ประสบการณ์การดูแลอย่างต่อเนื่องโดยครอบครัวเป็นศูนย์กลางในมุมมองของผู้ป่วยและครอบครัว
บทคัดย่อ:
การดูแลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง (Family-centered care) เป็นแนวคิดหนึ่งของการบริการสุขภาพที่ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทครอบครัวต่อสุขภาพของสมาชิก และเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการดูแลสุขภาพของผู้บริการอย่างต่อเนื่อง การศึกษาและการนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการบริการสุขภาพในประเทศไทยมีค่อนข้างน้อย การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตามมุมมองของผู้ป่วยและครอบครัว โดยศึกษาว่าครอบครัวมีบทบาทและมีปัญหาในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยอย่างไร ผู้ป่วยและครอบครัวต้องการและคาดหวังการช่วยเหลือสนับสนุนหรือการบริการจากบุคลากรทางด้านสุขภาพอย่างไร วิธีการวิจัยที่ใช้ในการศึกษา คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ป่วยที่มีประสบการณ์นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน และต้องมาโรงพยาบาลตามแพทย์นับเป็นระยะๆ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง จำนวน 7 ราย และสมาชิกของครอบครัวที่มีบทบาทหลักในการดูแลผู้ป่วย ตลอดระยะของการเจ็บป่วย จำนวน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าครอบครัวเป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาพของบุคคล บทบาทของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ การช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรมต่างๆ การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลผู้ป่วย การประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย การตัดสินใจจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย การดูแลให้ผู้ป่วยปลอดภัย การจัดการให้ผูป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย ปัญหาของครอบครัวในการให้การดูแลผู้ป่วย ได้แก่ การได้รับข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา และการดูแลผู้ป่วยไม่เพียงพอ ขาดการมีส่วนร่วมในการักษาพยาบาล มีภาวะตึงเครียดจากการให้การดูแลผู้ป่วย และประสบปัญหาหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม สิ่งที่ครอบครัวคาดหวังจากบุคลากรสุขภาพ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาล การมีส่วนร่วมในกระบวนการรักษาพยาบาล การสอนคำแนะนำ คำปรึกษาและการช่วยเหลือสนับสนุนในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ผลการวิจัยได้สนับสนุนแนวคิดการดูแลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ได้สะท้อนกระบวนทัศน์ในการให้บริการสุขภาพของบุคลากรทางด้านสุขภาพ และได้ให้ข้อเสนอแนะบางประการต่อการบริกาสุขภาพ การพัฒนาการบริการสุขภาพโดยใช้แนวคิดการดูแลที่เน้นครอบครัวเป็นศุนย์กลาง ควรมีการประเมินทัศนะของบุคลากรสุขภาพและผู้บริการต่อองค์ประกอบต่างๆ ของแนวคิดนี้ ตลอดจนควรมีการทดสอบประสิทธิภาพของการบริการสุขภาพที่พัฒนาขึ้นต่อไป
รัชนี นามจันทรา นภาพร แก้วนิมิตชัย อรพินท์ สีขาว พรศิริ พันธสี ลลิตา ตรีวิทยาภูมิ สิรินดา ศรีจงใจ และ ศิริพจน์ มะโนดี. (2548). ประสบการณ์การดูแลอย่างต่อเนื่องโดยครอบครัวเป็นศูนย์กลางในมุมมองของผู้ป่วยและครอบครัว. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 14-28.
อ่านบทความฉบับเต็ม
การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
A Study of Family-Centered Care to Prevent Complications at Home in Patients with Cerebrovascular Disease
การศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาปญหา ความตองการและความคาดหวังการบริการสุขภาพที่สนับสนุนการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองที่บาน และสังเคราะหแนวทางเบื้องตนในการปองกันการเกิดภาวะแทรกซอนโดยเนนครอบครัวเปนศูนยกลางตามการรับรูของผูปวย ครอบครัว และบุคลากรสาธารณสุข ผูใหขอมูลเลือกแบบเจาะจง ประกอบดวย 1) ครอบครัวที่มีผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง 8 ครอบครัว ผู้ป่วยจำนวน 2 ราย สมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลหลัก 8 คน 2) บุคลากรสาธารณสุขจำนวน 10 คน โดยการสัมภาษณเจาะลึก การสังเกตแบบมีสวนรวม และไมมีสวนรวมวิเคราะหขอมูลเชิงเนื้อหาภายใตการพิทักษสิทธิ์และจริยธรรมการวิจัย Read the rest of this entry »
การศึกษาการดูแลต่อเนื่องที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก
The Study of Family-Centered Continuing Care in First Stroke Patients
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาปญหา ความตองการและความคาดหวัง ตลอดจน สังเคราะหแนวทางเบื้องตนในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกอยางตอเนื่องที่เนนครอบครัว เปนศูนยกลาง โดยใชการวิจัยเชิงคุณภาพ ผูใหขอมูลคือ ผูปวยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกจำนวน 7 คน สมาชิกในครอบครัวผูปวยที่เปนผูดูแลหลักจำนวน 7 คน บุคลากรสุขภาพจำนวน 11 คน เก็บขอมูลระหวางเดือนกุมภาพันธ – ตุลาคม พ.ศ. 2550 เครื่องมือที่ใชในการวิจัยคือ แนวคำถามใน การสัมภาษณเจาะลึก การสังเกตแบบมีสวนรวมและไมมีสวนรวมและตัวผูวิจัย ความนาเชื่อถือของ เครื่องมือไดจากการตรวจสอบแบบสามเสาขอมูลจากเครื่องมือทุกสวน วิเคราะหขอมูลดวยการ วิเคราะหเชิงเนื้อหาภายใตการพิทักษสิทธิ์ผูถูกวิจัย Read the rest of this entry »