SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2561).  การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสน. (A Study of Acronym in 108 Core Scripture as a Supplementary Buddhist Material). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108      (2) เพื่อศึกษาแหล่งที่มา สาระสำคัญ และการนำอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ไปใช้ในมิติต่าง ๆ (3) เพื่อศึกษาการใช้อักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และนำเสนอเป็นรายงานการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Analysis Description)

ผลการวิจัยพบว่า การย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่ใช้วิธีการย่ออักษรตามคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะที่เป็นทฤษฎีการย่ออักษร 4 รูปแบบ คือ การย่ออักษรตัวแรกของศัพท์ การย่ออักษรตัวสุดท้ายของศัพท์ การย่ออักษรที่ใช้วิธีทั้งสองข้างต้นร่วมกัน การย่ออักษรแล้วประมวลอักษรมาไว้ตรงกลางโดยวางอักษรสลับกันไปมา หัวใจนอกจากนี้ใช้คำย่อ คำศัพท์ อักษรในภาษาบาลี อักษรไทย และคำไทยมาผสมกัน สำหรับแหล่งที่มาของอักษรย่อส่วนใหญ่มาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ รวมถึงบทสวดมนต์จากหนังสือสวดมนต์ แต่มีหัวใจบางส่วนที่มีแหล่งที่มาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไสยศาสตร์ วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์และขุนช้างขุนแผนที่โบราณาจารย์นำมาใช้สื่อเรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระรัตนตรัย พระพุทธเจ้า พระธรรม พุทธสาวกบางรูป คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา พิธีกรรม และเรื่องเล่าในพระพุทธศาสนา สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของโบราณาจารย์ที่นำเรื่องเหล่านี้มาใช้สื่อผ่านหัวใจต่าง ๆ ดังนั้น หัวใจและอักษรย่อของหัวใจจึงเป็นสื่อการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาโดยย่อ ส่วนการนำไปใช้นั้นพบในรูปแบบสำคัญคือ การใช้ที่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจที่สัมพันธ์กับหลักการในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ใช้สำหรับท่องจำหลักที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ใช้เป็นอุบายฝึกจิตให้เป็นสมาธิโดยใช้อักษรในหัวใจเป็นเครื่องภาวนา และใช้เป็นอุบายเตือนสติผู้นำไปใช้ให้ละความชั่ว ทำความดีด้วยการรักษาศีล เสียสละ และพัฒนาจิตให้ผ่องใส ส่วนการนำไปใช้ที่ไม่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจนั้นพบว่า ส่วนใหญ่นำไปใช้ตามความเชื่อในไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดอานุภาพด้านทีดี เช่น ปลอดภัยจากอันตราย เมตตามหานิยม เป็นต้น และบางส่วนถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ทำให้คนหลงรัก ทำให้คนเกลียดชังกัน และนำไปใช้เสกของกินร่วมกับสุราที่เป็นการส่งเสริมให้คนผิดศีลข้อที่ 5 แต่ถ้ากล่าวสรุปตามสาระสำคัญของหัวใจแล้ว อักษรย่อในคัมภีร์ในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่เป็นสื่อการเรียนรู้พระพุทธ ศาสนาที่มุ่งให้คนเข้าใจและนำไปใช้พัฒนาชีวิตตั้งแต่หลักการพื้นฐาน เช่น ศีล 5 จนถึงหลักธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตสู่ความหลุดพ้นทุกข์ เช่น อริยสัจสี่ เป็นต้น

ผลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นประโยชน์ของการศึกษาเรื่องนี้โดยสรุป คือ การไขความลี้ลับของหัวใจ 108 ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ที่มีอานุภาพต่าง ๆ  แต่ผลการศึกษาเรื่องนี้สามารถยืนยันได้ว่า หัวใจต่าง ๆ ในคัมภีร์หัวใจ 108 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่อันเป็นกุศโลบายในการสอนพระพุทธศาสนาของ   โบราณาจารย์ไทย แต่เรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนาถูกกลบไปด้วยอิทธิพลของความเชื่อไสยศาสตร์ ประกอบกับการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้มักจะไม่มีการบอกความหมายและแหล่งที่มาของอักษรย่อจึงทำให้หลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนาเลือนหายไปกลายเป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์เข้ามาแทนที่อย่างน่าเสียดาย

Read the rest of this entry »

โพธิ์: จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

โพธิ์ : จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว

Bodhi Tree from Bodh Gaya to Huachiew

บทคัดย่อ:

โพธิ์เป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกันกับโพ ชาวพุทธถือว่าโพธิ์เป็นต้นไม้ประจำพระพุทธศาสนา เพราะเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งในขณะที่ตรัสรู้ชาวไทยพุทธนิยมนำโพธิ์สายพันธุ์พุทธคยามาปลูกไว้ตามวัดวาอารามทั่วไป เพื่อระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ต้นโพธิ์ยังเข้ามา
เกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคมไทยในหลายเรื่อง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้กำหนดเอาต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย และสร้างประติมากรรมอันเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยภายใต้ชื่อว่าพระบรมโพธิสมภาร อันสื่อถึงพระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย และความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระมหากษัตริย์ไทยของผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังแสดงถึงเป้าหมายของการศึกษา คือ ความรุ่งเรืองทางปัญญาและคุณธรรมของเยาวชนที่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ตามรอยโพธิญาณของพระพุทธเจ้าภายใต้ปรัชญาธรรมอันสูงส่งที่ว่า เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม ซึ่งเป็นแม่บทของการใช้องค์ความรู้และการดำเนินชีวิตตามปฏิปทาธรรมของหลวงปู่ไต้ฮงที่ยึดแนวพระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ทรงส่งพระสาวกไปทำงานให้พระศาสนา คือ การอนุเคราะห์ชาวโลกให้ได้รับประโยชน์และความสุข ดังนั้นเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วโพธิ์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา ความบริสุทธิ์แห่งจิต และกรุณาที่แสดงออกมาในรูปของการบำเพ็ญประโยชน์ต่อโลก

Bodhi Tree is a species of fig in the same family (Moraceae) as the Bo-Tree. This plant is considered sacred by the followers of Buddhism because Siddhartha Gautama is refered to have been sitting underneath a Bo-Tree when he was enlightened (Bodhi). Bodhi Trees has been involved in many aspects of Thai ways of life. Thai Buddhists usually plant the “Bodh Gaya” Bodhi Trees in the temples to remind themselves of Lord Buddha’s enlightenment. Huachiew Chalermprakiet University has also declared this tree as its official symbol. The university was established with the placement of “Phra Borom Bodhi Somparn” or “Golden Bodhi Tree” sculpture to represent the Royalty and gratitude of the Huachiew Chalermprakiet University founders. The sculpture signifies the university’s academic goals — the dawning light of the knowledge and the morals of the students. Following Lord Buddha’s teaching, the university has set its motto as “Learning to Serve Society”, meaning that the students should apply their knowledge to help other people in the society as demonstrated when the disciple monks were dispatched to explain the dharma to the populace. As a conclusion, the Bhodi Tree is a symbol of wisdom, purity, and kindness as reflected in the society-serving deeds.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2553). โพธิ์ : จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 69-84.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa