SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
คลิก Hide Facets ช่วยได้เยอะ
ต.ค. 29th, 2019 by uthairath

การ Search หรือค้นหาข้อมูล ให้ง่ายขึ้น โดยเลือกในส่วนของ Hide Facets

ผู้เขียนได้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของการลงรายการการสั่งซื้อหนังสือและสื่อต่างๆ เช่น เกม ฯลฯ ในฐานข้อมูลระบบ WorldShare Management Services (WMS) จึงต้องมีการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ให้ได้ตรงตามความต้องการมากที่สุดและมีขั้นตอนที่สามารถช่วยให้หาข้อมูลได้ง่ายขึ้น จึงขอนำเสนอวิธีการสืบค้น ที่จะช่วยให้สืบค้นได้ง่ายมากขึ้นจากการใช้ hide facet จากตัวอย่าง การสืบค้น Marrakech

รูปภาพที่ 1 เกมชื่อ Marrakech

1.เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือหรือชื่อเกมที่ต้องการสืบค้น ในครั้งนี้จะทำการสืบค้นเกมที่มีชื่อว่า Marrakech

ในโมดูล Acquisition เลือก Discover Items Search โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้ Read the rest of this entry »

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านใน อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และ กชพร ขวัญทอง. (2561). การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านใน อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ (A Study of Folklore: A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bang Sao Thong District, Samutprakan Province). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

รายงานการวิจัยเรื่องนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของการตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านริมคลองในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของคลองที่เปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เน้นศึกษาจากการลงภาคสนามและเอกสารเป็นสำคัญ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ กลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุในท้องถิ่น นักวิชาการท้องถิ่น ผู้นำชุมชน พระภิกษุ รวมทั้งศึกษาจากเอกสารราชการ งานเขียนกึ่งวิชาการ บันทึกท้องถิ่น หนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจ แผนที่คลองในอดีตและปัจจุบัน และลงภาคสนามสังเกตลักษณะทางกายภาพของคลองและสถานที่ ๆ เกี่ยวข้อง โดยมีการตรวสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบสามเส้า(Triangulation)
ผลจากการวิจัยพบว่า การตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ชื่อส่วนใหญ่คนในท้องถิ่นตั้งกันเองตามชื่อบุคคลที่อยู่ในคลองหรือลักษณะโดดเด่นของคลอง เช่น ชื่อพืชพันธุ์ไม้ ขนาดหรือทิศทางของคลอง ภูมิประเทศ สัตว์ สิ่งก่อสร้าง กริยาการกระทำ เครื่องใช้ไม้สอย และความเชื่อหรือตำนาน ตามลำดับ เพื่อจดจำได้ง่ายและสะดวกในการสื่อสารให้เข้าใจได้ตรงกัน

บทบาทและความสำคัญของคลองจากอดีตสู่ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลัง คลองในอดีตที่เคยมีความสำคัญเป็นต้นกำเนิดของชุมชน แหล่งเศรษฐกิจทำกินและเส้นทางคมนาคมหลัก เปลี่ยนไปเมื่อถนนตัดผ่าน ก็ก่อเกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ เกิดพื้นที่ธุรกิจ อุตสาหกรรมและหมู่บ้านแห่งใหม่ของคนต่างถิ่นอยู่ตามแนวถนนและมีรูปแบบสังคมเมือง ส่วนหมู่บ้านที่อยู่ติดคลองเปลี่ยนเป็นรูปแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท
Read the rest of this entry »

การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2561).  การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสน. (A Study of Acronym in 108 Core Scripture as a Supplementary Buddhist Material). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108      (2) เพื่อศึกษาแหล่งที่มา สาระสำคัญ และการนำอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ไปใช้ในมิติต่าง ๆ (3) เพื่อศึกษาการใช้อักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และนำเสนอเป็นรายงานการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Analysis Description)

ผลการวิจัยพบว่า การย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่ใช้วิธีการย่ออักษรตามคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะที่เป็นทฤษฎีการย่ออักษร 4 รูปแบบ คือ การย่ออักษรตัวแรกของศัพท์ การย่ออักษรตัวสุดท้ายของศัพท์ การย่ออักษรที่ใช้วิธีทั้งสองข้างต้นร่วมกัน การย่ออักษรแล้วประมวลอักษรมาไว้ตรงกลางโดยวางอักษรสลับกันไปมา หัวใจนอกจากนี้ใช้คำย่อ คำศัพท์ อักษรในภาษาบาลี อักษรไทย และคำไทยมาผสมกัน สำหรับแหล่งที่มาของอักษรย่อส่วนใหญ่มาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ รวมถึงบทสวดมนต์จากหนังสือสวดมนต์ แต่มีหัวใจบางส่วนที่มีแหล่งที่มาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไสยศาสตร์ วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์และขุนช้างขุนแผนที่โบราณาจารย์นำมาใช้สื่อเรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระรัตนตรัย พระพุทธเจ้า พระธรรม พุทธสาวกบางรูป คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา พิธีกรรม และเรื่องเล่าในพระพุทธศาสนา สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของโบราณาจารย์ที่นำเรื่องเหล่านี้มาใช้สื่อผ่านหัวใจต่าง ๆ ดังนั้น หัวใจและอักษรย่อของหัวใจจึงเป็นสื่อการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาโดยย่อ ส่วนการนำไปใช้นั้นพบในรูปแบบสำคัญคือ การใช้ที่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจที่สัมพันธ์กับหลักการในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ใช้สำหรับท่องจำหลักที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ใช้เป็นอุบายฝึกจิตให้เป็นสมาธิโดยใช้อักษรในหัวใจเป็นเครื่องภาวนา และใช้เป็นอุบายเตือนสติผู้นำไปใช้ให้ละความชั่ว ทำความดีด้วยการรักษาศีล เสียสละ และพัฒนาจิตให้ผ่องใส ส่วนการนำไปใช้ที่ไม่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจนั้นพบว่า ส่วนใหญ่นำไปใช้ตามความเชื่อในไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดอานุภาพด้านทีดี เช่น ปลอดภัยจากอันตราย เมตตามหานิยม เป็นต้น และบางส่วนถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ทำให้คนหลงรัก ทำให้คนเกลียดชังกัน และนำไปใช้เสกของกินร่วมกับสุราที่เป็นการส่งเสริมให้คนผิดศีลข้อที่ 5 แต่ถ้ากล่าวสรุปตามสาระสำคัญของหัวใจแล้ว อักษรย่อในคัมภีร์ในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่เป็นสื่อการเรียนรู้พระพุทธ ศาสนาที่มุ่งให้คนเข้าใจและนำไปใช้พัฒนาชีวิตตั้งแต่หลักการพื้นฐาน เช่น ศีล 5 จนถึงหลักธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตสู่ความหลุดพ้นทุกข์ เช่น อริยสัจสี่ เป็นต้น

ผลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นประโยชน์ของการศึกษาเรื่องนี้โดยสรุป คือ การไขความลี้ลับของหัวใจ 108 ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ที่มีอานุภาพต่าง ๆ  แต่ผลการศึกษาเรื่องนี้สามารถยืนยันได้ว่า หัวใจต่าง ๆ ในคัมภีร์หัวใจ 108 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่อันเป็นกุศโลบายในการสอนพระพุทธศาสนาของ   โบราณาจารย์ไทย แต่เรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนาถูกกลบไปด้วยอิทธิพลของความเชื่อไสยศาสตร์ ประกอบกับการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้มักจะไม่มีการบอกความหมายและแหล่งที่มาของอักษรย่อจึงทำให้หลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนาเลือนหายไปกลายเป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์เข้ามาแทนที่อย่างน่าเสียดาย

Read the rest of this entry »

หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ต.ค. 26th, 2016 by supaporn

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ต่อมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นอย่างยิ่ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดทำหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยถึง 6 เล่ม ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ประกอบด้วย

1. ที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537
2. Huachiew Chalermprakiet University Commemorative Edition on the occasion of the University’s Inauguration graciously presided over by Their Majesties the King and Queen of Thailand on March 24, 1994
3. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (ฉบับภาษาจีน)
4. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วันทำพิธีเปิด (มีคำบรรยายเป็นภาษาไทยและภาษาจีน)
5. สูจิบัตรพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
6. พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากหนังสือเหล่านี้ได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ และหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทั้งข้อมูลและภาพพระองค์ท่านที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัย

ภาพสะท้อนครอบครัวใหญ่ของคนไทยเชื้อสายจีนในนวนิยายไทย
เม.ย. 25th, 2016 by rungtiwa

 

ภาพสะท้อนครอบครัวใหญ่ของคนไทยเชื้อสายจีนในนวนิยายไทย

Reflections of the Chinese-Thai Big Family in Thai Novels

 

จริงใจ. (2556).  ภาพสะท้อนครอบครัวใหญ่ของคนไทยเชื้อสายจีนในนวนิยายไทย. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 8 (15), 12-23.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

 

วันนี้ในอดีต “ ๒๔ มีนาคม : วันหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ”
มี.ค. 23rd, 2016 by matupode

03

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ถึงมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมี ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ถวายการต้อนรับ วันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พัฒนามาจากวิทยาลัยหัวเฉียวโดยทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้เปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕  และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ฯ พระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”

มหาวิทยาลัยฯ แห่งนี้ก่อตั้งสำเร็จเพราะความปรารถนาของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และแรงดลใจของ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ ประธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งในสมัยนั้น ร่วมกับชาวจีนโพ้นทะเลที่ต้องการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานและปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนาที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยร่วมกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินบริเวณถนนบางนา-ตราด กม.๑๘ จำนวน ๑๔๐ ไร่ เพื่อสร้างมหาวิทยาลัย เพราะเล็งเห็นว่าการสร้างสถาบันการศึกษาจะช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ออกไปพัฒนาประเทศและช่วยเหลือสังคมได้ ดังปณิธาณของมหาวิทยาลัย “เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม”

CAM01049-1

เอกสารประวัติศาสตร์ บันทึกจากสำนักราชเลขาธิการ เรื่อง ทรงรับเชิญ เสด็จฯ ไปทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

และเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้วยพระองค์เอง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัย คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาที่จะต้องสำนึกจารึกจดจำไว้ตลอดกาลนาน

ร่วมย้อนรำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไปกับการประมวลภาพวันสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในวันที่ “๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗” และความประทับใจของอดีตอธิการบดี แพทย์หญิงกรรณิการ์ ตันประเสริฐ ซึ่งมีโอกาสได้ร่วมรับเสด็จฯ กับบทความ “ชื่นชมพระบารมี” ไว้ว่า Read the rest of this entry »

กลบท : ภูมิปัญญาไทยในโลกแห่งกวีนิพนธ์
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

กลบท : ภูมิปัญญาไทยในโลกแห่งกวีนิพนธ์

บทคัดย่อ

กลบทและกลอักษรเป็นรูปแบบหนึ่งของงานกวีนิพนธ์ที่มีหลักฐานทางวรรณคดีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รูปแบบของกลบทแสดงถึงปรีชาชาญอันล้ำเลิศของบรรพชนไทยในการสร้างสรรค์ตัวอักษรเป็นแม่บทอันมีลีลา ความไพเราะและความหมายที่หลากหลายและงดงามเป็นรากฐานอันวิเศษแสดงถึงความอลังการในงานกวีนิพนธ์ที่มีอิทธิพลต่อการรังสรรค์งานของกวีไทยในยุคปัจจุบัน

ศราวุธ สุทธิรัตน์. (2546). กลบท : ภูมิปัญญาไทยในโลกแห่งกวีนิพนธ์.วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 90-99.

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ : อิฐดินเผาสมัยพระเจ้าคังซี
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ : อิฐดินเผาสมัยพระเจ้าคังซี

บทคัดย่อ

บทความทางวิชาการเรื่อง “หลักฐานทางประวัติศาสตร์ : อิฐดินเผาสมัยพระเจ้าคังซี” มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเหตุการณ์ในอดีตจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์หรือโบราณวัตถุ คือ อิฐดินเผาที่ค้นพบ ณ วัดสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดตาก โดยสันนิษฐานว่า อิฐดินเผาสมัยพระเจ้าคังซี อาจเป็นหลักฐานโบราณวัตถุสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งวัตถุชิ้นนี้ได้มาจากสิ่งก่อสร้างภายในวัดที่อาจจะมีความเจริญรุ่งเรืองในอดีตมาก่อน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่อาจจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอิฐดินเผา คือ เหตุการณ์ในสมัยพระเจ้าอยู่ท้ายสระ ตามหลักฐานที่ปรากฏจารึกบนอิฐดินเผาว่า “รัชสมัยจักรพรรดิคังซี ปีที่ ๕๔” และ บทบาทของชาวจีนในเมืองตากสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งจารึกไว้ว่า “คนแซ่เจิงเป็นผู้สร้างถวาย” น่าจะมีการผสมผสานทางวัฒนธรรม ทำให้สามารถตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่ในเมืองตากได้อย่างราบรื่น

สำหรับแนวทางการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในแนวกว้าง เพื่อเป็นพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ให้ นักวิชาการหรือนักวิจัยที่สนใจนำไปศึกษาค้นคว้ารายละเอียดระดับลึกยิ่งขึ้น โดยพบว่า หลักฐานโบราณวัตถุอิฐดินเผาสมัยพระเจ้าคังซี และหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรที่ค้นพบ ยังไม่สามารถให้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ได้อย่างแท้จริง ในเรื่องความเป็นมาของวัดสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือแม้แต่ที่มาของอิฐดินเผาว่าเป็นชิ้นส่วนใดของสิ่งก่อสร้างภายในวัดร้างแห่งนี้ แต่หลักฐานที่พบทำให้เชื่อได้ว่า มีชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองตากตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และมีบทบาททางสังคมอย่างชัดเจนในฐานะผู้อุทิศกุศลในการสร้างหรือปฏิสังขรณ์ศาสนสถานแก่วัด ด้วยจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา

ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ประเด็นเส้นทางการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองตากของชาวจีนในเมืองตาก อาจจะเป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางเดินทัพของทหาร หรือเส้นทางที่พ่อค้าเกวียนเดินทางค้าขายระหว่างเมืองอยุธยากับเมืองตากที่เรียกว่า ตาก-ระแหงหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป

รายการอ้างอิง

 

พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และสุวนัน ขวัญทอง. (2546). หลักฐานทางประวัติศาสตร์ : อิฐดินเผาสมัยพระเจ้าคังซี. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 83-89.

จริยศาสตร์เพื่อการกีฬา : การปรับความสมดุลของมนุษย์
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

จริยศาสตร์เพื่อการกีฬา : การปรับความสมดุลของมนุษย์

บทคัดย่อ

กีฬาจัดเป็นสันทนาการประการหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตและสังคม โดยมีปรัชญาพื้นฐานสำคัญคือการทำคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา บุคลิกภาพและสังคม แต่ปัจจุบันได้เกิดปัญหาขึ้นกับวงการกีฬามากมาย ปัญหาที่ว่านี้คือปัญหาที่เกิดจากตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาทั้งหมด เช่น ผู้แข่งขัน ผู้ตัดสิน ผู้ชมการแข่งขัน ผู้สนับสนุน และปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะการพนันที่เข้าไปทำลายสารัตถะของการกีฬาและก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย เมื่อวิเคราะห์ตามหลักพุทธจริยศาสตร์จะได้คำตอบที่ว่า ปัญหานี้เกิดจากความบกพร่องทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ดังนั้น กระบวนการแก้ไขปัญหานี้จึงอยู่ที่การหาวิธีการปลูกจิตสำนึกเชิงจริยธรรมให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาทั้งหมดให้เป็นไปตามปรัชญาของการกีฬาที่ว่า “แก้กองกิเลสทำคนให้เป็นคน”

ธีรโชติ เกิดแก้ว.  (2546). จริยศาสตร์เพื่อการกีฬา : การปรับความสมดุลของมนุษย์. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 72-82.

ปริทัศน์ทางความคิดว่าด้วยเรื่อง ความต้องการ เปรียบเทียบแนวความคิดระหว่างพระพุทธศาสนากับปรัชญาตะวันตก
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

ปริทัศน์ทางความคิดว่าด้วยเรื่อง ความต้องการเปรียบเทียบแนวความคิดระหว่างพระพุทธศาสนากับปรัชญาตะวันตก

บทคัดย่อ

พระพุทธศาสนากับปรัชญาตะวันตกมีแนวความคิดว่าด้วยเรื่องความต้องการที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ ทั้งสองยอมรับว่าความต้องการเป็นกิเลสอย่างหนึ่งของมนุษย์ต่างกันก็ตรงที่ว่าพระพุทธศาสนามองว่าความต้องการเป็นสิ่งที่สามารถลดลงได้จากการฝึกฝนและพัฒนาตนของมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา แต่ปรัชญาตะวันตกมองว่าความต้องการไม่มีทางที่จะแก้ไขได้ เพราะถือว่าความต้องการให้ความสุขแก่มนุษย์และก่อให้เกิดการแสวงหาสิ่งใหม่ แนวคำสอนของนักปรัชญาตะวันตกหลายคนไม่ว่าจะเป็น ฟรานซิส เบคอน เรอเน่ เดการ์ต เป็นต้น ต่างก็ส่งเสริมและกระตุ้นความต้องการของมนุษย์ ดังนั้นวิถีชีวิตของชาวตะวันตกจึงเป็นไปในลักษณะที่ส่งเสริมความต้องการ ในขณะที่พระพุทธศาสนาสอนให้ดำเนินชีวิตเพื่อลดความต้องการ ลดการแย่งชิงผลประโยชน์ เพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติแบบเกื้อกูลต่อธรรมชาติ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการเปรียบเทียบแนวความคิดที่แตกต่างว่าด้วยเรื่องความต้องการระหว่างพระพุทธศาสนากับปรัชญาตะวันตก

วิชัย สุนาโท. (2546). ปริทัศน์ทางความคิดว่าด้วยเรื่อง ความต้องการเปรียบเทียบแนวความคิดระหว่างพระพุทธศาสนากับปรัชญาตะวันตก. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 61-71.

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa