SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Electronic Resource Selection Principle and API
ก.พ. 23rd, 2019 by supaporn

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้เขียนและบุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในหัวข้อเรื่อง Electronic Resource Selection Principle and API  โดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เชิญ Dr.Jin Chen จาก Shanghai Jiao Tong University Library มาเป็นวิทยากรในกิจกรรมดังกล่าว ขอสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้

Shanghai Jiao Tong University Library มีการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic resources) โดยใช้หลักการ Three-One-Rule หรือ Trisection Unity Rule โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ให้เข้มแข็ง ได้แก่

1. กลุ่มอาจารย์และนักศึกษา เป็นหลักในการพิจารณาความต้องการในการใช้
2. บรรณารักษ์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา (Subject Librarians) เพื่อเป็นผู้แนะนำฐานข้อมูลแต่ละสาขาที่เหมาะสม
3. บรรณารักษ์จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (Acquisition Librarians) เพื่อให้เกิดความสมดุลในการบริหารจัดการและการควบคุมการใช้งบประมาณและทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์

ในการเลือกซื้อนั้น มีข้อควรพิจารณาคือ

1. ลักษณะของทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ จะพิจารณาเป็น package มากกว่าเป็นรายชื่อ และซื้อเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 70 ของงบประมาณทั้งหมด
2. องค์ประกอบในการพิจารณาเลือกซื้อ ได้แก่ ปริมาณ คุณภาพ การใช้ประโยชน์ และราคา
3. การประเมินผล มีการประเมินทั้งก่อนซื้อและหลังซื้อ (เมื่อมีการใช้งานแล้ว) Read the rest of this entry »

I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea
ก.พ. 23rd, 2019 by supaporn

I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea

สำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการสัมมนา เรื่อง I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 มีผู้เข้าร่วมฟังการบรรยาย ประมาณ 120 คน ประกอบด้วยการบรรยาย 5 หัวข้อ ได้แก่

I-school and Information Science Education in South Korea โดย Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library)

Utilizing Library Data โดย Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library)

บทบาทของบรรณารักษ์กับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ประสบการณ์จากการวิจัย (Systematic review) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤตย์ นิ่มสมบุญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลเชิงพฤติกรรม (UX Design using Library Analytics) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกรินทร์ ยลระบิล ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย นางสาวกรวรรณ ดีวาจา บรรณารักษ์ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำแบบประเมินผลความพึงพอใจ พร้อมสรุปผลแบบประเมิน (แบบคำนวณสูตร Excel)
ก.พ. 1st, 2019 by chanunchida

แบบประเมินความพึงพอใจเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อวัดหรือเพื่อต้องการทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จัดกิจกรรม เพื่อจะได้ทราบว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นนั้น มีประโยชน์ในการจัดหรือไม่ ผู้ร่วมกิจกรรมมีความคิดเห็นแต่ละด้านที่ผู้จัดต้องการทราบผลการจัดในแต่ละประเด็นอย่างไร ผู้ร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในแต่ละด้าน หรือในภาพรวมอย่างไร หรือไม่ เพื่อจะได้ทราบผลการประเมิน ซึ่งเสมือนเป็นผลของการดำเนินกิจกรรมว่าออกมาในรูปแบบที่ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมพอใจ หรือต้องปรับปรุงในด้านใดบ้าง เพื่อจะได้สร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นในครั้งต่อไป

การสร้างแบบประเมินความพึงพอใจ จึงต้องสร้างเพื่อให้ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการทราบในแต่ละด้าน และมีการกำหนดเกณฑ์ความพึงพอใจ เช่น มากที่สุด (5) มาก (4) ปานกลาง (3) น้อย (2) น้อยที่สุด (1) เมื่อผู้ร่วมกิจกรรมตอบแบบประเมินความพึงพอใจมาแล้ว จะต้องนำผลการกรอกคะแนนความพึงพอใจในแต่ละข้อมาคำนวณเพื่อสรุปคะแนนและวิเคราะห์คะแนนในแต่ละข้อ Read the rest of this entry »

Linked data กับ WorldCat – OCLC
ก.พ. 1st, 2019 by supaporn

ตอนที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียติ ตัดสินใจเลือกซื้อระบบ WorldShare Management Services หรือ WMS ซึ่งพัฒนาโดย OCLC เพราะว่า OCLC เป็นผู้พัฒนา WorldCat ซึ่งเป็นเหมือนสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalog ของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากมีสมาชิกอยู่ในเครือข่ายนำระเบียนบรรณานุกรมเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถที่จะขยายผลและต่อยอดของระเบียนบรรณานุกรมที่มีอยู่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ข้อมูล

OCLC ได้ขยายผลในเรื่องของ Linked data โดยใช้ฐานข้อมูลทางบรรณานุกรมเดียวกันนี้ในระบบ WMS แต่การพัฒนาโมดูล WCD หรือ WorldCat Discovery ซึ่งเป็นโมดูลการสืบค้น หรือ OPAC ของ WMS อาจจะยังไม่เท่ากับ WorldCat (ซึ่งตอนนี้ เรียกกันว่า WorldCat Local) คาดว่าประมาณกลางเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2562 WorldCat Local จะปิดลงและ WCD ก็จะได้รับการพัฒนาและมีศักยภาพเช่นเดียวกับ WorldCat Local

OCLC พัฒนาเรื่อง Linked data อย่างไรบ้าง  (Carol Jean Godby, Shenghui Wang and Jeffrey K. Mixter จากหนังสือ Library Linked Data in the Cloud หน้า 9)

Carol Jean Godby, Shenghui Wang and Jeffrey K. Mixter จากหนังสือ Library Linked Data in the Cloud หน้า 9)

Read the rest of this entry »

Change the Game โลกเปลี่ยน ห้องสมุดเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยน
ม.ค. 18th, 2019 by dussa

งาน APRC หรือ Asia Pacific Regional Council Conference ประจำปี 2018 ของ OCLC จัดภายใต้หัวข้อ Change the Game ที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน ระหว่างวันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน 2561 Skip Prichard ซึ่งเป็น CEO ของ OCLC ได้พูดถึงความสำคัญของคำว่า Change the Game ภายใต้หัวข้อ How can we change the game? ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

ห้องสมุดเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง    

Skip Prichard เกริ่นนำ โดยพูดถึงเรื่องรอบ ๆ ตัว ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น แผนที่แบบกระดาษ เปลี่ยนเป็นแผนที่ดูจากคอมพิวเตอร์ จากโทรศัพท์มือถือ ตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญที่ไม่มีใครใช้แล้ว ก็เปลี่ยนเป็น การใช้โทรศัพท์ในมือของตนเอง การเฝ้าบ้านที่เคยใช้สุนัข ก็เปลี่ยนเป็น การดูแลบ้านผ่านโทรศัพท์มือถือ จากนั้นก็กล่าวถึง เกมส์ ให้เราเข้าใจมากขึ้น จากพัฒนาการแบบง่าย ๆ เช่น ตู้เกมส์จอดำ เกมส์แบบตลับ เกมส์คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนรูปแบบไปอย่างเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น ถึงคราวที่ห้องสมุดต้องเปลี่ยนแล้ว

จุดเปลี่ยนที่ วิทยากร กล่าวคือ สิ่งที่ห้องสมุดต้องเปลี่ยนใน 4 ด้าน ได้แก่

  • You Chang your Frame (เปลี่ยนกรอบ/เปลี่ยนสิ่งที่ต้องเห็น)
  • You Chang your Culture (เปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานใหม่)
  • You Chang your Mindset (เปลี่ยนแนวคิดของตัวเอง)
  • You Chang your Narrative (เปลี่ยนวิธีการเล่าเรื่องใหม่)

การเปลี่ยนของจุดเปลี่ยนทั้ง 4 ด้านต้องเริ่มจากตัวเราเอง เปลี่ยนที่ตัวเราเอง แล้วส่งต่อการเปลี่ยนแปลงให้คนอื่น อย่าสั่งให้คนอื่นเปลี่ยนโดยที่ตัวเองทำแค่สั่ง เพราะสุดท้ายมันไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้น นอกจากเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแล้ว ที่สำคัญสิ่งที่ต้องรักษาไว้ก็คือ

  • Keep Your Values (เก็บค่านิยม/คุณค่าของห้องสมุด)
  • Keep Your Principles (เก็บหลักการ/หลักการพื้นฐานของห้องสมุด)
  • Keep Your Purpose (เก็บวัตถุประสงค์/จุดประสงค์ของการทำงานห้องสมุด)
  • Keep Your Passion (เก็บความรัก/ความหลงไหลที่มีคุณค่าในงานห้องสมุด)

บทสรุปจากการฟังในวันดังกล่าว สื่งที่ต้องเปลี่ยน ทั้ง 4 ด้านแล้ว ที่สำคัญที่สุด ในความคิดที่ได้จากการฟัง ต้องเปลี่ยนความคิดตัวเอง (Mindset) หมายความถึงบรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องเปลี่ยนความคิดตัวเองก่อน ก้าวตามโลกให้ทัน ต้องมีแนวคิดที่ทันสมัย ตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และ อีกสิ่งที่ต้องเก็บไว้รักษาไว้ คือ ความเป็นเอกลักษณ์ของห้องสมุด เช่น เป็นแหล่งที่มีข้อมูลหลากหลายจัดเก็บอย่างเป็นระบบด้วยมืออาชีพ และต้องเก็บความหลงใหล Passion ความรักในห้องสมุดอย่างยั่งยืน

 

ทำไมจึงต้องใช้โซเชียล (Why Social?) 
ม.ค. 11th, 2019 by pailin

คุณ Kalliope Stavridaki ผู้เชียวชาญด้านการตลาด เป็นวิทยากรในงาน OCLC Asia Pacific Regional Council Conference 28 – 29 November 2018 ณ โรงแรมเชอราตัน กรุงเทพฯ  โดยมีการจัดภายใต้หัวข้อ APRC 2018 Change the Game (เมื่อวันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2561) มาบอกเล่าแนวคิดในประเด็น การใช้ประโยชน์จาก Social Media มาเสริมสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างผู้ใช้บริการกับห้องสมุด หรือ การทำให้ผู้ใช้บริการติดอกติดใจห้องสมุดมาใช้บริการอยู่เสมอนั่นเอง โดย คุณ Kalliope Stavridaki เป็นวิทยากรร่วมกับ Adrianna Astle ในหัวข้อ How can you and your library transform user engagement?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้น ล้วนแล้วแต่มีการติดต่อสื่อสารข้อมูลกันบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงหนีไม่พ้นการนำ Social Media มาใช้ประโยชน์ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้ใช้บริการกับห้องสมุดเข้าหากัน ซึ่งมีเทคนิคง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่สามารถใช้ดึงดูดความสนใจจากผู้ใช้บริการได้จริง ดังต่อไปนี้

1. Get organized
วางแผนกำหนดตาราง งาน / กิจกรรม / สิ่งที่จะดำเนินการ ในแต่ละช่วงเวลาให้ชัดเจน แล้วนำไปเผยแพร่ใน Social Media
2. Follow and listen
ติดตามผลงานและรับฟังกระแสตอบรับที่เกิดขึ้น ซึ่งคุณ Kalliope ได้นำเสนอตัวอย่างให้เห็นว่า ในยุคสมัยนี้ บุคลากรของห้องสมุดสามารถใช้ประโยชน์จาก facebook, instagram ในการโต้ตอบหรือสื่อสารข้อมูลที่น่าสนใจออกไปเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้คนบนเครือข่าย Social Media ได้ ดังรูป Read the rest of this entry »

Transforming trend insights into innovation
ม.ค. 8th, 2019 by navapat

Transforming trend insights into innovation  โดย Nathania Christy , Head of Global Insight Network   เป็น member session วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2561 ของ OCLC Asia Pacific Regional Council Conference 28 – 29 November 2018  :  BANGKOK  THAILAND  (APRC 2018 Change the Game)  วิทยากรได้แนะนำ Trend Watching ว่าเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวม Trend ของอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท ซึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์

ในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การที่เราจำเป็นต้องรู้  Trend จะทำให้เราทราบความคาดหวังและความต้องการของผู้ใช้บริการ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน  โดย Trend หลักๆ ที่วิทยากรนำเสนอ และตั้งคำถามให้เราคิดตามด้วยทุกข้อตามความเข้าใจของผู้เขียน สรุปได้ดังนี้

1.  STATUS  SANDCASTLES  สถานภาพทางสังคม  (Social Status)

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 1.8 พันล้านคน มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ใช้สมาร์ทโฟนในการถ่ายภาพ ทักทายผู้คนด้วยอินสตราแกรม แชร์ประสบการณ์ทุกสิ่งอย่างบนเฟสบุ๊กส์   แล้ว “เราจะใช้ทรัพยากรหรือพื้นที่ในห้องสมุดของเราให้ผู้ใช้บริการบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาได้อย่างไร??” ตัวอย่างที่วิทยากรนำเสนอ เช่น  IKEA สอนการทำอาหารอย่างง่าย ฯลฯ

2.  FANTASY  IRL  การออกจากโลกของความเป็นจริง

เขตแดนระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกจินตนาการกำลังจางหายไป และในปี 2562 ผู้บริโภคจะแสวงหาการมีส่วนร่วมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่วิทยากรนำเสนอ เช่น การนำชมพิพิธภัณฑ์  Louvre  ตามมิวสิควีดีโอของ Beyonce และ  Jay – Z,  Man city and fantom นาฬิกาบอกตารางการแข่งขันของทีม Man city เป็นต้น “กลุ่มเป้าหมายของของคุณหนีไปสู่โลกแบบไหน?  คุณจะทำให้เขตแดนนั้นพร่ามัวต่อไป หรือจะดึงดูดและกระตุ้นพวกเขาได้อย่างไร?? ”

3.   MAGIC  TOUCHPOINT  สัมผัสมายากล  / สัมผัสมหัศจรรย์

ผู้บริโภคคาดหวังว่าจะได้รับบริการจาก MAGIC TOUCHPOINT  ราวกับว่าเป็นจินนี่กับตะเกียงวิเศษ ตัวอย่างเช่น  พวกเขาต้องการแชทโดยไม่ต้องดาวน์โหลดโปรแกรม,  จองการเดินทางได้ทุกที่ ทุกเวลา, Intime mall  ที่มีบริการ magic mirror ในห้องน้ำหญิง เป็นต้น  “คุณคิดจะใช้เทคโนโลยีเพื่อความสุขได้นี้ได้อย่างไร Touch point ไหนที่คุณสามารถฝังบริการของคุณลงไป?? ”

4.    VILLAGE  SQUARED (Connection) การเชื่อมโยงหรือเครือข่าย ไม่มีใครอยู่ได้โดยไม่ติดต่อสัมพันธ์กับใคร

ผู้บริโภคในปี 2019 นิยามการเชื่อมโยงใหม่และยอมรับวิธีการใหม่ในการสร้างชุมชน  ตัวอย่างเช่น  สายการบิน KLM มี  Airline’s translation seats ติดต่อกับผู้โดยสารที่สนามบิน,  โรงเรียนในชนบทของ Chennai ออกแบบเหมือนหมู่บ้าน โดยเน้นการเรียนการสอนที่ทำอย่างไรให้เด็กๆ มีความสุข , โฆษณาเบียร์ไฮเนเกนส์ ในประเทศอินเดีย ที่แสดงให้เห็นช่องว่างระหว่างเจนเนอเรชั่น  ปัญหาที่แท้จริงก็คือพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้มีการพูดคุยหรือสื่อสารซึ่งกันและกัน  เป็นต้น   “คุณสามารถทำอะไรกับพื้นที่ของคุณ, นโยบาย, ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, รูปแบบประสบการณ์ที่สามารถทำให้ผู้คนสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างมีความหมาย?? ”

ท้ายที่สุดของการฟังสัมมนาในหัวดังกล่าว ผู้เขียนได้ข้อสรุปและประทับใจจากการนำเสนอของวิทยากรทั้งการบรรยายและ Presentation ว่า  Trend  ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง และงานห้องสมุดไม่ใช่เรื่องยาก โดยเฉพาะผู้เขียนซึ่งไม่ได้จบบรรณารักษศาสตร์  แต่เมื่อต้องมาปฏิบัติงานห้องสมุด ต้องหมั่นเรียนรู้ และพัฒนาตนเองให้พร้อมในการบริการตลอดเวลา สอดคล้องกับประโยคที่ว่า  “Open your mind …… open your world”

การปรับปรุงพัฒนางาน Acquisition Module ในระบบห้องสมุด WMS
ม.ค. 7th, 2019 by ladda

จากการที่ได้ปฏิบัติงาน Acquisition module ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) นี้มาเป็นเวลา 1 ปี ได้เห็นถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการทำงานนี้มาโดยตลอด ดังนั้น จึงขอเขียนขั้นตอนการทำงานในโมดูลนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด เนื่องจากระบบ WMS มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องในขั้นตอนการทำงาน Acquisitions ซึ่งได้เคยเขียนขั้นตอนการทำงานนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง ดังนั้นจึงขอแสดงขั้นตอนงานตัดงบประมาณ Invoice อีกครั้ง เพื่อให้เห็นงานที่มีการเปลี่ยนแปลง ความละเอียด ชัดเจน กระชับ มากยิ่งขึ้น อีกครั้งตามขั้นตอนต่อไปนี้ รายละเอียด

เขียนผลงานวิชาการอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism)
ม.ค. 3rd, 2019 by supaporn

รองศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา ได้บรรยาย เรื่อง เขียนผลงานวิชาการอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism) โดยคณะนิติศาสตร์ และ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรมนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับคณาจารย์ นักวิจัย และผู้มาประชุมเครือข่ายประกันคุณภาพ 6 สถาบัน ที่มาร่วมประชุมวันที่ 24 ธันวาคม 2561 ณ ห้องสื่อประสม (ห้องบรรยายพิเศษ 2) อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

เขียนผลงานวิชาการอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism)

โดยสรุปจากการฟังและจากเอกสารประกอบการบรรยาย ได้ดังนี้

วิทยากรแบ่งการบรรยายออกเป็น 3 ภาค คือ

ภาค 1 เรียนรู้จากข่าว โดยนำกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่เป็นข่าวเกิดขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างสะท้อนให้เห็นความหมายของการลักลอกผลงาน ให้ชัดเจนขึ้น และให้เป็นข้อสังเกตว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของใครก็ตาม ต้องพิจารณาว่า ผลงานนั้นๆ มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ตัวอย่างที่ยกมานั้น มีทั้งกรณีที่เป็นนักศึกษา อาจารย์ และประชาชนทั่วไป ที่มีการคัดลอกผลงานทางวิชาการของคนอื่นมาเขียน ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา และมีการตรวจสอบได้ รวมทั้งวิธีการพิจารณาของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง เช่น มีทั้งการเพิกถอนปริญญา หรือบางกรณีเจ้าของผลงานไม่ติดใจ แต่ให้มหาวิทยาลัยดำเนินการตามมาตรการของมหาวิทยาลัยเอง ความเคลื่อนไหว และบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในการให้นิสิต นักศึกษา พ้นสภาพความเป็นนักศึกษาทันที หาพบว่ามีการจ้าง หรือคัดลอกวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในการพยายามหาเครื่องมือมาตรวจสอบการลอกเลียนทางวรรณกรรม Read the rest of this entry »

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านใน อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และ กชพร ขวัญทอง. (2561). การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านใน อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ (A Study of Folklore: A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bang Sao Thong District, Samutprakan Province). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

รายงานการวิจัยเรื่องนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของการตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านริมคลองในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของคลองที่เปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เน้นศึกษาจากการลงภาคสนามและเอกสารเป็นสำคัญ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ กลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุในท้องถิ่น นักวิชาการท้องถิ่น ผู้นำชุมชน พระภิกษุ รวมทั้งศึกษาจากเอกสารราชการ งานเขียนกึ่งวิชาการ บันทึกท้องถิ่น หนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจ แผนที่คลองในอดีตและปัจจุบัน และลงภาคสนามสังเกตลักษณะทางกายภาพของคลองและสถานที่ ๆ เกี่ยวข้อง โดยมีการตรวสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบสามเส้า(Triangulation)
ผลจากการวิจัยพบว่า การตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ชื่อส่วนใหญ่คนในท้องถิ่นตั้งกันเองตามชื่อบุคคลที่อยู่ในคลองหรือลักษณะโดดเด่นของคลอง เช่น ชื่อพืชพันธุ์ไม้ ขนาดหรือทิศทางของคลอง ภูมิประเทศ สัตว์ สิ่งก่อสร้าง กริยาการกระทำ เครื่องใช้ไม้สอย และความเชื่อหรือตำนาน ตามลำดับ เพื่อจดจำได้ง่ายและสะดวกในการสื่อสารให้เข้าใจได้ตรงกัน

บทบาทและความสำคัญของคลองจากอดีตสู่ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลัง คลองในอดีตที่เคยมีความสำคัญเป็นต้นกำเนิดของชุมชน แหล่งเศรษฐกิจทำกินและเส้นทางคมนาคมหลัก เปลี่ยนไปเมื่อถนนตัดผ่าน ก็ก่อเกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ เกิดพื้นที่ธุรกิจ อุตสาหกรรมและหมู่บ้านแห่งใหม่ของคนต่างถิ่นอยู่ตามแนวถนนและมีรูปแบบสังคมเมือง ส่วนหมู่บ้านที่อยู่ติดคลองเปลี่ยนเป็นรูปแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท
Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa