SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
กุมภาพันธ์ 25th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง

A Study of Family-Centered Care to Prevent Complications at Home in Patients with Cerebrovascular Disease

บทคัดย่อ:

การศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาปญหา ความตองการและความคาดหวังการบริการสุขภาพที่สนับสนุนการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่บาน และสังเคราะหแนวทางเบื้องตนในการปองกันการเกิดภาวะแทรกซอนโดยเนนครอบครัวเปนศูนยกลางตามการรับรูของผูปวย ครอบครัว และบุคลากรสาธารณสุข ผูใหขอมูลเลือกแบบเจาะจง ประกอบดวย 1) ครอบครัวที่มีผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง 8 ครอบครัว ผู้ป่วยจำนวน 2 ราย สมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลหลัก 8 คน 2) บุคลากรสาธารณสุขจำนวน 10 คน โดยการสัมภาษณเจาะลึก การสังเกตแบบมีสวนรวม และไมมีสวนรวมวิเคราะหขอมูลเชิงเนื้อหาภายใตการพิทักษสิทธิ์และจริยธรรมการวิจัย

ผลการศึกษาพบวา ปญหาความตองการและความคาดหวังในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง ที่บานเพื่อปองกันการเกิดภาวะแทรกซอน โดยเนนครอบครัวเปนศูนยกลาง มีดังนี้ 1) ปญหาในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะแทรกซอนพบวาครอบครัวกับบุคลากรสาธารณสุขขาดการสื่อสารแลกเปลี่ยนขอมูลเกี่ยวกับวิธีการเฝาระวังการประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซอนขาดการประสานงานเพื่อเตรียมพรอมในการดูแลผูปวยที่บานใหเปนไปตามแผนการรักษา ขาดการรับฟง ความคิดเห็นดานปญหา ความตองการ และความคาดหวังเมื่อผูปวยและครอบครัวตองเผชิญกับการเจ็บปวยของโรคและขาดการมีสวนรวมจากสมาชิกทั้งหมดภายในครอบครัว 2) ความตองการในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่บานเพื่อปองกันการเกิดภาวะแทรกซอน ไดแก ขอมูลความรูเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและวิธีการดูแลผู้ป่วย ทักษะเพื่อการปฏิบัติการเรียนรู้ที่บ้าน การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยและครอบครัวก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบล และการช่วยเหลือสนับสนุนจากสมาชิกและบุคลากรสาธารณสุขภายหลังกลับไปอยู่บ้าน 3) ความคาดหวังการบริการเพื่อปองกันการเกิดภาวะแทรกซอน ไดแก จัดหนวยบริการเฉพาะที่หลากหลาย มีแนวทางปฏิบัติพยาบาลแบบสหสาขาวิชาชีพ บุคลากรสาธารณสุขมีความเชี่ยวชาญเฉพาะในการสอน มีทีมสุขภาพสำหรับให้ความรู้ และพัฒนาทักษะดูแลผู้ป่วยที่บ้านและมีระบบประสานการดูแลต่อเนื่องที่มีคุณภาพ 4) แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่บ้านโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนประกอบด้วย 4.1) แนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่บานระหวางที่ผูปวยเขารับการรักษาที่โรงพยาบาล ใหการดูแลรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพ มีผูประสานงานโดยตรง เนนใหครอบครัวเขามามีสวนรวมจัดระบบการวางแผนการจำหนายและมระบบการประสานงานการดูแลต่อเนื่องที่มีคุณภาพ 4.2) แนวทางการดแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บานที่เนนการสรางพลังของครอบครัวและมีหนวยบริการสุขภาพที่บานเพื่อสนับสนุน ครอบครัวสามารถจัดการดูแลผูปวยไดในระยะยาวเพื่อปองกันการเกิดภาวะแทรกซอนและลดการกลับเขาโรงพยาบาลซ้ำ

ขอเสนอแนะจากการศึกษา ควรนำแนวทางการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่บานเพื่อปองกันการเกิดภาวะแทรกซอนโดยเนนครอบครัวเปนศูนยกลางบนพื้นฐานปญหา ความตองการและความคาดหวังไปพัฒนาเปนรูปแบบที่ชัดเจนและนำไปใชจัดการบริการสุขภาพทั้งในโรงพยาบาลและหนวยบริการสุขภาพในชุมชน ศึกษาอัตราการกลับเขารักษาซ้ำในโรงพยาบาลดวยภาวะแทรกซอนตาง ๆ รวมทั้งนำไปตอยอดดานการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีสวนรวม เพ่ือพัฒนาคุณภาพของการจัดบริการ
สุขภาพที่บานใหมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

This qualitative study aimed to 1) examine problems and needs of the home-based care for patients with cerebrovascular disease (CVD) according to the perception of the patients, families, and health personnel, 2) investigate expectations toward healthcare services that support family – centered care for CVD patients at home, and 3) synthesize guidelines for family-centered care for CVD patients at home to prevent complications. Key informants included eight CVD families, two CVD patients, eight coregivers and ten healthcare personnel. In-depth interview, participatory and non-participatory observations were implemented. The content analysis was used. The finding indicated that the problems in caring for CVD patients at home, reflected by both the family and the health personnel, consisted of the patients’ health problems and complications, caregivers’ and healthcare service problems. The needs in caring CVD patients at home to prevent complications included information and knowledge of the illness, leaning caring skills, preparing and supports for taking care the patients at home. The expectations toward caring the CVD patients at home for complication prevention included a specific unit of healthcare service, a specific guideline, personnel preparation, education team, and continuing care coordination system. Guidelines for family centered care for CVD patients at home to prevent complication consisted of 1) a guideline to prepare the care for CVD patients at home during hospitalization, and 2) a guideline to care for CVD patients during home stay. Suggestion : to take care of the CVD patients at home based on familycentered approach to prevent the complications, family empowerment for care management is important. In addition, family should be supported to prevent complication, and reduce reoccurrence of hospitalization to the patients.

สิรัชชา จิรจารุภัทร รัชนี นามจันทรา และ หทัยชนก บัวเจริญ. (2553). การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง. วารสาร มฉก. วิชาการ 13 (26), 1-20.

อ่านบทความฉบับเต็ม


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa