การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด
A Comparision of Anatomy Learning Achievement of Second Year Students Using Conventional Method and Application of Action Research Model with Mind Mapping Method
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ระหว่างนักศึกษาชั้นปีที 2 ทีเรี ยนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้ รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด และ 3)เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด Read the rest of this entry »
Biomarkers กับบทบาทที่สำคัญในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
The role of Biomarkers in Occupational Health
ตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarkers) เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้ หรือตัวชี้วัด หรือเป็นสัญญาณของเหตุที่จะเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วในร่างกายของสิ่งมีชีวิต และยังหมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสัมผัสสารกับสุขภาพที่ผิดปกติโดยทั่วไปตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarkers) จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ตัวชี้วัดการสัมผัสทางชีวภาพ (Biomarkers of exposure) ตัวชี้วัดผลกระทบทางชีวภาพ (Biomarkers of effect) และ ตัวชี้วัดความไวรับ หรือพันธุกรรมทาง ชีวภาพ (Biomarkers of susceptibility) Read the rest of this entry »
คุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Health Leadership Characteristics of the Graduates of the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิต คณะสาธารณสขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในด้านความรู้ ความสามารถ ด้านบุคลิกภาพ ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรับผิดชอบ และด้านคุณธรรม รวมทั้งเปรียบเทียบคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุข ตามเพศ สาขาวิชา ลักษณะงาน ประสบการณ์การทำงาน และการเป็นแกนนำกิจกรรมขณะเรียน กลุ่มตัวอย่างคือบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจำนวน 120 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบที่การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิธีทดสอบของเชฟเฟ
ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ในรายด้านพบว่าด้านบุคลิกภาพ ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความรู้ ความสามารถ ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ และด้านคุณธรรมอยู่ในระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบความแตกต่างคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม พบว่าสาขาวิชา ลักษณะงาน ระยะเวลาการทำงาน ทำให้คุณลักษณะภาวะผู้นำสาธารณสุขของบัณฑิตแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนเพศและการเป็นแกนนำกิจกรรมระหว่างเรียน ไม่ส่งผลต่อความแตกต่างด้านคุณลักษณะภาวะผู้นำสาธารณสุขของบัณฑิต
ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการสร้างเสริมคุณลักษณะผู้นำสาธารณสุขแก่นักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยสอดแทรกในการเรียนการสอนในวิชาชีพของแต่ละสาขาวิชาและสร้างเสริมด้านความรู้ ความสามารถ ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ และด้านคุณธรรม โดยสอดแทรกไปกับการเรียนการสอน การจัดโครงการคุณธรรม การอบรม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ
The purposes of this research were to study health leadership characteristics including knowledge, personality, emotional quotient, human relations, responsibility, and moral principles of the graduates of the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University , and also compare health leadership characteristics according to gender, major subjects, job characteristics, work experience, and leadership of the students activities. One hundred and twenty graduates of the academic year 2006 from the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University were randomly selected through stratified random sampling technique, according to their major subjects and gender. Data were collected from questionnaires developed by the researcher. The reliability coefficient of the questionnaire was 0.88. Statistical methods used for data analysis were t-test, one way analysis of variance, and Scheffe’s test.
The results of this research were as follows :
1. The overall health leadership characteristics among Public and Environmental Health graduates were at the high level. It was found that personality, human relations and responsibility were at a high level, whereas knowledge, emotional quotient, moral principles were at a medium level. 2. The comparison of health leadership characteristics on major subjects, job characteristics and work experience were significantly different at 0.05 level, but the comparison of health leadership characteristics on gender and leadership of the students activities were not significant.
The results from this research suggested that the promotion of health leadership characteristics of the students in Faculty of Public and Environmental Health was necessary. It could be accomplished by intervening in the study class of students in each major subject and the knowledge, emotional quotient, and moral principles could also be promoted in classes , moral projects, training and workshops.
ตวงพร กตัญุตานนท. (2551). คุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 12 (23), 41-53.
อ่านบทความฉบับเต็ม
อุดมศึกษาไทยในอนาคต
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย บรรยายเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2551 ณ ห้องบรรยายพิเศษ 1 (2-315) อาคารเรียน ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยบรรยาย 3 เรื่อง
เรื่องที่ 1 การก่อตั้งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งนี้ เพื่อบอกเล่าแก่สมาชิกใหม่ของมหาวิทยาลัย เรื่องที่ 2 สถานการณ์ในโลกที่มีปัจจัยต่างๆ มากระทบอุดมศึกษาไทย และกระทบต่อมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติอย่างไร เรื่องที่ 3 อุดมศึกษาไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลงและเราจะต้องเอาปัจจัยเหล่านั้นมากำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์หลักของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อกำหนดปัจจุบันและอนาคตของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติอย่างไร
เกษม วัฒนชัย. (2551). อุดมศึกษาไทยในอนาคต. วารสาร มฉก.วิชาการ 12 (23), 1-10.
การอธิบายการเปลี่ยนแปลงของรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุขผ่านทฤษฎีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม และประชากร (Economic-Demographic Theory)
Explanatory of Public Health Spending Through Economic-Demographic Theory
รายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุข เป็นรายจ่ายในหมวดของการบริการชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นหมวดรายจ่ายที่สำคัญ ที่รัฐบาลจำเป็นต้องลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศให้มีศักยภาพสูงขึ้น และในส่วนของประเทศไทยรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุขเพิ่มสูงขึ้นทุกปีจึงเป็นที่น่าสนใจว่ามีปัจจัยใดเป็นตัวผลักดันที่ทำให้รายจ่ายด้านนี้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทฤษฎีที่สามารถอธิบายได้ ทฤษฎีหนึ่งคือ ทฤษฎีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม และประชากร (Economic-Demographic Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงรายจ่ายสาธารณะ โดยพยายามอธิบายถึงตัวแปรทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ ว่ามีผลทำให้รายจ่ายสาธารณะสูงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย การเพิ่มขึ้นของรายได้ประชาชาติจำนวนผู้สูงอายุ เครื่องมือทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ เครื่อง CT scanner เครื่อง Mammography เครื่อง ESWL และเครื่อง MRI รวมถึงจำนวนแพทย์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น และการอพยพของประชากรในชนบทเข้าสู่เขตเมืองเพื่อทำงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อปัจจัยเหล่านี้เพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลให้รายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุขของประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Public health spending is classified into community and social categoies, which is important and necessary for capitalization by the government. It is for increasing human resource development potential in the country. In Thailand, public spending on public health increase continuously every year. This is interesting that which variables effect on this continuously. Economic-Demographic theory : GDP, population aging, medical equipments such as CT scanner, mammography, ESWL, MRI, number of physicians and urbanization use for describing the change of increasing spending. It is found that many variables effect the public spending on public spending on public health in Thailand which continuously increasing through the future.
ดรุณวรรณ สมใจ. (2553). การอธิบายการเปลี่ยนแปลงของรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุขผ่านทฤษฎีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม และประชากร. วารสาร มฉก.วิชาการ 13 (26), 81-94.
อันตรายและการควบคุมจุลินทรีย์ในอากาศภายในโรงงานอุตสาหกรรม
Hazard and Control of Airborne Microorganisms in Industrial Plant
ปัจจุบันจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในอากาศโดยเฉพาะอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมได้รับความสนใจ มากขึ้น เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานที่มีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งมีการใช้สารอินทรีย์อันเป็นปัจจัยที่ทำให้จุลินทีย์ที่ปนเปื้อนในอากาศสามารถเจริญเติบโตได้ดี และจุลินทรีย์ในอากาศโดยทั่วไปยังสามารถเกาะยึดกับฝุุ่นที่ลอยอยู่ในอากาศได้ การหายใจโดยนำจุลินทรีย์ที่เกาะบนฝุ่น ทำให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจได้มากกว่าการหายใจโดยนำเฉพาะฝุ่นหรือจุลินทรีย์เข้าไปอย่างเดียว บริเวณที่มีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ เช่น บริเวณกระบวนการผลิต บริเวณปล่อยและเก็บของเสีย และอยู่ในที่มีความชื้นสูง อับอากาศและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอ จะพบแบคทีเรีย เชื้อรา และสารพิษของจุลินทรีย์ เช่น เอ็นโดท็อกซินหรือมายโคท็อกซินได้มาก ดังนั้นในที่ที่มีฝุ่นละอองปนเปื้นอนสูงก็ย่อมจะทำให้จุลินทรีย์สามารถเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้นด้วย การประเมินการสัมผัสเป็นสิ่งสำคัญที่บอกได้ว่าพนักงานที่สัมผัสกับจุลินทรีย์ในสถานที่ Read the rest of this entry »
คุณภาพชีวิตสตรีภายใต้ธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
Quality of Life of Thai Women under the 2007 Constitution and Related Laws
การศึกษาเรื่องคุณภาพชีวิตภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นงานวิจัยที่สนับสนุนโดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาเจตนารมณ์และสาระในการพิทักษ์ ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรี ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 รวมถึงอนุสัญญาระหว่างประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 แผนพัฒนาสตรีของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนในระดับท้องถิ่น และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง Read the rest of this entry »
การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่าย ผู้ป่วยอายุรกรรมในโรงพยาบาลหัวเฉียว
The Development of Discharge Planning Model for Medical Patients at Hua Chiew Hospital
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป้วยอายุรกรรมและเพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบวางแผนจำหน่วยผู้ป่วยอายุรกรรมในโรงพยาบาลหัวเฉียววิธีดำเนินการวิจัย แบงเปน 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปญหาของผูปวย ครอบครัว และผูใหบริการขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหนาย ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลการนำรูปแบบวางแผนจำหนายไปใช ประชากรและกลุมตัวอยางประกอบดวย ผูปวยอายุรกรรมที่มีอายุมากกวา 56 ปโดย แบงออกเปน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มศึกษาจำนวน 30 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รูปแบบวางแผนจำหน่าย จำนวน 140 ราย ครอบครัวของผูปวยที่เปนกลุมศึกษา และผูใหบริการ ซึ่งไดแก แพทยอายุรกรรม พยาบาลหัวหนาหอผูปวย พยาบาลที่ปฏิบัติงานประจำหอผูปวยสามัญหญิง หัวหนาฝายการพยาบาล และหัวหนาศูนยพัฒนาคุณภาพ นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด เครื่องมือที่ใชในการเก็บรวบรวมขอมูล ประกอบดวย 1) รายงานแบบประเมินและแบบบันทึกขอมูลจากผูปวย และ 2) เครื่องมือที่ใชเก็บรวบรวมปัญหาการวางแผนจำหน่ายจากญาติและครอบครัวผู้ป่วย รวมทั้งจากผู้ให้บริการการวิเคราะห์ขอมูล รายงานสถิติตาง ๆ ดวยคาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคารักษาพยาบาลและวันนอนโรงพยาบาล ขอมูลที่ไดจากญาติและครอบครัวผูปวยและผูใหบริการดวยการวิเคราะหเนื้อหา ระดับและคะแนนความเสี่ยงในการดูแลตอเนื่องหลังจำหนายวิเคราะหดวยไคสแคว เปรียบเทียบผูปวยที่นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใชกับกลุมผูปวยที่ใชรูปแบบเดิมดวย t-test ไดรูปแบบวางแผนจำหนายพื้นฐานหลักการของ A-B-C และกระบวนการพยาบาลแบงออกไดเปน 3 ขั้นตอน คือ 2.1) ขั้นการประเมินความเสี่ยงและความตองการการดูแลของผูปวยหลังจำหนาย 10 ดาน คือ 1) อายุ 2) ความเปนอยู/แรงสนับสนุนทางสังคม 3) ระดับสติปญญาและการรับรูนึกคิด 4) การเคลื่อนไหว 5) ขอจำกัดเกี่ยวกับประสาทสัมผัส 6) ประวัติการเจ็บปวยการนอนโรงพยาบาล/การเขาหองฉุกเฉินในชวง 3 เดือนที่ผ่านมา 7) จำนวนยาที่รับประทาน 8) จำนวนปัญหาโรคที่เป็นอยู่ 9) แบบแผนพฤติกรรม Read the rest of this entry »
การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
A Study of Family-Centered Care to Prevent Complications at Home in Patients with Cerebrovascular Disease
การศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาปญหา ความตองการและความคาดหวังการบริการสุขภาพที่สนับสนุนการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่บาน และสังเคราะหแนวทางเบื้องตนในการปองกันการเกิดภาวะแทรกซอนโดยเนนครอบครัวเปนศูนยกลางตามการรับรูของผูปวย ครอบครัว และบุคลากรสาธารณสุข ผูใหขอมูลเลือกแบบเจาะจง ประกอบดวย 1) ครอบครัวที่มีผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง 8 ครอบครัว ผู้ป่วยจำนวน 2 ราย สมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลหลัก 8 คน 2) บุคลากรสาธารณสุขจำนวน 10 คน โดยการสัมภาษณเจาะลึก การสังเกตแบบมีสวนรวม และไมมีสวนรวมวิเคราะหขอมูลเชิงเนื้อหาภายใตการพิทักษสิทธิ์และจริยธรรมการวิจัย Read the rest of this entry »
ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหวางผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ…สูการมีสวนรวมด้านการดูแลสุขภาพ
Authority Relationship between Health Care Provider and Client to Participation in Self-Care for Health
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการทางด้านสุขภาพในแนวคิดเชิงอุดมคติควรมีความเสมอภาคซึ่งกันและกัน หรือมีความเป็นหุ้นส่วน ตั้งแต่วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา วางแผน และปฏิบัติตามแผนจนถึงการประเมินผลร่วมกัน แต่กระบวนการหรือกิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน แม้กระทั่งในปัจจุบัน ฐานะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการยังคงมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ไม่เป็นไปตามแนวคิดเชิงอุดมคติที่ควรจะเป็น สิ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการเป็นเช่นนั้น เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการดูแลสุขภาพ ประกอบด้วย วิวัฒนาการนโยบายการบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าเชิงมิติสังคม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการด้านสุขภาพ และวาทกรรมกับการสร้างความเป็นผู้ให้และผู้ใช้บริการด้านสุขภาพ ซึ่งพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการเป็นไปในลักษณะของการใช้อำนาจของผู้ที่มีฐานะทางสังคมดีกว่า จึงทำให้เป็นผู้ที่มีการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจในการดำเนินการทางด้านสุขภาพโดยใช้ความคิดของตนเป็นหลักแต่เพียงผู้เดียวมากกว่าการฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้ใช้บริการ Read the rest of this entry »