SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษาตอนต้น ในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

บังอร ฉางทรัพย์ สุภาภรณ์ วรรณภิญโญชีพ ศิริวรรณ ตันตระวาณิชย์ เกษม พลายแก้ว ภาสินี สงวนสิทธิ์ และ ระพีพันธุ์ ศิริเดช (2561). ความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษาตอนต้น ในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย (Prevalence of Enterobius vermicularis among preschool and lower primary school children in Bangbor district, Samutprakarn province, Thailand). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในเขตอำเภอบางบ่อ  จังหวัดสมุทรปราการ  และ 2) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของพยาธิเข็มหมุดกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  วิธีการศึกษาโดยการตรวจหาไข่พยาธิเข็มหมุดด้วยวิธีสกอตเทป ในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษา  ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 9 แห่ง และโรงเรียนประถมศึกษา 20  แห่งในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างเดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนธันวาคม 2559  เด็กที่รับการตรวจจำนวน  2,013  คน เป็นเพศชาย จำนวน  1,013 คน เพศหญิง จำนวน 1,000  คน ผลการสำรวจพบความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็ก ร้อยละ 5.17 (104/2,013)   พบเด็กขายมีความชุกพยาธิเข็มหมุด ร้อยละ 5.23  (53/1,013) เพศหญิง ร้อยละ 5.10 (51/1,000)  เมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กกับปัจจัยที่ศึกษา  ประกอบด้วย 1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับเด็ก ได้แก่  เพศ  อาการแสดงของโรค  และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด  2)  ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้ปกครองเด็ก ได้แก่  เพศ อายุ รายได้ ความเพียงพอของค่าใช้จ่าย ระดับการศึกษา อาชีพ  พื้นเพดั้งเดิม  และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคพยาธิลำไส้  และ 3) พื้นที่ศึกษา พบว่าเกือบทุกปัจจัยไม่มีความสัมพันธ์กับความชุกของยาธิเข็มหมุดในเด็ก  (p>0.05) ยกเว้น  ปัจจัยด้านการกัดเล็บเล่นของเด็ก  ความเพียงพอค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองเด็ก และระดับการศึกษาของผู้ปกครองเด็ก ที่มีความสัมพันธ์กับความชุกพยาธิเข็มหมุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กวัยประถมศึกษายังคงมีการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดค่อนข้างสูง ดังนั้นควรมีการอบรมครูและผู้ปกครองเด็กเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดีเพื่อลดการแพร่ระบาดของพยาธิเข็มหมุดในพื้นที่ศึกษาและพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป

Read the rest of this entry »

การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2561).  การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสน. (A Study of Acronym in 108 Core Scripture as a Supplementary Buddhist Material). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108      (2) เพื่อศึกษาแหล่งที่มา สาระสำคัญ และการนำอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ไปใช้ในมิติต่าง ๆ (3) เพื่อศึกษาการใช้อักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และนำเสนอเป็นรายงานการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Analysis Description)

ผลการวิจัยพบว่า การย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่ใช้วิธีการย่ออักษรตามคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะที่เป็นทฤษฎีการย่ออักษร 4 รูปแบบ คือ การย่ออักษรตัวแรกของศัพท์ การย่ออักษรตัวสุดท้ายของศัพท์ การย่ออักษรที่ใช้วิธีทั้งสองข้างต้นร่วมกัน การย่ออักษรแล้วประมวลอักษรมาไว้ตรงกลางโดยวางอักษรสลับกันไปมา หัวใจนอกจากนี้ใช้คำย่อ คำศัพท์ อักษรในภาษาบาลี อักษรไทย และคำไทยมาผสมกัน สำหรับแหล่งที่มาของอักษรย่อส่วนใหญ่มาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ รวมถึงบทสวดมนต์จากหนังสือสวดมนต์ แต่มีหัวใจบางส่วนที่มีแหล่งที่มาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไสยศาสตร์ วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์และขุนช้างขุนแผนที่โบราณาจารย์นำมาใช้สื่อเรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระรัตนตรัย พระพุทธเจ้า พระธรรม พุทธสาวกบางรูป คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา พิธีกรรม และเรื่องเล่าในพระพุทธศาสนา สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของโบราณาจารย์ที่นำเรื่องเหล่านี้มาใช้สื่อผ่านหัวใจต่าง ๆ ดังนั้น หัวใจและอักษรย่อของหัวใจจึงเป็นสื่อการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาโดยย่อ ส่วนการนำไปใช้นั้นพบในรูปแบบสำคัญคือ การใช้ที่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจที่สัมพันธ์กับหลักการในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ใช้สำหรับท่องจำหลักที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ใช้เป็นอุบายฝึกจิตให้เป็นสมาธิโดยใช้อักษรในหัวใจเป็นเครื่องภาวนา และใช้เป็นอุบายเตือนสติผู้นำไปใช้ให้ละความชั่ว ทำความดีด้วยการรักษาศีล เสียสละ และพัฒนาจิตให้ผ่องใส ส่วนการนำไปใช้ที่ไม่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจนั้นพบว่า ส่วนใหญ่นำไปใช้ตามความเชื่อในไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดอานุภาพด้านทีดี เช่น ปลอดภัยจากอันตราย เมตตามหานิยม เป็นต้น และบางส่วนถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ทำให้คนหลงรัก ทำให้คนเกลียดชังกัน และนำไปใช้เสกของกินร่วมกับสุราที่เป็นการส่งเสริมให้คนผิดศีลข้อที่ 5 แต่ถ้ากล่าวสรุปตามสาระสำคัญของหัวใจแล้ว อักษรย่อในคัมภีร์ในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่เป็นสื่อการเรียนรู้พระพุทธ ศาสนาที่มุ่งให้คนเข้าใจและนำไปใช้พัฒนาชีวิตตั้งแต่หลักการพื้นฐาน เช่น ศีล 5 จนถึงหลักธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตสู่ความหลุดพ้นทุกข์ เช่น อริยสัจสี่ เป็นต้น

ผลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นประโยชน์ของการศึกษาเรื่องนี้โดยสรุป คือ การไขความลี้ลับของหัวใจ 108 ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ที่มีอานุภาพต่าง ๆ  แต่ผลการศึกษาเรื่องนี้สามารถยืนยันได้ว่า หัวใจต่าง ๆ ในคัมภีร์หัวใจ 108 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่อันเป็นกุศโลบายในการสอนพระพุทธศาสนาของ   โบราณาจารย์ไทย แต่เรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนาถูกกลบไปด้วยอิทธิพลของความเชื่อไสยศาสตร์ ประกอบกับการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้มักจะไม่มีการบอกความหมายและแหล่งที่มาของอักษรย่อจึงทำให้หลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนาเลือนหายไปกลายเป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์เข้ามาแทนที่อย่างน่าเสียดาย

Read the rest of this entry »

OCLC’s Integrated Management Platform, WorldShare Management Services (WMS) สามารถช่วยตอบโจทย์ในปัจจุบันของห้องสมุดได้อย่างไร
ธ.ค. 29th, 2018 by supaporn

หัวข้อดังกล่าว เป็นการจัดเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการเปิดตัวระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) อย่างเป็นทางการของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561 โดยบริษัท แอดวานซ์ มีเดีย เซอร์วิส (Advance Media Service-AMS) ได้จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรื่อง OCLC’s integrated management platform, WorldShare Management Services (WMS) สามารถช่วยตอบโจทย์ในปัจจุบันของห้องสมุดได้อย่างไร เพื่อให้ห้องสมุดที่สนใจ เข้าร่วมฟัง

OCLC’s Integrated Management Platform, WorldShare Management Services (WMS) สามารถช่วยตอบโจทย์ในปัจจุบันของห้องสมุดได้อย่างไร

ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับ และกล่าวถึงการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services (WMS) มาใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย และทีมงาน AMS ได้มาอัพเดท feutures ใหม่ ๆ ของ WMS ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของห้องสมุด สุดท้ายเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ในการนำระบบ WMS มาใช้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พร้อมสาธิตระบบให้แก่ผู้สนใจเข้าฟัง ณ ห้องสื่อประสม (ห้องบรรยายพิเศษ 2) ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Read the rest of this entry »

เยี่ยมชม “อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง”
ธ.ค. 22nd, 2018 by namfon

ประธานคณะกรรมการดำเนินการด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม นำโดย อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม จากทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 60 คน  ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ มีการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษา 2559-2561 มีโครงการที่มุ่งเน้นด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมให้แก่นักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยฯ ประกอบด้วย กิจกรรมแบบมีส่วนร่วมที่มุ่งเน้นด้านการประหยัดพลังงานและดูแลสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการศึกษาดูงานอาคาร สำนักงานประหยัดพลังงาน  เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการโครงการดังกล่าว  ในปีการศึกษา 2561 ได้เข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จังหวัดนนทบุรี  เมื่อวันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 เวลา 09.00-12.00 น.

อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง หรือ EGAT Learning Center  เป็นโครงการที่กฟผ. มุ่งทำขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์การแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานของประเทศไทยและพลังงานของโลก ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต  ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 18 ไร่ มีพื้นที่ 6,000 ตารางเมตร จำนวน 4 ชั้น  เจ้าหน้าที่พาชมบริเวณด้านหน้าทางขึ้นเป็นสวนแนวตั้ง  ประดับด้วยพรรณไม้ประเภทไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ที่มีความทนทานต่อแสงแดดเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น ฟิโลเดนดรอนสีทอง สีเขียว (Philodendron) เฟิร์น เป็นต้น  บริเวณด้านหน้าประตูทางขึ้นมีตราสัญลักษณ์ของ กฟผ. มองลงไปเบื้องหน้าริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา  บริเวณเชิงสะพานพระราม 7  และภายในบ่อบำบัด จะเห็นว่าในบ่อมีน้ำสีเขียว เรียกว่าบ่อซึม  สามารถใช้น้ำที่บำบัดแล้ว นำมาหมุนเวียนใช้ต่อได้

สวนแนวตั้งและตราสัญลักษณ์ กฟผ.

แสงเงาของผู้เยี่ยมชม

Read the rest of this entry »

OA & Open Content in the user workflow
ธ.ค. 9th, 2018 by supaporn

OA & Open Content in the user workflow เป็น member session ของวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ของ APRC18 Change the Game โดยมีวิทยากร คือ Kuang-hua Chen และ Titia van der Werf ซึ่งทั้งสองท่าน มาพูดถึงงานที่ OCLC กำลังสำรวจโดยออกแบบสอบถามในเรื่องของ Open Access (OA) และ Open Content ให้แก่ห้องสมุดเข้าไปตอบแบบสอบถามได้ที่ http://oc.lc/OAAPRC18 (หมดเขต 15 มกราคม 2562) โดยวิทยากรได้ให้คำถามประมาณ 5 คำถาม เป็น Discussion guide เพื่อให้ผู้เข้าฟังทำความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

Discussion guide

เริ่มจากคำถามแรกคือ How do you define/categories open content activities and services? ซึ่งเป็น 1 ใน 5 คำถามที่วิทยากรนำเสนอในห้อง และให้ผู้เข้าร่วมฟังนำเสนอว่าในห้องสมุดของตนเองนั้น มีการทำ OA หรือมีการให้บริการ OA ประเภทใดบ้าง ห้องสมุดแต่ละแห่งต่างก็นำเสนอ OA ที่มีในรูปแบบที่เหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง สรุปออกมาได้ตามรูปที่วิทยากรพยายามจัดกลุ่มหรือหมวดหมู่มาให้ การทำ OA ของห้องสมุดที่มาร่วมฟัง มีทั้งที่เป็นการทำด้วยห้องสมุดเอง เช่น การทำ Digitization เอง หรือการไปดึง OA จากที่อื่นมาให้บริการ บางแห่งก็มีเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไปบ้าง

สรุปหมวดของ OA

ประเด็นคำถามอื่นๆ น่าจะเป็นแนวทางในการนำความคิดได้ว่า การมี/การทำ Open content ต้องมีนโยบายอย่างไร มีแนวปฏิบัติอย่างไร แนวโน้มจะเป็นอย่างไร การลงทุนกับการทำ Open content และ OCOC จะมาช่วยในเรื่องพวกนี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าคิดกันต่อและให้เป็นระบบ

APRC18 Change the Game
ธ.ค. 9th, 2018 by supaporn

OCLC ที่เรามักจะคุ้นกับการเรียก OCLC มากกว่า จนลืมไปแล้วว่า คำเต็มๆ ของ OCLC คือ Online Computer Library Center หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร มีชื่อเสียงในการวิจัยและพัฒนาทางด้านห้องสมุดมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งรับประกันได้ถึงความน่าเชื่อถือในด้านรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด รวมทั้งการขยายงานวิจัยออกไปในหลายๆ ด้าน

ผู้เขียนคุ้นเคยกับผลงานของ OCLC มาตั้งแต่สมัยการทำสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalog พัฒนามาเป็น WorldCat และพัฒนาการจนเป็นการยืมระหว่างห้องสมุดที่สามารถยืมกันได้ทั่วโลก ผ่านระบบ WorldShareILL นับว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการบรรณารักษศาสตร์และห้องสมุดเลยทีเดียว ขณะเดียวกัน OCLC ก็มีการวิจัยในหลายๆ ส่วนที่เอื้อประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงข้อมูล (Linked data) และการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

ในแต่ละปี OCLC จะมีการจัดประชุมวิชาการในแต่ละภูมิภาคเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานวิจัย ความร่วมมือจากหลายๆ ส่วนที่ก่อให้เกิดการวิจัยร่วมกัน รวมทั้งการประชาสัมพันธ์กิจการและผลิตภัณฑ์ของ OCLC เองด้วย นอกเหนือจากหัวข้อเหล่านี้แล้ว OCLC จะมีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับหัวข้อของงานที่จัดในแต่ละปี ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้รับประโยชน์จากข้อความรู้ต่างๆ เหล่านี้ แม้ว่าบางครั้งอาจจะยังตามไม่ทัน แต่การได้ไปฟังเรื่องใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยรู้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีๆ เพราะคำขวัญที่ OCLC ใช้เสมอก็คือ “Because what is known must be shared” ไม่ว่าจะเป็นการ share ทรัพยากรสารสนเทศตาม concept ของ OCLC เองก็ตาม แต่ขอรวมการเอาองค์ความรู้ที่ทำวิจัยมาเผยแพร่หรือการเชิญวิทยากรจากหลายๆ แห่งมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ก็นับเป็นสิ่งที่ดี

สำหรับปี 2561 นี้ ในส่วนภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก OCLC ได้จัดการประชุมที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2561 ภายใต้ชื่อว่า APRC18 Change the Game มีหัวข้อในปีนี้ที่น่าสนใจหลายหลายข้อ เช่น (คงสามารถเขียนได้เฉพาะในส่วนที่ได้เข้าร่วมฟัง เพราะบางหัวข้อมีการแยกห้องตามความสนใจ)

OCLC Asia Pacific Regional Council Conference ในหัวข้อ Change the Game (APRC18 Change the Game)

How can we change the game? โดย Skip Richard สรุปเป็นภาษาไทย

Collaboration, visibility and data-driven decision making โดย Ellen Hartman

How can you and your library transform user engagement? โดย Adrianna Astle และ Kalliope Stavridaki

Evolving Scholarly Record โดย Aaron Tay และ Titia van der Werf

Transforming trend insights into innovations โดย Nathania Christy (สรุปเป็นภาษาไทย)

WMS: Game Changer for your Library โดย Supaporn Chaithammapakorn, Michael Mojica และ Chris Paroz

Reimaging your library space โดย Feiyun Huang, Dr. Amorn Petsom

Are your libraries connected to the global knowledge network? โดย Axel Kaschte

OA& Open Content in the user workflow โดย Kuang-hua Chen และ Titia van der Werf เอกสารฉบับเต็มของวิทยากร

A venue for the research library community โดย Roxanne Missingham, Titia van der Werf, Esther Woo และ Fung Ping Shan

WMS : Game Changer for Your Library
ธ.ค. 2nd, 2018 by supaporn

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ได้รับเชิญเป็นผู้พูดในงาน OCLC Asia Pacific Regional Council Conference ในหัวข้อ Change the Game (APRC18 Change the Game) ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2561 โดยในปีนี้ จัดที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน กรุงเทพฯ

OCLC Asia Pacific Regional Council Conference ในหัวข้อ Change the Game (APRC18 Change the Game)

หัวข้อที่ผู้จัดงาน คือ OCLC เชิญให้เป็นผู้พูด คือ WMS : Game Changer for Your Library โดยจัดในลักษณะที่เป็น Panel ร่วมกับผู้พูดอีก 2 ท่าน ซึ่งมาจากห้องสมุดที่ใช้ระบบ WorldShare Management Services หรือ WMS คือ Christopher Paroz ซึ่งเป็น Curator of Digital Resources, SAE Institute (https://www.oclc.org/en/events/councils/2018-19/asia-pacific-regional-council-meetings-home/agenda.html) และ Michael Anthony A. Mojica ซึ่งเป็น Director of Learning Resource Center of De La Salle-College of Saint Benilde (https://www.oclc.org/en/events/councils/2018-19/asia-pacific-regional-council-meetings-home/agenda.html)

ระหว่างการขึ้น Panel

Read the rest of this entry »

“การจัดทำทะเบียนรายชื่อเอกสารใช้งานศูนย์บรรณสารสนเทศ”
พ.ย. 30th, 2018 by ratchanee

ถ้าหากจะพูดว่า “ทะเบียนรายชื่อเอกสารใช้งาน” หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคย แต่หากพูดว่า “รายชื่อแฟ้มเอกสาร” อย่างหลังน่าจะคุ้นเคยมากกว่า

ทุกๆ ปีการศึกษา สำนักงานเลขานุการ จะมีหน้าที่ในการสำรวจแฟ้มเอกสารของศูนย์บรรณสารสนเทศ  ที่มีจัดเก็บอยู่ที่สำนักงานเลขานุการ และแผนกอื่นๆ ว่ามีชื่อแฟ้มเอกสารอะไรบ้าง ระยะเวลาของเอกสารภายในแฟ้ม  เพื่อจัดทำเป็น “ทะเบียนรายชื่อเอกสารใช้งาน” ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ส่งไปให้กับกองกลาง เป็นประจำทุกปี

การจัดเก็บเอกสารของศูนย์บรรณสารฯ มีลักษณะเหมือนให้สำนักงานเลขานุการเป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บ ควบคุม ดูแล และให้รหัสแฟ้มเอกสารกับทุกแผนก และให้ทุกแผนกนำแฟ้มเอกสารมาจัดเก็บไว้ที่สำนักงานเลขานุการ  ยกเว้นบางกรณีที่บางแผนกอาจมีความจำเป็นในการใช้งานแฟ้มเอกสารนั้นบ่อยๆ  แฟ้มเอกสารนั้น อาจจะอยู่กับทั้งสำนักงานเลขานุการและอยู่ที่แผนกอื่น Read the rest of this entry »

กิจกรรมพิธีลงนามความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวัน
พ.ย. 30th, 2018 by wanna

กิจกรรมพิธีลงนามความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวันระหว่างหอสมุดกลางแห่งชาติไต้หวัน (National Central Library, Taiwan ROC : NCL) และ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Signing and Opening Ceremony of the Taiwan Resource Center for Chinese Studies (TRCCS) @ CU Library จัดโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561

กิจกรรมนี้ ประกอบด้วย

  • การบรรยาย เรื่อง Taiwan Lecture on Chinese Studies ; Thai images in Taiwan (ภาษาอังกฤษ) โดย Pei-hsiu Chen ผู้อำนวยการภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติจี้หนาน
  • พิธีเปิดมุมทรัพยากรสารสนเทศไต้หวัน (Taiwan Resource Center for Chinese Studies : TRCCS)
  • พิธีเปิดนิทรรศการ “ไทยวิจิตรตระการ-ตำนานไทยในรอยรำลึกไต้หวัน” (The Beauty and Grace of Thailand – An Exhibition of Thailand in Taiwan Memory)

จากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้ได้รับทราบโครงการความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวัน ระหว่าง หอสมุดกลางแห่งชาติไต้หวัน (National Central Library, Taiwan R.O.C. : NCL) และ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ชมการจัดมุมทรัพยากรสารสนเทศไต้หวัน และ ชมนิทรรศการ  “ไทยวิจิตรตระการ-ตำนานไทยในรอยรำลึกไต้หวัน” (The Beauty and Grace of Thailand – An Exhibition of Thailand in Taiwan Memory) และ ได้ฟังการบรรยาย เรื่อง Taiwan Lecture on Chinese Studies ; Thai images in Taiwan (ภาษาอังกฤษ) โดย Prof. Pei-hsiu Chen ผู้อำนวยการภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติจี้หนาน

 

วิทยากร Prof. Pei-hsiu Chen

Read the rest of this entry »

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
พ.ย. 25th, 2018 by uthairath

ผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่ในงานจัดหา ของแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับมอบหมายในการลงรายการเบื้องต้น (Key Basic Tag) ในการสร้าง Order ของฐานข้อมูลห้องสมุด เพื่อเป็นการลงรายการทางบรรณนุกรมเบื้องต้น และเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบรรณารักษ์แผนกวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms
2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการ การสืบค้นสามารถสืบค้นได้ทั้ง 2 โมดูล คือ ในโมดูล  Acquisition เลือก Discover Items  Search และโมดูล Metadata เลือก Record Manager Search โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้
2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหา My Library Holding , All WorldCat, My LHRs
2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title,  Author, ISBN, ISSN,  OCLC Number
2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น ต้องการหาผู้แต่งชื่อ ปรางค์สุทิพย์ ทรงวุฒิศีล  Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa