SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
QR code แนะนำหนังสือใหม่ผ่าน Facebook
พ.ย. 1st, 2019 by sirinun

 

ในยุคดิจิทัลที่โลกมีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ศูนย์บรรณสารสนเทศได้เห็นความสำคัญของเรื่องนี้จึงมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดแสดงแนะนำหนังสือใหม่แต่ละเดือนของปีการศึกษาด้วย QR code แนะนำหนังสือใหม่ผ่าน Facebook เพียงแต่ใช้โทรศัพท์มือถือสแกน QR code หนังสือใหม่ที่แนะนำ ก็จะได้รายละเอียดข้อมูลของหนังสือเล่มนั้น ๆ ปรากฎในหน้าจอมือถือ

 

ผู้เขียนรับผิดชอบในการจัดทำ QR Code แนะนำหนังสือใหม่ที่ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแบ่งปันการทำ QR แนะนำหนังสือใหม่ ผ่าน Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังนี้

1. เข้าเว็บไซต์ https://web.facebook.com/pg/libhcufanpage/photos/?ref=page_internal

 

จัดทำหนังสือลงใน Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศในแต่ละเดือน โดยใส่บรรณานุกรมหนังสือ และรายละเอียดแบบย่อให้ผู้ใช้ได้ทราบพอสังเขป หลังจากแนะนำหนังสือผ่าน Facebook เสร็จแล้ว นำมาทำ QR code Read the rest of this entry »

การเพิ่ม LHRs อย่างต่อเนื่องง่ายนิดเดียว
พ.ย. 1st, 2019 by ladda

ขั้นตอนการลงรายการบรรณานุกรม ในส่วนของ (LHRs) ของระบบ WorldShare Management Services-WMS

จากการที่ได้ทำการลงรายการบรรณานุกรม หนังสือของระบบ WorldShare Management Services-WMS มาระยะหนึ่ง ซึ่งต้องลงรายการของบรรณานุกรมให้ครบทั้ง 3 ส่วน คือ 1. ส่วนของ Master หรือ Bibliographic Record  2. ส่วนของ LBD  3. ส่วนของ LHR

การลงรายการในส่วน LHR ให้ราบรื่นไม่สะดุด และต่อเนื่อง ไม่ต้องค้นหา Bib ชื่อหนังสือนั้นใหม่อีกครั้ง เพื่อให้มีการลง Items ในส่วนที่ 3 นี้ได้อย่างถูกต้องและไม่ผิดพลาดในการลง  สามารถทำได้โดยมีขั้นตอนดังนี้

ส่วนที่ 1.  Master หรือ Bibliographic Record

ตัวอย่าง แสดงหน้าแรกของการสืบค้นจาก Bib Number 1012427386

เมื่อได้ชื่อหนังสือแล้วให้คลิกไปที่ชื่อเรื่อง “อ่านหนัง (สือ) กัน 20 หนังโปรดในดวงใจ ของข้าพเจ้าตลอดกาล” ก็จะปรากฏดังรูป Read the rest of this entry »

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่มีอยู่ใน OCLC WorldCat
ต.ค. 31st, 2019 by wanna

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่มีอยู่ใน OCLC WorldCat มีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าระบบ WorldShare Management Services (WMS) ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

2.  สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการในโมดูล Metadata เลือก Record Manager และ Search เลือก Data Type ที่ Bibliographic Records โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้

2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหาที่  All WorldCat

2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number

2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น ISBN

Search: ISBN = 9787301260456

รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search

        Read the rest of this entry »

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่ยังไม่มีใน OCLC WorldCat
ต.ค. 30th, 2019 by wanna

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่ยังไม่มีใน OCLC WorldCat มีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าระบบ WorldShare Management Services (WMS) ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการในโมดูล Metadata เลือก Record Manager และ Search เลือก Data Type ที่ Bibliographic Records โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้

2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหาที่  All WorldCat

2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number

2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น Title

Search: Title = 中华实用起名全解

รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search

Read the rest of this entry »

คลิก Hide Facets ช่วยได้เยอะ
ต.ค. 29th, 2019 by uthairath

การ Search หรือค้นหาข้อมูล ให้ง่ายขึ้น โดยเลือกในส่วนของ Hide Facets

ผู้เขียนได้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของการลงรายการการสั่งซื้อหนังสือและสื่อต่างๆ เช่น เกม ฯลฯ ในฐานข้อมูลระบบ WorldShare Management Services (WMS) จึงต้องมีการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ให้ได้ตรงตามความต้องการมากที่สุดและมีขั้นตอนที่สามารถช่วยให้หาข้อมูลได้ง่ายขึ้น จึงขอนำเสนอวิธีการสืบค้น ที่จะช่วยให้สืบค้นได้ง่ายมากขึ้นจากการใช้ hide facet จากตัวอย่าง การสืบค้น Marrakech

รูปภาพที่ 1 เกมชื่อ Marrakech

1.เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือหรือชื่อเกมที่ต้องการสืบค้น ในครั้งนี้จะทำการสืบค้นเกมที่มีชื่อว่า Marrakech

ในโมดูล Acquisition เลือก Discover Items Search โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้ Read the rest of this entry »

การกำหนดสถานะหนังสืออ้างอิง (Reference Book)
ต.ค. 10th, 2019 by suwanna

การกำหนดสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ในห้องสมุด จะเป็นความรับผิดชอบของงาน Cataloging เพื่อเป็นการจัดระเบียบของสิ่งพิมพ์ให้มีความชัดเจนและเพื่อเป็นการให้บริการผู้ใช้สามารถหยิบใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น

หนังสืออ้างอิง (Reference Book) เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทหนึ่งที่มีในห้องสมุด หมายถึง หนังสือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงเพียงตอนใดตอนหนึ่งในเล่มเท่านั้น จะไม่ใช้อ่านทั้งเล่ม ดังนั้นหนังสืออ้างอิงจึงถูกจัดแยกออกจากหนังสือทั่วไป เป็นหนังสือที่ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด  โดยจะมีการกำหนดสถานะ (Code) หรือสัญญลักษณ์ในระบบห้องสมุด  เพื่อแสดงให้รู้ว่าไม่สามารถยืมออกจากห้องสมุดได้ แต่สามารถใช้อ่านศึกษาค้นคว้าภายในห้องสมุดเท่านั้น ในการกำหนดสถานะ (Code) ของหนังสืออ้างอิงของระบบ WorldShare Management  Services (WMS) บรรณารักษ์งาน Cataloging จะต้องเข้าไปกำหนดในเขตข้อมูล Tag 008 ดังนี้ Read the rest of this entry »

การสืบค้นข้อมูลเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Digital Collection) จากระบบ ThaiLIS
ก.ค. 28th, 2019 by kalyaraksa

ตามที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ    มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมโครงการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Digital Collection) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551  เพื่อให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายมีความสะดวก ไม่เสียค่าใช้จ่าย   ทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์    การวิจัย   หนังสือหายาก   และบทความ  ทั้งที่เป็นของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอื่น ๆ    ที่เข้าร่วมโครงการ  จึงขอแนะนำวิธีการค้นข้อมูล เบื้องต้น (Basic search)  ตามขั้นตอนดังนี้

เริ่มต้นจากหน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ (https://lib-km.hcu.ac.th) Read the rest of this entry »

การจัดทำรายชื่อโสตทัศนวัสดุ
ก.ค. 26th, 2019 by prapaporn

การจัดทำรายชื่อโสตทัศนวัสดุ

การจัดทำรายชื่อโสตทัศนวัสดุ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้ใช้บริการ ในการสืบค้นรายชื่อสื่อโสตฯ เพิ่มอีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากการสืบค้นจากระบบห้องสมุด  แผนกทรัพยากรการเรียนรู้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ  จึงได้จัดทำรายชื่อสื่อโสตฯ จำนวน 2 เล่ม ไว้ให้บริการที่เคาน์เตอร์ยืม-คืนโสตทัศนวัสดุ ภายในเล่มจัดแบ่งออกเป็น

– หมวด ภาพยนตร์ทั่วไป
– หมวด ภาพยนตร์สารคดี
– หมวด ภาพยนตร์ประกอบการเรียนภาษาอังกฤษ
– หมวด ภาพยนตร์ซีรียส์

ขั้นตอนการทำรายชื่อโสตทัศนวัสดุ


1. ลงรายการสื่อโสตฯ ด้วยโปรแกรม Excel

2. ใส่ข้อมูลรายการ รหัสโสตฯ ชื่อเรื่อง ภาษา (จากภาพเลข1-3)

3. ใส่ข้อมูลแยกตามหมวดของสื่อโสตฯ (จากภาพเลข4-7) โดยคลิกที่ Insert
Worksheet จากภาพเลข 8 หรือ กดshift+F11

Read the rest of this entry »

การซ่อมบำรุงและรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
มิ.ย. 27th, 2019 by pisit

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีบริการทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ด้วยจำนวนการยืม สภาพการหยิบจับหนังสือ หรือสภาพแวดล้อมของห้องสมุด หนังสือมีการชำรุด เช่น ปกขาด สันหนังสือชำรุด เป็นต้น  การซ่อมแซมหนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นการรักษาและบำรุงทรัพยาการสารสนเทศให้มีสภาพที่สมบูรณ์ สามารถบริการให้ผู้ใช้ได้ศึกษาค้นคว้าได้ต่อไปอีกนาน

บทความนี้จึงขอแนะนำการซ่อมหนังสือ ประกอบด้วย

เครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมหนังสือ

  1. กาว
  2. แปรงทากาว
  3. กระดาษแข็งสำหรับทำปกเบอร์ 12
  4. กระดาษปอนด์รองสันปก
  5. ผ้าดิบหรือผ้ามุ้ง
  6. ผ้าแล็คซีน
  7. กระดาษแล็คซีน
  8. ผ้าคิ้ว
  9. มีดคัตเตอร์
  10. สว่านไฟฟ้าสำหรับเจาะรูหนังสือ
  11. เครื่องอัดหนังสือ
  12. เข็มขนาดใหญ่สำหรับเย็บหนังสือ
  13. ด้าย cotton สำหรับเย็บหนังสือ

ขั้นตอนการซ่อมหนังสือ Read the rest of this entry »

การดำเนินการกับเอกสารแลกเปลี่ยนเวร
มิ.ย. 25th, 2019 by pacharamon

บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการ เพื่อให้บริการผู้ใช้บริการ โดยมีหลายกรณีที่บุคลากรไม่สามารถปฏิบัติงานตามตารางที่วางไว้ จึงต้องมีการกรอกข้อมูลเพื่อการปรับเปลี่ยนตารางการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการ แต่หลายๆ ครั้งที่การกรอกแบบฟอร์มนั้น มีความไม่ชัดเจน และไม่สมบูรณ์ อาจส่งผลทำให้บุคลากร มีข้อมูลในระบบการปฏิบัติงานไม่ถูกต้องได้ ดังนั้น ผู้เขียน ซึ่งเป็นผู้ดูแลการส่งข้อมูลการปฏิบัติงานส่งกองทรัพยากรบุคคล จึงขอให้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีกันต่อไป

ข้อปฏิบัติการเขียนแบบเปลี่ยนแปลงตารางปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

1.หากมีการเปลี่ยนแปลงการเข้าปฎิบัติงานเหลื่อมเวลาให้ขอแบบฟอร์มเปลี่ยนแปลงตารางปฏิบัติหน้าที่ ได้ที่ สำนักงานเลขานุการ ชั้น 2 พร้อมลงชื่อรับแบบฟอร์มในสมุดรายการเบิกทุกครั้ง Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa