SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
กิจกรรมพิธีลงนามความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวัน
พฤศจิกายน 30th, 2018 by wanna

กิจกรรมพิธีลงนามความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวันระหว่างหอสมุดกลางแห่งชาติไต้หวัน (National Central Library, Taiwan ROC : NCL) และ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Signing and Opening Ceremony of the Taiwan Resource Center for Chinese Studies (TRCCS) @ CU Library จัดโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561

กิจกรรมนี้ ประกอบด้วย

  • การบรรยาย เรื่อง Taiwan Lecture on Chinese Studies ; Thai images in Taiwan (ภาษาอังกฤษ) โดย Pei-hsiu Chen ผู้อำนวยการภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติจี้หนาน
  • พิธีเปิดมุมทรัพยากรสารสนเทศไต้หวัน (Taiwan Resource Center for Chinese Studies : TRCCS)
  • พิธีเปิดนิทรรศการ “ไทยวิจิตรตระการ-ตำนานไทยในรอยรำลึกไต้หวัน” (The Beauty and Grace of Thailand – An Exhibition of Thailand in Taiwan Memory)

จากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้ได้รับทราบโครงการความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวัน ระหว่าง หอสมุดกลางแห่งชาติไต้หวัน (National Central Library, Taiwan R.O.C. : NCL) และ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ชมการจัดมุมทรัพยากรสารสนเทศไต้หวัน และ ชมนิทรรศการ  “ไทยวิจิตรตระการ-ตำนานไทยในรอยรำลึกไต้หวัน” (The Beauty and Grace of Thailand – An Exhibition of Thailand in Taiwan Memory) และ ได้ฟังการบรรยาย เรื่อง Taiwan Lecture on Chinese Studies ; Thai images in Taiwan (ภาษาอังกฤษ) โดย Prof. Pei-hsiu Chen ผู้อำนวยการภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติจี้หนาน

 

วิทยากร Prof. Pei-hsiu Chen

เปิดมุมทรัพยากรสารสนเทศไต้หวัน
โดย รศ. ดร. อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสำนักวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรร์มหาวิทยาลัย
และ Dr. Shu-hsien Tseng ผู้อำนวยการหอสมุดกลางแห่งชาติไต้หวัน

 

นิทรรศการ “ไทยวิจิตรตระการ-ตำนานไทยในรอยรำลึกไต้หวัน

 

  มุมทรัพยากรสารสนเทศไต้หวัน

สรุปการบรรยาย เรื่อง Taiwan Lecture on Chinese Studies : Thai images in Taiwan

 Prof. Pei-hsiu Chen กล่าวว่า ในบรรดาประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเสน่ห์มีชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์  ไม่เฉพาะเพียงด้านการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังปรากฏโดดเด่นในด้านต่าง ๆ ซึ่งมีภาพพจน์หยั่งรากลึกในสังคมโลก  กรุงเทพฯ เป็นจุดหมายการท่องเที่ยวระดับต้นของชนนานาชาติมาตลอด ประเทศไทย เป็นประเทศที่น่าอัศจรรย์ ถูกจับตามองอย่างรอบทิศทางจากทั่วโลก

ไทยศึกษา เป็นที่ยอมรับของทั่วโลกว่าเป็นงานวิจัยทางวิชาการ  การประชุมนานาชาติเกี่ยวกับเรื่องไทยศึกษา (International Conference on Thai Studies (ICTS))  ในปี 1981 ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการริเริ่มศึกษาเกี่ยวกับประเทศไทยประเทศเดียว และหลังจากการพัฒนาร่วมทศวรรษ เราได้ประจักษ์เห็นการก่อตั้งชุมชนวิชาการระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียง ที่เพิ่มขยายไทยศึกษาในด้านสหวิชาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความเข้าใจ และ เพิ่มศักยภาพทางการวิจัยทางวิชาการ  ไต้หวันไม่เพียงแต่ใกล้ชิดกับประเทศไทย เฉพาะการออกเสียงที่เหมือนกันเท่านั้น แต่ยังมีความสนใจร่วมกันในด้านคุณค่าทางวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ และความสนใจในการผลักดันให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันในปัจจุบัน

การบรรยายครั้งนี้ ได้แนะนำภูมิหลังไทยศึกษาในไต้หวัน และพัฒนาการล่าสุดของไทยศึกษา สำรวจและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างไทยและไต้หวันจากด้านการเมืองประจำวัน หรือ อีกนัยหนึ่ง คือ การบรรยายครั้งนี้ ไม่เพียงแต่จะสนทนาเฉพาะเศรษฐกิจการเมืองระหว่างไต้หวันและไทยเท่านั้น แต่ยังกล่าวถึงภาพของประเทศไทยในหลาย ๆ ด้านที่ปรากฏในประชาคมของไต้หวัน

 ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ มีดังนี้

  1. ทำให้สามารถเพิ่มพูนความรู้ที่ทันสมัยจากการไปร่วมกิจกรรม
  2. ทำให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของไทยศึกษาในไต้หวัน
  3. ทำให้รู้จักนักวิชาการและบุคคลสำคัญในหน่วยงานต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการขอความร่วมมือต่อไปในอนาคต เช่น สามารถติดต่อกับ Prof. Pei-hsiu Chen ซึ่งเป็นผู้อำนวยการภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติจี้หนาน และ ผู้อำนวยการของสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งไต้หวัน ให้มาเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องเกี่ยวกับจีนศึกษาและไต้หวันศึกษา รวมทั้งเรื่องไทยศึกษาในไต้หวัน ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทยกับไต้หวันเป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถติดต่อกับผู้อำนวยการหอสมุดกลางแห่งชาติไต้หวัน  Dr. Shu-hsien Tseng เพื่อขอรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศเกี่ยวกับจีนศึกษาและไต้หวันศึกษา ขอใช้คลังข้อมูลดิจิทัลเกี่ยวกับจีนศึกษาและไต้หวันศึกษาและขอจัดตั้งมุมทรัพยากรสารสนเทศไต้หวันศึกษา
  4. ทำให้เห็นรูปแบบการจัดมุมทรัพยากรสารนิเทศ และ การจัดนิทรรศการ ซึ่งสามารถนำมาปรับปรุงใช้กับการปฏิบัติงานที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้

Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa