SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
กระบวนการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือของระบบ WMS (WorldShare Management Services) ก่อนดำเนินการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด
มิถุนายน 12th, 2019 by ladda

ในส่วนงานจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เมื่อได้รับเรื่องให้จัดซื้อหนังสือจากอาจารย์ นักศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆ ทางแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะต้องตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือในระบบห้องสมุด  WMS  (WorldShare Management Services) ก่อนการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดทุกครั้ง

ประโยชน์ในการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือมีดังนี้

  1. เพื่อป้องกันการจัดซื้อหนังสือ ซ้ำ
  2. เพื่อป้องกันไม่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณของห้องสมุด
  3. เพื่อตรวจสอบความต้องการเพิ่มเติมของจำนวนหนังสือ เนื่องจากหนังสือชื่อใดที่มีอยู่แล้วใน ศูนย์บรรณสารสนเทศและอาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ ก็สามารถจัดซื้อเพิ่มเติมได้ เนื่องจากมีผู้ใช้จำนวนมาก

ดังมีวิธีการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือ ดังนี้

1. เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

1.1 สืบค้น หาหนังสือเพื่อตรวจสอบ ในโมดูลของ Metadata ภายใต้โมดูลนี้ให้เข้าไปในส่วนต่างๆดังนี้

  • เลือก Record Management
  • ไปที่ Search ของ Data type ให้เลือก Bibliographic Record (เพื่อหาข้อมูลทางบรรณานุกรม)
  • ไปที่ Scope แล้วเลือก My Library Holding (เพื่อกำหนดว่าต้องการหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีเฉพาะในศูนย์บรรณสารสนเทศ)
  • ไปที่ Index แล้วเลือก Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number เพื่อกำหนดเขตข้อมูลในการค้น
  • ไปที่ Term (s) พิมพ์คำที่ต้องการสืบค้น เช่น พิมพ์ชื่อหนังสือที่ต้องการค้น ในกรณีนี้ Search จาก Title หนังสือชื่อ “การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง”  ดังภาพที่ 1

1.2 คลิกไปที่ Search ก็จะปรากฏ ชื่อหนังสือ “การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง”   ดังภาพที่ 2

1.3 คลิกไปที่ Open Details ก็จะปรากฏ ดังภาพที่ 3

จากภาพที่ 3 แสดงให้เห็นถึงหนังสือชื่อ “การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง”  นี้   มีจำนวน 2 เล่ม ดูจาก Copies 2 มุมบนด้านขวา

1.4 คลิกไปที่ Copies 2 มุมบนด้านขวา ก็จะปรากฎดังภาพที่ 4

 

1.5 คลิกไปที่ Number Of Holdings ช่องว่างๆเพื่อให้แถบสีฟ้าขึ้น จะประกฎ ดังภาพที่ 5

1.6 คลิกไปที่ View/Edits ด้านล่างช่อง Holdings For Selected Copy จะปรากฏ ดังภาพที่ 6

1.7 คลิกไปที่ Statistics มุมบนด้านขวา จะบอกสถิติของหนังสือ ว่ามีการยืมหนังสือไปแล้วกี่ครั้ง  ดังภาพที่ 7

Issued Count   แจ้งสถิติการยืมไปแล้ว 12 ครั้ง

Issued Count YTD: แจ้งสถิติการยืมไปแล้วของปีก่อน 2 ครั้ง *สถิติรวมอยู่กับ 12 ครั้งแล้ว

Soft Issued Count: แจ้งสถิติการอ่านหนังสือเล่มนี้แบบ Non Loan Return จำนวน 2 ครั้ง

Soft Issued Count YTD:  แจ้งการใช้งานแบบ Non Loan Return ของปีที่ผ่านมา

ดังนั้นเมื่อทราบว่าหนังสือเล่มดังกล่าวมีจำนวน และมีผู้ใช้ประโยชน์เท่าไหร่ ก็จะนำไปพิจารณาซื้อหรือไม่ต่อไป

 


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa