บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการ เพื่อให้บริการผู้ใช้บริการ โดยมีหลายกรณีที่บุคลากรไม่สามารถปฏิบัติงานตามตารางที่วางไว้ จึงต้องมีการกรอกข้อมูลเพื่อการปรับเปลี่ยนตารางการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการ แต่หลายๆ ครั้งที่การกรอกแบบฟอร์มนั้น มีความไม่ชัดเจน และไม่สมบูรณ์ อาจส่งผลทำให้บุคลากร มีข้อมูลในระบบการปฏิบัติงานไม่ถูกต้องได้ ดังนั้น ผู้เขียน ซึ่งเป็นผู้ดูแลการส่งข้อมูลการปฏิบัติงานส่งกองทรัพยากรบุคคล จึงขอให้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีกันต่อไป
ข้อปฏิบัติการเขียนแบบเปลี่ยนแปลงตารางปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
1.หากมีการเปลี่ยนแปลงการเข้าปฎิบัติงานเหลื่อมเวลาให้ขอแบบฟอร์มเปลี่ยนแปลงตารางปฏิบัติหน้าที่ ได้ที่ สำนักงานเลขานุการ ชั้น 2 พร้อมลงชื่อรับแบบฟอร์มในสมุดรายการเบิกทุกครั้ง
2. การระบุ กรณีให้ คือ กรณีป่วย / เกิดเหตุฉุกเฉิน/มีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นการส่วนตัวซึ่งไม่รู้ล่วงหน้า (การระบุกรณี ให้ ต้องชัดเจน ให้ลักษณะแบบใด ซึ่งต้องระบุเพิ่มเติมจากแบบฟอร์มให้ทราบอย่างชัดเจนบนหัวแบบฟอร์ม ตัวอย่างเช่น การให้เข้าปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาแทน (และต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงตารางหลังจากกลับเข้าปฏิบัติงานตามปกติ อย่างน้อย 2 วันทำการ)
3. การระบุ กรณีแลกเปลี่ยน คือ กรณีติดภารกิจของมหาวิทยาลัย / ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ไปปฏิบัติงานอื่นภายนอก/มีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นการส่วนตัวซึ่งรู้ล่วงหน้า และต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วันทำการปกติ
4. หากมีการเปลี่ยนแปลงตารางปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ 2 แผนก ขึ้นไป จะต้องมีการลงชื่อจากหัวหน้าแผนก ทั้ง 2 แผนก รับทราบอย่างถูกต้องและครบถ้วน
5. เสนอผู้บังคับบัญชา (ผอ.) เพื่อขออนุมัติ ต่อไป
ตย.แบบฟอร์มเปลี่ยนแปลงตารางปฏิบัติหน้าที่
ตย.แบบฟอร์มที่สมบูรณ์ถูกต้องครบถ้วน
ในการเขียนแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงตารางปฏิบัติงาน มีทั้งข้อดี และ ข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี:
- ผู้มีหน้าที่สรุปตารางปฏิบัติหน้าที่การปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาของบุคลากร สามารถทำได้ และลงรายการที่ถูกต้อง และส่งรายงานได้ทันเวลาตามที่กำหนด คือ (ภายในวันที่ 5 ของเดือนในวันทำการปกติ)
ข้อเสีย :
- หากไม่มีการแจ้งเปลี่ยนแปลงตารางปฏิบัติหน้าที่มา ผู้มีหน้าที่สรุปตารางปฏิบัติหน้าที่การปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาของบุคลากร จะไม่สามารถลงรายการที่ถูกต้อง อาจทำให้ข้อมูลการเข้าปฏิบัติงานในระบบไม่ถูกต้อง อาจส่งผลทำให้มาฏิบัติงานมาสาย /ขาดงาน