SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
ต.ค. 15th, 2017 by supaporn

หลังจากที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้นำระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่จัดหามาเพื่อให้บริการแก่ชุมชนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติแล้ว บุคลากรแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อร่วมกันจัดทำคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata เพื่อใช้เป็นคู่มือให้กับผู้ปฏิบัติงานในแผนกฯ ได้ลงรายการในระบบไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 มีผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และบรรณารักษ์แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้จากการที่ได้รับการอบรม และทดลองการใช้ระบบ จนสามารถสรุปเป็นคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ได้ดังนี้

คู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

 

วิกิ : เครื่องมือเพื่อการแบ่งปันความรู้
ก.ย. 3rd, 2016 by supaporn

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ โดย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารฯ  นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ได้เป็นวิทยากรในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถาบันพัฒนาวิชาการ (สพว.) ซึ่งผู้อำนวยการ โดย ผศ. ดร. วุฒิพงษ์ ทองก้อน มีความสนใจในการนำโปรแกรม Dokuwiki ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ใช้อยู่ มาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของ สพว. ต่อไป

ถ่ายภาพร่วมกันหลังบรรยายเสร็จ

ถ่ายภาพร่วมกันหลังบรรยายเสร็จ

เนื่องจาก วิกิ เป็นเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นในช่วง Web 2.0 จึงได้มีการบรรยายนำในเรื่องของประวัติและพัฒนาการของ Web ในแต่ละยุค จาก Web 1.0-Web 4.0 จากนั้นจึงได้นำเข้าสู่โปรแกรม Dokuwiki และการใช้งานของศูนย์บรรณสารสนเทศ เช่น การใช้ในการประชุม การใช้ในการจัดเก็บเอกสารภายในของศูนย์ฯ ผลจากการใช้ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีกระบวนการจัดเก็บไฟล์เอกสารที่มีระบบมากขึ้น ค้นหาไฟล์เอกสารต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สามารถใช้เป็นแหล่งจัดเก็บเอกสารในระบบประกันคุณภาพ แหล่งจัดเก็บเอกสารเพื่อใช้ในการประเมินต่างๆ และทำให้ลดการใช้กระดาษลงได้อีก

เอกสารประกอบการบรรยาย

Knowledge Sharing “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.”
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing หัวข้อ “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.” โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator ในการจัดการความรู้เกี่ยวกับการรับไฟล์วิทยานิพนธ์ งานวิจัยของ มฉก. จากเดิม ซึ่งอาจจะมีกระบวนการที่ไม่เป็นระบบ นำมาหารือและจัด work flow ของการไหลของงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดย

1. ประสานงานกับบัณฑิตวิทยาลัย และสำนักพัฒนาวิชาการในการส่งไฟล์วิทยานิพนธ์และงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอ หรือกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอน

2. ตัวเล่มของวิทยานิพนธ์ งานวิจัย ส่งมายังแผนกจัดหาและวิเคราะห์ ผ่านหัวหน้าแผนกฯ เพื่อส่งต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายในการลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดและลงรายการเมทาดาทาของ THAILIS

3. ส่งไฟล์ไปยังแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของไฟล์ การลงเมทาดาทาในไฟล์ การใส่ watermark รวมทั้งการทำเป็น PDF/A

4. ส่งไฟล์เข้าระบบ THAILIS

ส่วนแผ่นซีดีที่บันทึกวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยนั้น ให้ทำลายก่อนการทิ้ง

ในส่วนของ Collection สิ่งพิมพ์พิเศษ มฉก. นั้น เนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการผลิตสิ่งพิมพ์ในวาระและโอกาสต่าง ๆ จึงเห็นสมควรที่จะมีการเก็บเป็นสิ่งพิมพ์พิเศษ เฉพาะของมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดประเภทของสิ่งพิมพ์ตามเนื้อหาและกำหนดรหัสตามเนื้อหา แบ่งตามคณะ หน่วยงานที่ออกสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือที่ระลึก มีรหัสเป็น 1 งานวิจัย กำหนดรหัสเป็น 15 เป็นต้น เพื่อให้สามารถรวบรวมสิ่งพิมพ์ มฉก. ไว้ในที่เดียวกันและได้รับการจัดประเภทและหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วในบางส่วนเป็นตัวอย่าง

Knowledge Sharing รู้จัก เข้าใจ วางแผน และประเมินผล
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกบริการสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing สำหรับบุคลากรแผนกกิจกรรม เพื่อรับฟังประสบการณ์ และแนวทางที่ควรจะเป็นสำหรับการให้บริการ โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator จากหัวข้อ รู้จัก เข้าใจ วางแผน และประเมินผล

แบ่งกลุ่มแต่ละ Generation

แบ่งกลุ่มแต่ละ Generation

ในช่วงแรก ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับคนในแต่ละ Generation เนื่องจากในแต่ละ Generation นั้น อยู่ในช่วงอายุใด มีความสนใจ มีความต้องการอะไร เพื่อจะได้เทียบเคียงกับผู้ใช้บริการที่มีหลากหลาย แต่กลุ่มผู้ใช้กลุ่มใหญ่ คือ นักศึกษา ซึ่งเป็น Gen Y และผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มอาจารย์ที่อาจจะอยู่ใน Gen อื่น ๆ จึงควรจะต้องมีความเข้าใจกลุ่มคนในแต่ละ Gen เพื่อให้สามารถจัดการ วางแผนการให้บริการให้ตรงหรือเหมาะสมกับผู้ใช้ในแต่ละ Gen ได้ ได้มีการจัดกลุ่มของบุคลากรแผนกบริการสารสนเทศ และผู้ที่ต้องหมุนมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ ในบางช่วงเวลา เพื่อให้ทราบว่า อยู่ใน generation ใด เพื่อเทียบเคียงกับกลุ่มผู้ใช้บริการ

 

เสนอบริการใหม่

เสนอบริการใหม่

ในช่วงที่สอง ได้เริ่มให้เข้าใจงานบริการมากขึ้น การออกแบบการให้บริการ ประกอบด้วย content และสื่อต่างๆ ในการเข้าถึง มีการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอ บริการใหม่ ๆ และนำมาแลกเปลี่ยนกันถึง สาเหตุของการเสนอบริการนั้น ๆ และควรจะจัดบริการนั้น ออกมาในรูปแบบใด ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง เพื่อจะได้ให้บุคลากรเรียนรู้ในการวางแผนการจัดบริการ และขั้นตอนสุดท้าย ต้องมีการประเมินผลการให้บริการ เพื่อตัดสินใจว่า งานบริการนั้น ควรให้บริการต่อหรือไม่ หรือ ต้องให้เวลาในการให้บริการต่อไปอีกระยะเวลาหนึ่ง

จากกิจกรรม Knowledge Sharing ดังกล่าว คาดว่าจะทำให้บุคลากรในแผนกบริการสารสนเทศ และบุคลากรท่านอื่น ๆ ที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ เกิดมุมมองในการให้บริการมากขึ้น และรู้จักกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น มีการวางแผน มีการประเมินผล เพื่อพัฒนาการให้บริการต่อไป

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa