SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด
กุมภาพันธ์ 27th, 2016 by rungtiwa

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด

A Comparision of Anatomy Learning Achievement of Second Year Students Using Conventional Method and Application of Action Research Model with Mind Mapping Method

บทคัดย่อ:

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ระหว่างนักศึกษาชั้นปีที 2 ทีเรี ยนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้ รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด และ 3)เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเทคนิคการแพทย์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ (AN2213) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 222 คน แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น กลุ่มทดลองจำนวน 126 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 96 คน นักศึกษากลุ่มทดลองเรียนโดยวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด สวนนักศึกษากลุ่มควบคุมเรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการ
ของนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม ทั้งก่อนและหลังการทดลอง จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุ (MANOVA) ในส่วนการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของนักศึกษาวัดโดยการสังเกตและการสนทนากลุ่ม จากนั้นประเมินโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ภายหลังการทดลอง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคปฏิบัติการของนักศึกษากลุ่มทดลองสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคบรรยายไมมีความแตกต่างกัน (p > .05)
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคปฏิบัติการของนักศึกษากลุ่มทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคบรรยายลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
3. นักศึกษากลุ่มทดลองเกือบทั้งหมดมีส่วนร่วมและมีความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรมในระดับมาก

ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ผู้ที่เกี่ยวข้องควรทำการศึกษาวิจัยในลักษณะดังกล่าว โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นวิธีแผนที่ความคิดและควรศึกษาปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น 2) ผู้สอนควรสร้างกิจกรรมให้นักศึกษา ได้วิเคราะห์ถึงปัญหาการเรียนของตนและแนวทางแก้ไข โดยจัดให้มีแกนนำนักศึกษาในการดำเนินกิจกรรม และ 3) ผู้สอนแต่ละรายวิชาควรมีการประสานความร่วมมือในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาร่วมกัน

The purposes of this research were to 1) compare the anatomy learning achievement of the second year students using a conventional method and an application of action research model with the mind mapping method 2) compare the pre and post anatomy learning achievement of the students instructed through the application of action research model with the mind mapping method and 3) study the students’ participation and satisfaction toward the application of action research model with the mind mapping method.The samples used for this investigation were 222 second year students, Faculty of Medical Technology and Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University, enrolled in the course of Anatomy (AN2213) in the first semester of the academic year 2007. They were divided into an experimental group and a control group. The experimental group consisted of 126 students who were instructed by the application of action research model with the mind mapping method, while the control group comprised of 69 students who were instructed by the conventional method prescribed in the lesson plan. The lecture and laboratorial learning achievement data were collected before and after the instructions for both lesson plans and then analyzed by descriptive statistics : percentage, mean and standard deviation, and Multivariate Analysis of Variance (MANOVA). The students’ participation and satisfaction was collected by researchers’observation and group discussion then evaluated by content analysis.

The results revealed after the experiment that :
1) The laboratorial learning achievement of the experimental group was significantly higher than that of the control group (p < .001), but not significantly different to the lecture learning achievement (p > .05).
2) The post laboratorial learning achievement of the experimental group was significantly higher than its pre laboratorial learning achievement (p < .001), but the post lecture learning achievement of this group was significantly lower than its pre lecture learning achievement (p > .05).
3) It was found that almost of the experimental group participated and were very satisfied with the instructive activities.

The researchers suggested that 1) the relevant persons should research as stated, especially the learning activity using the mind mapping method and studying more related factors 2) the instructors should create the activities for their students, assign them to handle their activities and let them analyze the learning problems to find the solutions and 3) all instructors should cooperate in improving the effectiveness of the student learning achievement.

บังอร ฉางทรัพย สำอาง วณิชชาพลอย และ ภาสินี สงวนสิทธิ์. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด. วารสาร มฉก.วิชาการ 12 (24), 13-32.

อ่านบทความฉบับเต็ม


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa