SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหวางผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ…สูการมีสวนรวมด้านการดูแลสุขภาพ
กุมภาพันธ์ 25th, 2016 by rungtiwa

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหวางผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ…สูการมีสวนรวมด้านการดูแลสุขภาพ

Authority Relationship between Health Care Provider and Client to Participation in Self-Care for Health

บทคัดย่อ:

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการทางด้านสุขภาพในแนวคิดเชิงอุดมคติควรมีความเสมอภาคซึ่งกันและกัน หรือมีความเป็นหุ้นส่วน ตั้งแต่วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา วางแผน และปฏิบัติตามแผนจนถึงการประเมินผลร่วมกัน แต่กระบวนการหรือกิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน แม้กระทั่งในปัจจุบัน ฐานะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการยังคงมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ไม่เป็นไปตามแนวคิดเชิงอุดมคติที่ควรจะเป็น สิ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการเป็นเช่นนั้น เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการดูแลสุขภาพ ประกอบด้วย วิวัฒนาการนโยบายการบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าเชิงมิติสังคม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการด้านสุขภาพ และวาทกรรมกับการสร้างความเป็นผู้ให้และผู้ใช้บริการด้านสุขภาพ ซึ่งพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการเป็นไปในลักษณะของการใช้อำนาจของผู้ที่มีฐานะทางสังคมดีกว่า จึงทำให้เป็นผู้ที่มีการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจในการดำเนินการทางด้านสุขภาพโดยใช้ความคิดของตนเป็นหลักแต่เพียงผู้เดียวมากกว่าการฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้ใช้บริการ

ในฐานะผู้ให้บริการจึงควรมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการทำงานและการแสดงบทบาทที่ควรกระทำในการดูแลผู้ใช้บริการเป็นแนวคิดหลักสำหรับงานสาธารณสุขยุคใหม่ ที่มุ่งเน้นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการในฐานะผู้เอื้ออำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการดูแลสุขภาพ และผู้ใช้บริการฐานะเจ้าของปัญหาในระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่มคนหรือชุมชน ที่มีความเข้าใจในบริบทคต่างๆ เกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว และกลุ่มหรือชุมชนของตนเองเป็นอย่างดี

The relationship between concepts of health care provider and client should have balanced in each idea concept. These concepts are participation in health self – care composed of problem analysis, planning, implementation and evaluating cooperation. However, these things or processes are not appearances until in the present. Moreover, these inequity between provider and client have remained appearance. From reviewing relevant literature of causation of problem found that the their relationship are authority between person have high social opportunity and have low social opportunity. Their activities in self-care have identified by person have high social opportunity, whereas person have low social opportunity have practiced self – care dependent on person have high social opportunity. Therefore, we should review and adapt the concept in together working, it is concept that focus on the participation between provider and client in the health. This new concept is practices to roles of each persons compose of health care provider is support for health care and client is participation in all steps on self-care for health, since they are problems’ own.

ทวีศักดิ์ กสิผล. (2552). ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหวางผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ…สูการมีสวนรวมด้านการดูแลสุขภาพ. วารสาร มฉก.วิชาการ 13 (25), 101-112.

อ่านบทความฉบับเต็ม


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa