จากการเข้าร่วมการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 33 เรื่อง พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (Reinventing the Library : Shaping the Future through EdTech and Innovative Design) ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น ขอนำเสนอข้อสรุปบางประเด็น ดังนี้
เนื่องจากการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ในการสรรค์สร้างอนาคตของห้องสมุด หัวข้อในครั้งนี้ จึงเน้นในเรื่องเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดพื้นที่เพื่อรองรับหรือสนับสนุนการเรียนรู้ จากความรู้ ประสบการณ์ มุมมองของวิทยากร ทั้งจากวงการเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา วงการห้องสมุด ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปที่น่าสนใจ ดังนี้
นวัตกรรมการเรียนรู้…สู่การศึกษาตลอดชีวิต โดย รองศาสตราจารย์ ดร.แนบบุญ หุนเจริญ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอคำว่า Learning Innovation for Life Long Education หรือ LiLLE ในบริบทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากปรัชญาการศึกษาเปลี่ยนไป กระบวนการเรียนรู้จึงเปลี่ยนไป ผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทเป็น host ที่ engage ให้ผู้เรียนเข้ามาแลกเปลี่ยน กล้าถาม กระตุ้นให้คิดเรื่องอื่นๆ นอกจากตัวเอง มหาวิทยาลัยจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงจาก Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services หรือ WMS มาใช้ และเริ่มใช้ระบบยืม คืนทรัพยากรสารสนเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560
การให้บริการยืม คืนทรัพยากรสารสนเทศ เหมือนกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติทั่วๆ ไป ที่ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการยืม และคืนให้ในระบบ เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังมิได้นำเครื่องยืม คืน ด้วยตนเองมาใช้ เมื่อมีการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศแล้ว โอกาสที่จะเกิดขึ้นก็คือ ผู้ใช้อาจจะใช้ทรัพยากรสารสนเทศนั้น ไม่เสร็จตามกำหนดเวลาที่ให้ยืม ตามสิทธิ์ กรณีนี้ ผู้ใช้สามารถมาต่ออายุการยืม ด้วยตนเองที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือผู้ใช้สามารถต่ออายุการยืม ผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งมีขั้้นตอนง่ายๆ ดังนี้
1. เข้าเว็บไซต์ ห้องสมุดหรือศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่ lib.hcu.ac.th จะเห็นรูปหน้าจอการค้น คือ WorldCat Discovery (WCD) หรือ OPAC ที่เราคุ้นเค้ย
2. คลิกที่ลูกศร จากไอคอน Read the rest of this entry »
หลังจากที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้นำระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่จัดหามาเพื่อให้บริการแก่ชุมชนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติแล้ว บุคลากรแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อร่วมกันจัดทำคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata เพื่อใช้เป็นคู่มือให้กับผู้ปฏิบัติงานในแผนกฯ ได้ลงรายการในระบบไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 มีผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และบรรณารักษ์แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้จากการที่ได้รับการอบรม และทดลองการใช้ระบบ จนสามารถสรุปเป็นคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ได้ดังนี้
คู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail
วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS
เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ
Notification Alert
ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่
วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม
การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS
ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording
งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS
งานสร้างระเบียนสมาชิก
No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร
การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)
งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก
วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2 ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1
บรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ต้องศึกษาพัฒนาการในการลงรายการทางบรรณานุกรม เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่ลงรายการให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุดให้มากที่สุด การลงรายการทางบรรณานุกรม ก็เพื่อต้องการสร้างช่องทางในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ การแสดงผลทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้มีการสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อผู้ใช้ข้อมูล
ปัจจุบัน คำว่า RDA หรือ Resource Description and Access เป็นคำที่ได้ยินกันหนาหูในกลุ่มบรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ว่าจะมาแทนที่ AACR II ผู้เขียน จึงได้ศึกษาและสรุป RDA จากผู้รู้ ไว้ดังนี้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐาน RDA Read the rest of this entry »
ผู้เขียนได้เคยเข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง การซ่อมและการสงวนรักษาหนังสือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ทำให้ได้รับความรู้เรื่องวิธีการสงวนรักษาหนังสือโดยวิธีการเสริมปกแข็งทั้งนี้เพื่อให้บรรณารักษ์หรือบุคลากรห้องสมุดนำความรู้ไปดำเนินการแก้ไขวิธีการซ่อมทำปกที่ถูกวิธีสามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้เขียน ขอนำบางส่วนจากการอบรม คือ วิธีการสงวนรักษาหนังสือแบบวิธีการเสริมปกแข็ง
วิธีการเสริมปกแข็ง (Stiffening)
วัสดุและอุปกรณ์
Read the rest of this entry »
ในวันที่ 13 มิถุนายน 2560 ได้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Infographic ๑๐๑ แปลงข้อมูลเป็นภาพ ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. จึงขอนำความรู้ที่ได้ และเทคนิคเกี่ยวกับการออกแบบ Infograpic มาเผยแพร่ต่อ เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจจะศึกษาในเรื่อง Infographic ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
Infographic หรือการแปลงข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบของรูปภาพ เป็นการจัดการข้อมูลเป็นการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการใช้รูปทรง และสีสัน เข้ามาอยู่ในข้อมูลรูปภาพ ทำให้ข้อมูลนั้นมีความน่าสนใจ และทำให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลที่เราอยากจะสื่อ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ ข้อมูลที่เราสามารถค้นหาได้นั้นมีไม่น้อย แต่ข้อมูลนั้นมีมากจนเกินไป จนทำให้เกิดความซับซ้อนของข้อมูล ข้อมูลไม่มีเนื้อหาสาระสำคัญ หรือบทสรุป เพราะไม่มีการจัดระเบียบเนื้อหาอย่างชัดเจน จึงทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจ และให้ความสนใจกับข้อมูลน้อยลง
ดังนั้นการแปลงข้อมูลเป็นภาพ หรือเรียกว่า Infographic จึงมีความน่าสนใจ และควรนำมาปรับใช้กับข้อมูลในปัจจุบัน เพื่อการสื่อสารที่ดีขึ้น ผู้ใช้จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และตรงประเด็นมากที่สุด ขั้นตอนการทำ Infographic มี 4 ขั้นตอนดังนี้
ภูมิทัศน์อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี10)
เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2560 ผู้เขียนได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์ภายนอกสถานที่ ได้พบเห็นผู้บริหารของห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ และได้เข้าเยี่ยมชมห้องสมุด สำนักงานวิทยทรัพยากร สาขาเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา หรืออาคารจามจุรี 10 นั่นเอง ตัวอาคารจะตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของ ถนนพญาไท กลุ่มศึกษาดูงานได้พากันเดินชมความร่มรื่นสองข้างทางจากอาคารสำนักงานวิทยทรัพยากร เพื่อไปยังจุดหมายคืออาคารจามจุรี10
นำทีมโดยท่านรองศาสตราจารย์ ดร. อมร เพชรสม รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และเป็นกันเองเป็นอย่างมาก ท่านได้พาคณะศึกษาดูงานเดินขึ้นบันไดเพื่อลดแคลลอรี่และสร้างความแข็งแกร่งของร่างกาย ไปยังชั้น 2 ของตัวอาคารซึ่งเป็นพื้นที่ในส่วนของห้องสมุด มีเนื้อที่ใช้สอยประมาณ 1,500 ตารางเมตร เป็นอาคารที่ได้รวบรวมวิทยานิพนธ์ทั้งหมด งานวิจัย และหนังสืออ้างอิง ที่กระจัดกระจายตามคณะต่างๆ ซึ่งมีประมาณ 50,000 เล่ม นำมารวบรวมไว้ให้บริการในจุดเดียวกัน เพื่อสร้างความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ทุกๆ แขนงแก่บุคลากร นิสิต และประชาชนทั่วไป ซึ่งวิทยานิพนธ์เหล่านี้เดิมเคยให้บริการอยู่ที่ชั้น 2 ของหอสมุดกลางอาคารมหาธีรราชานุสรณ์ นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดในกลุ่มต่างๆ นำมารวบรวมไว้ให้บริการ เช่น
R2R ย่อมาจากคำว่า Routine to Research คือ การศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานประจำทุกวัน แล้วนำปัญหานั้นมาทำเป็นงานวิจัย จากนั้นก็นำผลที่ได้จากการวิจัยย้อนกลับมาใช้กับงานประจำอีกที เพื่อแก้ไขปรับปรุงพัฒนางานให้มีความเจริญขึ้น และพัฒนากำลังคนให้เกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงาน
หลักเกณฑ์ในการทำ R2R
การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
โครงการพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำระดับต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยจัดขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรระดับหัวหน้า จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 และ 25-26 ตุลาคม 2559 เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองและองค์กรอย่างเข้มแข็ง และเพื่อให้เป็นการบริหารสถาบันอุดมศึกษาจึงจำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความรู้และทักษะความชำนาญด้านการบริหารจัดการสามารถปรับตัวได้ตามสภาวะแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องมีคุณธรรมจริยธรรมและทัศนคติที่ดี มีสมรรถนะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ เพื่อจะสามารถปฏิบัติพันธกิจให้บรรจุเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาตนเองให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จอย่างมั่นใจ ดังนั้น ความรู้ในการเป็นผู้นำหรือผู้บริหารที่ได้รับจากอบรมครั้งนี้ ในส่วนของความหมายของภาวะผู้นำ ผู้นำ ความสำคัญของการเป็นผู้นำ การมีภาวะผู้นำ ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จนั้น สามารถสรุปได้ ดังนี้
ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ความสามารถในการนำจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ และได้รับการยอมรับและยกย่องจากบุคคลอื่นให้เป็นผู้นำในกลุ่ม สามารถกระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่ม บุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมายผู้นำ Read the rest of this entry »
กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน แต่ต้องพิจารณาก่อนว่าจะเก็บอะไรให้เป็นดิจิทัล จัดเก็บอย่างไร เข้าถึงและเผยแพร่ได้ทางไหน อย่างไร
3 ขั้นตอน ได้แก่ การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digitization) การบริหารจัดการข้อมูล (Information Management) และ การจัดแสดงการเผยแพร่การให้บริการ (Information Access)
กระบวนการสงวนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/files/2016/seminar-2016Sep15-16/20160916-DigitalPreservation-Rachabadin.pdf
รายการอ้างอิง
ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ. (2559). การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล : ตัวช่วยในการอนุรักษ์. เอกสารประกอบการบรรยายการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน วันที่ 16 กันยายน 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.