ประสบการณ์การดูแลอย่างต่อเนื่องโดยครอบครัวเป็นศูนย์กลางในมุมมองของผู้ป่วยและครอบครัว
บทคัดย่อ:
การดูแลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง (Family-centered care) เป็นแนวคิดหนึ่งของการบริการสุขภาพที่ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทครอบครัวต่อสุขภาพของสมาชิก และเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการดูแลสุขภาพของผู้บริการอย่างต่อเนื่อง การศึกษาและการนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการบริการสุขภาพในประเทศไทยมีค่อนข้างน้อย การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตามมุมมองของผู้ป่วยและครอบครัว โดยศึกษาว่าครอบครัวมีบทบาทและมีปัญหาในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยอย่างไร ผู้ป่วยและครอบครัวต้องการและคาดหวังการช่วยเหลือสนับสนุนหรือการบริการจากบุคลากรทางด้านสุขภาพอย่างไร วิธีการวิจัยที่ใช้ในการศึกษา คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ป่วยที่มีประสบการณ์นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน และต้องมาโรงพยาบาลตามแพทย์นับเป็นระยะๆ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง จำนวน 7 ราย และสมาชิกของครอบครัวที่มีบทบาทหลักในการดูแลผู้ป่วย ตลอดระยะของการเจ็บป่วย จำนวน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าครอบครัวเป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาพของบุคคล บทบาทของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ การช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรมต่างๆ การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลผู้ป่วย การประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย การตัดสินใจจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย การดูแลให้ผู้ป่วยปลอดภัย การจัดการให้ผูป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย ปัญหาของครอบครัวในการให้การดูแลผู้ป่วย ได้แก่ การได้รับข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา และการดูแลผู้ป่วยไม่เพียงพอ ขาดการมีส่วนร่วมในการักษาพยาบาล มีภาวะตึงเครียดจากการให้การดูแลผู้ป่วย และประสบปัญหาหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม สิ่งที่ครอบครัวคาดหวังจากบุคลากรสุขภาพ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาล การมีส่วนร่วมในกระบวนการรักษาพยาบาล การสอนคำแนะนำ คำปรึกษาและการช่วยเหลือสนับสนุนในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ผลการวิจัยได้สนับสนุนแนวคิดการดูแลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ได้สะท้อนกระบวนทัศน์ในการให้บริการสุขภาพของบุคลากรทางด้านสุขภาพ และได้ให้ข้อเสนอแนะบางประการต่อการบริกาสุขภาพ การพัฒนาการบริการสุขภาพโดยใช้แนวคิดการดูแลที่เน้นครอบครัวเป็นศุนย์กลาง ควรมีการประเมินทัศนะของบุคลากรสุขภาพและผู้บริการต่อองค์ประกอบต่างๆ ของแนวคิดนี้ ตลอดจนควรมีการทดสอบประสิทธิภาพของการบริการสุขภาพที่พัฒนาขึ้นต่อไป
รัชนี นามจันทรา นภาพร แก้วนิมิตชัย อรพินท์ สีขาว พรศิริ พันธสี ลลิตา ตรีวิทยาภูมิ สิรินดา ศรีจงใจ และ ศิริพจน์ มะโนดี. (2548). ประสบการณ์การดูแลอย่างต่อเนื่องโดยครอบครัวเป็นศูนย์กลางในมุมมองของผู้ป่วยและครอบครัว. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 14-28.
อ่านบทความฉบับเต็ม
การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่าย ผู้ป่วยอายุรกรรมในโรงพยาบาลหัวเฉียว
The Development of Discharge Planning Model for Medical Patients at Hua Chiew Hospital
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป้วยอายุรกรรมและเพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบวางแผนจำหน่วยผู้ป่วยอายุรกรรมในโรงพยาบาลหัวเฉียววิธีดำเนินการวิจัย แบงเปน 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปญหาของผูปวย ครอบครัว และผูใหบริการขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหนาย ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลการนำรูปแบบวางแผนจำหนายไปใช ประชากรและกลุมตัวอยางประกอบดวย ผูปวยอายุรกรรมที่มีอายุมากกวา 56 ปโดย แบงออกเปน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มศึกษาจำนวน 30 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รูปแบบวางแผนจำหน่าย จำนวน 140 ราย ครอบครัวของผูปวยที่เปนกลุมศึกษา และผูใหบริการ ซึ่งไดแก แพทยอายุรกรรม พยาบาลหัวหนาหอผูปวย พยาบาลที่ปฏิบัติงานประจำหอผูปวยสามัญหญิง หัวหนาฝายการพยาบาล และหัวหนาศูนยพัฒนาคุณภาพ นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด เครื่องมือที่ใชในการเก็บรวบรวมขอมูล ประกอบดวย 1) รายงานแบบประเมินและแบบบันทึกขอมูลจากผูปวย และ 2) เครื่องมือที่ใชเก็บรวบรวมปัญหาการวางแผนจำหน่ายจากญาติและครอบครัวผู้ป่วย รวมทั้งจากผู้ให้บริการการวิเคราะห์ขอมูล รายงานสถิติตาง ๆ ดวยคาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคารักษาพยาบาลและวันนอนโรงพยาบาล ขอมูลที่ไดจากญาติและครอบครัวผูปวยและผูใหบริการดวยการวิเคราะหเนื้อหา ระดับและคะแนนความเสี่ยงในการดูแลตอเนื่องหลังจำหนายวิเคราะหดวยไคสแคว เปรียบเทียบผูปวยที่นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใชกับกลุมผูปวยที่ใชรูปแบบเดิมดวย t-test ไดรูปแบบวางแผนจำหนายพื้นฐานหลักการของ A-B-C และกระบวนการพยาบาลแบงออกไดเปน 3 ขั้นตอน คือ 2.1) ขั้นการประเมินความเสี่ยงและความตองการการดูแลของผูปวยหลังจำหนาย 10 ดาน คือ 1) อายุ 2) ความเปนอยู/แรงสนับสนุนทางสังคม 3) ระดับสติปญญาและการรับรูนึกคิด 4) การเคลื่อนไหว 5) ขอจำกัดเกี่ยวกับประสาทสัมผัส 6) ประวัติการเจ็บปวยการนอนโรงพยาบาล/การเขาหองฉุกเฉินในชวง 3 เดือนที่ผ่านมา 7) จำนวนยาที่รับประทาน 8) จำนวนปัญหาโรคที่เป็นอยู่ 9) แบบแผนพฤติกรรม Read the rest of this entry »
ผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลต่อคุณภาพการบันทึก และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพของหอผู้ป่วยใน
The Effectiveness of Using Developed Nursing Documentation on Nursing Documentation Quality and Professional Nurses’ Satisfaction in In-patient Department
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลด้านคุณภาพการบันทึกของพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยใน และ (2) ศึกษาผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลด้านความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยใน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น 4 แบบ ประกอบด้วย (1) แบบประเมินสภาพผู้ป่วยแรกรับ (2) แบบบันทึกการวางแผนการพยาบาล (3) แบบบันทึกความก้าวหน้าของผู้ป่วย และ (4) แบบบันทึกการวางแผนและการสรุปการจำหน่าย ผู้ป่วย 2) คู่มือการบันทึกทางการพยาบาล 3) แบบตรวจสอบการบันทึกทางการพยาบาล และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อแบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ5 ท่าน แบบสอบถามความพึงพอใจผ่านการทดสอบความเที่ยงได้ค่า = 0.89 การทดลองใช้เวลาทั้งสิ้น 2 เดือนในหอผู้ป่วยใน 5 หอผู้ป่วย วัดผลคุณภาพการบันทึกและความพึงพอใจต่อแบบบันทึก 3 ด้าน ได้แก่ 1) การใช้เวลาในการบันทึก 2) ความสะดวกในการใช้แบบบันทึก และ 3) ประโยชน์ต่อการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของคุณภาพการบันทึกด้วยสถิติindependent t – test เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจด้วยสถิติpaired t – test Read the rest of this entry »
ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความไม่มั่นคง ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Effectiveness of Social Support Program on Vulnerability in Patient with Breast Cancer Receiving Chemotherapy)
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยใช้รูปแบบกลุ่มเดียว วัด 2 ครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของความไม่มั่นคงและผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ต่อการลดความไม่มั่นคงในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่มารับบริการ ณ ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันตก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน34 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบประเมินความไม่มั่นคง และโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ลักษณะความไม่มั่นคงของกลุ่มตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างรู้สึกกระวนกระวายใจกับผลการรักษามากที่สุดร้อยละ 64.71 (x–=1.44, S.D.=0.660) รองลงมาคือ รู้สึกถึงความไม่แน่นอนของระยะเวลาในการมีชีวิตอยู่ร้อยละ 61.76 (x–=1.50, S.D.=0.749) และรู้สึกว่าการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ต้องบอกให้สมาชิกในครอบครัวหรือบุคคลที่ไว้วางใจรับทราบคิดเป็นร้อยละ 61.76 (x–=3.29, S.D.=1.031) สิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกน้อยที่สุดคือ ไม่ต้องการพูดถึงการเจ็บป่วยครั้งนี้ร้อยละ 5.88 (x–=3.32, S.D.=0.912) ค่าคะแนนเฉลี่ยของความไม่มั่นคงก่อนและหลังให้โปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมในกลุ่มตัวอย่างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .000 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้โปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ช่วยให้ความไม่มั่นคงในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดลดลง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ลดความไม่มั่นคงในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในหน่วยเคมีบำบัดต่อไป
This quasi-experimental research was a group pretest-posttest design. The purposes of this study were to explore the characteristics of vulnerability and the effect of social support program on vulnerability in people with breast cancer under chemotherapy. Thirty-four eligible patients with purposive sampling were recruited from a cancer center (a tertiary care hospital) located in the western part of Thailand. The tools were composed of a demographic information recording form, the vulnerability questionnaire, and social support program (SSP). Descriptive statistics including percentages, means, and standard deviations and the paired t-test were used to analyze data. The results revealed that in terms of vulnerability, patients reported feelings affecting the treatment at most including anxiety feeling 64.71% (x–=1.44, S.D.=0.660), uncertain feeling 61.76% (x–=1.50, S.D.=0.749), the need to inform family members or trust persons 61.76 (x–=3.29, S.D.=1.031), respectively. Patients reported least scores of the item of not wanting to discuss about the symptom 5.88% (x–=3.32, S.D.=0.912). After receiving the social support program, the average score of vulnerability was significantly higher than that of before at the significant level of p<.000). SSP could decrease the vulnerability in patients with breast cancer under chemotherapy. Therefore, the SSP can be applied to lower the vulnerability of patients with breast cancer under chemotherapy in other centers.
นภรรสสร กูรมาภิรักษ์ นภาพร แก้วนิมิตชัย และ วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2558). ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความไม่มั่นคง ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 105-116.