SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Linked data กับ WorldCat – OCLC
ก.พ. 1st, 2019 by supaporn

ตอนที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียติ ตัดสินใจเลือกซื้อระบบ WorldShare Management Services หรือ WMS ซึ่งพัฒนาโดย OCLC เพราะว่า OCLC เป็นผู้พัฒนา WorldCat ซึ่งเป็นเหมือนสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalog ของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากมีสมาชิกอยู่ในเครือข่ายนำระเบียนบรรณานุกรมเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถที่จะขยายผลและต่อยอดของระเบียนบรรณานุกรมที่มีอยู่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ข้อมูล

OCLC ได้ขยายผลในเรื่องของ Linked data โดยใช้ฐานข้อมูลทางบรรณานุกรมเดียวกันนี้ในระบบ WMS แต่การพัฒนาโมดูล WCD หรือ WorldCat Discovery ซึ่งเป็นโมดูลการสืบค้น หรือ OPAC ของ WMS อาจจะยังไม่เท่ากับ WorldCat (ซึ่งตอนนี้ เรียกกันว่า WorldCat Local) คาดว่าประมาณกลางเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2562 WorldCat Local จะปิดลงและ WCD ก็จะได้รับการพัฒนาและมีศักยภาพเช่นเดียวกับ WorldCat Local

OCLC พัฒนาเรื่อง Linked data อย่างไรบ้าง  (Carol Jean Godby, Shenghui Wang and Jeffrey K. Mixter จากหนังสือ Library Linked Data in the Cloud หน้า 9)

Carol Jean Godby, Shenghui Wang and Jeffrey K. Mixter จากหนังสือ Library Linked Data in the Cloud หน้า 9)

Read the rest of this entry »

การลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศตามมาตรฐาน RDA
ก.ค. 7th, 2017 by jittiwan

บรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ต้องศึกษาพัฒนาการในการลงรายการทางบรรณานุกรม เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่ลงรายการให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุดให้มากที่สุด การลงรายการทางบรรณานุกรม ก็เพื่อต้องการสร้างช่องทางในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ การแสดงผลทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้มีการสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อผู้ใช้ข้อมูล

ปัจจุบัน คำว่า RDA หรือ Resource Description and Access เป็นคำที่ได้ยินกันหนาหูในกลุ่มบรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ว่าจะมาแทนที่ AACR II ผู้เขียน จึงได้ศึกษาและสรุป RDA จากผู้รู้ ไว้ดังนี้

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐาน RDA Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa