SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ความแตกต่างระหว่าง “Co-Working Space และ Learning Space” ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
ก.ค. 7th, 2021 by Natchaya

ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศก็เป็นเรื่องง่าย แค่มี สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ ผ่านอินเตอร์เน็ต ก็สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลาแล้ว ผู้ใช้บริการจึงไม่จำเป็นต้องเข้าห้องสมุดเพื่อมาค้นหาข้อมูล จำนวนผู้เข้าใช้บริการห้องสมุดก็ลดน้อยลง ฉะนั้นห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตในยุคปัจจุบัน ด้วยการเพิ่มพื้นที่นั่ง พื้นที่ทำกิจกรรม ให้มากขึ้น และศูนย์บรรณสารสนเทศก็ได้จัดสรรพื้นที่ Learning Space และ Co-Working Space ให้กับผู้ใช้บริการได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ Read the rest of this entry »

Co-working Space ชั้น 6 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มฉก.
ธ.ค. 12th, 2020 by supaporn

บทบาทของห้องสมุดมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อย ๆ จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นสำคัญ รวมทั้งการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่ทำให้ไลฟ์สไตล์การอ่านหนังสือ และการใช้ห้องสมุดเปลี่ยนไป

การใช้หนังสือในห้องสมุดลดลง เนื่องจากมีรูปแบบที่เป็นดิจิทัลเข้ามาแทนที่ ทำให้เข้าถึงได้ทางออนไลน์ บทบาทในการเน้นการยืมหนังสือเล่มจึงลดน้อยลง ลักษณะทางกายภาพเริ่มไม่ตอบสนองกับการใช้บริการในปัจจุบัน  ห้องสมุดต้องปรับบทบาทเพื่อเสริมการเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ เป็นแหล่งเสริมทักษะการเรียนรู้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้ห้องสมุดที่อยู่ในยุคที่เกิดมาพร้อมกับสื่อดิจิทัล

ห้องสมุดมีการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากการใช้พื้นที่ (Space Utilization) เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกัน การทำงานกลุ่ม การศึกษาค้นคว้าร่วมกัน  เพื่อมุ่งส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)  ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การทำงานเป็นทีม (Collaboration ) รวมทั้งการสื่อสาร (Communication) และจากคำกล่าวของ จอห์น ซีลีย์ บราวน์, 2000 อ้างถึงใน วัฒนชัย วินิจจะกูล, 2560 น.61 ที่ว่า  “การเรียนรู้ทุกประการเริ่มต้นที่การสนทนา”  ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ปรับพื้นที่เพื่อการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

Read the rest of this entry »

พามาชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบประเทศไทย (Thailand Creative and Design Center) (TCDC)
ธ.ค. 24th, 2019 by navapat

คิด ผลิต ขาย  ยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจสร้างสรรค์อย่างครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย พัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อันเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์ของประเทศไทย

เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2562   เวลา 10.30 – 12.00 น. ผู้เขียนและบุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทุกคน ได้มีโอกาสมาเยี่ยมชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบประเทศไทย หรือที่เราคุ้นเคยกันว่า TCDC (Thailand Creative and Design Center) ต้องขอบอกเลยว่ามีความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง  เพราะมาเยี่ยมชมในช่วงที่ TCDC จัด THEME “Zoorigami” จากกระดาษรีไซเคิลสู่ผลงานรักษ์โลก ซึ่งเราจะเห็นชิ้นงานออกแบบที่ทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ตั้งแสดงอยู่ในแต่ละชั้น

 

                                                                                   

TCDC Bangkok  ปัจจุบัน อยู่ที่อาคารไปรษณีย์ไทย บางรัก มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 8,600 ตารางเมตร มีทั้งหมด 5 ชั้น และแยกเป็นโซนต่างๆ  ดังนี้ Read the rest of this entry »

ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาตร์ จุฬาฯ แนวใหม่…โดนใจผู้เรียน
ธ.ค. 19th, 2019 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ในช่วงเวลานี้ บรรดาผู้ที่อยู่ในสายงานแวดวงของการศึกษา หากไม่มีการกล่าวถึง ห้องสมุดของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เรา ๆ ท่าน ๆ ก็คงจะคุยกับใครหลาย ๆ คนไม่รู้เรื่อง?

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดที่ปรับโฉมใหม่ของทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของโลก ด้านการออกแบบในหมวดห้องสมุด (Library)  จากงาน  Best of Year Awards 2019 ซึ่งจัดโดย  Interior Design Magazine นิวยอร์ก ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 90 ล้านบาท จากการบริจาคของศิษย์เก่าอย่าง เสริมสิน สมะลาภา ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562

ผู้เขียนเป็นอีกคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม สถานที่แห่งนี้เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 62  ซึ่งได้รับการต้อนรับ จาก ผศ.ศุภวัฒน์ หิรัญธนวิวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีกลุ่มบริหารกายภาพ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยคณบดีกลุ่มบริหารกายภาพ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้อนรับและสรุปที่มาของการรีโนเวตห้องสมุดให้ฟัง

Read the rest of this entry »

เติมเต็มหัวใจ
มิ.ย. 16th, 2019 by rungtiwa

ศูนย์บรรณสารสนเทศเป็นแหล่งการเรียนรู้และเป็นสถานที่ให้นักศึกษา อาจารย์ ใช้เป็นสถานที่เพื่อระดมสมองในการศึกษาค้นคว้า การทำรายงาน การทำวิจัย หรือปรึกษาหารือ มีห้องสัมมนากลุ่ม โต๊ะวิจัยเดี่ยว ห้องสัมมนาเดี่ยวที่ผู้ใช้บริการสนใจเป็นจำนวนมาก ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ เพิ่มพื้นที่การให้บริการ  ได้จัดทำ Learning Space (ซึ่งปรับปรุงจากห้อง Lab C)  ผู้ใช้บริการสามารถนำอาหาร น้ำ ขนม เข้ามารับประทานในห้องได้แต่ต้องช่วยกันรักษาความสะอาด โดยเก็บขยะออกไปทิ้งตามจุดที่ศูนย์บรรณสารฯ จัดเตรียมไว้ให้

ตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการ Learning Space ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 มีผู้ใช้บริการชื่นชอบ สนใจเข้าใช้จำนวนมาก ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงจัดกิจกรรมเติมเต็มหัวใจขึ้น  (ระหว่างช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม 2562 เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน) โดยขอความร่วมมือจากผู้เข้าใช้บริการ  เขียนความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ลงในกระดาษ post it บอกถึงความต้องการที่ให้ทางศูนย์บรรณสารฯ จัดเพิ่มเติม แล้วนำมาติดที่กระจกหน้าศูนย์บรรณสารสนเทศ โดยตั้งชื่อมุมจัดแสดงความคิดเห็นว่า  “คุณอยากบอก เราอยากรู้” ตกแต่ง Post it เป็นรูปหัวใจ เพื่อให้ผู้สนใจได้อ่านแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมกัน ทุกข้อที่เสนอแนะ ทางศูนย์บรรณสารฯ จะนำมาเป็นข้อมูลปรับปรุงให้ดีขึ้น นักศึกษายินดีร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะกับกิจกรรมดังภาพ

ดีใจที่ได้เขียน post it

Read the rest of this entry »

พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (Reinventing the Library : Shaping the Future through EdTech and Innovative Design)
ธ.ค. 3rd, 2017 by supaporn

จากการเข้าร่วมการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 33 เรื่อง พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (Reinventing the Library : Shaping the Future through EdTech and Innovative Design) ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น ขอนำเสนอข้อสรุปบางประเด็น ดังนี้

เนื่องจากการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ในการสรรค์สร้างอนาคตของห้องสมุด หัวข้อในครั้งนี้ จึงเน้นในเรื่องเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดพื้นที่เพื่อรองรับหรือสนับสนุนการเรียนรู้ จากความรู้ ประสบการณ์ มุมมองของวิทยากร ทั้งจากวงการเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา วงการห้องสมุด ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปที่น่าสนใจ ดังนี้

นวัตกรรมการเรียนรู้…สู่การศึกษาตลอดชีวิต   โดย รองศาสตราจารย์ ดร.แนบบุญ หุนเจริญ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอคำว่า Learning Innovation for Life Long Education หรือ LiLLE ในบริบทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากปรัชญาการศึกษาเปลี่ยนไป กระบวนการเรียนรู้จึงเปลี่ยนไป ผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทเป็น host ที่ engage ให้ผู้เรียนเข้ามาแลกเปลี่ยน กล้าถาม กระตุ้นให้คิดเรื่องอื่นๆ นอกจากตัวเอง มหาวิทยาลัยจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงจาก
Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa