SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
มี.ค. 3rd, 2016 by rungtiwa

การสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Survey and Situational Analysis for Health Promoting Activities in the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University)

บทคัดย่อ:

รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์สถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพในด้าน 1) พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 2) ประสบการณ์การสร้างเสริมสุขภาพ (การเป็นผู้นำ) 3) สภาวะสุขภาพ และ 4) นโยบายการบริหารจัดการการดำเนินแผนงานการพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุข ให้เป็นองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ (สอส.) ของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 500 คน อาจารย์และเจ้าหน้าที่จำนวน 30 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสาขาวิชา ชั้นปี และเพศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามสถานการณ์สร้างเสริมสุขภาพและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกต่อผู้บริหารจำนวน 5 ราย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่และร้อยละ Read the rest of this entry »

การแพทย์ทางเลือก
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

การแพทย์ทางเลือก

Alternative Medicine

บทคัดย่อ:

การแพทย์ทางเลือกคือการแพทย์ที่ไม่ใช่การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์อื่น ๆ ที่เหลือถือเป็นการแพทย์ทางเลือกทั้งหมด การแพทย์ทางเลือกจะให้การรักษาแบบองค์รวมโดยรักษาบนพื้นฐานของร่างกาย จิตใจ และปัญญา รวมทั้งปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับคนคนนั้น ศูนย์การแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดระบบการแพทย์ทางเลือก เป็น 5 กลุ่มได้แก่ 1) ระบบการแพทย์ทางเลือก 2) การแพทย์ที่ให้ความสำคัญกับศักยภาพของจิตใจที่มีผลต่อร่างกาย 3) การใช้สารชีวภาพธรรมชาติต่าง ๆ ในการบำบัดรักษา 4) การเยียวยาด้วยมือ และ 5) การแพทย์ในรูปแบบพลังงาน ส่วนกระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กองการแพทย์ทางเลือก แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มศาสตร์หรือเทคนิคของศาสตร์เพื่อการปรับสมดุลของธาตุ/สารชีวภาพในร่างกาย 2) กลุ่มศาสตร์เพื่อการปรับสมดุลของโครงสร้างร่างกาย(กระดูก/กล้ามเนื้อ) และ 3) กลุ่มศาสตร์เพื่อปรับสมดุลของพลังในร่างกาย ความสัมพันธ์กาย-จิต การใช้การแพทย์ทางเลือกในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งการบริการในสถานบริการสุขภาพ ในกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ป่วย คนส่วนใหญ่ใช้การแพทย์ทางเลือกเนื่องจากปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่การแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาได้ บางคนใช้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพหรือป้องกันโรค และเหตุผลอื่นอีกหลายประการ อย่างไรก็ตามการแพทย์ทางเลือกยังมีข้อจำกัด เช่น คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การปฏิบัติต่ำกว่ามาตรฐาน เป็นต้น รวมทั้งบางวิธีของการแพทย์ทางเลือกไม่มีหลักฐานการพิสูจน์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ดังนั้น การเลือกใช้การแพทย์ทางเลือก ควรใช้หลักการพิจารณา 4 ประการ ประกอบด้วย ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย ประสิทธิผลการรักษา/ป้องกัน และความคุ้มค่าต่อการนำไปใช้ Read the rest of this entry »

คุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

คุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Health Leadership Characteristics of the Graduates of the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิต คณะสาธารณสขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในด้านความรู้ ความสามารถ ด้านบุคลิกภาพ ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรับผิดชอบ และด้านคุณธรรม รวมทั้งเปรียบเทียบคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุข ตามเพศ สาขาวิชา ลักษณะงาน ประสบการณ์การทำงาน และการเป็นแกนนำกิจกรรมขณะเรียน กลุ่มตัวอย่างคือบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจำนวน 120 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบที่การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิธีทดสอบของเชฟเฟ

ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ในรายด้านพบว่าด้านบุคลิกภาพ ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความรู้ ความสามารถ ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ และด้านคุณธรรมอยู่ในระดับปานกลาง
2. การเปรียบเทียบความแตกต่างคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม พบว่าสาขาวิชา ลักษณะงาน ระยะเวลาการทำงาน ทำให้คุณลักษณะภาวะผู้นำสาธารณสุขของบัณฑิตแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนเพศและการเป็นแกนนำกิจกรรมระหว่างเรียน ไม่ส่งผลต่อความแตกต่างด้านคุณลักษณะภาวะผู้นำสาธารณสุขของบัณฑิต

ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการสร้างเสริมคุณลักษณะผู้นำสาธารณสุขแก่นักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยสอดแทรกในการเรียนการสอนในวิชาชีพของแต่ละสาขาวิชาและสร้างเสริมด้านความรู้ ความสามารถ ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ และด้านคุณธรรม โดยสอดแทรกไปกับการเรียนการสอน การจัดโครงการคุณธรรม การอบรม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ

The purposes of this research were to study health leadership characteristics including knowledge, personality, emotional quotient, human relations, responsibility, and moral principles of the graduates of the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University , and also compare health leadership characteristics according to gender, major subjects, job characteristics, work experience, and leadership of the students activities. One hundred and twenty graduates of the academic year 2006 from the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University were randomly selected through stratified random sampling technique, according to their major subjects and gender. Data were collected from questionnaires developed by the researcher. The reliability coefficient of the questionnaire was 0.88. Statistical methods used for data analysis were t-test, one way analysis of variance, and Scheffe’s test.

The results of this research were as follows :

1. The overall health leadership characteristics among Public and Environmental Health graduates were at the high level. It was found that personality, human relations and responsibility were at a high level, whereas knowledge, emotional quotient, moral principles were at a medium level.
2. The comparison of health leadership characteristics on major subjects, job characteristics and work experience were significantly different at 0.05 level, but the comparison of health leadership characteristics on gender and leadership of the students activities were not significant.

The results from this research suggested that the promotion of health leadership characteristics of the students in Faculty of Public and Environmental Health was necessary. It could be accomplished by intervening in the study class of students in each major subject and the knowledge, emotional quotient, and moral principles could also be promoted in classes , moral projects, training and workshops.

ตวงพร กตัญุตานนท. (2551). คุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 12 (23), 41-53.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ภาวะโภชนาการและพฤติกรรม 3 อ. ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

ภาวะโภชนาการและพฤติกรรม 3 อ. ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Nutritional Status and 3E’s Behavior of the First Year Students at Huachiew Chalermprakiet University

บทคัดย่อ:

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจภาวะโภชนาการและศึกษาพฤติกรรม 3 อ. ประกอบด้วยการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรม 3 อ. กับภาวะโภชนาการของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2552 จำนวน 350 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วัดค่าดัชนีมวลกาย และวัดเส้นรอบเอว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบไค-สแควร์ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa