SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
OA & Open Content in the user workflow
ธ.ค. 9th, 2018 by supaporn

OA & Open Content in the user workflow เป็น member session ของวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ของ APRC18 Change the Game โดยมีวิทยากร คือ Kuang-hua Chen และ Titia van der Werf ซึ่งทั้งสองท่าน มาพูดถึงงานที่ OCLC กำลังสำรวจโดยออกแบบสอบถามในเรื่องของ Open Access (OA) และ Open Content ให้แก่ห้องสมุดเข้าไปตอบแบบสอบถามได้ที่ http://oc.lc/OAAPRC18 (หมดเขต 15 มกราคม 2562) โดยวิทยากรได้ให้คำถามประมาณ 5 คำถาม เป็น Discussion guide เพื่อให้ผู้เข้าฟังทำความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

Discussion guide

เริ่มจากคำถามแรกคือ How do you define/categories open content activities and services? ซึ่งเป็น 1 ใน 5 คำถามที่วิทยากรนำเสนอในห้อง และให้ผู้เข้าร่วมฟังนำเสนอว่าในห้องสมุดของตนเองนั้น มีการทำ OA หรือมีการให้บริการ OA ประเภทใดบ้าง ห้องสมุดแต่ละแห่งต่างก็นำเสนอ OA ที่มีในรูปแบบที่เหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง สรุปออกมาได้ตามรูปที่วิทยากรพยายามจัดกลุ่มหรือหมวดหมู่มาให้ การทำ OA ของห้องสมุดที่มาร่วมฟัง มีทั้งที่เป็นการทำด้วยห้องสมุดเอง เช่น การทำ Digitization เอง หรือการไปดึง OA จากที่อื่นมาให้บริการ บางแห่งก็มีเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไปบ้าง

สรุปหมวดของ OA

ประเด็นคำถามอื่นๆ น่าจะเป็นแนวทางในการนำความคิดได้ว่า การมี/การทำ Open content ต้องมีนโยบายอย่างไร มีแนวปฏิบัติอย่างไร แนวโน้มจะเป็นอย่างไร การลงทุนกับการทำ Open content และ OCOC จะมาช่วยในเรื่องพวกนี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าคิดกันต่อและให้เป็นระบบ

Beall’s List of Predatory Publishers
ม.ค. 14th, 2016 by supaporn

Jeffrey Beall ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มศึกษาวิจัยเรื่อง Predatory publishers ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เพื่อเปิดเผยรายชื่อ สำนักพิมพ์ที่น่าสงสัย ที่มีแนวโน้มว่าไม่ได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และอาจจะเป็นการหลอกลวงเพื่อหารายได้ แต่ละปีจะมีจำนวนสำนักพิมพ์และวารสารที่อยู่ในข่ายนี้ เพิ่มมากขึ้น เพราะการเผยแพร่ผลงานวิจัยเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการทำวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัยจึงมักจะอยู่ในวารสารวิชาการ บทคัดย่อ หรือ proceedings ของการประชุมวิชาการ  ด้วยปัจจัยนี้เอง ทำให้สำนักพิมพ์หลายๆ แห่ง เห็นช่องทางทำธุรกิจใหม่ภายใต้ Open Access Model ซึ่งมีทั้งถูกต้องเหมาะสมและ เพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ นักวิจัยรุ่นใหม่ไม่ควรเสี่ยงตีพิมพ์

Beall’s list predatory publishers (http://scholarlyoa.com/publishers/) จึงเป็นการรวมรายชื่อสำนักพิมพ์ รวมทั้งมีบัญชีรายชื่อวารสาร http://scholarlyoa.com/individual-journals/ไว้ด้วย และเป็นหลักการที่ว่า รายชื่อวารสารใดที่อยู่ในบัญชีนี้ไม่ควรนำผลงานไปตีพิมพ์ Read the rest of this entry »

แหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์
ธ.ค. 2nd, 2015 by supaporn

การค้นหาวิทยานิพนธ์สามารถสืบค้นได้จากหลายแหล่งสารสนเทศ บางแหล่งฟรี บางแหล่งต้องเป็นสมาชิก

เริ่มต้นง่ายๆ สืบค้นจากฐานข้อมูลในห้องสมุด (Library catalogue) ของมหาวิทยาลัยก่อนขยับมาควรค้นจาก IR (Institutional repositories) ของมหาวิทยาลัย ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ดำเนินการกันอยู่ แหล่งนี้เป็นวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa