี้มาเป็นเวลา 1 ปี ได้เห็นถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการทำงานนี้มาโดยตลอด ดังนั้น จึงขอเขียนขั้นตอนการทำงานในโมดูลนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด เนื่องจากระบบ WMS มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องในขั้นตอนการทำงาน Acquisitions ซึ่งได้เคยเขียนขั้นตอนการทำงานนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง ดังนั้นจึงขอแสดงขั้นตอนงานตัดงบประมาณ Invoice อีกครั้ง เพื่อให้เห็นงานที่มีการเปลี่ยนแปลง ความละเอียด ชัดเจน กระชับ มากยิ่งขึ้น อีกครั้งตามขั้นตอนต่อไปนี้ รายละเอียด

OCLC’s Integrated Management Platform, WorldShare Management Services (WMS) สามารถช่วยตอบโจทย์ในปัจจุบันของห้องสมุดได้อย่างไร
ธ.ค. 29th, 2018 by supaporn

หัวข้อดังกล่าว เป็นการจัดเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการเปิดตัวระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) อย่างเป็นทางการของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561 โดยบริษัท แอดวานซ์ มีเดีย เซอร์วิส (Advance Media Service-AMS) ได้จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรื่อง OCLC’s integrated management platform, WorldShare Management Services (WMS) สามารถช่วยตอบโจทย์ในปัจจุบันของห้องสมุดได้อย่างไร เพื่อให้ห้องสมุดที่สนใจ เข้าร่วมฟัง

OCLC’s Integrated Management Platform, WorldShare Management Services (WMS) สามารถช่วยตอบโจทย์ในปัจจุบันของห้องสมุดได้อย่างไร

ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับ และกล่าวถึงการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services (WMS) มาใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย และทีมงาน AMS ได้มาอัพเดท feutures ใหม่ ๆ ของ WMS ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของห้องสมุด สุดท้ายเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ในการนำระบบ WMS มาใช้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พร้อมสาธิตระบบให้แก่ผู้สนใจเข้าฟัง ณ ห้องสื่อประสม (ห้องบรรยายพิเศษ 2) ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Read the rest of this entry »

OA & Open Content in the user workflow
ธ.ค. 9th, 2018 by supaporn

OA & Open Content in the user workflow เป็น member session ของวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ของ APRC18 Change the Game โดยมีวิทยากร คือ Kuang-hua Chen และ Titia van der Werf ซึ่งทั้งสองท่าน มาพูดถึงงานที่ OCLC กำลังสำรวจโดยออกแบบสอบถามในเรื่องของ Open Access (OA) และ Open Content ให้แก่ห้องสมุดเข้าไปตอบแบบสอบถามได้ที่ http://oc.lc/OAAPRC18 (หมดเขต 15 มกราคม 2562) โดยวิทยากรได้ให้คำถามประมาณ 5 คำถาม เป็น Discussion guide เพื่อให้ผู้เข้าฟังทำความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

Discussion guide

เริ่มจากคำถามแรกคือ How do you define/categories open content activities and services? ซึ่งเป็น 1 ใน 5 คำถามที่วิทยากรนำเสนอในห้อง และให้ผู้เข้าร่วมฟังนำเสนอว่าในห้องสมุดของตนเองนั้น มีการทำ OA หรือมีการให้บริการ OA ประเภทใดบ้าง ห้องสมุดแต่ละแห่งต่างก็นำเสนอ OA ที่มีในรูปแบบที่เหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง สรุปออกมาได้ตามรูปที่วิทยากรพยายามจัดกลุ่มหรือหมวดหมู่มาให้ การทำ OA ของห้องสมุดที่มาร่วมฟัง มีทั้งที่เป็นการทำด้วยห้องสมุดเอง เช่น การทำ Digitization เอง หรือการไปดึง OA จากที่อื่นมาให้บริการ บางแห่งก็มีเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไปบ้าง

สรุปหมวดของ OA

ประเด็นคำถามอื่นๆ น่าจะเป็นแนวทางในการนำความคิดได้ว่า การมี/การทำ Open content ต้องมีนโยบายอย่างไร มีแนวปฏิบัติอย่างไร แนวโน้มจะเป็นอย่างไร การลงทุนกับการทำ Open content และ OCOC จะมาช่วยในเรื่องพวกนี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าคิดกันต่อและให้เป็นระบบ

APRC18 Change the Game
ธ.ค. 9th, 2018 by supaporn

OCLC ที่เรามักจะคุ้นกับการเรียก OCLC มากกว่า จนลืมไปแล้วว่า คำเต็มๆ ของ OCLC คือ Online Computer Library Center หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร มีชื่อเสียงในการวิจัยและพัฒนาทางด้านห้องสมุดมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งรับประกันได้ถึงความน่าเชื่อถือในด้านรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด รวมทั้งการขยายงานวิจัยออกไปในหลายๆ ด้าน

ผู้เขียนคุ้นเคยกับผลงานของ OCLC มาตั้งแต่สมัยการทำสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalog พัฒนามาเป็น WorldCat และพัฒนาการจนเป็นการยืมระหว่างห้องสมุดที่สามารถยืมกันได้ทั่วโลก ผ่านระบบ WorldShareILL นับว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการบรรณารักษศาสตร์และห้องสมุดเลยทีเดียว ขณะเดียวกัน OCLC ก็มีการวิจัยในหลายๆ ส่วนที่เอื้อประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงข้อมูล (Linked data) และการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

ในแต่ละปี OCLC จะมีการจัดประชุมวิชาการในแต่ละภูมิภาคเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานวิจัย ความร่วมมือจากหลายๆ ส่วนที่ก่อให้เกิดการวิจัยร่วมกัน รวมทั้งการประชาสัมพันธ์กิจการและผลิตภัณฑ์ของ OCLC เองด้วย นอกเหนือจากหัวข้อเหล่านี้แล้ว OCLC จะมีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับหัวข้อของงานที่จัดในแต่ละปี ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้รับประโยชน์จากข้อความรู้ต่างๆ เหล่านี้ แม้ว่าบางครั้งอาจจะยังตามไม่ทัน แต่การได้ไปฟังเรื่องใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยรู้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีๆ เพราะคำขวัญที่ OCLC ใช้เสมอก็คือ “Because what is known must be shared” ไม่ว่าจะเป็นการ share ทรัพยากรสารสนเทศตาม concept ของ OCLC เองก็ตาม แต่ขอรวมการเอาองค์ความรู้ที่ทำวิจัยมาเผยแพร่หรือการเชิญวิทยากรจากหลายๆ แห่งมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ก็นับเป็นสิ่งที่ดี

สำหรับปี 2561 นี้ ในส่วนภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก OCLC ได้จัดการประชุมที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2561 ภายใต้ชื่อว่า APRC18 Change the Game มีหัวข้อในปีนี้ที่น่าสนใจหลายหลายข้อ เช่น (คงสามารถเขียนได้เฉพาะในส่วนที่ได้เข้าร่วมฟัง เพราะบางหัวข้อมีการแยกห้องตามความสนใจ)

OCLC Asia Pacific Regional Council Conference ในหัวข้อ Change the Game (APRC18 Change the Game)

How can we change the game? โดย Skip Richard สรุปเป็นภาษาไทย

Collaboration, visibility and data-driven decision making โดย Ellen Hartman

How can you and your library transform user engagement? โดย Adrianna Astle และ Kalliope Stavridaki

Evolving Scholarly Record โดย Aaron Tay และ Titia van der Werf

Transforming trend insights into innovations โดย Nathania Christy (สรุปเป็นภาษาไทย)

WMS: Game Changer for your Library โดย Supaporn Chaithammapakorn, Michael Mojica และ Chris Paroz

Reimaging your library space โดย Feiyun Huang, Dr. Amorn Petsom

Are your libraries connected to the global knowledge network? โดย Axel Kaschte

OA& Open Content in the user workflow โดย Kuang-hua Chen และ Titia van der Werf เอกสารฉบับเต็มของวิทยากร

A venue for the research library community โดย Roxanne Missingham, Titia van der Werf, Esther Woo และ Fung Ping Shan

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa